นักโทษเจ็บ-ตายจากเหตุจลาจลที่เรือนจำในเมียนมา
รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า มีนักโทษเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บมากกว่า 60 คน หลังเกิดเหตุจลาจลที่เรือนจำทางตะวันตกของนครย่างกุ้ง
รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า มีนักโทษเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บมากกว่า 60 คน หลังเกิดเหตุจลาจลที่เรือนจำทางตะวันตกของนครย่างกุ้ง
เนปิดอว์ 4 ม.ค.- กองทัพเมียนมาจัดพิธีสวนสนามในกรุงเนปิดอว์ในวันนี้ เนื่องในวันชาติ ฉลองครบรอบ 75 ปีของการได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ.2491 ขบวนสวนสนามนำโดยขบวนรถถัง เครื่องยิงจรวด และยานยนต์หุ้มเกราะ ตามด้วยขบวนนักเรียนมัธยมศึกษา และวงโยธวาทิต มีการยิงสลุต 21 นัดต้อนรับพลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อเดินทางมาถึงลานสวนสนาม หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาของทางการเมียนมารายงานว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้แสดงความยินดีอย่างจริงใจและมุ่งหวังเรื่องการเดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์กับเมียนมา เมียนมาสั่งซื้ออาวุธจากรัสเซียและแสดงความเห็นต่อเรื่องรัสเซียทำสงครามในยูเครนว่าเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ปกติแล้วชาวเมียนมาจะฉลองวันชาติตามสถานที่สาธารณะ แต่หลังจากกองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซู จี ประชาชนส่วนใหญ่งดการจัดงานในวันหยุดราชการเพื่อประท้วงรัฐบาลทหาร ขณะเดียวกันทางการได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในนครย่างกุ้ง ที่เป็นศูนย์กลางเชิงพาณิชย์ เพราะเกิดระเบิดหลายครั้งในช่วงหลายเดือนมานี้ สถานทูตสหรัฐเตือนว่า อาจมีการก่อเหตุร้าย การเลือกเป้าหมายยิง หรือระเบิดเพิ่มขึ้นในวันนี้.-สำนักข่าวไทย
ทีมชาติไทยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน หลังเปิดบ้านชนะกัมพูชา 3-1 รับเงินอัดฉีด 5 ล้านบาท จาก “มาดามแป้ง”
เนปิดอว์ 30 ธ.ค.- แหล่งข่าวเผยว่า ศาลรัฐบาลทหารเมียนมาตัดสินวันนี้ ให้จำคุก 7 ปี นางออง ซาน ซู จี ข้อหาทุจริต ปิดฉากการพิจารณาคดีอดีตผู้นำรัฐบาลพลเรือนเมียนมาที่ใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน หลังจากการรัฐประหารเมื่อต้นปี 2564 แหล่งข่าวเผยว่า นางซู จี วัย 77 ปี ถูกตัดสินจำคุกในคดีทุจริต 5 กระทงที่เกี่ยวเนื่องกับการว่าจ้าง จัดซื้อ และซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง เป็นเหตุให้รัฐเกิดความเสียหาย คดีนี้เป็นคดีสุดท้ายแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอถูกตัดสินว่ามีความผิดในหลายคดี ตั้งแต่ทุจริตไปจนถึงครอบครองวิทยุสื่อสารอย่างผิดกฎหมายและฝ่าฝืนมาตรการจำกัดโควิด-19 รวมถูกจำคุกทั้งหมด 33 ปี และขณะนี้ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี นางซู จี ถูกควบคุมตัวและพิจารณาคดีตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สื่อมวลชนถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคดี ขณะที่สื่อทางการเมียนมาเผยแพร่ภาพถ่ายระยะไกลขณะที่เธออยู่ในห้องพิจารณาคดีเพียงครั้งเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับคดีทั้งหมดจึงต้องอาศัยการเปิดเผยโดยทนายความเท่านั้น สัปดาห์ที่แล้วคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) มีมติเป็นครั้งแรกเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาปล่อยตัวเธอ กองทัพเมียนมากล่าวหาว่า มีการโกงอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดี (NLD) ของนางซู จีชนะเป็นสมัยที่ […]
ธากา 27 ธ.ค.- เจ้าหน้าที่รัฐบาลบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เสี่ยงชีวิตล่องเรือไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากมีความกังวลว่าปีนี้อาจมีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตกลางทะเลมากที่สุดปีหนึ่ง นายโมฮัมหมัด มิซานูร์ ราห์มาน กรรมาธิการบรรเทาทุกข์และส่งกลับผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เดินทางเสี่ยงอันตราย และจะตระเวนคุยกับแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อให้เข้าใจถึงอันตรายของการเสี่ยงล่องเรือ ขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย กองทัพเรือและหน่วยยามฝั่งได้เฝ้าระวังและจับกุมผู้ที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี เขาคิดว่าชาวโรฮีนจาที่ออกไปเสี่ยงชีวิตกลางทะเลไม่ได้เดินทางออกจากบังกลาเทศทุกคน เพราะสถานการณ์ในเมียนมาเลวร้ายกว่าในค่ายผู้ลี้ภัยมากนัก ชาวโรฮีนจาคนหนึ่งที่เคยเป็นแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยและเดินทางไปถึงมาเลเซียแล้ว แต่ได้กลับมาบังกลาเทศเพื่อมาอยู่กับน้องสาว 2 คน เผยว่า ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้คนล้วนแต่สิ้นหวัง ขณะที่แกนนำชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศ เผยว่า ชาวโรฮีนจาจำนวนมากพร้อมเสี่ยงชีวิตบนเรือของแก๊งค้ามนุษย์ เพราะท้อแท้กับชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย และไม่มีหวังจะได้กลับบ้าน ชาวโรฮีนจาถูกทอดทิ้งจากประชาคมโลกที่ไม่สามารถกดดันบรรดานายพลในเมียนมา ปัจจุบันมีชาวโรฮีนจาเกือบ 1 ล้านคนอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หลายคนหลบหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 เมื่อกองทัพยกกำลังขึ้นไปปราบปราม สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ประเมินว่า ปีนี้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 2,400 คนล่องเรือหรือพยายามล่องเรือไปยังประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปี 2564 ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเหตุใดตัวเลขดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้นมาก บางคนเชื่อว่า อาจเป็นเพราะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด.-สำนักข่าวไทย
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ผู้แทนจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยแก้ไขวิกฤตการเมืองในเมียนมา มีกำหนดจะร่วมประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นในประเทศไทยในวันนี้
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี มีมติเกี่ยวกับเมียนมาเป็นครั้งแรกในรอบ 74 ปี เมื่อวานนี้ โดยต้องการให้ยุติการใช้ความรุนแรงและเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมา ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด รวมถึงนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นล้มอำนาจ
ย่างกุ้ง 20 ธ.ค. – ศาลรัฐบาลทหารเมียนมาจะรับฟังแถลงปิดคดีนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจ ในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ หลังดำเนินการพิจารณาคดีต่างๆ มาเป็นเวลานานถึง 18 เดือน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดไม่เผยนามที่ระบุว่า ศาลรัฐบาลทหารเมียนมาจะรับฟังการแถลงปิดคดีในข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่นอีก 5 ข้อหาที่เหลืออยู่ของนางซู จี วัย 77 ปี ในวันที่ 26 ธ.ค. นี้ ซึ่งข้อหาทุจริตแต่ละกระทงนั้นมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี โดยที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาหลังเสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณาคดีดังกล่าวเป็นลำดับต่อไป แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นวันที่ใด ทั้งยังระบุว่า ขณะนี้ นางซู จี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี เอเอฟพีระบุว่า นางซู จี ถูกกองทัพเมียนมาควบคุมตัวนับตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และถูกดำเนินคดีรวม 14 ข้อหา เช่น ข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น ข้อหานำเข้าวิทยุสื่อสารวอล์กกี-ทอล์คกีโดยผิดกฎหมาย และฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรคโควิด-19. -สำนักข่าวไทย
เรือบรรทุกน้ำมันของเวียดนามเข้าช่วยเหลือชาวโรฮีนจา 154 คนบนเรือที่ประสบเหตุล่มในทะเลอันดามัน และนำชาวโรฮีนจาทั้งหมดส่งให้แก่กองทัพเรือของเมียนมา
รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า ควบคุมตัวชาวโรฮีนจา 70 คนที่หลบซ่อนตัวอยู่ในรถบรรทุกคันหนึ่งที่ชนแล้วตกลงคลองข้างทาง
เจนีวา 3 ธ.ค.- สหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้ตัดสินประหารชีวิตนักศึกษา 7 คนในสัปดาห์นี้ ทำให้มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตรวมแล้ว 139 คน พร้อมกับตำหนิเมียนมาว่าใช้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือในการกวาดล้างฝ่ายค้าน นายโฟลเกอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น แถลงว่า มีนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็นชายอย่างน้อย 7 คนถูกศาลทหารตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อวันพุธ โดยเป็นการตัดสินแบบปิด การที่เมียนมาใช้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกวาดล้างฝ่ายค้าน แสดงให้เห็นว่าเมียนมาเหยียดหยามความพยายามของอาเซียนและประชาคมโลกที่ต้องการยุติความรุนแรงและสร้างบรรยากาศให้มีการเจรจาทางการเมือง เพื่อนำเมียนมาออกจากวิกฤตสิทธิมนุษชนที่เกิดขึ้นจากกองทัพ ยูเอ็นเผยด้วยว่า กำลังตรวจสอบรายงานข่าวเรื่องนักเคลื่อนไหว 4 คน ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดี นายเติร์กระบุว่า กองทัพเมียนมายังคงใช้วิธีพิจารณาคดีแบบลับ ๆ ซึ่งละเมิดหลักการไต่สวนอย่างเป็นธรรม และขัดต่อการรับประกันทางตุลาการเรื่องความเป็นอิสระและเป็นธรรม หลายครั้งที่ศาลลับเปิดการไต่สวนในนาทีสุดท้าย ทำให้ผู้ถูกควบคุมตัวไม่สามารถติดต่อทนายหรือครอบครัวได้ทัน สื่อเมียนมารายงานว่า นักศึกษา 7 คนของมหาวิทยาลัยดากองในนครย่างกุ้ง ถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน และถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับเหตุยิงที่ธนาคาร ด้านสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ออกแถลงการณ์ว่า การตัดสินประหารชีวิตดังกล่าวเป็นการแก้แค้นของกองทัพ เมียนมาประหารชีวิตครั้งแรกในรอบ 30 ปีเมื่อเดือนกรกฎาคม เป็นผู้ต้องขัง 4 คนที่มีอดีตสมาชิกสภาและนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยรวมอยู่ด้วย ต่อมาอาเซียนได้เตือนในเดือนสิงหาคมไม่ให้เมียนมาประหารชีวิตอีก.-สำนักข่าวไทย
โตเกียว 28 พ.ย.- นักข่าวชาวญี่ปุ่นที่ได้รับนิรโทษกรรมจากเมียนมาเมื่อกลางเดือนนี้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา และรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมา นายโทรุ คุโบตะ ผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดี วัย 26 ปี แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียวในวันนี้ เรียกร้องให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้บริจาคและผู้ลงทุนรายใหญ่ของเมียนมามานาน ดำเนินแนวทางเชิงรุกอย่างจริงจังต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและวิพากษ์วิจารณ์เมียนมาในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นควรตรวจสอบอย่างเคร่งครัดว่า เงินทุนของญี่ปุ่นถูกกองทัพเมียนมานำไปใช้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถูกนำไปเข่นฆ่าผู้คนหรือไม่ เขายังขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาเพิ่มขึ้นด้วย ญี่ปุ่นเป็นรัฐผู้ลงนามในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ แต่รับผู้ลี้ภัยเพียงจำนวนหนึ่งในแต่ละปี คุโบตะกล่าวถึงช่วงเวลาที่ถูกขังเดี่ยวที่เรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้งของเมียนมาว่า ราวกับอยู่ในนรก การที่เขาได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับผู้ต้องขังอีกเกือบ 6,000 คน เป็นเพียงเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เพราะยังมีคนอีก 12,000 คนถูกควบคุมตัวอย่างไม่สมควร คุโบตะถูกทางการเมียนมาควบคุมตัวพร้อมกับพลเมืองชาวเมียนมา 2 คน ขณะอยู่ใกล้การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในนครย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคม เขาถูกตัดสินจำคุก 7 ปีข้อหาบันทึกภาพการประท้วง และจำคุก 3 ปีข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายเข้าเมือง โดยเพิ่งได้รับนิรโทษกรรมพร้อมกับผู้ต้องขังอีกหลายคนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน เนื่องในวันแห่งชาติ (National Day) รวมถูกควบคุมตัวนาน 3 เดือนครึ่ง ญี่ปุ่นประกาศหลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า จะระงับโครงการความช่วยเหลือใหม่ทุกโครงการ แต่ไม่กระทบโครงการที่มีอยู่แล้ว […]