เชฟรอนยืนยันถอนตัวจากโครงการยาดานาในเมียนมา

วอชิงตัน 9 เม.ย.- เชฟรอน บริษัทพลังงานใหญ่ของสหรัฐแจ้งว่า ได้ถอนการลงทุนในโครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา (Yadana) ในเมียนมาแล้ว หลังจากประณามการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและประกาศจะถอนตัวจากเมียนมาเมื่อกว่า 2 ปีก่อน โฆษกของเชฟรอนแถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เชฟรอนไม่ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ร้อยละ 41.1 ในโครงการนี้ แต่ได้โอนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ของไทย และวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (MOGE) การถอนการลงทุนเป็นไปตามที่บริษัทมีความตั้งใจจะถอนตัวออกจากเมียนมาอย่างมีการกำกับดูแลและเป็นระเบียบ หลังจากเมียนมาเกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ เชฟรอนเคยแถลงเมื่อเดือนมกราคม 2565 ว่า จะถอนตัวออกจากเมียนมา ต่อมาประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า ตกลงจะขายสินทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในเมียนมา รวมถึงหุ้นที่ถืออยู่ในโครงการยาดานา เชฟรอนและโททาลเอเนอร์ยีส์ บริษัทพลังงานของฝรั่งเศสเคยสั่งระงับการชำระเงินจากโครงการนี้ในปี 2564 เพราะเงินจะไปถึงมือรัฐบาลทหารเมียนมา เรียกเสียงชื่นชมจากกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา จากนั้นโททาลได้ถอนตัวออกจากเมียนมาในปี 2565 โครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ ผลิตก๊าซได้ประมาณ 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 ส่งออกมาไทย และอีกร้อยละ 30 เป็นของ MOGE […]

กำชับไม่ให้เกิดมลพิษทางน้ำ ความเป็นอยู่ประชาชน

นายกฯ สั่งเร่งช่วยเรือบรรทุกน้ำมันเชฟรอน จากเหตุน้ำเข้าตัวเรือ พร้อมวางแผนรับหากน้ำมันรั่วไหล กำชับไม่ให้เกิดผลกระทบมลพิษทางน้ำ ความเป็นอยู่ของประชาชน

ปตท.สผ.-เชฟรอนฯ พร้อมเดินหน้าสำรวจ-ผลิตแปลงใหม่ในอ่าวไทย 

เปลี่ยนผ่านแหล่งบงกชฯจากระบบสัมปทานสู่ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตราบรื่น ด้าน ปตท.สผ.- เชฟรอ ซึ่งชนะการประมูลสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในอ่าวไทย รอบ 24 ประกาศพร้อมลงทุนร่วมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ

23 เม.ย. 65 “แหล่งเอราวัณ” เปลี่ยนผ่าน “สัมปทานสู่ PSC”

วันประวัติศาสตร์ 23 เม.ย. 65 “แหล่งเอราวัณ” เปลี่ยนผ่าน “สัมปทานสู่ PSC” เชฟรอนตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่งมอบ ลงนาม 4 ฉบับกับ ปตท.สผ. อีดี ด้านกรมเชื้อเพลิงฯ ลงนาม 7ฉบับร่วมปตท.-ปตท.สผ. อีดี. ตั้งวอร์รูมให้เปลี่ยนผ่านราบรื่น

เชฟรอนประเทศไทยแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารคนใหม่

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.-บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ประกาศแต่งตั้งนายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ เป็นประธานกรรมการบริหารคนใหม่ ต่อจากนายไพโรจน์ กวียานันท์ ซึ่งเกษียณอายุ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

ผลักดัน “ปฏิรูปการพัฒนาครู” อาเซียน

อาเซียน พร้อมดันโมเดล Teacher Development ครอบคลุมหลักสูตรพัฒนาทักษะวิชาชีพครู ยกความสำเร็จโครงการ Chevron Enjoy Science เป็นแบบอย่างเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา

ผนึกเครือข่ายนักวิจัยอาเซียนพัฒนาเยาวชนอาเซียนอย่างยั่งยืน

“SEAMEO STEM-ED” หรือศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับเชฟรอน จัดประชุมนักวิจัยระดับนานาชาติ เพื่อหาแนวทางพัฒนาสะเต็มศึกษา ผลักดันเชิงนโยบาย พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนอาเซียนที่พบว่าคุณภาพการศึกษาของต่ำกว่าเกณฑ์โลก

เชฟรอนฯ แจงร่วมมือส่งมอบแหล่งเอราวัณ

เชฟรอนฯ แจงร่วมมือส่งมอบแหล่งเอราวัณก่อนสิ้นสุดอายุสัมปทาน เม.ย. 65
คาด ปตท.สผ .สามารถเข้าสำรวจและวางแผนด้านเทคโนโลยีสนเทศในกลางเดือนมีนาคมนี้

นายกฯกัมพูชาเผยผลิตน้ำมันได้เองแล้ว

พนมเปญ 29 ธ.ค.- นายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาประกาศข่าวกัมพูชาขุดเจาะน้ำมันดิบหยดแรกจากน่านน้ำในประเทศว่า เป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ให้แก่เศรษฐกิจประเทศ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน โพสต์เฟซบุ๊กวันนี้ว่า ปี 2564 ที่กำลังจะมาถึง รัฐบาลมีของขวัญชิ้นใหญ่ให้แก่ประเทศ เป็นการผลิตน้ำมันได้เองในดินแดนของกัมพูชา และถือเป็นพรสำหรับชาวกัมพูชา ไม่ใช่คำสาปตามที่ผู้มีเจตนาร้ายบางคนกล่าวอ้าง น้ำมันดังกล่าวขุดเจาะได้ในน่านน้ำนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสีหนุวิลล์หรือกำปงโสมในอ่าวไทย เชฟรอน บริษัทน้ำมันของสหรัฐสำรวจพบครั้งแรกตั้งแต่ปี 2548 ส่งผลให้กัมพูชาถูกหมายตาว่าจะเป็นแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ของภูมิภาค รัฐบาลคาดว่ามีน้ำมันสำรองอยู่ใต้ทะเลหลายร้อยล้านบาร์เรล แต่การผลิตชะงักงันเพราะเชฟรอนไม่สามารถตกลงเรื่องแบ่งรายได้กับรัฐบาลกัมพูชา จึงขายสิทธิต่อให้แก่คริส เอ็นเนอร์ยี่ของสิงคโปร์ในปี 2557 คริส เอ็นเนอร์ยี่ถือครองหุ้นในบ่อน้ำมันถึงร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นหุ้นของรัฐบาลกัมพูชา ตั้งเป้าผลิตได้สูงสุด 7,500 บาร์เรลต่อวันในระยะแรก แม้ไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป็นรายได้ที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลกัมพูชาที่ประเมินในปี 2560 ว่า จะได้ค่าภาคหลวงและภาษีอย่างน้อย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 15,000 ล้านบาท) ในระยะแรก.-สำนักข่าวไทย

1 2 3
...