
ทางออกนโยบายเกษตรกร “อุดหนุนแบบมีเงื่อนไข”
นโยบายด้านการเกษตร ทุกพรรคล้วนชูธงเหมือนการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา วันนี้ไปฟังมุมมองของทั้งนักวิชาการและชาวนา ว่าควรดำเนินการอย่างไร เพื่อยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างแท้จริง
นโยบายด้านการเกษตร ทุกพรรคล้วนชูธงเหมือนการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา วันนี้ไปฟังมุมมองของทั้งนักวิชาการและชาวนา ว่าควรดำเนินการอย่างไร เพื่อยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างแท้จริง
สศก. เผยปี 65 รายได้เงินสดสุทธิเกษตรกรไทย 80,271 บาทต่อปี
กรุงเทพฯ 27 ก.พ. -สศก. ผลสำรวจข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร ปี 65 ระบุ เกษตรกรไทย มีรายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 206,310 บาท/ปี ส่วนรายได้เงินสดสุทธิเกษตรกรไทย 80,271 บาทต่อปี
นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจ สังคมครัวเรือนเกษตร ปีเพาะปลูก 2564/65 ซึ่งเป็นข้อมูลรายได้-รายจ่ายจากกิจกรรม ทั้งในและนอกภาคการเกษตรของเกษตรกรในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ถึงเดือนเมษายน 2565 พบว่าครัวเรือนเกษตรทั่วประเทศ มีรายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 206,310 บาทต่อปี ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการปลูกพืช ร้อยละ 80.95 เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 17.47 และอื่นๆร้อยละ 1.58 นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากกิจกรรมนอกการเกษตรเฉลี่ย 213,888 บาทต่อปี โดยเป็นรายได้หลักจากงานประจำ ร้อยละ 45.13 การรับจ้างและให้บริการ ร้อยละ 16.36 รายได้จากลูกหลานส่งให้ ร้อยละ 6.45 และอื่นๆ เช่น กำไรจากการค้าขายหรือทำธุรกิจ ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เงินค่าเช่า ดอกเบี้ยเงินสะสม ฯลฯ ร้อยละ 32.06
ด้านค่าใช้จ่าย ครัวเรือนเกษตรทั่วประเทศมีรายจ่ายเงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 126,039 บาทต่อปี คิดเป็นค่าปัจจัยการผลิต ร้อยละ 55.40 ค่าจ้างแรงงานร้อยละ 35.14 และค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าซ่อมเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตร ฯลฯ ร้อยละ 9.46 สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคในครัวเรือนเฉลี่ย 180,569 บาทต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ร้อยละ 36.55 และค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ค่าซื้อสินค้าและบริการ ฯลฯ ร้อยละ 63.45
ทั้งนี้ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ พบว่า เมื่อนำรายได้ทางการเกษตรหักรายจ่ายทางการเกษตร ส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรเฉลี่ย 80,271 บาทต่อปี และมีเงินสดคงเหลือก่อนหักชำระหนี้ ซึ่งเป็นเงินเหลือหลังจากนำรายได้ทั้งหมดของครัวเรือนหักค่าใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคแล้ว 113,590 บาทต่อปี .-สำนักข่าวไทย
เซี่ยงไฮ้, 15 ก.พ. (ซินหัว) — นครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีนกำลังจัดการแข่งขันเกษตรอัจฉริยะ ครั้งที่ 3 รอบชิงชนะเลิศ โดยผู้แข่งขันได้รับโจทย์ให้ปลูกผักกาดพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า “กรุบกรอบ” (Crunchy) ภายใน 3 เดือน ซึ่งพวกเขาจะประยุกต์ใช้ความช่วยเหลือจากปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) และสารพัดเทคโนโลยีดิจิทัล สยงหยวนเคอ ผู้แข่งขันจากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง บอกเล่าว่าเราจะปลูกผักกาดพันธุ์ใหม่ในตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้ เรามีพื้นที่เพาะปลูก 9 ส่วน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแสงภายในได้ทั้งหมด ด้านจาหลิงเหยียน ผู้แข่งขันอีกคนจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน บอกเล่าว่าตามทฤษฎีแล้ว เราสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึงประมาณร้อยละ 20- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230215/99231fcaa0d24934937d922f2f9a501f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/339313_20230215ขอบคุณภาพจาก Xinhua
มะนิลา, 5 ม.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (4 ม.ค.) จีนอนุญาตการนำเข้าทุเรียนฟิลิปปินส์ ซึ่งนับเป็นอีกก้าวของการขยับขยายความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างสองประเทศ และโอกาสทองของ “ดาเวา” (Davao) เมืองหลวงแห่งทุเรียนของฟิลิปปินส์ ที่ครองสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 ของผลผลิตทุเรียนทั้งหมดภายในประเทศ โจมาร์ อับดอน วัย 29 ปี พนักงานโรงงานแปรรูปทุเรียนในเมืองดาเวา ดีใจกับข่าวใหม่นี้และหวังว่าข้อตกลงนำเข้าดังกล่าวจะช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้เพาะปลูกและคนส่วนอื่นๆ รวมถึงช่วยให้คนต่างชาติรับรู้ว่าฟิลิปปินส์ส่งออกทุเรียนเช่นกันและรู้จักทุเรียนฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น ทุเรียน หนึ่งในสุดยอดผลไม้ทำเงิน กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน ทำให้การเข้าถึงตลาดจีนขนาดมหึมากลายเป็นขุมทรัพย์สำหรับเกษตรกรผู้เพาะปลูกทุเรียนในฟิลิปปินส์ โดยฤดูทุเรียนของเมืองดาเวาอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ส่วนทุเรียนดาเวาพันธุ์ยอดนิยม ได้แก่ ปูยัต (Puyat) และดี101 (D101) ที่ทนศัตรูพืชและออกลูกมากกว่าพันธุ์ชื่อดังอื่นๆ คานเดลาริโอ มิคูโลบ อดีตหัวหน้าสมาคมชาวสวนทุเรียนของเมืองดาเวา เผยว่าปัจจุบันเมืองดาเวาผลิตทุเรียนประมาณ 50,000 ตันต่อปี โดยมีผู้เพาะปลูกมากกว่า 3,000 ราย และโรงงานแปรรูปมากกว่า 5 แห่ง หากแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่เพาะปลูก 1 เฮกตาร์ (ราว 6 ไร่) […]
กระทรวงคมนาคม จับมือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาระบบการตรวจสอบสินค้าเกษตรก่อนส่งออก ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายกฯ เผย ครม.พิจารณาจัดแผนพัฒนาเกษตรในอีอีซี สร้างรายได้ให้เกษตรกร แบ่งพื้นที่พัฒนาเป็น 5 คลัสเตอร์ หวังเป็นต้นแบบภาคเกษตรภาคอื่น ๆ
รมว.เกษตรฯ เผยได้หารือทูตเวียดนามเพื่อขอให้ทางการเวียดนามยกเลิกการระงับนำเข้าเงาะและมะม่วงจากไทย พร้อมตั้งเป้าหมายเป็นครัวโลกร่วมกัน เล็งขยับมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้น 25,000 ล้านเหรียญฯ ในปี 2568
ครม. ขยายเวลาสินเชื่อเพื่อพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ วงเงินเดิม 23,000 ล้านบาท ถึงสิ้นปี 2557 ปรับเงื่อนไข รองรับกลุ่มเกษตรกร
“มนัญญา” รมช.เกษตรฯ ส่งเสริมอาชีพปลูกฟ้าทลายโจรสู้ภัยโควิด-19 จ.อุทัยธานี
“เฉลิมชัย” เผยฟรุ้ทบอร์ดเห็นชอบเยียวยาชาวสวนมะม่วง ตลอดจนเร่งกระจายผลไม้ใต้-ลำไยเหนือ 1.5 ล้านตันฝ่าวิกฤตโควิด-19
รมช.ประภัตร เผย ก.เกษตรฯ เสนอ ก.คลัง พิจารณาปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติโรคระบาดลัมปี สกิน ในโค-กระบือ เตรียมสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 5 ล้านโดส
กรุงเทพฯ 1 มิ.ย. – กรมชลประทานเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์เพื่อช่วยเกษตรกรซึ่งประสบภาวะฝนทิ้งช่วง ล่าสุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำดึงน้ำเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก ส่งน้ำถึงแปลง พร้อมประสานกรมฝนหลวงฯ ปฏิบัติการเพิ่มน้ำในเขื่อน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเหลือเกษตรกรที่เริ่มเพาะปลูกข้าวนาปีไปแล้ว แต่ขาดแคลนน้ำเนื่องจากฝนตกน้อย โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานจึงปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน อีก 1 เท่าตัว จากวันละ 6 ล้าน ลบ.ม. เป็น 12 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์เพิ่มจากวันละ 10 ล้าน ลบ.ม เป็นวันละ 14 ล้าน ลบ.ม. ก่อนหน้านี้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงไปลดต่ำลง จนไม่สามารถไหลเข้าต้นคลองส่งน้ำชัยนาท-ป่าสักได้ จึงสั่งให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำกำลังสูงบริเวณจุดสูบน้ำปากคลองชัยนาท-ป่าสัก จังหวัดชัยนาทและจุดสูบน้ำคลองซอย 6 ขวาเพื่อจัดรอบเวรส่งน้ำถึงแปลงนาป้องกันไม่ให้ต้นข้าวตาย และเพียงพอสนับสนุนน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค 7 สาขาและการประปาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 24 แห่ง ส่วนด้านปลายคลองชัยนาท-ป่าสักได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วใช้เขื่อนพระราม 6 ทดน้ำเพื่อยกระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักให้สูงขึ้นประมาณ 10-15 เซนติเมตรให้น้ำสามารถไหลเข้าคลอง […]