สร้างประวัติศาสตร์ เอกชนสหรัฐสำรวจดวงจันทร์

เกิดความสำเร็จครั้งสำคัญในการสำรวจอวกาศ เมื่อยานสำรวจของเอกชนสามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นรายแรก มุ่งบุกเบิกพื้นที่เพื่อการสำรวจระยะยาวในอนาคต

อินเดียฉลอง ‘จันทรายาน-3’ ลงจอดขั้วใต้ดวงจันทร์สำเร็จ

ชาวอินเดียทั่วประเทศฉลองยานสำรวจ ‘จันทรายาน-3’ ลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้เป็นผลสำเร็จ สร้างประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกที่ลงจอดขั้วใต้ดวงจันทร์ จ่อขึ้นแท่นมหาอำนาจด้านอวกาศชาติที่ 4 ของโลก ต่อจากสหรัฐ รัสเซีย และจีน

“นาซา” ตั้งเป้าปล่อยจรวด “SLS” ครั้งใหม่ 27 ก.ย.

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ตั้งเป้าส่งจรวด ‘สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม’ หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 27 กันยายน

“นาซา” ตั้งเป้าปล่อยจรวด “SLS” อีกครั้งวันเสาร์นี้

วอชิงตัน 31 ส.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ตั้งเป้าปล่อยจรวด “สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม” (Space Launch System) หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งในวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น หลังพบปัญหาเกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์จนทำให้ต้องยกเลิกการปล่อยจรวดเมื่อวันจันทร์ เจ้าหน้าที่ของนาซาระบุในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า นาซาตั้งเป้าปล่อยจรวดเอสแอลเอส ซึ่งมีความสูง 98 เมตร ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งในวันเสาร์นี้ และคาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบเครื่องยนต์สำเร็จก่อนถึงกำหนดปล่อยจรวดครั้งใหม่ ก่อนหน้านี้ นาซาได้เตรียมปล่อยจรวดเอสแอลเอสเพื่อส่งแคปซูล ‘โอไรออน’ (Orion) ซึ่งไม่มีนักบินประจำการ เมื่อวันจันทร์ แต่ต้องประกาศระงับกิจกรรมนับถอยหลังและยกเลิกการปล่อยจรวด เนื่องจากพบปัญหาเกี่ยวกับกลไกการปรับอุณหภูมิที่ระบบเครื่องยนต์ของจรวดเอสแอลเอส สำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า จรวดเอสแอลเอสและแคปซูลโอไรออนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘อาร์เทมิส วัน’ (Artemis I) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซานับตั้งแต่โครงการอะพอลโลในช่วงคริสต์ทศวรรษหลังปี 1960 และ 1970 โดยตั้งเป้าส่งแคปซูลโอไรออน ที่มีน้ำหนัก 2.6 ล้านกิโลกรัมไปสำรวจดวงจันทร์จากศูนย์อวกาศเคนเนดีบนแหลมคะแนเวอรัลในรัฐฟลอริดาของสหรัฐ แคปซูลลำนี้จะขึ้นไปปฏิบัติภารกิจทดสอบโคจรรอบดวงจันทร์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ก่อนเดินทางกลับโลก หากการทดสอบในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้นในการส่งนักบินอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ในครั้งต่อไป.-สำนักข่าวไทย

“นาซา” เลื่อนส่งจรวด “SLS” หลังเจอปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว

ฟลอริดา 29 ส.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เผยว่า กำหนดการปล่อยจรวดขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า ‘สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม’ (Space Launch System) หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ได้รับผลกระทบจากปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว นาซาระบุว่า พบปัญหาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนรั่วจนทำให้ไม่สามารถปล่อยจรวดเอสแอลเอสที่จะส่งแคปซูล ‘โอไรออน’ (Orion) ซึ่งไม่มีนักบินประจำการ ไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ตามกำหนดเดิมในเวลา 08.33 น. ของวันนี้ตามเวลาในสหรัฐ หรือตรงกับเวลา 19.33 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยคาดว่ากำหนดการส่งจรวดเอสแอลเอสครั้งใหม่อาจมีขึ้นอย่างเร็วสุดในวันศุกร์นี้ สำนักข่าวเอพีรายงานว่า แม้ว่าจรวดและแคปซูลดังกล่าวจะไม่มีนักบินประจำการ แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากเดินทางมาร่วมนับถอยหลังการปล่อยจรวดเอสแอลเอสที่บริเวณแหลมคะแนเวอรัลในรัฐฟลอริดา ซึ่งรวมถึง นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ และนายดักลาส เอ็มฮอฟฟ์ สามี ที่ได้เดินทางถึงเมืองออร์ลันโดในรัฐฟลอริดาเพื่อเข้าร่วมงานนับถอยหลังปล่อยจรวดในครั้งนี้ด้วย แต่ยังไม่ได้เดินทางถึงฐานปล่อยจรวดบนแหลมคะแนเวอรัล ทั้งนี้ จรวดเอสแอลเอส ซึ่งมีความสูง 98 เมตร เป็นจรวดที่ทันสมัยที่สุดที่นาซาพัฒนาขึ้น และจะเป็นรากฐานสำคัญของโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซาที่มีชื่อว่า ‘อาร์เทมิส’ (Artemis) ที่ตั้งเป้าส่งนักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งหลังจากที่หยุดสำรวจมานานถึง 50 ปี […]

‘นาซา’ เตรียมปล่อยจรวด ‘SLS’ สำรวจดวงจันทร์วันนี้

ฟลอริดา 29 ส.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เตรียมส่งจรวดขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า ‘สเปซ ลอนช์ ซิสเท็ม’ (Space Launch System) หรือเอสแอลเอส ขึ้นสู่อวกาศในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น โดยที่จรวดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซา นาซาระบุว่า เอสแอลเอสเป็นจรวดที่ทันสมัยที่สุดที่นาซาพัฒนาขึ้น และจะเป็นรากฐานสำคัญของโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซาที่มีชื่อว่า ‘อาร์เทมิส’ (Artemis) ซึ่งตั้งเป้าส่งนักบินอวกาศกลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งหลังจากที่หยุดสำรวจมานานถึง 50 ปี นาซามีกำหนดปล่อยจรวดเอสแอลเอสขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดาของสหรัฐ เวลา 08.33 น. ของวันนี้ตามเวลาในสหรัฐ หรือตรงกับเวลา 19.33 น. ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย จรวดเอสแอลเอส จะส่งแคปซูลชื่อ ‘โอไรออน’ (Orion) ซึ่งไม่มีนักบินประจำการ ไปโคจรรอบดวงจันทร์ก่อนตกสู่พื้นโลกในมหาสมุทรแปซิฟิกในอีก 6 สัปดาห์หน้า ทั้งนี้ นาซาตั้งเป้าว่าจะส่งนักบินอวกาศในโครงการอาร์เทมิสออกเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป นายแรนดี เบรสนิก นักบินอวกาศของนาซา เผยว่า นาซาจะศึกษาสิ่งต่าง ๆ ผ่านเลนส์ที่ติดอยู่บนแคปซูลดังกล่าวในภารกิจอาร์เทมิส 1 เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ […]

นาซาเปิดตัวจรวดสำรวจดวงจันทร์รุ่นใหม่สูงเท่าตึก 32 ชั้น

ฟลอริดา 18 มี.ค. – องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เปิดตัวจรวดรุ่นใหม่ที่มีความสูงเท่าตึก 32 ชั้นในโครงการสำรวจดวงจันทร์ และได้เริ่มปฏิบัติการขนย้ายจรวดดังกล่าวไปยังแท่นส่งจรวดในรัฐฟลอริดาเพื่อเตรียมทดสอบในขั้นสุดท้ายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า นาซาได้เปิดตัวจรวดสำหรับระบบการส่งจรวด หรือเอสแอลเอส (Space Launch System) ที่มีความสูงเท่าตึก 32 ชั้น และแคปซูลโอไรออน (Orion) ที่ใช้บรรทุกลูกเรือในโครงการ ‘อาร์เทมีส’ (Artemis) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ครั้งใหม่ของนาซาและถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของสหรัฐในการฟื้นโครงการดังกล่าว หลังประสบปัญหาขัดข้องมาเป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ นาซายังได้เริ่มปฏิบัติการขนย้ายจรวดเอสแอลเอสที่มีน้ำหนักราว 2,600 ตันออกจากอาคารประกอบยานพาหนะของศูนย์อวกาศ จอห์น เอฟ เคนเนดี ในรัฐฟลอริดาเมื่อเวลา 17.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 04.30 น. ของวันนี้ตามเวลาประเทศไทย ไปยังแหลมคะแนเวอรัลที่ใช้เป็นฐานส่งจรวด โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของนาซา ทั้งนี้ นาซาได้ใช้งบราว 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.2 ล้านล้านบาท) ในการพัฒนาจรวดเอสแอลเอสและระบบภาคพื้นดิน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของโครงการอาร์เทมีส นายบิล เนลสัน ผู้อำนวยการของนาซา กล่าวต่อสาธารณชนหลังเริ่มปฏิบัติการขนย้ายจรวดเอสแอลเอสไปยังฐานส่งจรวดว่า […]

สหรัฐจะเร่งโครงการส่งนักบินอวกาศกลับไปสำรวจดวงจันทร์

รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ประกาศว่า กำลังเร่งแผนการส่งนักบินอวกาศสหรัฐกลับไปสำรวจดวงจันทร์ให้เร็วขึ้นจากปี 2028 เป็นปี 2024

จีนเตรียมการในเบื้องต้นสำหรับการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์

เจ้าหน้าด้านอวกาศของจีนเปิดเผยว่า จีนกำลังเตรียมการในเบื้องต้นสำหรับการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเป้าหมายล่าสุดของโครงการสำรวดวงจันทร์ของจีน

...