DSI ค้น 5 จุดแหล่งผลิต-จำหน่ายสารเคมีอันตราย คาดเสียหายกว่า 10 ล้าน

ดีเอสไอบุกค้น 5 จุด บริษัทผลิตและจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุอันตราย หลอกขายประชาชนผ่านโซเชียล คาดเสียหายกว่า 10 ล้านบาท

BIG STORY : มติกรรมการวัตถุอันตรายแบน 3 สารเคมี

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด มีผล 1 ธ.ค.นี้ ขณะที่เครือข่ายเกษตรกรที่ไม่เห็นด้วยเตรียมยื่นฟ้องศาลปกครอง แม้ปลัด ก.อุตสาหกรรม เจรจาก็ไม่เป็นผล

จับตากรรมการวัตถุอันตราย แบน-ไม่แบน 3 สารเคมี

การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย วันที่ 22 ต.ค.นี้ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีการนำมติคณะทำงาน 4 ฝ่าย ที่ให้ยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2562 เข้าพิจารณาชี้ขาด

เปิดเกณฑ์แบนสารต้องใช้หลักวิชาการนำก่อนตัดสิน

กรุงเทพฯ 4 ต.ค. – อธิบดีกรมวิชาการเกษตรแจงเงื่อนไขยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายต้องใช้ข้อมูลวิชาการหนุนหลายประเด็น  เผยชงแบนสารไปแล้ว 98 ชนิด  พร้อมมีคณะทำงานเฝ้าระวังจับ 3 สาร พาราควอต ไกลโฟเซส ครอลไพริฟอส เข้าบัญชีไว้แล้ว ชี้เกณฑ์แบนสารต้องใช้หลักวิชาการนำ ก่อนตัดสิน นางสาวเสริมสุข   สลักเพ็ชร์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีที่จะยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นชนิดก็ตาม ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลความเป็นอันตรายต่อมนุษย์ มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน ข้อมูลการตกค้างพบว่า มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันสูง และเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ง่าย เป็นสารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ และมีสารใช้ทดแทนที่เหมาะสม ดังนั้นเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาภายใต้ข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็จะเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก และขาย เพื่อออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายต่อไป โดยปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เสนอห้ามใช้วัตถุอันตรายไปแล้ว 98 ชนิด โดยมีเหตุผล ได้แก่ เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง  มีพิษตกค้างนานทำให้เกิดพิษสะสมในดินได้นาน  และเป็นสารที่ทำให้ตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า  นอกจากนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  กรมวิชาการเกษตรได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง โดยมีหลักเกณฑ์การจัดวัตถุอันตรายเข้าอยู่ในรายการเฝ้าระวัง ได้แก่ เป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันสูง  เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ง่าย […]

คุมเข้มสารตั้งต้นยาเสพติดต้องขออนุมัตินำเข้ารายครั้ง

กรมโรงงานฯ คุมเข้มสารโซเดียมไซยาไนด์ จะกำหนดให้การนำเข้า-ส่งออก-นำผ่านใหม่ จากเดิมให้ใบอนุญาตรายปีเปลี่ยนเป็นพิจารณาอนุมัติเป็นรายครั้งพร้อมต้องให้ ป.ป.ส. ตรวจสอบก่อน

ผู้ตรวจฯ ขีดเส้นตาย 60 วันให้ กก.วัตถุอันตรายทบทวนใช้สารพาราควอต

ผู้ตรวจฯ ขีดเส้นตาย 60 วัน ให้ กก.วัตถุอันตรายทบทวนใช้สารพาราควอต พร้อมประกาศยกเลิกให้ชัดเจนตั้งแต่ 1 ม.ค.63 หากเพิกเฉยไม่ดำเนินการ เตรียมรายงานนายกฯ

กรรมการวัตถุอันตรายยืนมติเดิมไม่ยกเลิกพาราควอต

วันนี้คณะกรรมการวัตถุอันตรายประชุมทบทวนมติที่ไม่ยกเลิกแต่ให้จำกัดการใช้พาราควอต หรือที่เรารู้จักกันในชื่อยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชอีก 2 ชนิด คือคลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสต หลังผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้ยกเลิกการใช้สารทั้งหมด ภายใน 1 ปี ที่สุดผลอกมาว่าคณะกรรมการยืนยันมติเดิม ท่าทีเครือข่ายที่ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงาน

เตือน!อันตรายถึงตายจากสารไดมีฟลูทรินที่พบในธูปไล่ยุง นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน

ตรวจพบสารไดมีฟลูทริน (dimefluthrin) ในธูปไล่ยุงที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านและวางจำหน่ายตามแนวชายแดน สารที่ตรวจพบเป็นสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน อย. ซึ่งผิดกฎหมายและอาจได้รับอันตรายถึงตายได้

เกษตรฯ อายัดปุ๋ยและวัตถุอันตรายผิดกม.มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

สารวัตรเกษตรบุกโกดังและร้านค้าพบปุ๋ยและวัตถุอันตราย จังหวัดปทุมธานีและพิษณุโลกผิดกฎหมายมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

เปิดข้อมูลพาราควอต พิษภัยกับผลประโยชน์ ตอน 1

กรุงเทพฯ 21 มิ.ย. – มีการเรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเปิดเผยข้อมูลที่ใช้พิจารณา จนนำไปสู่การมีมติไม่ยกเลิกการใช้สารเคมีวัตถุอันตรายพาราควอต และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีก 2 ชนิด วันนี้จะนำเสนอผลการศึกษาสำคัญ ทั้งที่สนับสนุนและคัดค้าน ก่อนการลงมติดังกล่าวที่ยังคงเป็นที่กังขา ติดตามรายงานพิเศษ “เปิดข้อมูลพาราควอต พิษภัยกับผลประโยชน์” วันนี้นำเสนอเป็นตอนแรก ภาคีเครือข่ายต้านสารเคมีวัตถุอันตราย 3 ชนิด พาราควอต ไกลโฟเสต หรือยาฆ่าหญ้า และคลอร์ไพริฟอส หรือยาฆ่าแมลง ยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้ ห้ามนำเข้าไทย และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาคประชาชนกับรัฐ เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอผลกระทบ เพราะมองว่าเป็นเกมการถ่วงเวลา  ปลายเดือนที่แล้ว คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติให้ใช้สารเคมีวัตถุอันตราย 3 ชนิดนี้ต่อไปได้ อ้างข้อมูลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพยังมีไม่เพียงพอ และให้กรมวิชาการเกษตรไปหาแนวทางจำกัดการใช้ที่เหมาะสมภายใน 60 วัน แต่กลับไม่มีการเปิดเผยอย่างชัดเจนถึงงานวิจัยและข้อมูลที่ใช้พิจารณา   มีงานวิจัยหลายเรื่องที่ศึกษาการใช้สารเคมีเหล่านี้ มีผลทั้งที่สนับสนุนและคัดค้าน เช่น งานวิจัยการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในแม่และทารก โดยศึกษาระดับไกลโฟเสต และพาราควอต ในซีรัมหรือเลือดที่สกัดแล้วของมารดาและสายสะดือทารก ซึ่งมีการนำผลวิจัยนี้เสนอต่ออนุกรรมการวัตถุอันตรายด้วย โดยผู้วิจัยอธิบายว่า ใช้กลุ่มตัวอย่างจากโรงพยาบาล 3 แห่ง ที่กาญจนบุรี นครสวรรค์ และอำนาจเจริญ พบข้อมูลสำคัญหลายเรื่อง […]

1 2 3
...