รมว.กลาโหมออสเตรเลีย-จีนพบหน้ากันครั้งแรกในรอบ 3 ปี

รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย พบหน้ารัฐมนตรีกลาโหมจีนเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีในวันนี้ โดยกล่าวถึงการหารือกันว่า เป็นก้าวสำคัญก้าวแรกหลังจากความสัมพันธ์ตึงเครียดมาระยะหนึ่ง

เรียกร้องเวียดนามลดภาษีน้ำมันลงอีกเพื่อตรึงราคา

สมาชิกรัฐสภาเวียดนามเรียกร้องให้ลดภาษีน้ำมันเบนซินลงอีก เพื่อตรึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เพราะจะทำให้ราคาสินค้าอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

อียูยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องลงโทษน้ำมัน-ก๊าซจากรัสเซีย

เบอร์ลิน 25 เม.ย.- สมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ยังไม่สามารถหาจุดยืนร่วมกันเรื่องใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างเบ็ดเสร็จหรือเก็บภาษีลงโทษน้ำมันและก๊าซนำเข้าจากรัสเซีย นายโจเซฟ บอเรลล์ หัวหน้านโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของอียูให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ดีเวลต์ของเยอรมนีในวันนี้ว่า ณ เวลานี้สมาชิกอียูยังไม่สามารถหาจุดยืนร่วมกัน และจะมีการหารือประเด็นนี้ในการประชุมสุดยอดอียูครั้งต่อไปในสิ้นเดือนพฤษภาคม จึงยังไม่สามารถคาดหมายการตัดสินใจใด ๆ ได้ก่อนเวลานั้น อย่างไรก็ดี ขณะนี้สมาชิกอียูกำลังลดการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย เขาเชื่อว่าอียูจะสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียได้ในที่สุด และเมื่อถึงเวลานั้นรัสเซียจะเจ็บปวดต่อการสูญเสียรายได้ดังกล่าว ดีเวลต์รายงานเพิ่มเติมโดยไม่ได้อ้างแหล่งข่าวว่า คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารของอียูอาจจะนำเสนอมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียชุดที่ 6 ต่อชาติสมาชิกในสัปดาห์นี้ ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปหรือยูโรสแตทระบุว่า ยุโรปนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียมากที่สุดราว 1 ใน 4 ของการนำเข้าทั้งหมดในปี 2563 สมาชิกอียูหลายประเทศเรียกร้องให้ยุติการจ่ายค่าน้ำมันที่รัสเซียนำไปใช้สนับสนุนการทำสงครามกับยูเครนที่รัสเซียเรียกว่าเป็นปฏิบัติการทางทหารพิเศษ.-สำนักข่าวไทย

ฮ่องกงจะออกมาตรการทางการเงินเยียวยาผลกระทบโควิด

ฮ่องกง 23 กพ.- ฮ่องกงจะลดภาษี แจกบัตรกำนัล และให้เงินอุดหนุนให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กและประชาชน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 นายพอล ชาน รัฐมนตรีการคลังของฮ่องกงแถลงงบประมาณประจำปี 2565/2566 ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติผ่านระบบวิดีโอทางไกลในวันนี้ว่า เศรษฐกิจฮ่องกงและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก เศรษฐกิจไตรมาสแรกมีแนวโน้มไม่ดีนัก ทางการจึงเสนอมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจด้วยการใช้งบประมาณรวมกว่า 170,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (มากกว่า 707,140 ล้านบาท) ในจำนวนนี้เป็นมาตรการต่อต้านการแพร่ระบาดมากกว่า 54,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (มากกว่า 224,620 ล้านบาท) มาตรการที่นายชานแถลงในวันนี้ประกอบด้วยการลดภาษีรายได้ลงถึงร้อยละ 100 สูงสุด 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 41,600 บาท) ให้แก่บริษัทประมาณ 151,000 แห่ง การแจกบัตรกำนัลมูลค่า 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง การให้เงินช่วยเหลือคนว่างงาน การให้เงินอุดหนุนโดยตรงแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ การอุดหนุนค่าเดินทางและสาธารณูปโภคให้แก่ประชาชน และการให้นำค่าเช่าที่พักอาศัยมาลดหย่อนภาษี รัฐมนตรีคลังฮ่องกงคาดว่า เศรษฐกิจฮ่องกงปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 2.0-3.5 ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 เป็นการประมาณการที่คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทันทีที่สามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว.-สำนักข่าวไทย

ปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ไฟฟ้า

ครม.เห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซ CO2 รถกระบะไฟฟ้า ยกเว้นภาษีศุลกากรพร้อมยกเว้นภาษีชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ไฟฟ้า 9 ชนิด กำชับรถยนต์ไฟฟ้าต้องมีระบบความปลอดภัยพื้นฐาน 6 ด้าน รองรับกระแสความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า

โฆษกรัฐบาลแจงช่วยภาษีต้องไม่กระทบรัฐ

โฆษกรัฐบาลแจงเพื่อไทย มาตรการช่วยเหลือทางภาษีทุกครั้ง ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและรายได้ภาครัฐ ส่วนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเหมือนเดิม หวังให้ท้องถิ่นมีงบพัฒนาพื้นที่ ย้ำบ้านอยู่อาศัยไม่เกิน 50 ล้านบาท ที่ดินเกษตร ยังได้รับยกเว้น

กรมสรรพากรคาดสรุปแนวทางเก็บภาษีคริปโตฯภายในม.ค.นี้

กรุงเทพฯ 10 ม.ค.- กรมสรรพากร เปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย  กำหนดแนวทางจัดเก็บภาษีคริบโตฯ  คาดชัดเจนภายในเดือนมกราคมนี้ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร  เปิดเผยว่า  ตามที่นายกรัฐมนตรี  มอบหมายให้กรมสรรพากรเร่งสร้างความชัดเจน เกี่ยวกับแนวคิดคำนวนภาษีจากกำไร การขายหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี ให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป  กรมสรรพากรเตรียมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์การคิดภาษีจากกำไรการขายหรือการลงทุนในคริปโตเคอเรนซี ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคมนี้ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า  กรมสรรพากร ได้หารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น  ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์          (ก.ล.ต.) และเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล  เพื่อนำมาจัดทำแนวทางการปฏิบัติในการเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนและบริบทในปัจจุบัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดกับประชาชน  และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  “ในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา แนวโน้มการลงทุนในคริปโตเคอเรนซีของไทยได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ทั้งสำหรับผู้เสียภาษีและกรมสรรพากรจึงศึกษาและจัดเก็บข้อมูลมาโดยตลอด  เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย  จึงต้องหาความชัดเจนในเรื่องนี้  โดยยึดถือเอาผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer – Centric)  เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องจากการถือครองหรือได้รับผลประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล  นับเป็นการสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากนวัตกรรมทางการเงินดังกล่าว”  อธิบดีกรมสรรพากร กล่าว.-สำนักข่าวไทย

นายกฯญี่ปุ่นประกาศเตรียมรับมือโอไมครอนกรณีเลวร้ายที่สุด

โตเกียว 6 ธ.ค.- นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นประกาศวันนี้ว่า จะเตรียมรับมือกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด และจะยังคงเร่งนำพาเศรษฐกิจให้กลับเข้ารูปเข้ารอย นายกรัฐมนตรีคิชิดะแถลงเปิดการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญในวันนี้ว่า แม้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในญี่ปุ่นดีขึ้นมากแล้ว แต่ยังมีความเสี่ยงใหม่ ๆ รวมถึงการยืนยันพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในหลายประเทศ ดังนั้นญี่ปุ่นจะคงจุดยืนเรื่องการระมัดระวังและรอบคอบต่อไป โดยได้เพิ่มเตียงสำหรับผู้ติดเชื้ออีก 10,000 เตียงมาตั้งแต่ฤดูร้อนแล้ว และเตรียมอนุมัติยารับประทานรักษาโรคโควิดในปลายเดือนนี้ ขณะเดียวกันรัฐบาลจะร่นระยะห่างการรับวัคซีนเข็มที่ 2 กับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันจาก 8 เดือนในปัจจุบัน ส่วนที่ถูกวิจารณ์ว่า การห้ามชาวต่างชาติรายใหม่เข้าประเทศทั้งหมดเพื่อป้องกันเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเป็นมาตรการที่เกินกว่าเหตุนั้น เขาขอน้อมรับเสียงวิจารณ์ว่าระมัดระวังมากเกินไปก่อนที่จะเข้าใจสถานการณ์อย่างเพียงพอ นายกรัฐมนตรีคิชิดะประกาศด้วยว่า จะปกป้องธุรกิจและคนทำงานที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของโควิด-19 ด้วยการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่จะใช้เงินส่วนใหญ่จากงบประมาณเพิ่มเติมปี 2565 สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 36 ล้านล้านเยน (ราว 10.79 ล้านล้านบาท) ที่คาดว่ารัฐสภาจะผ่านความเห็นชอบในการประชุมสมัยวิสามัญนี้ และจะเพิ่มมาตรการจูงใจทางภาษีครั้งใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขึ้นเงินเดือนพนักงาน นายกรัฐมนตรีคิชิดะใช้โอกาสนี้เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณาอย่างจริงจังว่า จะปฏิรูปรัฐธรรมนูญที่ร่างไว้ตั้งแต่ฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2490 หรือไม่ เพราะควรต้องมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีความเหมาะสมหรือไม่ ในยามที่สถานการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่วนเรื่องการต่างประเทศ ญี่ปุ่นจะกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐ […]

อาเซียน-เกาหลีใต้เห็นพ้องเร่งกระบวนการศุลกากร

โซล 6 ธ.ค.- สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนและเกาหลีใต้เห็นพ้องกันว่า จะแก้ไขประเด็นปัญหาเรื่องกระบวนการศุลกากรเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ (FTA) ได้ดียิ่งขึ้น กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังเกาหลีใต้แถลงว่า เกาหลีใต้และอาเซียนตกลงกันว่า บริษัทเกาหลีใต้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อส่งออกสินค้ามายัง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน ด้วยการยื่นสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (certificates of origin) โดยไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือต้นฉบับ เพราะสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นเหตุให้การส่งหนังสือต้นฉบับมีความล่าช้า และทำให้บริษัทเกาหลีใต้เสียโอกาส เกาหลีใต้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับสำเนาดังกล่าวร่วมกันไปจนกว่าจะสามารถควบคุมการระบาดได้ และอาเซียนก็ตอบตกลง ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันในภายหลังว่าจะยุติมาตรการนี้เมื่อใด การค้าอาเซียน-เกาหลีใต้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่านับตั้งแต่เอฟทีเอมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2550 ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 2 ของเกาหลีใต้ มูลค่าการค้าสูงถึง 143,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 ล้านล้านบาท) ในปี 2563 เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจาก 61,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2 ล้านล้านบาท) ในปี 2549.-สำนักข่าวไทย

บริษัทญี่ปุ่นเกือบครึ่งจะขึ้นเงินเดือน

โตเกียว 5 ธ.ค.- ผลสำรวจพบว่า บริษัทในญี่ปุ่นราวร้อยละ 48 ตั้งใจจะขึ้นเงินเดือนให้พนักงานอยู่แล้ว แม้ไม่มีมาตรการจูงใจทางภาษีที่รัฐบาลเตรียมนำเสนอในงบประมาณปีหน้าที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน บริษัทวิจัยเทโกกุ ดาต้าแบงก์ สอบถามบริษัท 1,651 แห่ง เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางที่มีทุนสูงสุด 300 ล้านเยน (ราว 90 ล้านบาท) หรือมีพนักงานสูงสุด 300 คน พบว่า บริษัท 802 แห่ง หรือราวร้อยละ 48.6 ตั้งใจจะขึ้นเงินเดือนให้พนักงานอยู่แล้ว ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการจูงใจทางภาษีมากน้อยเพียงใด ขณะที่บริษัทร้อยละ 8.5 จะขึ้นเงินเดือนหากรัฐบาลเพิ่มมาตรการจูงใจทางภาษี และร้อยละ 22.3 จะพิจารณาเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี บริษัทร้อยละ 8.1 ยอมรับว่า ไม่สามารถขึ้นเงินเดือนพนักงานได้ ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการจูงใจทางภาษีมากเพียงใด และร้อยละ 12.5 ยังไม่ตัดสินใจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของเทโกกุ ดาต้าแบงก์ชี้แจงว่า ภาวะขาดแคลนคนทำงานเริ่มดีขึ้นเมื่อเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แต่ตอนนี้กลับมาเป็นปัญหาอีกครั้งเพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ธุรกิจต่าง […]

อินเดียลดภาษีเชื้อเพลิงหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

รัฐบาลอินเดียลดภาษีน้ำมันเบนซินและดีเซลก่อนถึงเทศกาลสำคัญ หวังฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19

1 3 4 5 6 7 27
...