กทม.เก็บภาษีเกินเป้า เตรียมหารือ PM2.5 ร่วมกับรัฐบาล
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เผยกทม.เก็บภาษีเกินเป้า พร้อมเตรียมหารือปัญหาฝุ่น PM2.5 ร่วมกับรัฐบาล
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เผยกทม.เก็บภาษีเกินเป้า พร้อมเตรียมหารือปัญหาฝุ่น PM2.5 ร่วมกับรัฐบาล
ม็อบบุกคลัง คัดค้านตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จี้ตัดงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ เข้ารัฐ
มะนิลา 31 ก.ค.- สหภาพยุโรปหรืออียูและฟิลิปปินส์จะเริ่มการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีหรือเอฟทีเออีกครั้ง หลังจากเริ่มมาตั้งแต่ปี 2558 แต่ได้หยุดชะงักในอีก 2 ปีต่อมา นางอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปแถลงข่าวร่วมกับประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอสของฟิลิปปินส์ที่กรุงมะนิลาในวันนี้ว่า ยินดีอย่างยิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงจะฟื้นการเจรจาเอฟทีเอ คณะทำงานจะเริ่มจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ทันที เพื่อให้สามารถฟื้นการเจรจาได้อีกครั้ง เพราะเอฟทีเอเป็นศักยภาพมหาศาลของทั้ง 2 ฝ่ายทั้งในแง่การจ้างงานและการเติบโต ขณะที่ประธานาธิบดีมาร์กอสระบุว่า ฟิลิปปินส์และอียูเป็นหุ้นส่วนใจเดียวกัน เพราะมีค่านิยมร่วมกันเรื่องประชาธิปไตย ความรุ่งเรืองที่ยั่งยืนและครอบคลุม หลักนิติธรรม สันติภาพ เสถียรภาพ และสิทธิมนุษยชน ฟิลิปปินส์และอียูเปิดการเจรจาเอฟทีเอในปี 2558 สมัยประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโน แต่ได้หยุดชะงักไปในอีก 2 ปีต่อมาในสมัยประธานาธิบดีโรดริโก เตอร์เต ที่ทำสงครามปราบปรามยาเสพติดอย่างนองเลือด จนกระทบความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ปัจจุบันฟิลิปปินส์มีสถานะประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเพิ่มเติมหรือจีเอสพีพลัส (GSP+) ทำให้สามารถส่งออกสินค้า 6,274 รายการไปยังอียูโดยไม่เสียภาษี แต่สถานะจะหมดอายุในสิ้นปี 2566 นี้ ประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับจีเอสพีพลัสจะส่งออกสินค้าไปอียูโดยไม่เสียภาษีในหมวดหมู่ต่าง ๆ ราว 2 […]
วอชิงตัน 20 ก.ค.- สำนักงานลอตเตอรี่รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐแจ้งว่า รางวัลแจ็กพอตของลอตเตอรี่พาวเวอร์บอลมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 33,966 ล้านบาท) เป็นของผู้ซื้อคนหนึ่งที่อยู่ในรัฐนี้ สำนักงานฯ ทวีตผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า รัฐแคลิฟอร์เนียมีมหาเศรษฐีพาวเวอร์บอลคนใหม่ เป็นสลากจำหน่ายที่ร้านขายของชำแห่งหนึ่งในนครลอสแอนเจลิส และเป็นสลากเดียวในประเทศที่ตรงกับเลขทั้งหมด 6 เลขของพาวเวอร์บอลที่ออกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม จึงคว้ารางวัลแจ็กพอตไป หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ระบุว่า แจ็กพอตครั้งนี้มีมูลค่ามากที่สุด นับจากเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่มีผู้ถูกแจ็กพอตคนเดียว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 67,932 ล้านบาท) และเป็นครั้งที่ 3 ที่แจ็กพอตของพาวเวอร์บอลสะสมมาจนถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผู้ถูกรางวัลสามารถเลือกรับเงินสดคราวเดียว 558.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 18,956 ล้านบาท) หรือรับเงินรางวัล 1,080 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 36,683 ล้านบาท) ที่แบ่งจ่ายเป็นเวลา 30 ปี โดยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ผู้ถูกรางวัลต้องชำระภาษีร้อยละ […]
เกาะบาหลี สถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศสำคัญของอินโดนีเซียจะเริ่มเก็บภาษีจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนเกาะแห่งนี้คนละ 150,000 รูเปียห์ หรือ ประมาณ 345 บาท ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม
วอชิงตัน 27 พ.ค.- สำนักข่าวเอเอฟพีวิเคราะห์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หากสหรัฐไม่สามารถขยายเพดานหนี้ได้ก่อนวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งเป็นเส้นตายใหม่ที่กระทรวงการคลังสหรัฐคาดการณ์ว่าจะทำให้สหรัฐผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งแรก เอเอฟพีมองว่า กระทรวงการคลังอาจเลือกชะลอการจ่ายเงินบางอย่างในโครงการสวัสดิการสังคม โครงการประกันสุขภาพทั้งเมดิแคร์ (Medicare) และเมดิเคด (Medicaid) ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์หลายล้านคน หรืออาจเลือกงดจ่ายเงินบางส่วนอย่างถ้วนหน้า ซึ่งจะลดผลกระทบต่อผู้รับประโยชน์ข้างต้น แต่จะทำให้บริการภาครัฐได้รับผลกระทบมากขึ้น หากกระทรวงการคลังสามารถประคองไปได้จนถึงวันที่ 15 มิถุนายนโดยไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ ก็อาจจะหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปได้ รัฐบาลกลางสหรัฐกู้ยืมจนถึงเพดานที่กำหนดไว้ที่กว่า 31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 1,076 ล้านล้านบาท) เมื่อกลางเดือนมกราคม จากนั้นได้ใช้มาตรการทางบัญชีพิเศษเพื่อขยายอายุงบประมาณที่ได้รับอนุญาตให้ใช้จ่ายได้โดยไม่ได้ขยายเพดานการกู้ยืม แต่เมื่อถึงเส้นตายซึ่งคือวันที่ 5 มิถุนายนในปัจจุบัน รัฐบาลจะมีเงินใช้จ่ายจากภาษีที่เก็บได้เท่านั้น ศูนย์นโยบาย 2 พรรค (Bipartisan Policy Center) วิเคราะห์ว่า รัฐบาลจะเก็บภาษีรายได้บุคคลและนิติบุคคลรายไตรมาสได้ประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.78 ล้านล้านบาท) โดยในระหว่างวันที่ 1-15 มิถุนายน กระทรวงการคลังจะขาดแคลนงบประมาณมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ […]
ออตตาวา 30 มี.ค.- แคนาดาเร่งเดินหน้าการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี (EV) ด้วยการนำมาตรการจูงใจทางภาษี การมีแหล่งแร่สำคัญจำนวนมาก และการใช้พลังงานสะอาดมาจูงใจนักลงทุนข้ามชาติ ปัจจุบันแคนาดาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อีวีรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากจีน บริษัทใหญ่เช่น โฟลก์สวาเกน สเตลแลนทิส แอลจี เปิดโรงงานผลิตในแคนาดา และมีการลงทุนในธุรกิจนี้มากกว่า 18,000 ล้านดอลลาร์แคนาดา (มากกว่า 455,070 ล้านบาท) ล่าสุดรัฐบาลแคนาดาได้ให้เครดิตภาษีร้อยละ 30 สำหรับการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่สำหรับผลิตเทคโนโลยีสะอาด และสำหรับทำเหมืองหรือรีไซเคิลโคบอลต์ ลิเธียม นิเคิล และแร่สำคัญอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่อีวี สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจในรัฐควิเบกของแคนาดาระบุว่า แคนาดาเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีแร่ทุกชนิดที่จำเป็นต่อการผลิตแบตเตอรี่อีวี นอกจากนี้การที่โรงงานผลิตของแคนาดาตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานประกอบรถอีวีทั้งในแคนาดาและสหรัฐทำให้แคนาดามีความได้เปรียบจีน แม้ว่าจีนครองตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไออนมากถึงร้อยละ 75 สำนักงานพลังงานสากลหรือไออีเอ (IEA) คาดว่า ความต้องการแร่ธาตุจำเป็นสำหรับผลิตแบตเตอรี่อีวีอาจจะเพิ่มขึ้น 4-6 เท่าภายในปี 2583 แคนาดายังชูจุดขายเรื่องพลังงานสะอาด โดยมีมาตรการจูงใจมูลค่า 80,000 ล้านดอลลาร์แคนาดา (ราว 2 ล้านล้านบาท) ส่งเสริมการลงทุนการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยคาร์บอน การใช้เทคโนโลยีสีเขียวและการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการรีไซเคิลแบตเตอรี่อีวีเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน.-สำนักข่าวไทย
โคลัมโบ 22 มี.ค.- ประธานาธิบดีศรีลังกาเตือนว่า ศรีลังกาจะต้องพบกับความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจมากขึ้นอีกจากการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเคร่งครัดเพื่อกอบกู้ฐานะการคลัง หลังจากบรรลุข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเห แถลงต่อรัฐสภาในวันนี้ว่า ข้อตกลงกับไอเอ็มเอฟเป็นจุดเริ่มต้นการฟื้นฟูประเทศที่เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเมื่อปี 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้เป็นเพียงก้าวแรกของการปฏิรูปโครงสร้างที่จะเป็นการเดินทางที่ยาวนานและยากลำบากมากยิ่งขึ้น ศรีลังกาจะต้องก้าวข้ามด้วยความรอบคอบและกล้าหาญ โดยมีเป้าหมายเดียวคือการกอบกู้เศรษฐกิจประเทศ ประธานาธิบดีวิกรมสิงเหกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการหลังจากนี้คือ การขึ้นภาษี เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟที่กำหนดให้ต้องลดภาระการชำระหนี้ต่างประเทศลงให้ได้ครึ่งหนึ่งจากปี 2565 ที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) และจะรับภาระหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจสำคัญเพื่อให้เป็นที่สนใจของนักลงทุน ตามที่ไอเอ็มเอฟต้องการให้ศรีลังกาจำหน่ายรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน รวมถึงศรีลังกาแอร์ไลน์ที่เป็นสายการบินแห่งชาติ และออกกฎหมายปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มงวด ด้านสหภาพแรงงานในศรีลังกาคัดค้านการใช้มาตรการรัดเข็มขัดด้วยการนัดหยุดงานในภาคสาธารณสุขและการขนส่งเมื่อสัปดาห์ก่อน และเตือนว่าจะมีการเคลื่อนไหวต่อไปอีก.-สำนักข่าวไทย
ครม.อนุมัติยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและ VAT จากการขายโทเคนดิจิทัล ย้อนหลังถึง 14 พ.ค.61 คาดช่วง 2 ปี เอกชนเสนอขายโทเคนดิจิทัล 1.28 แสนล้านบาท
นายกร้ฐมนตรีริชี ซูนัค ของอังกฤษ ตัดสินใจปลดนายนาดีม ซาฮาวี ประธานพรรคอนุรักษ์นิยมจากตำแหน่งในรัฐบาล หลังจากการไต่สวนเรื่องภาษีของเขาพบว่า มีการละเมิดกฎกระทรวงอย่างร้ายแรง
มะนิลา 18 ธ.ค.- ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์อนุมัติตามข้อเสนอแนะให้ต่ออายุมาตรการลดภาษีนำเข้าข้าวและอาหารอื่น ๆ ไปจนถึงสิ้นปี 2566 เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อสูง สำนักเลขาธิการประธานาธิบดีแถลงวันนี้ว่า ประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์อนุมัติให้มาตรการที่อนุมัติในปี 2564 และจะครบกำหนดในสิ้นปีนี้ ได้รับการต่ออายุให้มีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพราะอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงที่สุดในรอบ 14 ปี ดังนั้นภาษีนำเข้าข้าวจะคงที่ที่ร้อยละ 35 ภาษีนำเข้าข้าวโพดจะคงที่ที่ร้อยละ 5-15 ภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรจะคงที่ที่ร้อยละ 15-25 ส่วนภาษีนำเข้าถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจะคงที่ที่ร้อยละ 0 หลังจากผ่านพ้นสิ้นปี 2566 ไปแล้ว แต่จะมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ นายอาร์เซนิโญ บาลิซาแกน รัฐมนตรีวางแผนเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ระบุว่า นโยบายนี้จะช่วยให้ปริมาณสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้น แหล่งอาหารหลักมีความหลากหลายมากขึ้น และลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาในต่างประเทศที่สูงขึ้นและปริมาณอาหารที่ตึงตัว รัฐบาลจะมุ่งมั่นทำให้เศรษฐกิจประเทศบรรลุเป้าหมายขยายตัวร้อยละ 6-7 ในปี 2566 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้และระยะกลางไว้ที่ร้อยละ 2-4 แต่อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายนสูงถึงร้อยละ 8 ทำให้ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 7 ในปีนี้ และเตรียมใช้มาตรการเข้มงวดมากขึ้นในปี 2566 เพื่อดึงเงินเฟ้อให้ลดลงมาถึงระดับเป้าหมาย.-สำนักข่าวไทย
บรัสเซลส์ 13 ธ.ค. – สหภาพยุโรป หรืออียู (EU) บรรลุข้อตกลงหลังจากเจรจากันตลอดทั้งคืน เรื่องเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) กับสินค้านำเข้าที่ก่อมลพิษ นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการเก็บภาษีลักษณะนี้ ผู้เจรจาของสมาชิกอียูและรัฐสภายุโรปบรรลุข้อตกลงเมื่อเวลา 05:00 น.วันนี้ตามเวลากรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม ตรงกับเวลา 10:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย เรื่องกฎหมายเก็บค่าปล่อย CO2 กับการนำเข้าเหล็ก ซีเมนต์ ปุ๋ย อะลูมิเนียม ไฟฟ้า และไฮโดรเจน บริษัทที่นำเข้าสินค้าเหล่านี้เข้ามาในอียูจะต้องซื้อใบรับรองการปล่อย CO2 มีผลบังคับใช้ทั้งบริษัทนอกอียูและบริษัทในอียู ส่วนรายละเอียดของกฎหมาย เช่น กำหนดวันเริ่มบังคับใช้ จะมีการสรุปอีกครั้งในการเจรจาเรื่องการปฏิรูปตลาดคาร์บอนของอียู แกนนำการเจรจาเผยว่า ภาษีนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามต่อสู้โลกร้อนของอียู เพราะเป็นหนึ่งในกลไกที่อียูจะใช้จูงใจคู่ค้าให้ลดการปล่อย CO2 ในอุตสาหกรรมการผลิตของตนเอง และช่วยปกป้องอุตสาหกรรมของยุโรปที่ถูกตัดราคาจากสินค้าราคาถูกที่ผลิตโดยประเทศที่มีระเบียบสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวด ภาษีนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของชุดนโยบายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอียูภายในปี 2573 ลงร้อยละ 55 จากระดับการปล่อยในปี 2533 ปัจจุบันบริษัทในอียูต้องซื้อใบอนุญาตปล่อย CO2 จากตลาดซื้อขายคาร์บอนของอียู แต่หลายอุตสาหกรรมไม่เสียค่าใบอนุญาต เนื่องจากอียูต้องการปกป้องไม่ให้ถูกกระทบจากการแข่งขันจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี อียูมีแผนจะทยอยยกเลิกการไม่เก็บค่าใบอนุญาตเมื่อทยอยนำการเก็บภาษีปล่อย CO2 มาใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบขององค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอ […]