อนามัยโลกเตือนอหิวาตกโรคระบาดหนัก

โฆษกองค์การอนามัยโลก หรือ ดับเบิลยูเอชโอ (WHO) แถลงวานนี้เตือนภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่ หลังจากพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

mpox positive test tubes

แคนาดาพบผู้ป่วยเอ็มพ็อกซ์เคลดวันรายแรก

ออตตาวา 23 พ.ย.- แคนาดาแจ้งยืนยันพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรหรือเอ็มพ็อกซ์เคลดวัน (clade I) รายแรกของประเทศ ด้านองค์การอนามัยโลกยังคงให้เอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขต่อไป สำนักงานสาธารณสุขแคนาดาแถลงยืนยันเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อจากการเดินทาง เป็นเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์เคลดวันที่กำลังระบาดในอยู่ในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในแคนาดาหลังจากกลับมาได้ไม่นาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการแยกกักตัว สำนักงานฯ กำลังประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในรัฐแมนิโทบา หลังจากห้องทดลองปฏิบัติการจุลชีววิทยาแห่งชาติแจ้งรัฐนี้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนว่า ตัวอย่างผู้ป่วยมีเชื้อเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์เคลดวันบี (clade Ib) นับเป็นผู้ป่วยเคลดวันคนแรกของแคนาดา เพราะที่ผ่านมาพบแต่ผู้ป่วยเคลดทู (clade II) มาตั้งแต่ปี 2565 ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันองค์การอนามัยโลกหรือดับเบิลยูเอชโอ (WHO) ประกาศว่า จะคงระดับการเตือนภัยเอ็มพ็อกซ์ให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขต่อไป เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นการตัดสินใจโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอิสระของดับเบิลยูเอชโอที่ประชุมกันที่สวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันศุกร์ ดับเบิลยูเอชโฮประกาศให้เอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปี เมื่อเดือนสิงหาคมปีนี้ หลังจากสายพันธุ์เคลดวันบีแพร่ระบาดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือดีอาร์คองโกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน.-820(814).-สำนักข่าวไทย

แอฟริกาพบผู้ติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์ปีนี้มากกว่าปีที่แล้วทั้งปี

อาดดิสอาบาบา 18 ส.ค.- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา หรือแอฟริกาซีดีซี (Africa CDC) แจ้งว่า ยอดผู้ติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์ (mpox) หรือฝีดาษวานรในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ มีจำนวนมากกว่ายอดผู้ติดเชื้อในปี 2566 ทั้งปี แอฟริกาซีดีซีแถลงเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงวันที่ 17 สิงหาคม มีรายงานผู้ติดเชื้อใน 12 ประเทศจากสมาชิกสหภาพแอฟริกา หรือเอยู (AU) ทั้งหมด 55 ประเทศที่ 18,737 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 3,101คน และผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ15,636 คน ส่วนผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตอยู่ที่ 541 คน คิดเป็นอัตราเสียชีวิตร้อยละ 2.89 ตัวเลขเหล่านี้ครอบคลุมเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์พบใหม่ที่แพร่ง่ายและอันตรายอย่างสายพันธุ์เคลด 1 บี (Clade 1b) สายพันธุ์ดังกล่าวเริ่มระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์ซี (DRC ) เมื่อเดือนกันยายน 2566 และยังคงเป็นศูนย์กลางของการระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยพบผู้ป่วยหมดทั้ง […]

รัฐแคลิฟอร์เนียประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉิน

ลอสแอนเจลิส 2 ส.ค. – ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรับมือการระบาดของโรคฝีดาษลิง และเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงให้แก่ประชาชน เพื่อยับยั้งการระบาดของโรคดังกล่าวที่ทำให้มีชาวอเมริกันติดเชื้อกว่า 5,800 คน นายเกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดของสหรัฐ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรับมือการระบาดของโรคฝีดาษลิงเมื่อวันจันทรฺ์ตามเวลาท้องถิ่น และเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงให้แก่ประชาชน ประกาศดังกล่าวจะทำให้เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินทางการแพทย์สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลกลางให้แก่ประชาชนเพื่อเร่งการฉีดวัคซีนให้ได้มากขึ้น ซึ่งคล้ายกับการอนุญาตให้เภสัชกรสามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้เมื่อไม่นานมานี้ ประกาศดังกล่าวของผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียมีขึ้น 9 วันหลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นระดับเตือนภัยสูงสุด สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐแคลิฟอร์เนียพบผู้ป่วยฝีดาษลิง 827 คนนับถึงวันจันทร์ สูงเป็นอันดับสองรองจากรัฐนิวยอร์กที่มี 1,390 คน โดยนางแคธี โฮเคิล ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรับมือโรคฝีดาษลิงเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะนี้ทั่วโลกพบการระบาดของโรคฝีดาษลิงใน 70 ประเทศนอกทวีปแอฟริกา และมียอดผู้ป่วยฝีดาษลิงกว่า 22,100 คน.-สำนักข่าวไทย

คาดภาวะฉุกเฉินโรคฝีดาษลิงอาจยาวนานหลายเดือน

ลอนดอน 27 ก.ค. – คณะผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ปรึกษาด้านโรคฝีดาษลิงขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า โอกาสป้องกันไม่ให้โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดไปทั่วกำลังจะหมดลงแล้ว เนื่องจากขณะนี้พบผู้ป่วยฝีดาษลิงเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 2 สัปดาห์ ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าที่โรคฝีดาษลิงจะถึงจุดสูงสุดของการระบาด แอนน์ ริมอยน์ (Anne Rimoin) อาจารย์ด้านระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ และหนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญโรคฝีดาษลิงขององค์การอนามัยโลกที่ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศเมื่อสัปดาห์ก่อน เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า ทั่วโลกต้องเร่งควบคุมโรคฝีดาษลิงให้รุดหน้าไปมากกว่านี้ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโอกาสป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายไปทั่วกำลังจะหมดลงแล้ว นพ. อองตวน ฟลาเฮาต์ (Antoine Flahault) ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพโลกของมหาวิทยาลัยเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญโรคฝีดาษลิงขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า การแพร่ระบาดเกิดขึ้นเนื่องจากขาดกระบวนการตรวจโรคอย่างเข้มงวด ส่วนนายจิมมี วิทเวิร์ธ (Jimmy Whitworth) อาจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอนของอังกฤษ เผยว่า ยอดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงจะเพิ่มขึ้นต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อย 4-6 เดือน หรือจนกว่ากลุ่มเสี่ยงติดเชื้อจะได้รับการฉีดวัคซีน หรือมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติหลังติดเชื้อ ก่อนหน้านี้ โรคฝีดาษลิงได้แพร่ระบาดในหลายพื้นที่ของทวีปแอฟริกามายาวนานหลายสิบปีจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นและเป็นโรคที่ถูกทั่วโลกไม่ให้ความสำคัญ ก่อนพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาเป็นจำนวนมากในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โรคฝีดาษลิงทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย และตุ่มอักเสบบนผิวหนัง ซึ่งมักหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงทั้งหมด 5 […]

แคลิฟอร์เนียประกาศภาวะฉุกเฉินไฟป่า

รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ประสบไฟป่า ใกล้อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี ที่ลุกลามรุนแรง จนเห็นกลุ่มควันได้ไกลถึงอวกาศ และสั่งอพยพประชาชนเกือบ 6,000 คน ออกจากพื้นที่

อนามัยโลกจะประชุมฉุกเฉินประเมินฝีดาษวานรสัปดาห์หน้า

เจนีวา 15 มิ.ย. –องค์การอนามัยโลกจะเรียกประชุมคณะกรรมการภาวะฉุกเฉินในวันพฤหัสบดีหน้า เพื่อประเมินว่าควรกำหนดให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่ ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เผยว่า การระบาดของโรคฝีดาษวานรเป็นเรื่องผิดปกติและน่าวิตกกังวล เขาจึงตัดสินใจเรียกประชุมคณะกรรมการภาวะฉุกเฉินภายใต้กฎอนามัยในวันพฤหัสบดีหน้า เพื่อประเมินว่าควรกำหนดให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่ โดยที่ขณะนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้โรคโควิด-19 และโรคโปลิโอเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ขณะที่นายอิบราฮิมา โซเช ฟอลล์ ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินประจำทวีปแอฟริกาขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า องค์การอนามัยโลกจำเป็นต้องประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะไม่ต้องการรอให้สถานการณ์ระบาดของโรคฝีดาษวานรลุกลามจนควบคุมไม่ได้ องค์การอนามัยโลกยังระบุว่า ปีนี้ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคไข้ฝีดาษวานร 1,600 คน ผู้สงสัยติดโรค 1,500 คน และผู้เสียชีวิต 72 คน จาก 39 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศที่พบการระบาดอยู่เป็นประจำ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า คนทั่วไปมักติดโรคฝีดาษวานรผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่ติดโรค นอกจากนี้ เชื้อไวรัสดังกล่าวยังแพร่กระจายผ่านทางการสัมผัสหรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้าและเครื่องนอน รวมถึงการติดต่อผ่านละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย เช่น การจามหรือการไอ ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรอาจมีอาการป่วยภายใน 6-13 วัน หรืออาจนานถึง 3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ โดยที่ส่วนใหญ่มักมีอาการป่วย เช่น […]

วานูอาตูประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ

พอร์ตวิลา 28 พ.ค.- รัฐสภาของวานูอาตู ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศแล้ว หลังจากนายกรัฐมนตรีระบุว่า ต้องใช้งบประมาณมากกว่า 40,000 ล้านบาทรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐสภาวานูอาตูเห็นชอบด้วยเสียงเอกฉันท์เมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น ต่อญัตติให้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ตามที่หลายประเทศทำมาแล้ว เช่น อังกฤษ แคนาดา ฟิจิ ผู้นำในสภากล่าวว่า ภารกิจของวานูอาตูคือการผลักดันให้ประเทศที่มีความรับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับขนาดและความเร่งด่วนของวิกฤตนี้ การใช้คำว่า ภาวะฉุกเฉิน เป็นวิธีส่งสัญญาณว่าต้องเร่งดำเนินการมากกว่าปกติ รัฐสภาลงมติดังกล่าวหลังจากนายกรัฐมนตรีบ็อบ เลาแมนแถลงว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและสภาพอากาศรุนแรงได้ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกเกิดผลกระทบที่ไม่สมส่วนกันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นั่นคือพายุไซโคลนโซนร้อนทำลายล้างสูง 2 ลูก และภาวะแห้งแล้งรุนแรง เขาระบุว่า วานูอาตูจะสามารถปฏิบัติตามพันธกิจลดโลกร้อนตามข้อตกลงปารีสภายในปี 2573 ได้ หากใช้งบประมาณอย่างน้อย 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 40,900 ล้านบาท) ดำเนินการตามแผนที่มุ่งเน้นเรื่องการปรับตัว การบรรเทาผลกระทบ และการดูแลความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งบประมาณส่วนใหญ่จะมาจากประเทศผู้บริจาค วานูอาตูซึ่งมีประชากรประมาณ 300,000 คน เคลื่อนไหวเรื่องนี้ก่อนที่สหประชาชาติจะมีการลงมติในเรื่องที่วานูอาตูยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกคุ้มครองประเทศที่เสี่ยงภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้แม้ความเห็นของศาลโลกจะไม่มีผลผูกพัน แต่วานูอาตูหวังว่า จะปูทางให้เกิดกฎหมายสากลให้แก่คนรุ่นหลังเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อความเสียหาย ความสูญเสีย และสิทธิมนุษยชน.-สำนักข่าวไทย

เมืองหลวงแคนาดาประกาศภาวะฉุกเฉินคุมม็อบรถบรรทุก

ออตตาวา 7 ก.พ. – กรุงออตตาวาของแคนาดาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับการชุมนุมประท้วงยาวนานหลายสัปดาห์ของม็อบคนขับรถบรรทุกที่ต่อต้านมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 จนทำให้การสัญจรในกรุงออตตาวาเป็นอัมพาต นายจิม วัตสัน นายกเทศมนตรีกรุงออตตาวา เผยกับสถานีวิทยุท้องถิ่นของแคนาดาว่า สถานการณ์ในเมืองอยู่นอกเหนือการควบคุมแล้ว กลุ่มผู้ประท้วงมีพฤติกรรมที่ไม่ยำเกรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการบีบแตร เปิดไซเรน จุดพลุ และจัดงานเลี้ยงกลางถนน เป็นภัยต่อผู้อาศัยในเมือง จำนวนผู้ประท้วงมีมากกว่าจำนวนตำรวจ กรุงออตตาวากำลังจะพ่ายแพ้ในการควบคุมการชุมนุมดังกล่าว เขาจะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น และต้องทำให้กรุงออตตาวากลับคืนสู่สภาพเดิม อย่างไรก็ดี นายวัตสันไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการที่จะใช้ ทั้งนี้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะทำให้ทางการกรุงออตตาวามีอำนาจเพิ่มเติม เช่น ได้รับอุปกรณ์ที่บุคลากรแนวหน้าและหน่วยบริการฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้ ด้านตำรวจกรุงออตตาวาระบุว่า เจ้าหน้าที่จะยกระดับข้อบังคับต่าง ๆ เช่น การจับกุมผู้ที่พยายามช่วยเหลือกลุ่มผู้ประท้วง ขณะที่แถลงการณ์ของกรุงออตตาวาระบุว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสะท้อนถึงอันตรายรุนแรงและภัยคุกคามต่อความปลอดภัยและความมั่นคงต่อประชาชนที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมที่ยาวนาน และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลแคนาดา ในขณะเดียวกัน ชาวกรุงออตตาวาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการประท้วงดังกล่าว และพากันร้องเรียนในกรณีที่มีกลุ่มคนขับรถบรรทุกนำรถมาจอดกีดขวางเส้นทางจราจรและในสวนสาธารณะของเมือง ซึ่งทำให้ประชาชนสูญเสียรายได้และหวั่นเกรงว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดการล่วงละเมิดและความรุนแรงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ชาวแคนาดาส่วนใหญ่สนับสนุนข้อกำหนดฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดของรัฐบาลแคนาดา โดยมีประชาชนร้อยละ 83 ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดส จากประชากรทั้งหมด 38 ล้านคน. -สำนักข่าวไทย

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยังไม่มีนโยบายฉีดวัคซีนสลับชนิด

กรุงเทพฯ 14 ก.ค.-ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยังไม่มีนโยบายให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ต่างชนิดกัน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ประกาศขณะนี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยังไม่มีนโยบายให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ต่างชนิดกัน เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันทั้ง 2 เข็ม ตามที่บริษัทผู้ผลิตได้รับอนุญาต “ยกเว้น” ผู้อยู่ในโครงการศึกษาวิจัย หรือ กรณีผู้ฉีดแพ้หรือมีอาการข้างเคียงรุนแรงจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก สามารถให้วัคซีนต่างชนิดกันในเข็มที่ 2 ได้ถ้าแพทย์เห็นสมควร ทั้งนี้ หากท่านไม่ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์และหลีกเลี่ยง เพื่อให้ได้รับวัคซีนต่างชนิดหรือวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันก่อนเวลาที่เหมาะสม ทางราชวิทยาลัยจะไม่รับผิดชอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และการประกันอาจไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลที่เกิดจากอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 .-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียวกับอีก 8 จังหวัด

รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในกรุงโตเกียว กับอีก 8 จังหวัดแล้ว ขณะที่จะเริ่มฉีดวัคซีนในสถานที่ทำงานเต็มรูปแบบในวันจันทร์เป็นต้นไป

1 2 3 7
...