ชี้น้ำท่วมใหญ่ในรอบศตวรรษที่อิตาลีโยงกับเรื่องโลกร้อน

โรม 20 พ.ค.- นักวิจัยชี้ว่า อุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษที่แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ทางตอนเหนือของอิตาลีซึ่งคร่าชีวิตคนไปแล้ว 14 คน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศกำลังรุนแรงขึ้น นักวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการปกป้องทางธรณีอุทกของอิตาลีแถลงข่าวเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงเพราะทำให้ดินยิ่งแห้งและแน่นขึ้น ทำให้น้ำซึมผ่านได้น้อยลง ดังนั้นเมื่อมีฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้น ๆ ดินจึงไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ น้ำส่วนเกินจึงไหลลงสู่แม่น้ำจนน้ำล้นตลิ่ง  สำนักงานป้องกันภัยพลเรือนอิตาลีแจ้งเมื่อวันพฤหัสบดีว่า แม่น้ำในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญามีน้ำล้นตลิ่งมากกว่า 20 สาย ส่งผลให้เกิดดินถล่มตามมาเป็นระลอกถึง 280 แห่ง ประชาชนมากถึง 20,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน และไม่มีไฟฟ้าใช้ 27,000 คน ขณะที่สมาคมการเกษตรแห่งหนึ่งเผยว่า มีไร่นามากกว่า 5,000 แห่งจมน้ำ รวมถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกผลไม้ ข้าวโพดและธัญพืช และมีรายงานปศุสัตว์จมน้ำตาย นักสิ่งแวดล้อมบางคนตำหนิรัฐบาลอิตาลีว่า ขาดการเตรียมพร้อม ทั้งที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อชีวิตผู้คน สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ อิตาลีมีสภาพภูมิประเทศที่เสี่ยงภัยอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะทำให้สภาพอากาศเลวร้ายมีความรุนแรงขึ้นและเกิดถี่ขึ้น  โดยเสี่ยงเกิดดินถล่มและเสี่ยงได้รับผลกระทบจากพายุรุนแรงเนื่องจากล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.-สำนักข่าวไทย

วิจัยพบโลกอนาคตเผชิญ “แห้งแล้งฉับพลัน” บ่อยขึ้น

หนานจิง, 7 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนเปิดเผยว่าโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเผชิญภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น และการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลการศึกษาจากวารสารไซเอนส์ (Science) ระบุว่าภาวะแห้งแล้งฉับพลันหรือการเริ่มแห้งแล้งอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นอย่างเป็นปกติยิ่งขึ้นบนพื้นที่บกส่วนใหญ่ในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น การเกิดภาวะแห้งแล้งโดยทั่วไปใช้เวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น แต่ด้วยภาวะอุณหภูมิสูงผิดปกติควบคู่กับภาวะขาดแคลนน้ำฝนขั้นรุนแรง ส่งผลให้ความชื้นในดินลดลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สัปดาห์ ภาวะแห้งแล้งฉับพลันลดการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศบนบกอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิ คลื่นความร้อน ไฟป่า และไฟฟ้าดับ กลายเป็นภัยคุกคามทั้งระบบนิเวศและการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศหนานจิงได้ดำเนินการวิจัยโดยอ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแห้งแล้งระหว่างปี 1951-2014 และพบการเกิดภาวะแห้งแล้งรวดเร็วเพิ่มขึ้นทั่วโลก บ่งชี้การเปลี่ยนผ่านทั่วโลกสู่การเกิดภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น หยวนซิง ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าผลการศึกษานี้แสดงการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย โดยการวิจัยเพิ่มเติมคาดว่าการเปลี่ยนผ่านจะขยายตัวไปยังพื้นที่บกส่วนใหญ่ของโลกในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230506/3af5db74471b4870a5eeda69df00083f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/356316_20230507ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ยุโรปเสี่ยงเกิดภัยแล้งช่วงฤดูร้อนซ้ำอีก

กลุ่มสังเกตการณ์สภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) เตือนว่า ภัยแล้งรุนแรงที่ทำให้ธารน้ำแข็งละลายในช่วงฤดูร้อนปี 2565 ซึ่งเป็นฤดูร้อนที่ร้อนเป็นประวัติการณ์ของยุโรป อาจเกิดขึ้นซ้ำอีกในปีนี้ เนื่องจากอุณหภูมิของยุโรปสูงขึ้นเร็วกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก

ฝนหลวงฯ เดินหน้าทำฝนลดหมอกควันไฟป่า-ภัยแล้ง-พายุลูกเห็บ

กรุงเทพฯ 3 มี.ค. – อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเผยสั่งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง 5 ภูมิภาคให้ขึ้นบินทำฝนทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยเพื่อลดหมอกควัน ฝุ่น PM2.5 ดับไฟป่า บรรเทาภัยแล้ง และยับยั้งพายุลูกเห็บ

เวนิสน้ำลดจนหลายคลองล่องเรือไม่ได้

เวนิส เมืองท่องเที่ยวชื่อดังของอิตาลีมีกระแสน้ำลดลงต่ำกว่าระดับปกติ จนเรือกอนโดลาที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองไม่สามารถล่องในคลองบางสายได้ จุดกระแสวิตกว่าอิตาลีอาจจะเผชิญภัยแล้งครั้งใหม่

ปีที่แล้วสเปนเผชิญอากาศร้อนจัด

ปีที่แล้วหลายเมืองทางภาคเหนือของสเปน เผชิญสภาพอากาศร้อนที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 2565 อยู่ที่เกือบ 15.5 องศาฯ หรือ 59.9 องศาฟาเรนไฮต์

คาด “ลานีญา” จะต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย

เจนีวา 31 ส.ค.- องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดว่า ปรากฏการณ์ลานีญาที่ทำให้ภูมิภาคทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเผชิญฝนตกหนักอยู่ในขณะนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย และจะเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษนี้ที่ลานีญาเกิดขึ้นครอบคลุมถึง 3 ฤดูหนาวติดต่อกัน ลานีญาบริเวณเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าที่พัดแรงขึ้นช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม ส่งผลให้ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ส่วนฝั่งตะวันออกมีปัญหาภัยแล้ง WMO คาดการณ์ว่า ลานีญาขณะนี้ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยมีโอกาสร้อยละ 70 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2565 และลดลงเหลือร้อยละ 55 ในเดือนธันวาคม 2565 -กุมภาพันธ์ 2566 นายเปตเตอรี ตาลาส เลขาธิการของ WMO แถลงว่า เป็นเรื่องผิดปกติมากที่ลานีญาเกิดขึ้นต่อเนื่องถึง 3 ปี อิทธิพลความเย็นของลานีญากำลังช่วยชะลออุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นได้ชั่วคราว แต่ไม่สามารถหยุดยั้งหรือเปลี่ยนแปลงแนวโน้มโลกร้อนในระยะยาว ผลจากลานีญาที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ภาวะแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้นบริเวณจะงอยแอฟริกาทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปและบริเวณทางใต้ของแอฟริกาใต้ และภาวะฝนตกหนักเกินปริมาณเฉลี่ยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคออสตราเลเชียที่ครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะใกล้เคียง.-สำนักข่าวไทย

เสฉวนเฝ้าระวังน้ำท่วมทั้งที่เพิ่งเผชิญภัยแล้ง

ฉงชิ่ง 29 ส.ค.- มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเฝ้าระวังน้ำท่วมหลังจากฝนตกหนักหลายวันติดต่อกัน ทั้งที่เพิ่งเผชิญภัยแล้ง อุณหภูมิสูงจัดเมื่อต้นเดือนเดียวกัน ฝนเริ่มตกหนักตั้งแต่วันอาทิตย์ในเทศมณฑลฉงชิ่งและพื้นที่ใกล้เคียงในมณฑลเสฉวน คาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงวันอังคาร รัฐบาลจีนประกาศใช้มาตรการป้องกันน้ำท่วมในฉงชิ่งและเสฉวนเมื่อเวลา 18:00 น.วันอาทิตย์ตามเวลาจีน ทั้งที่เมื่อต้นเดือนนี้เพิ่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินภัยแล้งระดับประเทศ หลายพื้นที่ทางใต้ของจีนมีอุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียสในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่จีนเริ่มการจดบันทึกในปี 2504 ฉงชิ่งไม่มีฝนตกเลยร่วม 3 สัปดาห์ ทำให้เขื่อนเหลือน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า ทางการต้องใช้มาตรการปันส่วนไฟฟ้า ด้วยการสั่งให้โรงงานส่วนใหญ่หยุดเดินเครื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้บรรเทาความร้อน ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีที่เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในจีน สภาพอากาศร้อนจัดทำให้ทะเลสาบและแม่น้ำหลายสายเหือดแห้งจนเห็นโคลนที่ท้องน้ำ เสี่ยงกระทบต่อเกษตรกรในหลายเมือง.-สำนักข่าวไทย

จีนสั่งปิดไฟแหล่งท่องเที่ยวหลังเผชิญภัยแล้ง-ไฟไม่พอใช้

จีนสั่งปิดไฟในย่าน ‘เดอะบันด์’ (The Bund) สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ขึ้นชื่อเรื่องทิวทัศน์สวยงามริมน้ำยามค่ำคืนในนครเซี่ยงไฮ้ เป็นเวลา 2 วัน เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า หลังเผชิญปัญหาภัยแล้งรุนแรงที่เกิดจากคลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ จนทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการ

จีนเผชิญภาวะอุณหภูมิสูง-ภัยแล้งต่อเนื่อง

หลายพื้นที่ของจีนยังเผชิญภาวะอุณหภูมิสูง และภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง แค่ ก.ค. เดือนเดียว ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจแล้วกว่าหมื่นล้านบาท

จีนออกประกาศเตือนภัยแล้งระดับชาติครั้งแรกของปี

จีนออกประกาศเตือนภัยจากปัญหาภัยแล้งครั้งแรกของปีนี้ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องเข้าจัดการกับไฟป่าและส่งผู้เชี่ยวชาญไปปกป้องพืชผลทางการเกษตรจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดตลอดลุ่มแม่น้ำแยงซี

จีนแก้ไขปัญหาภัยแล้งขณะคลื่นความร้อนยังเกิดต่อเนื่อง

จีนลงมือดำเนินมาตรการฉุกเฉินเพื่อนำน้ำไปยังพื้นที่ประสบภัยแล้งบริเวณลุ่มน้ำแยงซี จัดสรรเงินกองทุนเพื่อบรรเทาทุกข์ ทำฝนเทียมและพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ ๆ ในขณะที่คลื่นความร้อนที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์

1 4 5 6 7 8 43
...