สติเตือน 3 กับดักฮิตมิจฉาชีพ ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวคราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเอาเงินอยู่บ่อย ๆ ทั้งคิดค้นสารพัดวิธีมาหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล รวมถึงมีข่าวว่าเหยื่อแจ้งความว่าเสียเงินเป็นล้าน แต่ยังมีคนตกหลุมพรางมุกต่าง ๆ อยู่เสมอ  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จะมาอัปเดต 3 กลโกงท็อปฮิตของมิจฉาชีพ จากแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ จากธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ทุกคนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 1. SMS แนบลิงก์แปลก อย่าคลิก !   บางครั้งเราเห็นลิงก์แปลกที่มาพร้อมข้อความล่อใจ เช่น แจกรางวัล แจกเงิน ได้รับการอนุมัติ วงเงินจำนวนมาก แถมส่งมาจากชื่อผู้ส่งเดียวกับธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สารพัดวิธีที่ทำให้เราหลงเชื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงก์ที่แนบมา บางรายโดนหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เราได้จากระยะไกล (Remote Desktop) มิจฉาชีพสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี ดังนั้น #สติ ข้อที่ 1 คือ จำไว้ว่า ปัจจุบันธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบ แนบลิงก์แล้วนะ หากได้รับ […]

เตือนภัยแอบอ้างสรรพากรหลอกเอาเงิน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับกรมสรรพากร เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นกรมสรรพากรหลอกลวงประชาชน และในรอบสัปดาห์ พบคดีหลอกขายของออนไลน์จำนวนมาก แนะจุดสังเกต-วิธีป้องกัน

ภัยออนไลน์ “หลอกลวงซื้อสินค้า” ยังครองแชมป์อันดับ 1

ตร.เผยภัยออนไลน์จากการหลอกลวงซื้อสินค้า พบเป็นคดีที่ประชาชนถูกหลอกมากเป็นอันดับ 1 สัปดาห์เดียวถูกหลอก 1,500 เคส เสียหายกว่า 14 ล้านบาท มีทั้งหลอกขายนม ปลอมคิวอาร์โค้ด เปิดบัญชีม้า

กำชับเฝ้าระวัง-ปราบปราม ‘ภัยออนไลน์’

นายกฯ กำชับหน่วยงานเกี่ยวข้องเฝ้าระวังและปราบปรามภัยออนไลน์ต่อเนื่อง หลังพบมิจฉาชีพเปลี่ยนรูปแบบล่าสุดหลอกเป็นนายหน้าเถื่อนหาคนไปทำงานต่างประเทศพร้อมให้เร่งขยายผลปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เตือนประชาชนรู้เท่าทันกลลวงอันตราย

ห่วงเด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์

มักกะสัน 19  ส.ค. – กรมเด็กฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายออกแนวทางเลี้ยงลูกยุคดิจิทัล พร้อมเรียกร้องทุกฝ่ายเร่งมาตรการคุ้มครองป้องกันเด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์ หลังผลสำรวจพบเด็กไทยมีความเสี่ยงจากภัยออนไลน์หลายรูปแบบ   กรมกิจการเด็กและเยาวชน โดยศูนย์ประสานงานส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ หรือ โคแพท (COPAT – Child Online Protection Action Thailand) แถลงผลสำรวจที่ทำร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เกี่ยวกับสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ซึ่งสำรวจทางออนไลน์ เมื่อเดือน ก.พ.-เม.ย. 2562 กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 6-18 ปี จำนวน 15,318 คน จากทั่วประเทศ นางศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เปิดเผยผลสำรวจว่า เด็กเกือบทั้งหมดเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์แต่ก็ตระหนักเรื่องภัยอันตรายและความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กร้อยละ86 เชื่อว่าสามารถให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบภัยออนไลน์ได้ ขณะที่ร้อยละ 54 เชื่อว่าเมื่อเกิดกับตนเองสามารถจัดการปัญหาได้ เด็กมากกว่าร้อยละ 83 ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ใช้เพื่อพักผ่อน/บันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นหลัก คือร้อยละ67 , เด็กร้อยละ 39 […]

1 2
...