ผู้นำฝรั่งเศสจะเยี่ยมเหยื่อที่ถูกมือมีดไล่แทง

ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส จะเดินทางไปเยี่ยมผู้ตกเป็นเหยื่อในเหตุคนร้ายไล่แทงคนในเมืองแถบเทือกเขาแอลป์ ขณะที่มีข้อมูลว่าผู้ต้องสงสัยซึ่งเป็นชาวซีเรีย เพิ่งได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในสวีเดน

ไซโคลน “โมคา” ระดับ 5 ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมา

เทคนาฟ 14 พ.ค.- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศแจ้งว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) ได้ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมาแล้วในวันนี้ ทำให้ต้นไม้ล้มและมีฝนตกในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัยโรฮีนจาอาศัยอยู่ร่วมล้านคน สำนักงานฯ แจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมา ก่อนหน้านี้ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐแจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 140 นอตหรือ 259 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ชายชาวโรฮีนจาวัย 28 ปีที่ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศเผยว่า ที่พักในค่ายผู้ลี้ภัยสร้างด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพียงแค่ถูกลมพัดเบา ๆ ก็เสียหายแล้ว ส่วนโรงเรียนที่ใช้เป็นที่หลบภัยไซโคลนก็ไม่แข็งแรงมากพอที่จะต้านทานแรงลมได้ ทำให้ทุกคนรู้สึกหวาดกลัว ด้านชาวโรฮีนจาที่อยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเวเผยว่า เริ่มมีลมพัดแรงตั้งแต่เช้าและแรงขึ้นเรื่อย ๆ บ้านพักในค่ายพังเสียหาย หลังคาของที่หลบภัยซึ่งสร้างโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ถูกลมพัดปลิวหาย บังกลาเทศเคยถูกไซโคลนซิดร์ (Sidr) พัดถล่มทางตอนใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 9,000 คน สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ขณะที่เมียนมาเคยถูกไซโคลนนาร์กิส (Nargis) พัดถล่มบริเวณสันดอนแม่น้ำอิรวดีในปี 2551 คร่าชีวิตคนไปมากถึง 138,000 คน.-สำนักข่าวไทย

บังกลาเทศอพยพหนี “โมคา” ไซโคลนรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี

บังกลาเทศเตรียมอพยพผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย เนื่องจากไซโคลนโมคา (Mocha) ที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 2 ทศวรรษกำลังมุ่งหน้ามายังบังกลาเทศและเมียนมา

นักข่าวที่เมียนมานิรโทษกรรมขอให้ญี่ปุ่นกดดันเมียนมา

โตเกียว 28 พ.ย.- นักข่าวชาวญี่ปุ่นที่ได้รับนิรโทษกรรมจากเมียนมาเมื่อกลางเดือนนี้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา และรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมา นายโทรุ คุโบตะ ผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดี วัย 26 ปี แถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียวในวันนี้ เรียกร้องให้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้บริจาคและผู้ลงทุนรายใหญ่ของเมียนมามานาน ดำเนินแนวทางเชิงรุกอย่างจริงจังต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและวิพากษ์วิจารณ์เมียนมาในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นควรตรวจสอบอย่างเคร่งครัดว่า เงินทุนของญี่ปุ่นถูกกองทัพเมียนมานำไปใช้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถูกนำไปเข่นฆ่าผู้คนหรือไม่ เขายังขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมาเพิ่มขึ้นด้วย ญี่ปุ่นเป็นรัฐผู้ลงนามในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ แต่รับผู้ลี้ภัยเพียงจำนวนหนึ่งในแต่ละปี คุโบตะกล่าวถึงช่วงเวลาที่ถูกขังเดี่ยวที่เรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้งของเมียนมาว่า ราวกับอยู่ในนรก การที่เขาได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับผู้ต้องขังอีกเกือบ 6,000 คน เป็นเพียงเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ เพราะยังมีคนอีก 12,000 คนถูกควบคุมตัวอย่างไม่สมควร คุโบตะถูกทางการเมียนมาควบคุมตัวพร้อมกับพลเมืองชาวเมียนมา 2 คน ขณะอยู่ใกล้การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในนครย่างกุ้งเมื่อเดือนกรกฎาคม เขาถูกตัดสินจำคุก 7 ปีข้อหาบันทึกภาพการประท้วง และจำคุก 3 ปีข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายเข้าเมือง โดยเพิ่งได้รับนิรโทษกรรมพร้อมกับผู้ต้องขังอีกหลายคนเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน เนื่องในวันแห่งชาติ (National Day) รวมถูกควบคุมตัวนาน 3 เดือนครึ่ง ญี่ปุ่นประกาศหลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า จะระงับโครงการความช่วยเหลือใหม่ทุกโครงการ แต่ไม่กระทบโครงการที่มีอยู่แล้ว […]

โรฮิงญากว่า 100 ชีวิตขึ้นฝั่งอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 15 พ.ย.- เรือที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามากถึง 111 คน ขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ ทางเหนือสุดของอินโดนีเซียในวันนี้ เจ้าหน้าที่จังหวัดอาเจะห์เผยว่า ผู้ลี้ภัยทั้ง 111 คนมีสุขภาพแข็งแรงดี ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 18 คน และสตรี 27 คน ทางการได้นำไปพักในหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นการชั่วคราว และจะหารือกันในวันนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามักอาศัยช่วงคลื่นลมในทะเลสงบระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนล่องเรือออกจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาหนีมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยในช่วงหลายปีมานี้ได้ล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่จังหวัดอาเจะห์แล้วหลายร้อยคน บางครั้งต้องลอยเรืออยู่กลางทะเลนานหลายเดือน เมียนมาถือว่าชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม เป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศแม้ว่าเกิดในเมียนมาก็ตาม ชาวโรฮิงญามากกว่า 730,000 คนหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 หลังจากกองทัพเมียนมายกกำลังขึ้นไปโดยอ้างว่าเพื่อปราบปรามกลุ่มก่อเหตุไม่สงบ แต่ผู้เห็นเหตุการณ์แย้งว่า ทหารเมียนมาได้สังหารหมู่และข่มขืนชาวโรฮิงญา.-สำนักข่าวไทย

โปแลนด์ช่วยเหลือเด็กชาวยูเครน

โปแลนด์ ช่วยเหลือเด็กชาวยูเครนที่ลี้ภัยสงคราม หลังโดยสารรถไฟออกจากยูเครนมาถึงโปแลนด์ ขณะที่การสู้รบทำให้ประชาชนต้องพลัดถิ่นแล้วกว่า 10 ล้านคน

VOA ส่งตรงจากสหรัฐ : คนไทยปันน้ำใจช่วยผู้ลี้ภัยชาวยูเครน

สถานการณ์สงครามในยูเครน ทำให้คลื่นผู้ลี้ภัยหลายล้านคนทะลักไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างไม่ขาดสาย ขณะที่การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมยังคงเป็นเรื่องจำเป็น และในจำนวนนี้มีคนไทยในเยอรมนีและโปแลนด์ ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวยูเครน

วิเคราะห์เหตุสหรัฐรับผู้ลี้ภัยยูเครนไม่ถึง 700 คน

วอชิงตัน 19 มี.ค.- ซีเอ็นเอ็น (CNN) วิเคราะห์หาสาเหตุที่สหรัฐรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนเพียง 690 คน ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อนจนถึงขณะนี้ ทั้งที่มีคนอพยพออกจากยูเครนแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน ตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซาชารี บี วูลฟ์ นักเขียนอาวุโสของซีเอ็นเอ็นระบุว่า ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนเกือบ 2 ล้านคนเดินทางไปยังโปแลนด์ที่มีพรมแดนติดกันทางตะวันตก ขณะที่สหรัฐรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครนเพียง 690 คนตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน แสดงว่าแทบไม่มีผู้ลี้ภัยไปสหรัฐเลยตั้งแต่รัสเซียรุกราน ปัญหาเกิดจากระเบียบขั้นตอนยุ่งยากและระบบคนเข้าเมืองของสหรัฐที่มีปัญหา ประธานาธิบดีโจ ไบเดนกล่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 1 มีนาคมว่า ยินดีต้อนรับผู้ลี้ภัยชาวยูเครน แต่จนถึงขณะนี้ครอบครัวชาวอเมริกันยังไม่สามารถรับอุปการะชาวยูเครนได้ แหล่งข่าวหลายแห่งเผยว่า รัฐบาลกำลังหารือวิธีช่วยให้ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนได้พักอาศัยกับครอบครัวที่มีถิ่นฐานอยู่ในสหรัฐอยู่แล้ว ประธานาธิบดีอันด์เซ ดูดา ของโปแลนด์ได้ร้องขอเป็นการส่วนตัวกับรองประธานาธิบดีคามาลา เดวี แฮร์ริสของสหรัฐที่ไปเยือนสัปดาห์ที่แล้ว ให้เร่งกระบวนการดังกล่าวและลดความซับซ้อนลง วูลฟ์อธิบายว่า กระบวนการขอเป็นผู้ลี้ภัยในสหรัฐใช้เวลายาวนานหลายปีในการดำเนินการและคัดกรอง ประธานาธิบดีไบเดนได้เพิ่มเพดานรับผู้ลี้ภัยจาก 15,000 คนในสมัยรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ เป็น 62,500 คนในเดือนพฤษภาคม 2564 และเพิ่มล่าสุดเป็น 125,000 คน แต่ยังคงต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงคริสต์ทศวรรษหลังปี […]

ยูเอ็นระบุมีผู้ลี้ภัยในโปแลนด์กว่า 1.8 ล้านคน

สหประชาชาติ ระบุมีผู้อพยพจากยูเครนข้ามพรมแดนไปยังโปแลนด์แล้วกว่า 1.8 ล้านคน ซึ่งสหประชาชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่และสิ่งของช่วยเหลือเพิ่มเติมไปยังโปแลนด์

โปแลนด์ใช้สนามกีฬาเป็นศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยจากยูเครน

โปแลนด์ 16 มี.ค. – โปแลนด์ปรับเปลี่ยนสนามกีฬาขนาดใหญ่ให้เป็นศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยจากยูเครน รองรับผู้ลี้ภัยได้ราว 240 คน ขณะที่มีผู้ลี้ภัยผ่านศูนย์อพยพแห่งนี้แล้วราว 5,000 คน

สนามกีฬาขนาดใหญ่ในเมืองเมดีกาของโปแลนด์ ซึ่งมีพรมแดนติดกับยูเครน ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นศูนย์พักพิงสำหรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก นายกเทศมนตรีเมืองเมดีกา บอกว่า ศูนย์แห่งนี้สามารถรองรับผู้ลี้ภัยได้ราว 240 คน จนถึงขณะนี้มีผู้ลี้ภัยผ่านศูนย์อพยพแห่งนี้แล้วราว 5,000 คน

หนึ่งในผู้ลี้ภัย บอกว่า จะมีผู้อพยพจากทางตะวันตกของยูเครนเพิ่มขึ้นอีก หากสงครามยังคงดำเนินอยู่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ รายงานว่า มีผู้ลี้ภัยในโปแลนด์กว่า 1.8 ล้านคน โดยราว 300,000 คน มุ่งหน้าต่อไปยังยุโรปตะวันตก. – สำนักข่าวไทย

อังกฤษเปิดโครงการให้ที่พักผู้ลี้ภัยยูเครน

ลอนดอน 15 มี.ค.- รัฐบาลอังกฤษเปิดให้ประชาชนลงชื่อเข้าร่วมในโครงการให้ที่พักแก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครน (Homes for Ukraine) และมีคนสนใจลงชื่อมากถึง 43,800 รายในช่วง 5 ชั่วโมงแรกเท่านั้น นายไมเคิล โกฟ รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะและชุมชนของอังกฤษเผยว่า ทางการจะไม่จำกัดจำนวนชาวยูเครนที่จะเดินทางเข้าประเทศตามโครงการนี้ ครัวเรือนในอังกฤษที่ต้องการให้ที่พักฟรีแก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนอย่างน้อย 6 เดือนสามารถเข้าไปลงทะเบียนแสดงความจำนงในเว็บไซต์ https://homesforukraine.campaign.gov.uk/  และจะเริ่มรับชาวยูเครนที่มีวีซ่าเข้าอังกฤษได้ตั้งแต่วันศุกร์นี้ เบื้องต้นทางการจะอนุมัติให้เฉพาะผู้ที่รู้จักชาวยูเครนที่ต้องการช่วยเหลือ เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินสนับสนุนเดือนละ 350 ปอนด์ (ราว 15,250 บาท) โดยไม่คิดภาษี และไม่จำเป็นต้องจัดหาอาหารและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ลี้ภัย  แต่สามารถทำได้โดยสมัครใจ หลังจากนั้นทางการจะให้องค์กรการกุศล กลุ่มชุมชนและกลุ่มศาสนาเข้ามาช่วยจับคู่ผู้ลี้ภัยและผู้ต้องการให้ที่พัก รัฐบาลอังกฤษถูกวิจารณ์เรื่องความล่าช้าในการตอบสนองต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวยูเครนที่หนีการรุกรานของรัสเซีย คาดว่ามีคนอพยพออกจากยูเครนแล้วเกือบ 3 ล้านคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียสั่งให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารพิเศษกับยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 8
...