ผลวิจัยคนไทยนั่งนานกว่า 7 ชม./วัน แนะเพิ่มกิจกรรมทางกาย

กรมอนามัย และ IHPP ผลงานวิจัย พบคนไทย 3 ใน 4 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ แต่นั่งนานกว่า 7 ชั่วโมง/วัน ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แนะเพิ่มกิจกรรมทางกาย ด้วยการขยับร่างกาย หรือมีกิจกรรมนันทนาการในยามว่างแทน เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

ผลวิจัยสหรัฐระบุ ยา “แพกซ์โลวิด” ลดเสี่ยงอาการ “ลองโควิด”

นิวยอร์ก 7 พ.ย. – ผลวิจัยของสหรัฐระบุว่า ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘แพกซ์โลวิด’ (Paxlovid) สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการลองโควิดได้ร้อยละ 26 คณะนักวิจัยของระบบสาธารณสุขสังกัดกระทรวงทหารผ่านศึกของสหรัฐระบุในงานวิจัยที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการว่า การรับประทานยาแพกซ์โลวิดภายใน 5 วัน หลังติดเชื้อโควิดมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการลองโควิดได้ร้อยละ 26 หรือเท่ากับมีผู้ที่มีอาการลองโควิดภายใน 3 เดือนที่ติดเชื้อ น้อยลง 2.3 รายต่อจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทุก 100 คน ขณะที่ นพ.ซิยาด อัล-อาลี หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุขของกระทรวงทหารผ่านศึกสหรัฐ และหัวหน้าคณะนักวิจัยในครั้งนี้ ระบุว่า นอกจากยาแพกซ์โลวิดช่วยลดความเสี่ยงจากอาการป่วยรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยโควิดได้แล้ว ยังมีหลักฐานที่ยืนยันว่ายาดังกล่าวช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการลองโควิดได้อีกด้วย ดังนั้น ยาแพกซ์โลวิดจึงอาจมีบทบาทสำคัญในการรักษาอาการลองโควิดได้ในอนาคต ผลวิจัยในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ใช้งานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงทหารผ่านศึกสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบการรักษาพยาบาลแบบบูรณาการที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ โดยที่คณะนักวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยโควิด 9,217 คนที่ได้รับประทานยาแพกซ์โลวิดกับผู้ป่วยโควิด 47,123 คนที่ไม่ได้รับประทานยาต้านเชื้อโควิดภายในเดือนแรกที่ติดเชื้อ อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยในครั้งนี้ยังคงมีข้อจำกัดเป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวและผู้ชาย รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลของอาการลองโควิดเพียง 12 อาการ ทั้งที่อาการลองโควิดอาจเกิดขึ้นได้หลากหลายมากกว่านี้.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยชี้ผู้ชายมีแนวโน้มอายุยืนกว่าผู้หญิง

โคเปนเฮเกน 3 ส.ค. – ผลวิจัยของเดนมาร์ก พบว่า ผู้ชายที่แต่งงานและจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้หญิง ซึ่งถือเป็นผลการศึกษาที่ทลายความเชื่อที่มีมายาวนานว่า ผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชาย ผลวิจัยของเดนมาร์ก ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริติช เมดิคัล เจอร์นัล (British Medical Journal) ในวันนี้ พบว่า ผู้ชายที่แต่งงานแล้วร้อยละ 39 มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้หญิง สูงกว่าผู้ชายโสดที่ร้อยละ 37 ส่วนผู้ชายที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยร้อยละ 43 มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนกว่าผู้หญิง สูงกว่าผู้ชายที่จบการศึกษาระดับมัธยมที่ร้อยละ 39 ทั้งยังระบุว่า มีผู้ชายร้อยละ 25-50 ที่มีอายุยืนยาวกว่าผู้หญิง และผู้หญิงทุกคนไม่ได้มีอายุยืนกว่าผู้ชาย แม้ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอายุยืนกว่าผู้ชาย แต่ผู้หญิงส่วนน้อยที่มีอายุสั้นกว่าผู้ชายก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ผลวิจัยดังกล่าวยังระบุว่า ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่าผู้ชายนั้นเกิดจากการสรุปโดยใช้อายุขัยโดยเฉลี่ยมากกว่าข้อมูลที่เป็นอายุขัยจริง จนทำให้เกิดการตีความผิดว่า ผู้ชายมีอายุสั้นกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ คณะนักวิจัยของเดนมาร์กได้รวบรวมและศึกษาข้อมูลประชากรและอัตราการเสียชีวิตของประชากร 199 คนจากทุกทวีปในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยชี้ผู้ป่วยฝีดาษลิง 95% ติดเชื้อผ่านกิจกรรมทางเพศ

ลอนดอน 22 ก.ค. – ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีน แมรี แห่งลอนดอน (Queen Mary University of London) ของอังกฤษ ระบุว่า ผู้ป่วยโรคไข้ฝีดาษวานรร้อยละ 95 ติดเชื้อผ่านกิจกรรมทางเพศในกลุ่มผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย คณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยควีน แมรี แห่งลอนดอน ได้เผยแพร่ผลวิจัย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (The New England Journal of Medicine) เมื่อวันพฤหัสบดี จากการศึกษาตัวอย่างกลุ่มผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร 528 คนใน 16 ประเทศระหว่างวันที่ 27 เมษายน-24 มิถุนายนที่ผ่านมา ผลวิจัยดังกล่าวชี้ว่า การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางกิจกรรมทางเพศในกลุ่มผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยได้เช่นกัน ทั้งยังระบุว่า ในภาพรวม พบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรร้อยละ 98 เป็นผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย มีร้อยละ 41 เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และมีอายุเฉลี่ย 38 ปี กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้เปลี่ยนคู่นอนโดยเฉลี่ย 5 คนในรอบ […]

ผลวิจัยชี้โอไมครอนทำให้เสี่ยงเป็นลองโควิดน้อยกว่าเดลตา

ลอนดอน 17 มิ.ย. – ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ของอังกฤษ ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดเกิดภาวะลองโควิด (Long Covid) ได้น้อยกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ของอังกฤษเผยแพร่ผลวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซ็ต (The Lancet) เมื่อวันพฤหัสบดีว่า ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในอังกฤษมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดลดลงร้อยละ 20-50 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา แต่ตัวเลขดังกล่าวขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาที่ฉีดวัคซีนโควิดครั้งล่าสุดของผู้ที่เคยติดเชื้อ ผลวิจัยชิ้นนี้พบว่า มีผู้ป่วยภาวะลองโควิดเพียงร้อยละ 4.5 จากผู้ที่เคยติดโควิดทั้งหมด 56,003 คนในเดือนธันวาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษเผชิญกับการระบาดรุนแรงของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ขณะที่พบผู้ป่วยภาวะลองโควิดมากถึงร้อยละ 10.8 จากผู้ที่เคยติดโควิดทั้งหมด 41,361 คนในเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษเผชิญกับการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา คณะนักวิจัยยังระบุว่า ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะลองโควิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ตัวเลขผู้ป่วยภาวะลองโควิดลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้พบผู้ป่วยภาวะลองโควิดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยสหรัฐชี้เชื้อโควิดโอไมครอนรุนแรงเท่าสายพันธุ์อื่น

วอชิงตัน 6 พ.ค. – ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยมิเนอร์วาและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยรุนแรงเท่า ๆ กับเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งขัดแย้งกับผลวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้าที่ชี้ว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรงน้อยกว่า คณะนักวิจัยระบุในผลวิจัยล่าสุดที่กำลังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการว่า พบอัตราผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอยู่ในระดับเท่ากันกับช่วง 2 ปีก่อนที่มีการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไรก็ดี นักวิจัยจากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยมิเนอร์วาและโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเพิ่มเติมจนกว่าขั้นตอนตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจะเสร็จสิ้น ทั้งนี้ ผลวิจัยดังกล่าวได้ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 130,000 คนในรัฐแมสซาชูเซตส์ของสหรัฐ นพ. อาจุน เวนกาเทช จากโรงเรียนแพทย์เยลของมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐ ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลวิจัยดังกล่าว ระบุว่า ผลวิจัยชิ้นนี้มีความโดดเด่นและชัดเจนมาก เนื่องจากไม่ได้ศึกษาเรื่องตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับผลวิจัยก่อนหน้านี้ แต่ยังศึกษาเกี่ยวกับสถานะการฉีดวัคซีนโควิดและปัจจัยเสี่ยงทางการแพทย์ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีสถานะใกล้เคียงกัน เขามองว่า หากไม่มีวัคซีนและยารักษาโรคโควิดมากขึ้นดังเช่นในปัจจุบัน เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจมีความรุนแรงกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งขัดแย้งกับผลวิจัยและสมมติฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายคนที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น  ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความลังเลในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยชี้โควิดเพิ่มเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดตันนาน 6 เดือน

ผลวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์บีเอ็มเจ ระบุว่าผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันรุนแรงเป็นเวลานานถึง 6 เดือนหลังติดเชื้อโควิด

ผลวิจัยอังกฤษชี้โควิดทำให้สมองหดตัว

ลอนดอน 8 มี.ค. – ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษพบว่า โรคโควิด-19 เป็นสาเหตุที่ทำให้สมองหดตัว ทำให้เนื้อสมองสีเทาที่ควบคุมอารมณ์และความจำมีขนาดเล็กลง และทำลายเนื้อสมองส่วนที่ควบคุมระบบประสาทรับกลิ่น คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดระบุในผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งเป็นวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ว่า โรคโควิด-19 เป็นสาเหตุที่ทำให้สมองหดตัว ทำให้เนื้อสมองสีเทาที่ควบคุมอารมณ์และความจำมีขนาดเล็กลง และทำลายเนื้อสมองส่วนที่ควบคุมระบบประสาทรับกลิ่น ผลวิจัยดังกล่าวยังพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่ไม่ได้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื้อสมองเพียงบางส่วนหรือส่งผลกระทบในระยะยาวหรือไม่ เนื่องจากจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อยมีสมองส่วนควบคุมหน้าที่และการบริหารจัดการลดลง และมีขนาดสมองโดยเฉลี่ยหดตัวลงตั้งแต่ร้อยละ 0.2 ถึงร้อยละ 2 ผลวิจัยดังกล่าวได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสมองของอาสาสมัคร 785 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 51-81 ปี แต่ละคนจะได้รับการสแกนสมอง 2 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างระหว่างครั้งแรกกับครั้งที่สองประมาณ 141 วัน และมีอาสาสมัคร 401 คนที่ติดเชื้อโควิดในระหว่างการสแกนสมองครั้งแรกกับครั้งที่สอง ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ทำการศึกษาดังกล่าวในช่วงที่อังกฤษกำลังเผชิญกับการระบาดรุนแรงของเชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟา และเป็นช่วงที่ยังไม่มีอาสาสมัครคนใดติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยฮ่องกงชี้โควิดทำให้อสุจิ-ความต้องการทางเพศลดลง

ฮ่องกง 23 ก.พ. – ผลวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยฮ่องกงชี้ว่า โรคโควิด-19 อาจทำให้จำนวนเชื้ออสุจิและความต้องการทางเพศลดลง แต่ระบุว่าการฉีดวัคซีนโควิดจะช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ คณะนักวิจัยภาคจุลชีววิทยาของมหาวิทยาลัยฮ่องกงได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัณฑะและฮอร์โมนของหนูแฮมสเตอร์ตัวผู้ที่ติดเชื้อโควิด โดยที่ผลวิจัยดังกล่าวพบว่า หนูแฮมสเตอร์มีจำนวนอสุจิและฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ทางเพศลดลง รวมถึงมีแนวโน้มเกิดภาวะอัณฑะฝ่อตัวที่ทำให้อัณฑะมีขนาดเล็กกว่าปกติ ขณะที่ศาสตราจารย์หยวน กว๊อก-หยุง ประธานภาควิชาโรคติดเชื้อ คณะจุลชีววิทยา ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งเป็นหัวหน้าการวิจัยในครั้งนี้ ระบุว่า ผู้ชายที่หายป่วยจากโรคโควิดควรตระหนักถึงภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำที่ทำให้ร่างกายผลิตอสุจิและมีความต้องการทางเพศลดลง ก่อนหน้านี้ มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติหลายชิ้นที่ระบุว่า ผู้ป่วยโควิดเพศชายมีอาการปวดอัณฑะ อสุจิเคลื่อนที่ช้าลง และมีจำนวนอสุจิลดลงหลังจากที่หายป่วย นอกจากนี้ ผลชันสูตรศพชายที่เสียชีวิตจากโรคโควิดยังแสดงให้เห็นว่า ศพเหล่านี้มีภาวะอัณฑะอักเสบที่อัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง.-สำนักข่าวไทย

นำผลวิจัยจากสถาบันการศึกษาออกสู่เชิงพาณิชย์

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 9 ระดับประเทศ (Research to Market: R2M) ประจำปี 2564 นำผลการวิจัยจากสถาบันการศึกษาออกสู่เชิงพาณิชย์และสร้างโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย ผู้คิดค้นนวัตกรรม และนักศึกษา

ผลวิจัยฮ่องกงชี้โอไมครอนแพร่ในหลอดลมเร็วกว่าเดลตา 70 เท่า

ฮ่องกง 16 ธ.ค. – ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกงระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในหลอดลมสูงถึง 70 เท่า เมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา แต่เพิ่มจำนวนช้าลง 10 เท่าในเนื้อเยื่อปอดเมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีอาการป่วยรุนแรงน้อยกว่า ผลวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่โดยคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง (HKUMed) ระบุว่า คณะนักวิจัยประสบความสำเร็จในการคัดแยกเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนและนำเนื้อเยื่อปอดจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิดมาใช้ในการศึกษาการกลายพันธุ์ครั้งล่าสุด ผลการเปรียบเทียบเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมพบว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในหลอดลมมากกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมและเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาถึง 70 เท่าหลังได้รับเชื้อโอไมครอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนกลับเพิ่มจำนวนช้าลง 10 เท่าในเนื้อเยื่อปอด เมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนมีอาการป่วยรุนแรงน้อยกว่า ทั้งนี้ ผลวิจัยดังกล่าวกำลังได้รับการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ผศ. ไมเคิล ชาน จือ-เว่ย อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกง ตั้งข้อสังเกตว่า อาการป่วยรุนแรงในผู้ป่วยติดเชื้อโควิดไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มจำนวนของเชื้อโควิดเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงระบบตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยติดเชื้อด้วย นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเป็นวงกว้าง อาจทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ แม้เชื้อดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงน้อยลงก็ตาม.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยชี้วัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพต้านสายพันธุ์เดลตาลดลง

การวิจัยด้านสาธารณสุขของอังกฤษระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์/ไบโอเอนเทค มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาลดลงภายในเวลา 3 เดือน

1 2
...