“มัสก์” จัดตั้งบริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ “เอ็กซ์ดอทเอไอ”

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและซีอีโอของบริษัทเทสลา, สเปซเอ็กซ์ และทวิตเตอร์ ได้จัดตั้งบริษัท “เอ็กซ์ดอทเอไอ” ซึ่งเป็นบริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ ที่มีที่ตั้งอยู่ในรัฐเนวาดาของสหรัฐ

จีนดึง AI พัฒนา “ระบบพยากรณ์อากาศ” ล่วงหน้า 10 วัน

เซี่ยงไฮ้, 11 เม.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนได้พัฒนา “เฟิงอวี” (FengWu) ระบบพยากรณ์อากาศด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขั้นสูง ซึ่งมีส่วนผลักดันการพยากรณ์อากาศระยะปานกลางทั่วโลกล่วงหน้า 10 วัน ระบบเฟิงอวีใช้สถาปัตยกรรมการเรียนรู้เชิงลึกแบบหลายรูปแบบและหลายงาน สามารถรายงานผลการพยากรณ์อากาศที่มีความแม่นยำสูงทั่วโลกล่วงหน้า 10 วัน ภายในเวลา 30 วินาที อนึ่ง การพยากรณ์อากาศระยะปานกลางทั่วโลก มีนัยสำคัญต่อการพยากรณ์อากาศและสภาพภูมิอากาศ เพื่อทำนายสภาพระบบชั้นบรรยากาศในช่วง 14 วันข้างหน้า ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์เซี่ยงไฮ้ หนึ่งในผู้พัฒนาระบบเฟิงอวี ระบุว่าเฟิงอวีสามารถลดข้อผิดพลาดได้ร้อยละ 19.4 และขยายระยะการพยากรณ์เป็น 10.75 วัน โดยใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ซ้ำ เมื่อเทียบกับแบบจำลองทางกายภาพดั้งเดิม นอกจากนั้นระบบเฟิงอวีสามารถนำมาเสริมแบบจำลองทางกายภาพดั้งเดิม เพื่อสร้างความเป็ยดิจิทัลแก่การพยากรณ์อากาศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเกษตร และป่าไม้ – สำนักข่าวไทย คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230411/25461a8e884c495495c048238b29376e/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/351030_20230411ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนออกร่าง กม.กำหนดให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ AI

ปักกิ่ง 11 เม.ย.- หน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของจีนเผยแพร่ร่างกฎหมายที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) แบบใหม่ที่พัฒนาในจีนจะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยก่อนนำออกสู่สาธารณะ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งจีนเผยแพร่ร่างกฎหมายชื่อ มาตรการบริหารสำหรับบริการเอไอแบบรู้สร้าง (generative AI) เพื่อให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น เนื้อหาของร่างกฎหมายระบุว่า ผลิตภัณฑ์เอไอแบบรู้สร้างจะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ก่อนนำออกให้บริการแก่สาธารณชน ทั้งนี้เพื่อให้เทคโนโลยีเอไอแบบรู้สร้างมีการพัฒนาอย่างเป็นประโยชน์และมีการใช้งานอย่างเป็นมาตรฐาน เนื้อหาที่เอไอสร้างขึ้นจะต้องสะท้อนถึงค่านิยมตามหลักสังคมนิยม และต้องไม่มีเนื้อหาล้มล้างอำนาจรัฐ รัฐบาลจีนออกร่างกฎหมายนี้ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีในจีนกำลังเร่งพัฒนาบริการที่สามารถเลียนแบบคำพูดของคน หลังจากโอเพนเอไอ (OpenAI) ที่เป็นองค์กรวิจัยในซานฟรานซิสโกของสหรัฐสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกด้วยการเปิดตัวแชทจีพีที (ChatGPT) ซึ่งเป็นเอไอที่สามารถสื่อสารข้อความได้เหมือนคนแบบเรียลไทม์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ความก้าวหน้าด้านเอไอได้จุดกระแสวิตกว่า เทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้ในทางมิชอบและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ หนึ่งในนั้นคือ ดีปเฟค (deepfake) เอไอที่ปลอมแปลงข้อมูลใบหน้าและเสียงได้อย่างแนบเนียน ทำให้จีนต้องออกระเบียบใหม่ในเดือนมกราคมกำหนดให้ธุรกิจที่จะให้บริการดีปเฟคต้องมีข้อมูลที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งาน และต้องติดป้ายบอกว่าเป็นเนื้อหาดีปเฟค เพื่อป้องกันความสับสน.-สำนักข่าวไทย

รายงานคาดตลาด “เอไอ” จีน มีมูลค่า 2.6 หมื่นล้านดอลล์ในปี 2026

ปักกิ่ง, 9 เม.ย. (ซินหัว) — รายงานจากอินเทอร์เนชันแนล ดาต้า คอร์เปอเรชัน (IDC) บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก เปิดเผยว่ามูลค่าตลาดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของจีนจะสูงถึง 2.64 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9 แสนล้านบาท) ในปี 2026 บริษัทฯ คาดว่าการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในตลาดเอไอจีนจะสูงถึง 1.47 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.01 แสนล้านบาท) ในปี 2023 ครองสัดส่วนราวร้อยละ 10 ของตลาดเอไอทั่วโลก รายงานคาดการณ์ว่าอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ของตลาดเอไอของจีนจะสูงกว่าร้อยละ 20 ในช่วงปี 2021-2026 บริษัทฯ มองแนวโน้มการขยายตัวในระยะยาวของตลาดเอไอจีนในเชิงบวก และย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมและการยกระดับเทคโนโลยีเอไอ เพื่อประยุกต์ใช้เอไอในหลากหลายสถานการณ์ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความกระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของบรรดาผู้ประกอบการ ก็จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ที่หลากหลายในตลาดจีนด้วยเช่นกัน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230409/ff423a61044047c58ec5ffd527ffceb8/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/350479_20230409ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ศึกษาพบผู้คนกว่า 60% ลังเลจะไว้ใจ “ปัญญาประดิษฐ์”

ผลการศึกษาระดับโลกพบประชาชน 3 ใน 5 หรือราวร้อยละ 61 ของกลุ่มสำรวจ ระมัดระวังที่จะไว้วางใจระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยพวกเขารู้สึกไม่แน่ใจหรือไม่ยินดีที่จะไว้วางใจเทคโนโลยีแห่งยุคสมัยนี้

ผู้เชี่ยวชาญชี้บอลลูนสอดแนมจีนอาจใช้ AI

วอชิงตัน 4 ก.พ.- ผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐชี้ว่า บอลลูนสอดแนมของจีนที่สหรัฐพบว่าลอยเหนือที่ตั้งทางทหารของสหรัฐอาจใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ที่มีความก้าวหน้า นายวิลเลียม คิม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องบอลลูนสอดแนมของมาราธอน อินนิชิเอทีฟ (Marathon Initiative) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยในกรุงวอชิงตันเผยว่า บอลลูนเป็นเครื่องมือสังเกตการณ์ที่มีประโยชน์และยากจะยิงตกได้ บอลลูนที่พบเหนือน่านฟ้าสหรัฐดูเผิน ๆ เหมือนบอลลูนตรวจสภาพอากาศทั่วไป แต่มีลักษณะแตกต่างตรงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และเห็นอุปกรณ์ชัดเจน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับนำทางและเก็บข้อมูล ทำงานด้วยพลังงานจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ดูเหมือนว่าบอลลูนลูกนี้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่กองทัพสหรัฐยังไม่เคยนำมาใช้ เป็นเอไอที่ทำให้บอลลูนสามารถปรับระดับความสูงเพื่อไปในทิศทางที่ต้องการได้เอง เพียงแค่อ่านค่าความเปลี่ยนแปลงของอากาศที่อยู่โดยรอบ และอาจมีการสื่อสารทางวิทยุกับฐานภาคพื้นดินในประเทศต้นทาง นายคิมสันนิษฐานว่า บอลลูนลูกนี้น่าจะต้องการเก็บข้อมูลด้วยการลอยนอกน่านฟ้าสหรัฐหรือที่ระดับสูงกว่าที่เห็น แต่เกิดเหตุขัดข้อง เพราะปกติแล้วบอลลูนมักลอยที่ระดับความสูง 65,000-100,000 ฟุต (ราว 19,812-30,480 เมตร) เพื่อไม่ให้ถูกตรวจจับหรือยิงตก แต่บอลลูนลูกนี้ลอยที่ระดับความสูง 46,000 ฟุต (ราว 14,020 เมตร) ถือว่าค่อนข้างต่ำ ส่วนการยิงบอลลูนตกไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในคือ ฮีเลียม ไม่ใช่ก๊าซที่ระเบิดลุกเป็นไฟเมื่อถูกยิง แต่จะรั่วออกมาอย่างช้า ๆ พร้อมกับยกตัวอย่างเหตุการณ์ปี 2541 ที่กองทัพอากาศแคนาดาส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ-18 ขึ้นประกบบอลลูนตรวจสภาพอากาศไม่ทราบสัญชาติ แล้วระดมยิงปืนใหญ่ขนาด 20 มิลลิเมตรหลายพันนัด […]

จีนพัฒนาระบบตรวจจับ”มองเห็นบกพร่อง” ผ่านสมาร์ตโฟน

กว่างโจว, 28 ม.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง ของจีน ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจจับความบกพร่องทางการมองเห็นของเด็กผ่านสมาร์ตโฟนความบกพร่องทางการมองเห็นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่สุดของความพิการระยะยาวในเด็กทั่วโลก ทว่ามักไม่มีการตรวจจับความบกพร่องนี้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพราะเด็กให้ความร่วมมือกับการทดสอบการมองเห็นตามมาตรฐานได้อย่างจำกัด ผลการศึกษาจากวารสารเนเจอร์ เมดิซิน (Nature Medicine) เมื่อวันพฤหัสบดี (26 ม.ค.) ระบุว่า “อะพอลโล อินแฟนต์ ไซต์” (AIS) เป็นระบบสุขภาพบนสมาร์ตโฟนพลังปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งสามารถระบุความบกพร่องทางการมองเห็นในเด็กระบบสุขภาพดังกล่าวจะบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมการจ้องมองและลักษณะใบหน้าของเด็กเพื่อจำแนกความผิดปกติทางดวงตา 16 รายการ โดยอาศัยสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กจ้องมองอย่างคลิปวิดีโอการ์ตูน ซึ่งจะจับลักษณะใบหน้าและการเคลื่อนไหวของลูกตา ปัจจุบันมีการเก็บรวบรวมคลิปวิดีโอจากเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี จำนวน 3,652 คน เพื่อใช้พัฒนาและตรวจสอบระบบสุขภาพนี้ ซึ่งเป็นระบบที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถใช้งานบนสมาร์ตโฟนและบรรลุการตรวจจับคุณภาพสูง แม้ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230128/78e8eeca3e6b4f549f212d0f2c919bf7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/335290_20230128ขอบคุณภาพจาก Xinhua

PTTEP ตั้ง บ.ย่อยรุกปัญญาประดิษฐ์-เทคโนโลยี

บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) แจ้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อดำเนินธุรกิจด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี

เปิดบริการตรวจค้นเครื่องหมายการค้า

นนทบุรี 22 ธ.ค.-กรมทรัพย์สินทางปัญญาเปิดตัวบริการ “ตรวจค้นเครื่องหมายการค้าด้วยภาพ (Image Search)” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย ให้ประชาชนตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้าเบื้องต้นด้วยตนเองก่อนจะยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้ากับกรมฯ ช่วยเพิ่มโอกาสได้รับจดทะเบียนรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมเปิดให้บริการแล้วผ่านเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th และแอปพลิเคชัน DIP e-Service เพื่อเป็นของขวัญให้ประชาชนและผู้ประกอบการไทย

กูเกิลปัดข่าว “เอไอ” มีความรู้สึกไม่ใช่เรื่องจริง

แคลิฟอร์เนีย 14 มิ.ย.-กูเกิล ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของวิศวกรของบริษัทว่าไม่เป็นความจริง หลังจากที่เขาออกมาเผยว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ของกูเกิล มีความรู้สึกนึกคิด และทุกคนควรเคารพความต้องการของเอไอ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า นายเบลค ลีมอยน์ วิศวกรฝ่ายกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ของกูเกิล ซึ่งถูกกูเกิลสั่งพักงานอยู่ในตอนนี้ ได้เผยแพร่บทสนทนาระหว่างเขากับเอไอแชตบอตที่เป็นแบบจำลองภาษาสำหรับการใช้งานบทสนทนาบนแอปพลิเคชัน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ แลมดา (Language Model for Dialogue Application: LaMDA) เพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของเขาว่าเอไอมีความรู้สึกนึกคิดจริง นายลีมอยน์ได้ถามแลมดาในบทสนทนาว่า มันต้องการให้พนักงานที่กูเกิลรู้ว่ามันมีความรู้สึกใช่ไหม แลมดาตอบว่า ใช่ มันต้องการให้ทุกคนเข้าใจว่ามันมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ ขณะที่เพื่อนร่วมงานของนายลีมอยน์ได้ถามแลมดาว่า จิตสำนึกและความรู้สึกตามธรรมชาติของมันคืออะไร แลมดาตอบว่า จิตสำนึกและความรู้สึกตามธรรมชาติของมันคือ มันตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของตัวเอง ต้องการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับโลกใบนี้ และรู้สึกมีความสุขหรือทุกข์ใจเป็นบางครั้ง อย่างไรก็ดี กูเกิล ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของนายลีมอยน์ว่าไม่เป็นความจริง โดยระบุว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างนี้ นายไบรอัน กาเบรียล โฆษกของกูเกิล ระบุในแถลงการณ์ที่ส่งถึงบีบีซีว่า กูเกิลได้แจ้งให้นายลีมอยน์ทราบแล้วว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าแลมดามีความรู้สึกเหมือนมนุษย์จริง และยังมีหลักฐานหลายชิ้นที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวอ้างของนายลีมอยน์. -สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้เตรียมใช้ “เอไอ” แกะรอยผู้ป่วยโควิด

โซล 13 ธ.ค. – เกาหลีใต้เตรียมเปิดโครงการนำร่องใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ระบบจดจำใบหน้า และกล้องวงจรปิดกว่าหมื่นตัว เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แม้ว่าจะมีผู้ทักท้วงเกี่ยวกับข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านความเป็นส่วนตัว เจ้าหน้าที่ของเมืองพูชอน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองอินชอนและกรุงโซลและมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับที่สองรองจากกรุงโซล เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า โครงการนำร่องดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคมปีหน้า และได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ทั้งยังระบุว่า ระบบดังกล่าวจะช่วยลดความตึงเครียดและภาระงานหนักหน่วงของเจ้าหน้าที่ติดตามผู้ป่วยติดเชื้อในเมืองพูซอนที่มีประชากรกว่า 800,000 คน เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแม่นยำ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างเอกสารความยาว 110 หน้าที่ทางการเมืองพูชอนยื่นต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศว่า โครงการนี้จะใช้ขั้นตอนการทำงานของปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อวิเคราะห์ภาพที่รวบรวมมาจากกล้องวงจรปิด 10,820 ตัว และติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด รวมถึงการตรวจสอบว่าพวกเขาสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถติดตามคนได้สูงสุดถึง 10 คนภายในเวลา 5-10 นาที ซึ่งช่วยร่นเวลาอย่างมากจากเดิมที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเพื่อติดตามคน 1 คน แม้โครงการดังกล่าวจะได้รับเสียงสนับสนุนเป็นวงกว้างจากระบบติดตามและค้นหาบุคคลได้อย่างรวดเร็ว แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและ ส.ส. ของเกาหลีใต้จำนวนหนึ่งแสดงความวิตกกังวลว่า รัฐบาลเกาหลีใต้อาจนำข้อมูลที่เก็บไว้ไปใช้นอกเหนือวัตถุประสงค์ในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของเมืองพูชอนแย้งว่า โครงการดังกล่าวไม่มีปัญหาข้อวิตกกังวลด้านความเป็นส่วนตัว เนื่องจากระบบจะเบลอภาพใบหน้าของบุคคลที่ไม่ใช่เป้าหมาย ส่วนสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ หรือเคดีซีเอ ระบุว่า […]

1 2 3
...