ญาติร้องโทษประหารมือเผา-แทงภรรยา เผยพฤติกรรมหึงโหด
ญาติสาวถูกสามีคลั่งราดน้ำมันเผาก่อนแทงซ้ำดับ ร้องให้ประหารชีวิต เผยคบกันมา 5 ปี ทะเลาะกันบ่อย ส่วนมากเรื่องรถยนต์ เคยทำร้ายร่างกายแต่ไม่หนักเท่าครั้งนี้
ญาติสาวถูกสามีคลั่งราดน้ำมันเผาก่อนแทงซ้ำดับ ร้องให้ประหารชีวิต เผยคบกันมา 5 ปี ทะเลาะกันบ่อย ส่วนมากเรื่องรถยนต์ เคยทำร้ายร่างกายแต่ไม่หนักเท่าครั้งนี้
เตหะราน 7 มี.ค.- อยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านระบุว่า เหตุวางยาพิษนักเรียนหญิงเป็นอาชญากรรมที่ไม่สามารถให้อภัยได้ และจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิตหากเป็นการกระทำด้วยความจงใจ สถานีโทรทัศน์ของรัฐในอิหร่านรายงานอ้างคำกล่าวของคาเมเนอีว่า ทางการควรต้องจัดการเรื่องการวางยานักเรียนหญิงอย่างจริงจัง หากพิสูจน์แล้วว่าเป็นการกระทำด้วยความจงใจ ผู้ก่ออาชญากรรมที่ไม่สามารถให้อภัยได้เหล่านี้ควรถูกลงโทษประหารชีวิต ผู้นำสูงสุดอิหร่านวัย 83 ปี กล่าวเรื่องหลังจากมีนักเรียนหญิงถูกวางยาจนล้มป่วยมากกว่า 1,000 คนนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 เริ่มจากเมืองกอม ห่างจากกรุงเตหะรานไปทางใต้ 140 กิโลเมตร ก่อนกระจายไปยัง 25 จังหวัดจากทั้งหมด 31 จังหวัดทั่วประเทศ ผู้ปกครองหลายคนถึงกับให้บุตรหลานออกจากโรงเรียนและประท้วงแสดงความไม่พอใจ ทางการอิหร่านกล่าวโทษศัตรูของประเทศว่า ใช้การก่อเหตุนี้บ่อนทำลายอิหร่าน ขณะที่นักการเมืองบางคนโทษว่า เป็นฝีมือของกลุ่มทางศาสนาที่ต่อต้านการให้เด็กหญิงได้รับการศึกษา หรือกลุ่มสายแข็งกร้าวที่ทำตัวเป็นผู้ปกป้องการตีความศาสนาอิสลาม ก่อนหน้านี้โฆษกทำเนียบขาวของสหรัฐแถลงว่า ความเป็นไปได้ที่เด็กหญิงในอิหร่านถูกวางยาพิษเพียงเพราะต้องการได้รับการศึกษาเป็นเรื่องที่น่าละอายและไม่สามารถยอมรับได้ สหรัฐขอเรียกร้องให้เปิดการสอบสวนอย่างเป็นอิสระว่า การวางยาเกี่ยวข้องกับเหตุประท้วงในอิหร่านหรือไม่ เพราะจะทำให้คณะค้นหาข้อเท็จจริงเรื่องอิหร่านของสหประชาชาติมีอำนาจในการสอบสวนเรื่องนี้ นักเคลื่อนไหวชาวอิหร่านที่อยู่ในสหรัฐทวีตว่า นักเรียนหญิงในอิหร่านกำลังถูกเล่นงาน จากการที่เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงกรณีสตรีคนหนึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกตำรวจควบคุมตัวเพราะไม่สวมฮิญาบ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการปฏิวัติอิสลามอิหร่านในปี 2522 ที่นักเรียนหญิงอิหร่านออกมาเคลื่อนไหว.-สำนักข่าวไทย
ผบ.ตร.มอบเงินช่วยเหลือครอบครัว “หมู่หนุ่ม” จ่อเลื่อนขั้น 4 ชั้นยศ ชี้ข้อหาฆ่าเจ้าพนักงานโทษหนักสุดประหารชีวิต
ศาลฎีกายืนประหารชีวิต 3 จำเลยคดีร่วมแก๊งอดีต ผกก.สภ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี อุ้มฆ่าฝังดินโบกปูนสาวหล่อในรีสอร์ต จ.กาญจนบุรี ส่วนผู้จ้างวานฆ่าถูกตัดสินจำคุก 15 ปี
ฮาล์ฟมูนเบย์ 26 ม.ค.- อัยการในสหรัฐเผยว่า ผู้ต้องหายิงเพื่อนร่วมงานในฟาร์มเสียชีวิต 7 คน ในรัฐแคลิฟอร์เนียอาจถูกลงโทษประหารชีวิต หากถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฆาตกรรมหลายกระทง อัยการเขตเทศมณฑลซาน มาเตโอเผยกับสื่อท้องถิ่นว่า ผู้ต้องหาเข้าข่ายต้องถูกลงโทษด้วยการจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีทัณฑ์บน หรือลงโทษประหารชีวิตเนื่องจากถูกตั้งข้อกล่าวหาที่เป็นกรณีพิเศษ การตัดสินโทษจะเกิดขึ้นหลังจากที่การสอบสวนเสร็จสมบูรณ์และทราบทุกอย่างเกี่ยวกับนายจ้าว ชุนหลี่ ผู้ต้องหาวัย 66 ปีที่ถูกจับกุมเมื่อวันจันทร์ตามเวลาสหรัฐ หลังจากก่อเหตุยิงที่ฟาร์ม 2 แห่งในเมืองฮาล์ฟมูนเบย์ ทางใต้ของนครซานฟรานซิสโก มีผู้เสียชีวิต 7 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 2 คน นายจ้าวสวมชุดผู้ต้องขังสีส้ม ขึ้นศาลในเมืองเรดวูดซิตีที่อยู่ใกล้กันเมื่อวันพุธ เขาถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม 7 กระทง ข้อหาพยายามฆ่า 1 กระทง และข้อหาที่อัยการระบุว่าข้อหาที่เป็นกรณีพิเศษเรื่องการฆาตกรรมหลายครั้ง ศาลได้จัดเตรียมล่ามภาษาจีนสำหรับการไต่สวน แต่ทนายความของเขาร้องขอให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป ผู้พิพากษาจึงสั่งให้ควบคุมตัวไปจนกว่าจะขึ้นศาลครั้งต่อไปในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่เผยว่า หลักฐานทุกอย่างบ่งชี้ว่านายจ้าวรู้จักทุกคนที่เขายิง ถือเป็นการก่อเหตุรุนแรงในที่ทำงาน สันนิษฐานว่าปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติที่เขาใช้ก่อเหตุเป็นปืนที่ซื้อมาอย่างถูกกฎหมาย สื่อท้องถิ่นรายงานว่า นายจ้าวถือสัญชาติจีน อาศัยอยู่ในเมืองฮาล์ฟมูนเบย์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยทำงาน […]
ลูกสาว “อส.เขียน” ถูกแทงเสียชีวิตระหว่างเข้าระงับเหตุวิวาท พ้อกฎหมายอ่อนแอ ผู้ก่อเหตุเคยฆ่ามาแล้ว 2 ศพ พ้นโทษออกมาไม่ถึงปีก็ก่อเหตุซ้ำ ลั่นอยากให้รับโทษประหาร หรือติดคุกตลอดชีวิต
อิหร่านตัดสินลงโทษประหารชีวิตประชาชนอีก 3 ราย ที่ถูกกล่าวหาว่า ฆาตกรรมสมาชิก 3 คน ของกองกำลังรักษาความมั่นคงในระหว่างที่เกิดเหตุประชาชนลุกฮือขึ้นประท้วงใหญ่ภายในประเทศ
วอชิงตัน 4 ม.ค.- สหรัฐประหารชีวิตสตรีข้ามเพศเป็นรายแรกของประเทศเมื่อค่ำวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น และเป็นนักโทษที่ถูกประหารชีวิตในสหรัฐเป็นรายแรกของปีนี้ สำนักงานเรือนจำรัฐมิสซูรีแถลงว่า แอมเบอร์ แมคลัฟลิน วัย 49 ปี เสียชีวิตก่อนเวลา 19:00 น.วันอังคารที่ทัณฑสถานเมืองบอนแทร์ สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นรายงานว่า เธอถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดยา รายงานข่าวหลายแห่งระบุว่า แมคลัฟลินเริ่มแปลงเพศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังคงถูกคุมขังในส่วนของนักโทษประหารที่เป็นนักโทษชาย แมคลัฟลินถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาฆาตกรรมอดีตแฟนสาวในปี 2546 ในย่านชานเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ในช่วงที่ยังไม่ได้แปลงเพศเป็นผู้หญิง เขาสะกดรอยตามเธอที่กำลังไปขอให้ศาลออกคำสั่งห้ามเขาเข้าใกล้ โดยได้ไปดักรอเธอหลังจากเลิกงานแล้วข่มขืนฆ่าด้วยมีดทำครัว จากนั้นนำศพไปทิ้งใกล้แม่น้ำ คณะลูกขุนตัดสินในปี 2549 ให้มีความผิดข้อหาฆาตกรรม แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าแมคลัฟลินที่แปลงเพศแล้วควรรับโทษสถานใด ผู้พิพากษาจึงใช้อำนาจแทรกแซงด้วยการตัดสินให้ประหารชีวิต ทนายความร้องขอให้ผู้ว่าการรัฐลดโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต โดยอ้างว่าเป็นคำตัดสินจากผู้พิพากษาเพียงคนเดียว ไม่ใช่มติของชุมชน นอกจากนี้ยังอ้างว่าเธอมีปัญหาในวัยเด็กและมีปัญหาสุขภาพจิต จากการที่ถูกพ่อเลี้ยงใช้กระบองทุบตีและช็อตไฟฟ้า และมีความทุกข์ใจในเพศสภาพของตนเอง (gender dysphoria).-สำนักข่าวไทย
สำนักข่าวมิซาน ของอิหร่านรายงานวันนี้ว่า อิหร่านได้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอนักโทษต่อสาธารณชนในวันนี้ โดยผู้ที่ถูกแขวนคอถูกตัดสินว่ามีความผิดในการสังหารสมาชิกของหน่วยความมั่นคง 2 คน ซึ่งเป็นการประหารชีวิตผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลรายที่ 2 ในช่วงเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์
สำนักข่าวทาซนิม สำนักข่าวกึ่งทางการในอิหร่านรายงานวันนี้ว่า รัฐบาลอิหร่านได้ประหารชีวิตผู้ประท้วงรายหนึ่งในวันนี้ ที่มีความผิดฐานทำร้ายเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงได้รับบาดเจ็บด้วยมีดและร่วมปิดถนนในกรุงเตหะราน นครหลวงของอิหร่าน นับเป็นการประหารชีวิตนักโทษที่เกี่ยวข้องกับเหตุประท้วงในอิหร่านเป็นรายแรก
เจนีวา 3 ธ.ค.- สหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้ตัดสินประหารชีวิตนักศึกษา 7 คนในสัปดาห์นี้ ทำให้มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตรวมแล้ว 139 คน พร้อมกับตำหนิเมียนมาว่าใช้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือในการกวาดล้างฝ่ายค้าน นายโฟลเกอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น แถลงว่า มีนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็นชายอย่างน้อย 7 คนถูกศาลทหารตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อวันพุธ โดยเป็นการตัดสินแบบปิด การที่เมียนมาใช้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกวาดล้างฝ่ายค้าน แสดงให้เห็นว่าเมียนมาเหยียดหยามความพยายามของอาเซียนและประชาคมโลกที่ต้องการยุติความรุนแรงและสร้างบรรยากาศให้มีการเจรจาทางการเมือง เพื่อนำเมียนมาออกจากวิกฤตสิทธิมนุษชนที่เกิดขึ้นจากกองทัพ ยูเอ็นเผยด้วยว่า กำลังตรวจสอบรายงานข่าวเรื่องนักเคลื่อนไหว 4 คน ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดี นายเติร์กระบุว่า กองทัพเมียนมายังคงใช้วิธีพิจารณาคดีแบบลับ ๆ ซึ่งละเมิดหลักการไต่สวนอย่างเป็นธรรม และขัดต่อการรับประกันทางตุลาการเรื่องความเป็นอิสระและเป็นธรรม หลายครั้งที่ศาลลับเปิดการไต่สวนในนาทีสุดท้าย ทำให้ผู้ถูกควบคุมตัวไม่สามารถติดต่อทนายหรือครอบครัวได้ทัน สื่อเมียนมารายงานว่า นักศึกษา 7 คนของมหาวิทยาลัยดากองในนครย่างกุ้ง ถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน และถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับเหตุยิงที่ธนาคาร ด้านสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ออกแถลงการณ์ว่า การตัดสินประหารชีวิตดังกล่าวเป็นการแก้แค้นของกองทัพ เมียนมาประหารชีวิตครั้งแรกในรอบ 30 ปีเมื่อเดือนกรกฎาคม เป็นผู้ต้องขัง 4 คนที่มีอดีตสมาชิกสภาและนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยรวมอยู่ด้วย ต่อมาอาเซียนได้เตือนในเดือนสิงหาคมไม่ให้เมียนมาประหารชีวิตอีก.-สำนักข่าวไทย
สหประชาชาติ 16 ส.ค.- นางโนลีน เฮย์เซอร์ ทูตพิเศษของสหประชาชาติหรือยูเอ็นเรื่องเมียนมาเดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน โฆษกยูเอ็นแถลงว่า นางเฮย์เซอร์จะมุ่งแก้ไขสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงและความกังวลเร่งด่วนในเมียนมา รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในอำนาจของเธอ หลังจากที่ได้หารืออย่างถี่ถ้วนกับแกนนำจากทุกพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า เธอจะเข้าพบผู้นำกองทัพเมียนมาหรือพบนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจตามที่ยูเอ็นเรียกร้องมานานหรือไม่ ทูตพิเศษยูเอ็นเรื่องเมียนมาไปเยือนเมียนมาหลังจากคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) เรียกร้องครั้งล่าสุดให้เมียนมายุติความรุนแรงในทุกรูปแบบและเปิดทางให้แก่การจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือน นายปรัก สุคน รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาในฐานะทูตพิเศษของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเรื่องเมียนมาเตือนว่า การที่เมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 4 คน เป็นอุปสรรคต่อความพยายามของประเทศเพื่อนบ้านเมียนมาที่จะช่วยฟื้นฟูสันติภาพและความเป็นปรกติในเมียนมา หากมีการประหารชีวิตเกิดขึ้นอีก อาเซียนจำเป็นต้องทบทวนว่าจะดำเนินการกับเมียนมาอย่างไรต่อไป.-สำนักข่าวไทย