ยูเอ็นเผยเมียนมาตัดสินประหารนักศึกษา 7 คน

เจนีวา 3 ธ.ค.- สหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้ตัดสินประหารชีวิตนักศึกษา 7 คนในสัปดาห์นี้ ทำให้มีผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตรวมแล้ว 139 คน พร้อมกับตำหนิเมียนมาว่าใช้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือในการกวาดล้างฝ่ายค้าน นายโฟลเกอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น แถลงว่า มีนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็นชายอย่างน้อย 7 คนถูกศาลทหารตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อวันพุธ โดยเป็นการตัดสินแบบปิด การที่เมียนมาใช้โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกวาดล้างฝ่ายค้าน แสดงให้เห็นว่าเมียนมาเหยียดหยามความพยายามของอาเซียนและประชาคมโลกที่ต้องการยุติความรุนแรงและสร้างบรรยากาศให้มีการเจรจาทางการเมือง เพื่อนำเมียนมาออกจากวิกฤตสิทธิมนุษชนที่เกิดขึ้นจากกองทัพ ยูเอ็นเผยด้วยว่า กำลังตรวจสอบรายงานข่าวเรื่องนักเคลื่อนไหว 4 คน ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดี นายเติร์กระบุว่า กองทัพเมียนมายังคงใช้วิธีพิจารณาคดีแบบลับ ๆ ซึ่งละเมิดหลักการไต่สวนอย่างเป็นธรรม และขัดต่อการรับประกันทางตุลาการเรื่องความเป็นอิสระและเป็นธรรม หลายครั้งที่ศาลลับเปิดการไต่สวนในนาทีสุดท้าย ทำให้ผู้ถูกควบคุมตัวไม่สามารถติดต่อทนายหรือครอบครัวได้ทัน สื่อเมียนมารายงานว่า นักศึกษา 7 คนของมหาวิทยาลัยดากองในนครย่างกุ้ง ถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน และถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับเหตุยิงที่ธนาคาร ด้านสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ออกแถลงการณ์ว่า การตัดสินประหารชีวิตดังกล่าวเป็นการแก้แค้นของกองทัพ เมียนมาประหารชีวิตครั้งแรกในรอบ 30 ปีเมื่อเดือนกรกฎาคม เป็นผู้ต้องขัง 4 คนที่มีอดีตสมาชิกสภาและนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยรวมอยู่ด้วย ต่อมาอาเซียนได้เตือนในเดือนสิงหาคมไม่ให้เมียนมาประหารชีวิตอีก.-สำนักข่าวไทย

ทูตพิเศษยูเอ็นเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรก

สหประชาชาติ 16 ส.ค.- นางโนลีน เฮย์เซอร์ ทูตพิเศษของสหประชาชาติหรือยูเอ็นเรื่องเมียนมาเดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน โฆษกยูเอ็นแถลงว่า นางเฮย์เซอร์จะมุ่งแก้ไขสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงและความกังวลเร่งด่วนในเมียนมา รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในอำนาจของเธอ หลังจากที่ได้หารืออย่างถี่ถ้วนกับแกนนำจากทุกพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ แต่ไม่ได้เปิดเผยว่า เธอจะเข้าพบผู้นำกองทัพเมียนมาหรือพบนางออง ซาน ซู จี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่ถูกยึดอำนาจตามที่ยูเอ็นเรียกร้องมานานหรือไม่ ทูตพิเศษยูเอ็นเรื่องเมียนมาไปเยือนเมียนมาหลังจากคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) เรียกร้องครั้งล่าสุดให้เมียนมายุติความรุนแรงในทุกรูปแบบและเปิดทางให้แก่การจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือน นายปรัก สุคน รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาในฐานะทูตพิเศษของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเรื่องเมียนมาเตือนว่า การที่เมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 4 คน เป็นอุปสรรคต่อความพยายามของประเทศเพื่อนบ้านเมียนมาที่จะช่วยฟื้นฟูสันติภาพและความเป็นปรกติในเมียนมา หากมีการประหารชีวิตเกิดขึ้นอีก อาเซียนจำเป็นต้องทบทวนว่าจะดำเนินการกับเมียนมาอย่างไรต่อไป.-สำนักข่าวไทย

เมียนมาโต้ประหารนักเคลื่อนไหวการเมืองเพื่อความยุติธรรม

เนปิดอว์ 26 ก.ค. – รัฐบาลทหารเมียนมาแถลงข่าวโต้แย้งเรื่องคำสั่งประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 4 คนว่า เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในนามของความยุติธรรมเพื่อประชาชน นายซอ มิน ตัน โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมา เผยวันนี้ว่า คำสั่งประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 4 คนไม่ได้เกิดขึ้นจากเรื่องส่วนตัว แต่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนักเคลื่อนไหวทั้งสี่คนก็ได้รับโอกาสให้ต่อสู้คดี ทั้งยังระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาทราบอยู่ก่อนแล้วว่า คำสั่งประหารชีวิตดังกล่าว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีของเมียนมา จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน นายไซฟุดดิน อับดุลเลาะห์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของมาเลเซีย ได้ออกมาตำหนิรัฐบาลทหารเมียนมาในวันนี้ว่า คำสั่งประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวการเมือง 4 คนเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เมียนมาไม่สมควรได้รับอนุญาตให้ส่งตัวแทนทางการเมืองเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในเวทีนานาชาติ ทั้งยังระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาตั้งใจเย้ยหยันแผนสันติภาพตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนด้วยการประกาศคำสั่งประหารดังกล่าว ก่อนหน้านี้ กัมพูชา ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ได้ตำหนิคำสั่งประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวการเมือง 4 คนเช่นกัน โดยระบุว่าเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง และทำลายความพยายามระดับภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตในเมียนมา ทั้งนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาได้ประกาศประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวการเมือง 4 คน ซึ่งรวมถึงนายจ่อ มิน ยู วัย 53 ปี […]

อาเซียนตำหนิเมียนมาสั่งประหารนักเคลื่อนไหวการเมือง

กัมพูชา ซึ่งเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ในปีนี้ ระบุว่า การสั่งประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 4 คน ของรัฐบาลทหารเมียนมา เป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง และทำลายความพยายามระดับภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติในเมียนมา

ญี่ปุ่นสั่งประหารนักโทษใช้มีดไล่แทงคนเมื่อ 14 ปีก่อน

โตเกียว 26 ก.ค. – กระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่นสั่งประหารชีวิตนักโทษชายที่ก่อเหตุขับรถบรรทุกพุ่งชนและใช้มีดไล่แทงผู้คนในย่านอากิฮาบาระกลางกรุงโตเกียวเมื่อปี 2551 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน นายฟุรุคาวะ โยชิฮิสะ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่น เผยวันนี้ว่า นายกาโตะ ซึ่งเป็นผู้ลงมือก่อเหตุ ได้เตรียมการอย่างละเอียดพิถีพิถันและมีเจตนาอันแรงกล้าในการเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ ศาลญี่ปุ่นได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนและตัดสินลงโทษประหารชีวิตนายกาโตะ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงอนุมัติคำสั่งประหารชีวิตนายกาโตะหลังจากได้ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ อย่างละเอียดแล้วเช่นกัน ทั้งยังระบุว่า คดีนี้เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจอย่างยิ่ง เกิดความสูญเสียจำนวนมาก และทำให้ผู้คนในสังคมตกตะลึง  สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า ในระหว่างที่รอกระบวนการพิจารณาโทษประหารชีวิต นายกาโตะได้เขียนจดหมายถึงคนขับรถแท็กซี่ วัย 56 ปี ที่ถูกเขาทำร้ายในเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อแสดงความสำนึกผิด ข้อความตอนหนึ่งระบุว่า เขาขอให้ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีอนาคตที่สดใส มีครอบครัว คนรัก เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงานที่ดี นอกจากนี้ เขายังกล่าวแสดงความรู้สึกผิดในขณะให้การในชั้นศาลว่า เขาขอใช้โอกาสนี้กล่าวคำขอโทษจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และผู้บาดเจ็บ 10 คน การก่อเหตุของนายกาโตะนับเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 ปีของญี่ปุ่น และทำให้นายกาโตะถูกตัดสินประหารชีวิตในปี 2554 และศาลชั้นสูงของญี่ปุ่นก็ตัดสินยืนตามคำพิพากษานี้ในปี 2558 […]

ประณามเมียนมาประหารชีวิตนักเคลื่อนไหว

ย่างกุ้ง 25 ก.ค.- หลายฝ่ายประณามรัฐบาลทหารเมียนมาที่เผยในวันนี้ว่า ได้ประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 4 คนที่ถูกกล่าวหาว่า ช่วยเหลือการก่อการร้าย รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของเมียนมาหรือเอ็นยูจี (NUG) ซึ่งเป็นรัฐบาลเงาที่ถูกรัฐบาลทหารเมียนมาประกาศให้เป็นกลุ่มนอกกฎหมายประณามการประหารและเรียกร้องให้ประชาคมโลกลงโทษรัฐบาลทหารเมียนมาที่แสดงความโหดร้าย ขณะที่นายทอม แอนดรูว์ส ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนในเมียนมาแถลงว่า ตกตะลึงและสิ้นหวังที่ทราบข่าวรัฐบาลทหารเมียนมาประหารชีวิตชาวเมียนมาที่รักชาติและเชิดชูสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ขอแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวผู้สูญเสียและชาวเมียนมาทุกคนที่ตกเป็นเหยื่อความโหดร้าย การกระทำที่ต่ำช้านี้จะต้องเป็นจุดเปลี่ยนให้แก่ประชาคมโลก โฆษกรัฐบาลทหารเมียนมาแถลงเมื่อเดือนก่อนว่า การลงโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ชอบธรรมและใช้ในหลายประเทศ พลเรือนผู้บริสุทธิอย่างน้อย 50 คน ยังไม่รวมเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ต้องเสียชีวิตเพราะคนเหล่านี้ และได้ตำหนิต่างชาติที่ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวทั้ง 4 คนว่า ไร้ความยั้งคิดและแทรกแซงเมียนมา หลังจากนายกรัฐมนตรีฮุน เซนของกัมพูชาในฐานะประเทศประธานสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนวาระปัจจุบัน ได้ส่งสารถึง พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำสูงสุดของเมียนมาเมื่อเดือนมิถุนายนขอให้ระงับการประหารชีวิต แหล่งข่าวเผยว่า นักเคลื่อนไหวชายทั้ง 4 คนถูกควบคุมตัวในเรือนจำอินเส่ง ใกล้กรุงย่างกุ้ง ครอบครัวเดินทางมาเยี่ยมเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว แต่มีญาติเพียงคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยผ่านแพลตฟอร์มซูม สื่อทางการเมียนมารายงานในวันนี้ว่า มีการประหารชีวิต จากนั้นโฆษกรัฐบาลได้ยืนยันข่าวนี้กับวอยซ์ออฟเมียนมา แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่ามีการประหารเมื่อใด.-สำนักข่าวไทย

เมียนมาประหารนักเคลื่อนไหว 4 คน

ย่างกุ้ง 25 ก.ค.- สื่อทางการเมียนมารายงานวันนี้ว่า กองทัพได้ประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 4 คนที่ถูกกล่าวหาว่า ช่วยเหลือการก่อการร้าย นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมารายงานว่า นักเคลื่อนไหวทั้ง 4 คนถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือนมกราคมในการพิจารณาคดีแบบปิด โดยถูกกล่าวหาว่า ช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธต่อสู้กับกองทัพ ทั้งหมดถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและประมวลกฎหมายอาญา ส่วนการประหารชีวิตดำเนินการตามกระบวนการของเรือนจำ รายงานระบุว่า ผู้ถูกประหารชีวิตรวมนายจ่อ มิน ยู วัย 53 ปี นักเรียกร้องประชาธิปไตยคนสำคัญที่รู้จักกันในชื่อ จิมมี และนายพโย จียา ตอ วัย 41 ปี นักดนตรีแนวฮิปฮอปและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพันธมิตรกับนางออง ซาน ซู จี ทั้งคู่ยื่นอุทธรณ์แต่ถูกศาลปัดตกไปในเดือนมิถุนายน รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาเมียนมาประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ สมาคมช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองเผยว่า เมียนมามีการประหารชีวิตครั้งหลังสุดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษหลังปี 1980 และตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีคนถูกเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงสังหารแล้วมากกว่า 2,100 คน.-สำนักข่าวไทย

ศาลอุทธรณ์สั่งประหารชีวิต “บรรยิน” คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา

ศาลอุทธรณ์พิพากษาเเก้โทษ ให้ประหารชีวิต “พ.ต.ท.บรรยิน” อดีต รมช.พาณิชย์ จำเลยที่ 1 และ “ณรงค์ศักดิ์” จำเลยที่ 3 ในคดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา ส่วนจำเลยที่เหลืออีก 4 คน จำคุกตลอดชีวิต เเละยกฟ้องในบางมาตรา

แคว้นโดเนตสก์จะเริ่มใช้การประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2568

ลอนดอน 1 ก.ค.- แคว้นโดเนตสก์ที่ประกาศแยกตัวจากยูเครนเป็นสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์จะเริ่มใช้บทลงโทษด้วยการประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2568 หลังจากก่อนหน้านี้ตัดสินประหารชีวิตชาวอังกฤษและชาวโมร็อกโกที่ไปร่วมรบกับยูเครน รัฐสภาสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ประกาศเรื่องนี้ในประมวลกฎหมายอาญาฉบับปรับปรุงที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ มีผลตั้งแต่วันนี้ โดยระบุว่าการประหารชีวิตจะเป็นการยิงเป้า และหัวหน้าสาธารณรัฐฯ จะเป็นผู้ชี้ขาดเรื่องการให้อภัยโทษนักโทษประหาร อย่างไรก็ดี ยังไม่แน่ชัดว่า การประกาศเริ่มใช้โทษประหารชีวิตตั้งแต่ปี 2568 จะมีผลอย่างไรต่อชายอังกฤษ 2 คน และชายโมร็อกโก 1 คนที่ถูกศาลสาธารณรัฐฯ ตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือนมิถุนายน โทษฐานเป็นนักรบรับจ้าง หลังจากถูกกองกำลังรัสเซียจับกุมตัวขณะสู้รบร่วมกับกองกำลังยูเครน ทนายความของพวกเขาเผยว่า จะยื่นอุทธรณ์เพราะเป็นการตัดสินอย่างรีบเร่งโดยไม่มีคณะลูกขุนและไม่ให้สื่ออิสระหรือสากลเข้าไปสังเกตการณ์ สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ ซึ่งรัสเซียหนุนหลังมีโทษประหารชีวิตตั้งแต่แยกตัวจากยูเครนในปี 2557 แต่ยังไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดจนถึงปัจจุบัน ด้านองค์การนิรโทษกรรมสากลที่ติดตามการประหารชีวิตทั่วโลกเผยว่า ยังไม่มีข้อมูลว่ามีการประหารชีวิตในสาธารณรัฐนี้.-สำนักข่าวไทย

ชาวอังกฤษ-โมร็อกโกที่ถูกตัดสินประหารชีวิตเตรียมอุทธรณ์

ชาวอังกฤษ 2 คนและชาวโมร็อกโก 1 คน ที่ถูกจับกุมในขณะช่วยกองทัพยูเครนรบกับรัสเซียและถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตที่ศาลของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ ซึ่งประกาศแยกดินแดนออกจากยูเครน กำลังเตียมตัวอุทธรณ์คำตัดสิน

มาเลเซียเดินหน้ายกเลิกโทษประหารชีวิตสถานเดียว

นายวัน จูนายดี ตวนกู จาฟาร์ รัฐมนตรียุติธรรมของมาเลเซียกล่าววันนี้ว่า มาเลเซียได้ตกลงที่จะยกเลิกบทลงโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียวและใช้วิธีการลงโทษแบบอื่น ๆ ทดแทนตามดุลพินิจของศาล ซึ่งนับเป็นการรื้อฟื้นคำสัญญาเรื่องการยกเลิกการประหารชีวิตที่ประกาศไว้เมื่อ 3 ปีก่อน

สิงคโปร์เมินเสียงค้าน-ประหารชีวิตชาวมาเลเซียคดียาเสพติด

สิงคโปร์ประหารชีวิตชาวมาเลเซียที่ถูกศาลตัดสินลงโทษสถานหนักในความผิดฐานค้ายาเสพติดแล้วในวันนี้ แม้ว่าจะมีเสียงร้องขอให้บรรเทาโทษแก่นักโทษรายนี้ โดยให้เหตุผลว่าเขาเป็นผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางปัญญา

1 2 3 4 5 6 14
...