กฟผ.คาดหวังนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มลดค่าไฟฟ้า ด้าน “ศรีสุวรรณ” ยื่นสอบต้นทุนไฟฟ้า
กฟผ.นำเข้า LNG 2 ลำเรือ เผยช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงร่วม 500 ล้านบาท
กฟผ.นำเข้า LNG 2 ลำเรือ เผยช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงร่วม 500 ล้านบาท
กฟผ.หนุนแนวคิด “สนธิรัตน์” นำเข้าแอลเอ็นสปอตช่วงนี้ ชะลอใช้ก๊าซฯ ในประเทศ ส่งผลต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำ
“สมคิด” ให้ กฟผ.เร่งนำเข้าแอลเอ็นจี กฟผ.เผยจะเสนอนำเข้าปีนี้แบบตลาดจรอีก 6 แสนตัน
กฟผ.ประกาศรายชื่อ 17 โรงสกัดน้ำมันปาล์มที่ผ่านคุณสมบัติ รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 101,700 ตัน
กฟผ.เผยมีผู้ผ่านเกณฑ์ขายซีพีโอ 26 ราย เพียง 1.017 แสนตัน
กฟผ.มั่นใจนำเข้าแอลเอ็นจีล็อตแรกเดือน ก.ย.นี้ หลังเจรจา ปตท. ไม่กระทบจนสร้างปัญหาเทคออร์เพย์
กฟผ.เปิดรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพิ่ม 54,700 ตัน เพื่อจัดซื้อให้ครบ 1 แสนตัน ภายใน พ.ค.นี้
เผยคืบหน้าจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบล็อตแรก มีโรงงานสกัดที่ผ่านเกณฑ์ การเสนอราคา จำนวน 15 ราย เสนอขาย 45,300 ตัน
กฟผ.ช่วยดูดซับปาล์ม รับซื้อ 100,000 ตัน ส่งมอบภายในสิ้นเดือนนี้
กฟผ.ขานรับนโยบายรัฐบาล เร่งปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกง หน่วยที่ 3 พร้อมรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ กลาง ธ.ค.นี้
กฟผ.1 ต.ค.-กฟผ.เผยสำรองเหมืองถ่านหินลิกไนต์ลดลง เตือนกระทรวงพลังงานวางแผนรับมืออนาคต เสนอแผนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทดแทน หน่วยที่ 8-9 อย่างไรก็ตาม แม้อนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะก็จะเหลือกำลังผลิตเพียงครึ่งเดียวจากปัจจุบัน 2,400 เมกะวัตต์ (MW) เพราะถ่านหินไม่เพียงพอ นายธวัชชัย จักรไพศาล รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กฟผ.ได้เสนอแนวคิดการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภาคเหนือ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปริมาณถ่านหินสำรองเหมืองแม่เมาะที่ลดต่ำลงในอนาคต และส่งผลให้หลังปี2570 ไปแล้วกำลังผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะอาจจจะลดลงเหลือ1,250 MWจากปัจจุบันอยู่ที่ 2,400 MW แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับกระทรวงพลังงานจะเห็นชอบให้สร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนโรงที่ 8-9 กำลังผลิต 600 MW หรือไม่ด้วย ดังนั้นใน อนาคต โรงไฟฟ้าแม่เมาะซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลัก ขนาดใหญ่ที่ส่งไฟฟ้าจากภาคเหนือมาภาคกลาง ก็จะไม่ได้ทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าลงมาได้แล้ว เพราะกำลังผลิตลดลง และทางภาคเหนือก็ต้องมีไฟฟ้าใช้ที่มั่นคง เพียงพอ ซึ่งการส่งไฟฟ้าจะเปลี่ยนภาพ โดยอาจจะมาจากการส่งไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าภาคกลางและภาคเหนือ ที่เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ที่ต่อท่อก๊าซธรรมชาติรับจากก๊าซแอลเอ็นจีนำเข้าจากอ่าวไทย ไปยังภาคกลางตอนบน หรือภาคอีสาน ที่ขณะนี้มีท่อไปถึงนครราชสีมาแล้ว อาจะต่อท่อไปยังขอนแก่ เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าน้ำพองก็ได้ หรือ กระทรวงพลังงานอาจจะตัดสินใจซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งคงต้องดูนโยบายเป็นอย่างไรในแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี ) ที่กระทรวงพลังงานกำลังจัดทำว่าจะเลือกแนวทางผลิตไฟฟ้าอย่างไรในอนาคต […]