ชัวร์ก่อนแชร์ : Over Sharing แชร์เวอร์ อาจเจอดี !

ปัจจุบัน ‘โซเชียลมีเดีย’ กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร แบ่งปันข้อมูล และแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี เปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน แต่อย่างไรก็ตาม หากเราใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างขาดความระมัดระวังหรือใช้มากเกินความพอดี ก็อาจส่งผลเสียตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดโซเชียล การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หรือการละเลยความสัมพันธ์และหน้าที่ในชีวิตจริง ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตโดยรวม สิ่งนี้เรียกว่า Over Sharing หรือการโพสต์และแบ่งปันเรื่องส่วนตัวมากเกินไปบนโลกออนไลน์ ที่อาจส่งผลให้เกิด Online Grooming หรือการถูกล่อลวงโดยอาชญากรไซเบอร์ได้ง่ายขึ้น Over Sharing สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับหลัก ๆ คือ แม้การเผยแพร่ข้อมูลบนโลกออนไลน์จะเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถกระทำได้ แต่หากใช้อย่างไม่เหมาะสมหรือมากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตจริงได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ หรือ Online Grooming ที่มักจะจับเป้าหมายจากโพสต์ที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง ซึมเศร้า หรือเหงา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน อาชญากรจะแสดงความสนใจ เห็นอกเห็นใจ และเสนอความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การให้เงินหรือสิ่งของ ซึ่งอาจกลายเป็นกับดักในการล่อลวงเพื่อการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในอนาคตได้ นอกจากนี้ การเผยแพร่ข้อมูลที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว และสุขภาพจิตได้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ เช่น ในระยะสั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ทำไมถึงรู้สึกว่ากลางวันยาวกว่ากลางคืน

ใกล้ค่ำแล้ว แต่ทำไมท้องฟ้ายังสว่างอยู่ ? นั่นเป็นเพราะ 21 มิถุนายน 2568 เป็นวันครีษมายัน วันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีนั่นเอง วันครีษมายัน คืออะไร ?สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวันครีษมายัน (Summer Solstice) เอาไว้ว่า เป็นวันที่โลกมีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุด และช่วงเวลากลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี เนื่องจากดวงอาทิตย์โคจรไปถึง “จุดหยุด” หรือ “จุดเหนือสุด” บนเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏบนท้องฟ้า โดยตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปทางเหนือประมาณวันละ 1 องศา จนถึงจุดเหนือสุดในวันที่ 21 มิถุนายน ส่งผลให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ลักษณะดังกล่าว ทำให้ในวันดังกล่าวประเทศไทยจะมีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 05.51 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าประมาณ 12 ชั่วโมง 56 นาที (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) จุดเริ่มต้นของ “ฤดูกาล”ฤดูกาล เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ด้วยลักษณะการโคจรแบบวงรี และแกนโลกวางตัวในแนวเอียงจากแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ประมาณ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ภัยไซเบอร์ ที่มักเจอบน App Store

เมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจแฝงตัวในรูปแบบแอปพลิเคชัน ที่หลอกขโมยข้อมูลสำคัญ และล่อให้ทำธุรกรรมทางการเงิน ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน แอปพลิเคชันก็กลายเป็นประตูสู่โลกดิจิทัลที่ทั้งสะดวกและรวดเร็ว แต่ภายใต้ความสะดวกนั้นอาจมี “ภัยไซเบอร์” ที่แฝงตัวอย่างแนบเนียนในรูปแบบต่าง ๆ  จากรายงานการป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงประจำปีบน App Store ที่เผยแพร่โดย Apple เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 พบว่า บน App Store มีปัญหากลโกงไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และความเสียหายทางการเงิน อย่างน้อย 5 กลโกง ได้แก่ 1. แอปพลิเคชันปลอม เลียนแบบผู้ไม่หวังดีเผยแพร่แหล่งดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ลอกเลียนแบบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ใน App Store ซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นักพัฒนา Apple ด้วยการดัดแปลงแก้ไข โดยแอปพลิเคชันเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หรือนำไปใช้เป็นอาวุธในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่มุ่งร้ายได้อีกด้วย  ในเดือนที่ผ่านมา Apple ได้หยุดความพยายามในการติดตั้งหรือเปิดแอปพลิเคชันที่แจกจ่ายอย่างผิดกฎหมายนอก App Store หรือมาร์เกตเพลสของบริษัทอื่นที่ได้รับการอนุมัติไปเกือบ 4.6 ล้านครั้ง 2. แอปพลิเคชันผิดกฎหมายนอก App Storeผู้ไม่หวังดีมักหลอกลวงให้ผู้ใช้งานติดตั้งแอปพลิเคชันผิดกฎหมาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : Cyber Resilience สู้ภัยไซเบอร์ ด้วยการพร้อม “เจอ”

ในยุคที่ภัยไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา “การป้องกัน” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ Cyber Resilience ซึ่งเน้นการพร้อมเผชิญ รับมือ และฟื้นตัว จึงเป็นแนวทางสำคัญในการรับมือ เพราะสิ่งที่สำคัญไม่ใช่เพียงการหลีกเลี่ยง แต่คือความพร้อมในการรับมือเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยไซเบอร์ เหตุสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศไทยขัดข้อง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่จำเป็นต้องเป็นการถูกโจมตีโดยตรงเท่านั้น แต่การที่เราไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบภัยไซเบอร์ได้เช่นกัน แนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จำแนกรูปแบบการดูแลความมั่นคงปลอดภัยไว้ 3 ด้าน รู้จักกันว่า “สามเหลี่ยม C-I-A” ซึ่งหมายถึง C-Confidentiality (การคงความลับ) I-Integrity (การคงความเที่ยงตรง) และ A-Availability (การคงความสามารถในการเข้าถึง) ดังนั้น การที่จู่ ๆ สัญญาณมือถือหายไป จึงนับเป็นอีกหนึ่งรูปแบบภัยทางไซเบอร์ที่เราต้องเตรียมตัว “เจอ” ไว้เช่นกัน แค่ Cyber Security อาจไม่พอ ต้องมี Cyber Resilience ร่วมด้วยแนวคิด Cyber Resilience จึงเกิดขึ้น เพราะแนวโน้มภัยในโลกยุคนี้มีความรุนแรงและไม่แน่นอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เมื่อความรุนแรงในครอบครัวขยายตัวสู่โลกไซเบอร์

“ครอบครัว” เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ที่สมาชิกในครอบครัวใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความผูกพันทางสายเลือด กฎหมาย และจิตใจ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรัก ความอบอุ่น และความผูกพัน เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แต่กลับเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่าห่วง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัว ขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่ออนไลน์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสถิติความรุนแรงในครอบครัว โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 4,833 ราย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยาเสพติด ความเครียดทางเศรษฐกิจ และปัญหาสุขภาพจิต ทั้งนี้ สถิติความรุนแรงที่เกิดขั้นนั้น เป็นความรุนแรงภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 71 จำนวน 3,421 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็ก 1,450 ราย โดยแบ่งเป็น – ถูกทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,029 ราย  – ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 270 ราย  – ถูกกระทำอนาจาร 118 ราย  – ถูกทอดทิ้ง 33 […]

‘ฟิชชิงและคลิกเบต’ ไม่ใช่แค่น่ารำคาญแต่ยังเสียดทานเสรีภาพสื่อ | ชัวร์ก่อนแชร์

เมื่อคลิกเบตกลายเป็นเครื่องมือฟิชชิ่ง ภัยเงียบที่บ่อนทำลายเสรีภาพสื่อในยุคดิจิทัล ?วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” เพื่อส่งเสริมบทบาทของสื่อที่เสรี มีจริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมย้ำเตือนรัฐบาลให้เคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในยุคที่ข้อมูลหลั่งไหลผ่านหน้าจอเพียงปลายนิ้ว การคงไว้ซึ่ง “เสรีภาพของสื่อ” ต้องเดินคู่กับ “ความตระหนักรู้ของผู้รับสาร” เพราะภัยอย่างฟิชชิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบสื่อโดยรวมได้ ฟิชชิง (Phishing) คืออะไร ?ฟิชชิง (Phishing) คือรูปแบบหนึ่งของการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยมักใช้อีเมล ข้อความ หรือหน้าเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ผู้ใช้หลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัวคำว่า “Phishing” มีที่มาจากคำว่า “Fishing” ซึ่งหมายถึงการตกปลา เปรียบได้กับการที่อาชญากรไซเบอร์โยนเหยื่อล่อ เช่น ลิงก์ปลอมหรือข้อความเร่งด่วน เพื่อให้เหยื่อหลงคลิกและตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีข้อมูลจาก พันตำรวจเอก มรกต แสงสระคู ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พบว่า มีความพยายามโจมตีแบบฟิชชิงมากถึง 11 ล้านรายการต่อปี และฟิชชิงยังถูกจัดอยู่ใน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กรุ๊ปเลือดไหน ให้-รับ กันได้บ้าง ?

“กรุ๊ปเลือด” เป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายเลือดอย่างปลอดภัย เพราะไม่ใช่ทุกกรุ๊ปเลือดที่จะสามารถให้หรือรับกันได้อย่างอิสระ แล้วกรุ๊ปเลือดไหนรับหรือให้กันได้บ้าง ? ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเลือดประมาณร้อยละ 9–10 ของน้ำหนักตัว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงออกซิเจน สารอาหาร และขับของเสียออกจากเซลล์ของร่างกาย โดยแต่ละคนจะมีหมู่โลหิต หรือกรุ๊ปเลือด ที่แตกต่างกันตามพันธุกรรม โดยการแยกโลหิตของคนเราออกเป็นหมู่/เป็นกรุ๊ป (Group หรือ Type) ตามชนิดของสารชีวเคมี (Biochemicalsubstance) ที่มีชื่อว่า ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) หรือไกลโคไลปิด(Glycolipid) ที่ร่างกายสร้างขึ้นและปรากฏบนผิวเม็ดโลหิตแดงและเรียกว่าแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ซึ่งมีลักษณะจำเพาะในแต่ละหมู่ โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 1. หมู่โลหิตระบบ ABOระบบหมู่โลหิต ABO ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1900 โดย Karl Landsteiner ซึ่งสามารถจำแนกหมู่โลหิตออกเป็น A, B และ O ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 Von Decastello และ Sturli ได้ค้นพบหมู่โลหิต AB […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วันรหัสผ่านโลก ตั้งรหัสผ่านอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่โดนแฮก !

รู้หรือไม่ ? รหัสผ่านไม่รัดกุม อาจทำให้ข้อมูลสำคัญของเรารั่วไหลได้ภายในพริบตา “วันรหัสผ่านโลก”  จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย  รหัสผ่าน (Password) คือด่านแรกของความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีโซเชียลมีเดีย อีเมล หรือแอปพลิเคชันด้านการเงินต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยรหัสผ่านในการยืนยันตัวตนและปกป้องข้อมูลสำคัญของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ  ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดให้ วันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันรหัสผ่านโลก” (World Password Day) ซึ่งในปี 2568 นี้ ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม ปลอดภัย และหมั่นปรับปรุงให้ทันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 5 ข้อห้ามทำ ! ถ้าไม่อยากโดนแฮก1. ไม่ตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป เช่น การพิมพ์ไล่ตามแป้นพิมพ์ 123456 ใช้คำหรือประโยคง่าย ๆ เช่น password2. ไม่ใช้ขอมูลส่วนตัวตั้งรหัสผ่าน3. ไม่ตั้งรหัสผ่านเหมือนกันทุกบัญชี4. ไม่กด “จำรหัสผ่าน” ในเครื่องที่มีคนอื่นใช้งานร่วมด้วย5. ไม่บอกรหัสผ่านให้คนอื่นรู้ จากฐานข้อมูลการวิจัยของ NordPass พบว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรค 2 ภัย ที่ทุกวัยต้องระวังช่วงฤดูร้อน

ช่วงนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด แดดแรง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อที่ปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย และนำไปสู่โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ร้อนจัดยังอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางอ้อมได้อีกด้วย การตระหนักรู้และป้องกันอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง “3 โรค 2 ภัย” ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และรักษาคุณภาพชีวิตของตนเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัย 3 โรค ต้องระวัง! 1. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)โรคอาหารเป็นพิษ นับเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสบางชนิดได้เป็นอย่างดี หากบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้เข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยได้ สาเหตุ : เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสโปรโตซัว หรือสารพิษที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย ความรุนแรงของโรคอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณของเชื้อก่อโรค อาการมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหลังรับประทานอาหารปนเปื้อน ได้แก่– คลื่นไส้– อาเจียน– ปวดท้อง– อาจถ่ายเหลว จากข้อมูลโรคอาหารเป็นพิษย้อนหลัง 5 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฮีตสโตรก ทำไมต้องอย่าให้หัวร้อน

เมื่ออุณหภูมิพุ่งสูงจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน สิ่งที่เราต้องเผชิญอาจไม่ใช่แค่ความไม่สบายตัว แต่คือภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ภายใต้แสงแดดจ้า นั่นคือ “ฮีตสโตรก” ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนจัดอย่างที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในขณะนี้ การรู้เท่าทัน ป้องกัน และรับมืออย่างถูกวิธี จึงอาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาชีวิตของคุณและคนรอบข้างเอาไว้ได้ โรคฮีตสโตรกเกิดตอนไหน?“โรคฮีตสโตรก” (Heatstroke) โรคลมร้อน เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนสูงมาก โดยเฉพาะอุณหภูมิที่มากกว่า 40 องศาเซลเซียส จนทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โรคฮีตสโตรก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1. โรคฮีตสโตรกทั่วไป (classical or nonexertional heat stroke; NEHS)– พบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง– เกิดจาก การอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง ทำให้กลไกการระบายและควบคุมความร้อนทำงานล้มเหลว ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนจึงมีอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส  2. โรคฮีตสโตรกจากการออกกำลังกาย (exertional heat stroke; EHS)– พบในวัยหนุ่มสาว– เกิดจาก การทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายอย่างหนักกลางแจ้งเป็นเวลานานหรือในสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้เพิ่มการสร้างความร้อนของร่างกายมากกว่าที่ร่างกายจะสามารถระบายความร้อนได้ทัน จนกระทั่งอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส จากการรวบรวมรายงานการเสียชีวิตที่อาจจะเกี่ยวข้องกับความร้อน จากภาวะอากาศร้อนในปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หมอสั่งสูงวัย “ห้ามล้ม”

13 เมษายน “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” อย่าลืมใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ “การหกล้ม” ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บรุนแรง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุหกล้มทุกปีข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ 60 ปี หกล้มทุกปี ซึ่งการหกล้มเพียงครั้งเดียวนั้น อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพหรือจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การหกล้ม1. ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกายอันดับที่ 1 โรคประจำตัว เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด จากโรคความดันโลหิต หรือภาวะปลายประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน เป็นต้นอันดับที่ 2 การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ทำให้ระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายไม่แข็งแรงอันดับที่ 3 ภาวะขาดสารอาหาร เช่น การขาดโปรตีน ธาตุอาหาร วิตามินอันดับที่ 4 การบาดเจ็บของเท้า ที่ส่งผลให้ประสาทสัมผัสการรับรู้บกพร่อง 2. ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมจากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 65 หกล้มภายในบ้าน โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น– พื้นลื่น/มีสิ่งกีดขวาง มองไม่เห็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โดนสาดไม่ใช่แค่เปียก สงกรานต์นี้ระวัง 5 โรคแอบแฝง

เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์อย่างเป็นทางการ หลายคนออกไปร่วมสนุกกับกิจกรรมสาดน้ำอย่างชุ่มฉ่ำทั่วประเทศ ทั้งคลายร้อนทั้งสร้างรอยยิ้ม แต่ท่ามกลางความสนุกนั้น อย่าลืมใส่ใจเรื่องความปลอดภัย เพราะอาจมีเชื้อโรคแอบแฝงมาโดยไม่รู้ตัว และ ก่อน-ระหว่าง-หลัง เล่นน้ำควรทำอย่างไรให้ปลอดภัยลดความเสี่ยง ควบคู่กับความสนุกเย็นฉ่ำ อย่าลืมว่า “น้ำ” ก็อาจทำหน้าที่เป็นตัว “นำ” พาเชื้อก่อโรคมาสู่ร่างกายเราได้ และหากเล่นน้ำกลางแดดเปรี้ยงก็อาจเสี่ยงป่วยได้!มาทำความรู้จักกับ 5 โรคที่แอบแฝง ที่ควรระวังในช่วงสงกรานต์นี้ เพื่อให้สนุกได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัยตลอดเทศกาล 1. โรคตาแดงโรคตาแดง (Red Eye) คือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณตาขาว ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะในกลุ่ม อะดีโนไวรัส (Adenovirus) และบางกรณีอาจเกิดจาก เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้สามารถ แพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้คนรวมตัวกันหนาแน่น เช่น งานเทศกาล โรงเรียน ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ก็มีการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก ทำให้อาจติดเชื้อจากการสัมผัสน้ำและอุปกรณ์ปนเปื้อนเชื้อ หรือมีผู้ป่วยตาแดงอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ โรคตาแดง สามารถหายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี หรือรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ 2. ฮีตสโตรกแม้จะเล่นน้ำเปียก ๆ เย็น […]

1 2 3 10
...