ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด “เอช-3”
สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ จาซา ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด “เอช 3” ซึ่งเป็นจรวดรุ่นใหม่ หลังจากความพยายามก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้วไม่ประสบความสำเร็จ
สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ จาซา ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวด “เอช 3” ซึ่งเป็นจรวดรุ่นใหม่ หลังจากความพยายามก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้วไม่ประสบความสำเร็จ
เตหะราน 28 ม.ค.- สื่อทางการอิหร่านรายงานว่า อิหร่านได้ปล่อยดาวเทียม 3 ดวงพร้อมกันเป็นครั้งแรกในวันนี้ โดยใช้จรวดบรรทุกดาวเทียมที่พัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมอิหร่าน รอยเตอร์รายงานอ้างสื่อทางการอิหร่านว่า ดาวเทียมดวงแรกมีน้ำหนัก 32 กิโลกรัม ดาวเทียมอีก 2 ดวงเป็นดาวเทียมขนาดเล็กมีน้ำหนักไม่ถึง 10 กิโลกรัม ทั้งหมดถูกส่งเข้าสู่วงโคจรที่ระดับความสูง 450 กิโลเมตร ดาวเทียมดวงใหญ่มีชื่อว่า มาห์ดา (Mahda) สร้างขึ้นโดยสำนักงานอวกาศของอิหร่าน ปล่อยขึ้นเพื่อทดสอบความแม่นยำของจรวดซีเมิร์ก (Simorgh) (แปลว่านกฟีนิกซ์) ในการบรรทุกสิ่งของหลายอย่างขึ้นสู่อวกาศ ขณะที่ดาวเทียมขนาดเล็ก 2 ดวงจะทำหน้าที่ทดสอบการสื่อสารย่านความถี่แคบ (narrowband communication) และเทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งบนพื้นดิน ก่อนหน้านี้ในเดือนเดียวกันอิหร่านได้ปล่อยดาวเทียมโซรยา (Sorayya) เข้าสู่วงโคจรด้วยจรวดที่สร้างขึ้นโดยกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามที่เป็นเหล่าทัพหนึ่งในกองทัพอิหร่าน ทำให้ชาติมหาอำนาจในยุโรปวิตกว่า อิหร่านอาจนำเทคโนโลยีจรวดนี้ไปใช้พัฒนาระบบขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยไกล ล่าสุดอิหร่านได้ยืนยันเมื่อวานนี้ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสันติในด้านอวกาศเป็นสิทธิอันชอบธรรมของอิหร่าน.-814.-สำนักข่าวไทย
ปักกิ่ง 9 ธ.ค.- สตาร์ทอัพเอกชนในจีนประสบความสำเร็จในการใช้จรวดเชื้อเพลิงมีเทนและออกซิเจนเหลวส่งดาวเทียม 3 ดวงเข้าสู่วงโคจรในวันนี้ บริษัท แลนด์สเปซ เทคโนโลยี (LandSpace Technology) ในกรุงปักกิ่ง ปล่อยจรวดจูเชวี่ย-2 วาย-3 (Zhuque-2 Y-3) เมื่อเวลา 07:39 น.วันนี้ตามเวลาจีน จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วฉวน ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เป็นการทดสอบจรวดจูเชวี่ย-2 ครั้งที่ 3 และสามารถนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรได้เป็นครั้งแรก หลังจากการทดสอบครั้งที่ 2 จูเชวี่ย-2 วาย-2 ที่ไม่มีดาวเทียม เมื่อเดือนกรกฎาคม ทำให้แลนด์สเปซเป็นบริษัทแรกของโลกที่สามารถปล่อยจรวดใช้เชื้อเพลิงมีเทนและออกซิเจนเหลว แซงหน้าคู่แข่งอย่างสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ของ อีลอน มัสก์ และ บลู ออริจิน (Blue Origin) ของ เจฟฟ์ เบโซส ส่วนการทดสอบครั้งแรก จูเชวี่ย-2 วาย-1 เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ล้มเหลว แลนด์สเปซเผยว่า ดาวเทียมทั้ง 3 ดวง […]
ศาลยุติธรรม แจงข้อมูลคดี-ผลประกันตัว “แป้ง นาโหนด” และ “จรวด สิทธิเดช”
คดีพยายามฆ่าและลักทรัพย์เวลากลางคืนชิงตัวประกัน
กาซา 11 ต.ค.- เผยโฉมหน้าแกนนำในกลุ่มฮามาสที่เป็นผู้วางแผนโจมตีอิสราเอลครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 เอเอฟพีรายงานอ้างผู้เชี่ยวชาญหลายคนว่า นายโมฮัมเหม็ด เดฟ (Mohammed Deif) ผู้นำกองพันไอซ์ อัด-ดีน อัล-กัสซัม (Izz ad-Din al-Qassam Brigades) ที่เป็นฝ่ายติดอาวุธของฮามาส เป็นผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการโจมตีจากกาซาโดยที่อิสราเอลไม่ทันตั้งตัว เขาอยู่ในรายชื่อบุคคลที่เป็นที่ต้องการตัวมากที่สุดของอิสราเอลมาร่วม 30 ปี และสามารถหลบหนีการไล่ล่าเอาชีวิตของหน่วยข่าวกรองอิสราเอลจนได้รับฉายาว่า แมว 9 ชีวิต ขณะที่สหรัฐขึ้นบัญชีเขาเป็นผู้ก่อการร้ายสากลตั้งแต่ปี 2558 วิธีการอยู่รอดของเขาคือการหลบซ่อนตัว ภาพถ่ายเดียวของเขาที่มีการเผยแพร่เป็นภาพถ่ายเมื่อ 20 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ว่ากันว่าเขาสูญเสียการมองเห็น เสียแขน 1 ข้าง และขา 1 ข้างจากการถูกอิสราเอลโจมตีในปี 2549 สื่อหลายแห่งสันนิษฐานว่า เขามีชื่อจริงว่า โมฮัมเหม็ด อัล-มาสรี (Mohammed al-Masri) ส่วนคำว่า เดฟ เป็นภาษาอาหรับแปลว่า ผู้เป็นแขก เนื่องจากเขาไม่เคยค้างแรมที่ใดเกิน 1 […]
อิสราเอลและฮามาสปะทะเดือด สูญเสียฝั่งละไม่ต่ำกว่า 200 คน หลังจากฮามาสในปาเลสไตน์เปิดฉากโจมตีอิสราเอลครั้งใหญ่ช่วงเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น
กองทัพอากาศเตรียมเครื่องบิน กำลังพล และยุทโธปกรณ์ พร้อมอพยพคนไทยในอิสราเอลกลับประเทศ หลังเกิดเหตุจรวดโจมตีจากฉนวนกาซาไปยังหลายพื้นที่ในอิสราเอลตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (7 ต.ค. 66) และมีผู้ก่อการร้ายแทรกซึมเข้ามาในพื้นที่ของอิสราเอล
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย หารือกับนายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งชาวเกาหลีเหนือไปอวกาศ
จรวด เอช2เอ ที่บรรทุกยานสำรวจดวงจันทร์ของสำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้จากศูนย์อวกาศทาเนกาชิมะ ในจังหวัดคาโกชิมะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นเมื่อเวลา 8.42 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ตรงกับ 6.42 น. เช้าวันนี้ตามเวลาในประเทศไทย
นิวยอร์ก 26 ส.ค.- เกาหลีเหนือชี้แจงต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซี (UNSC) เรื่องปล่อยจรวดเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า เป็นการใช้สิทธิตามอธิปไตย และไม่ได้เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน นายคิม ซง เอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำยูเอ็นเอสซีกล่าวต่อที่ประชุมเมื่อวันศุกร์ตามเวลานิวยอร์กว่า เกาหลีเหนือจะไม่มีวันถูกตีกรอบโดยมติที่ผ่านมาของยูเอ็นเอสซี ซึ่งห้ามเกาหลีเหนือใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับขีปนาวุธทิ้งตัวและทำให้เกาหลีเหนือถูกคว่ำบาตร การปล่อยจรวดเป็นการใช้สิทธิปกป้องตนเองอันชอบธรรม เพื่อสกัดการเคลื่อนไหวทางทหารอันเป็นปรปักษ์มากยิ่งขึ้นของสหรัฐและสาวก นายคิมหมายถึงเรื่องที่เกาหลีเหนือปล่อยจรวดชอนลีมา-อิล (Chollima-1) นำดาวเทียมจารกรรมทางทหารมันลียง-อิล (Malligyong-1) ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเช้ามืดวันพฤหัสบดีตามเวลาเกาหลีเหนือ แต่ล้มเหลวเป็นครั้งที่ 2 หลังจากล้มเหลวครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ยูเอ็นเอสซีเปิดการประชุมฉุกเฉินมื่อวันศุกร์ตามคำขอของสหรัฐ ซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนประจำเดือนสิงหาคม และสมาชิกอีก 6 ประเทศซึ่งมีญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ดี จีนและรัสเซียได้ใช้สิทธิยับยั้งหรือวีโต้ในฐานะสมาชิกถาวรของยูเอ็นเอสซี ทำให้ที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ใด ๆ เพื่อแสดงท่าทีที่เป็นเอกภาพต่อการปล่อยจรวดของเกาหลีเหนือได้.-สำนักข่าวไทย
เปียงยาง 24 ส.ค.- เกาหลีเหนือแจ้งว่า ความพยายามปล่อยดาวเทียมจารกรรมเข้าสู่วงโคจรประสบความล้มเหลวเป็นครั้งที่ 2 ในวันนี้ หลังจากความพยายามปล่อยครั้งแรกล้มเหลวเมื่อ 3 เดือนก่อน เมื่อจรวดลงตกมหาสมุทรหลังจากทะยานขึ้นได้ไม่นาน สำนักข่าวกลางเกาหลีหรือเคซีเอ็นเอ (KCNA) ของทางการเกาหลีเหนือรายงานว่า สำนักงานพัฒนาอวกาศแห่งชาติได้ปล่อยดาวเทียมจารกรรมมันลียง-อิล (Malligyong-1) ในวันนี้ การปล่อยล้มเหลวเนื่องจากเกิดข้อบกพร่องในระบบการจุดระเบิดฉุกเฉินของจรวดส่วนที่ 3 ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ทางสำนักงานฯ จะพยายามปล่อยดาวเทียมจารกรรมครั้งใหม่ในเดือนตุลาคม ด้านกองทัพเกาหลีใต้แจ้งว่า ตรวจพบการปล่อยจรวดเมื่อเวลา 03:50 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 01:50 น.วันนี้ตามเวลาไทย และพบว่าจรวดได้ทะยานผ่านทะเลเหลือง กองทัพได้เริ่มปฏิบัติการค้นหาและเก็บกู้ซากจรวดของเกาหลีเหนือแล้ว ก่อนหน้านี้เกาหลีเหนือได้แจ้งหน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นว่า จะปล่อยจรวดนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรระหว่างวันที่ 24-31สิงหาคม และเป็นการปล่อยหลังจากเกาหลีใต้และสหรัฐเปิดฉากการซ้อมรบประจำปีภายใต้ชื่อรหัสอุลชิ ฟรีดอม ชีลด์ (Ulchi Freedom Shield) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม กำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 31 สิงหาคม.-สำนักข่าวไทย
อินเดียส่งจรวดที่บรรทุกยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์เดินทางไปด้วยเพื่อไปลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นความพยายามครั้งที่ 2 ในการเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์