โมร็อกโกประท้วงค่าครองชีพสูง

ชาวโมร็อกโก รวมตัวประท้วงค่าครองชีพที่สูงขึ้นมานานหลายเดือน ทั้งค่าอาหารและเชื้อเพลิง ขณะที่ปลายปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของโมร็อกโกอยู่ที่ 8.3%

ผู้นำอังกฤษรับยังช่วยประชาชนเรื่องค่าครองชีพสูงไม่ได้

ลอนดอน 3 พ.ค. – นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของอังกฤษ ระบุว่า รัฐบาลอังกฤษยังไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนเรื่องวิกฤติค่าครองชีพได้ในตอนนี้ เนื่องจากรัฐบาลต้องระมัดระวังการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อดีดตัวสูงขึ้นอีก นายกรัฐมนตรีจอห์นสันกล่าวยอมรับกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวีของอังกฤษว่า รัฐบาลยังไม่ได้ออกมาตรการช่วยเหลือที่เพียงพอต่อการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นของประชาชนทุกคนในทันที แต่กำลังเร่งหาทางรับมือกับปัญหาค่าครองชีพในระยะกลางและระยะยาว ผู้นำอังกฤษยังระบุว่า สาเหตุที่รัฐบาลไม่ได้ปรับสวัสดิการให้เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายงบที่อาจดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นไปอีก โดยที่อังกฤษมีอัตราเงินเฟ้อแตะร้อยละ 7 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 30 ปีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีจอห์นสันระบุว่า รัฐบาลกำลังเร่งหาทางออกมาตรการช่วยเหลือครัวเรือนที่ไม่สามารถจ่ายค่าพลังงานที่สูงขึ้นแต่จำเป็นต้องใช้เพราะมีความจำเป็นทางการแพทย์ นายริชี ซูนัก รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ เผยก่อนหน้านี้ว่า เขาจะรอดูแนวโน้มปรับตัวของราคาพลังงานในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก่อนตัดสินใจว่าจะออกมาตรการช่วยเหลือที่จำเป็นให้แก่ประชาชน ขณะนี้ อังกฤษกำลังเผชิญกับปัญหาราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อรายได้ครัวเรือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษหลังปี 1950 จนทำให้ชาวอังกฤษออกมากดดันให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น. -สำนักข่าวไทย

รอสภาพัฒน์เสนอมาตรการช่วยประชาชน

“สุพัฒนพงษ์” รองนายกฯ บอกกำลังรอสภาพัฒน์เสนอมาตรการช่วยประชาชน บรรเทาเดือดร้อนค่าครองชีพสูง เผย นายกฯ เรียกประชุมหลายครั้งแล้ว

ทูตพาณิชย์รายงานค่าครองชีพทั่วโลกสูงขึ้นดันต้นทุนการผลิตสูงตาม

รัฐมนตรีพาณิชย์เปิดผลวิเคราะห์จากทูตพาณิชย์ทั่วโลกย้ำค่าครองชีพทั่วโลกสูงขึ้นจริงดันให้สินค้าโภคภัณฑ์และการผลิตสินค้าให้ต้นทุนสูงขึ้น เตรียมแผนปฏิบัติการเชิงรุก ช่วยประชาชนทันที

จับแมงปีกแข็ง คั่วยังชีพโควิด-19

ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายครอบครัวมีรายจ่ายค่าครองชีพสูงขึ้น อาชีพเกษตรกรผลผลิตที่ออกมาก็จำหน่ายไม่ค่อยได้ ทำให้บางคนต้องออกมาหาจับแมงไปทอดกินเป็นอาหารยังชีพ

เรียกร้องขึ้นค่าจ้างต่ำ 600-700 บาท

มักกะสัน 8 ก.ย.-เครือข่ายแรงงาน  เรียกร้องยกเลิกค่าจ้างลอยตัว และคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด เสนอให้ค่าจ้างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 600-700 บาท เพราะค่าครองชีพสูง ย้ำค่าแรงขั้นต่ำต้องเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้อย่างน้อย 2 คน ขั้นต่ำ 300 บาทไม่เพียงพอ พร้อมส่งแบบสำรวจความคิดเห็นแรงงานทั่วประเทศ สรุปผล ต.ค.นี้  นายสาวิทย์  แก้วหวาน  ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) พร้อมตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) แถลงข่าว เรื่องการขอให้มีการปรับค่าจ้าง ปี 2561 ว่า เนื่องจากสถานการณ์ค่าครองชีพในปัจจุบันพบว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทไม่เพียงพอ จึงอยากเรียกร้องให้มีการปรับอัตราค่าจ้างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ พร้อมยกเลิกค่าจ้างลอยตัวและยกเลิกคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดออกไป เนื่องจากเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ ไม่ใช่ตัวแทนของภาคแรงงานอย่างแท้จริง อีกทั้งไม่มีอำนาจในการต่อรองราคาค่าจ้าง  โดยเสนอให้มีการขึ้นค่าจ้าง ให้เพียงพอกับการครองชีพในปัจจุบัน ที่สามารถเลี้ยงตนเองได้ และคนในครอบครัวอีก 2 คน โดยอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม คาดว่าจะอยู่ราว 600-700 บาท  นายสาวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้มีการกระจายแบบสอบถามอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมออกไปสำรวจความคิดเห็นลูกจ้างทั่วประเทศเพื่อตอบโจทย์ข้อสงสัยถึงการได้รับค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ที่รวมไปถึง ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งต้องยอมรับว่าอัตราค่าจ้างเพียง […]

...