กรมวิทย์ฯ พัฒนาชุดทดสอบ “พาราควอต” ในผัก-ผลไม้สด
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาชุดทดสอบพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้สด วิธีใช้งานง่ายคล้าย ATK สะดวก ให้ผลรวดเร็ว เตรียมเปิดให้ผู้สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อผลิตจำหน่ายให้ประชาชน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาชุดทดสอบพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้สด วิธีใช้งานง่ายคล้าย ATK สะดวก ให้ผลรวดเร็ว เตรียมเปิดให้ผู้สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อผลิตจำหน่ายให้ประชาชน
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังโอไมครอน BA.4 – BA.5 หลังพบในไทยติดเชื้อแล้ว 181 คน ย้ำอย่ากังวล ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม พร้อมเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการรุนแรงส่งตรวจหาสายพันธุ์
“อนุทิน” สั่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำวัคซีนฝีดาษที่เคยใช้เมื่อ 40 ปีก่อนที่แช่แข็งไว้ออกมาวิเคราะห์ว่าจะสามารถใช้รักษาโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ได้หรือไม่
กรมวิทย์ฯ แจงไทยพบโอไมครอน 99.9% เดลตาแค่ 1 ตัวอย่าง ลดโอกาสเจอ ‘เดลตาครอน’ ในไทย สัดส่วนสายพันธุ์ย่อยโอไมครอน BA.2 เพิ่มขึ้น 78.5% เนื่องจากมีความสามารถแพร่เร็ว 1.4 เท่า ขณะที่ส่งข้อมูลเข้าข่ายเดลตาครอน 73 ตัวอย่าง ให้ GISAID พบตั้งแต่ ธ.ค.
อธิบดีกรมวิทย์แจงสถานการณ์ติดเชื้อโควิดของไทย โอไมครอนยึด 99.6% พบเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 51.8% เชื่ออีกไม่นานแทนที่ BA.1 เนื่องจากมีอำนาจแพร่มากถึง 1.4 เท่า และพบว่าอัตราการติดเชื้อในครัวเรือน BA.2 พบ 39% BA.1 พบ 29%
กรมวิทย์ฯ เฝ้าระวังอันตรายจากสารตกค้างที่มากับ “ผลไม้มงคล” แนะล้างทำความสะอาดก่อนบริโภค
กรมวิทย์ฯ แจงผลการตรวจโอไมครอน คาดสิ้น ม.ค.นี้ ยึดครองทุกพื้นที่ไทย 100%
กรมวิทย์ฯ เผยยาตำรับสมุนไพรลดไข้ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลอดทดลองได้ เตรียมศึกษาความปลอดภัยก่อนนำไปใช้
กรมวิทย์ฯ ย้ำ ATK ตรวจเจอโควิดทุกสายพันธุ์ไม่มีจำแนก และไม่จำเป็นต้องสรรหาวิธีการตรวจพิสดารเพื่อรู้ว่าติดโอไมครอนหรือไม่ ขอให้แหย่จมูกถูกวิธีพอ แหย่จมูกลึก 2 ซม. ปั่นข้างละ 5 ครั้งและหยดน้ำยา ไม่จำเป็นต้องแหย่ต่อมทอมซิลก่อนแล้วมาแหย่จมูกซ้ำ
อธิบดีกรมวิทย์แจงพบผู้สงสัยติดเชื้อโอไมครอน 11 คน คอนเฟิร์มแล้ว 8 คน เหลือรอตรวจยืนยันอีก 3 คน ทั้งหมดเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ อยู่ในระบบ T&G, Sandbox, ASQ คาด 3 วันรู้ผล พร้อมยืนยันยังไม่มีไวรัสลูกผสมหรือไฮบริดเกิดในไทย
สำนักข่าวไทย 31 ส.ค.- กรมวิทย์ฯ ยันยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ C.1.2 ในไทย ขณะที่ศูนย์จีโนม รามาธิบดีแจงทั้ง WHO และ CDC ยันไม่ได้จัดลำดับความรุนแรงของเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงกรณีมีการแผยแพร่ข้อมูลถึงการค้นพบไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ C.1.2 ซึ่งกลายพันธุ์มากกว่าทุกสายพันธุ์เกือบ 2 เท่า พบในประเทศแอฟริกาใต้กว่าครึ่งประเทศและแพร่ไปอีก 7 ประเทศทั้งอังกฤษ จีน นิวซีแลนด์ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ คองโกและเมอริเชียส ว่า จากข้อมูลของ GISAID (จีเสด) ดูตำแหน่งการกลายพันธุ์ ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะส่งผลต่ออาการรุนแรงหลังรับเชื้อมากน้อยแค่ไหน ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกมากนัก เพียงแต่ดูจากรหัสพันธุกรรมที่เป็นคาดเดาได้บ้าง จึงมีความวิตกว่าจะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นหรือไม่ คงต้องพิจารณาองค์ประกอบปัจจัยต่างๆ รวมถึงการระบาดเป็นอย่างไร และตอนนี้ องค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกาหรือ CDC ยังไม่ได้ยืนยันความรุนแรงจนจัดลำดับความสำคัญกับสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตามสายพันธุ์แอฟริกาใต้ไม่ค่อยระบาดมาถึงไทย จึงยังไม่มีอะไรบ่งชี้น่ากังวลใจ เพียงแต่เฝ้าจับตา ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวด้วยว่า […]
สายพันธุ์เดลตาครองเมืองแล้วเกือบ 100% อธิบดีกรมวิทย์ฯ ไม่แนะนำให้ตรวจหาภูมิคุ้มกันเอง นอกจากไม่ถูกต้อง ยังสร้างความสับสน