เขื่อนลำปาวเตรียมหยุดส่งน้ำ สำรองน้ำไว้กรณีฝนทิ้งช่วง

กรมชลประทานทยอยลดการระบายน้ำเขื่อนลำปาว จากนั้นจะหยุดส่งน้ำในวันที่ 23 เมษายนนี้เนื่องจากข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวหมดแล้ว เตรียมบำรุงรักษา ซ่อมแซมคลองและอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานและสำรองน้ำไว้กรณีฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

ปรับแผนส่งน้ำเขื่อนกิ่วลมแก้แล้งลำปาง

กรุงเทพฯ 18 เม.ย.-รมว. เกษตรฯ สั่งด่วนให้กรมชลประทานบรรเทาภัยแล้งในจังหวัดลำปาง ประสานผู้ว่าฯ ออกประกาศห้ามสูบน้ำตลอดริมตลิ่งแม่น้ำวัง ส่วนที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลายพื้นที่ ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ได้สั่งการให้ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางปรับระบบการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำวังเนื่องจากขณะนี้ประสบภัยแล้งเป็นวงกว้าง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางออกประกาศ เรื่อง การบริหารจัดการลุ่มน้ำวังเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ห้ามสูบน้ำในลำน้ำวังตลอดเส้นทางน้ำ ยกเว้นสูบน้ำเพื่อการประปาตั้งแต่วันที่ 17 เมษายนเป็นต้นไปจนกว่าจะตรวจสอบยืนยันได้ว่า น้ำไหลถึงปลายทางที่ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จึงจะออกประกาศให้สูบน้ำได้ ระหว่างนี้ให้ชลประทานในพื้นที่ปิดประตูน้ำทุกแห่ง ทั้งนี้อธิบดีกรมชลประทานรายงานว่า พื้นที่ลุ่มน้ำวังใช้น้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำกิ่วลมและอ่างเก็บน้ำแม่ฟ้า จึงปรับเพิ่มปริมาณการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำวังวันละ 10 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 17 – 21 เมษายน เพื่อให้น้ำเติมลงเขื่อนสามารถช่วยราษฎรท้ายเขื่อนได้ 30 ตำบลของอำเภอเมืองลำปาง เกาะคา สบปราบ เถิน และแม่พริก ซึ่งฝ่ายปกครองจะร่วมควบคุมดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามประกาศจังหวัดลำปางอย่างเคร่งครัด เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีอยู่จำกัด ต้องสำรองน้ำไว้ให้เพียงพอไปจนถึงต้นฤดูฝนหน้าที่กำลังจะมาถึงประมาณสัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือนพฤษภาคมตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ “เน้นย้ำในเรื่องของการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำทั้งเพื่อป้องกันบรรเทาภัยแล้งและน้ำท่วมย้ำให้กรมชลประทานจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำ” […]

ปรับแผนส่งน้ำเขื่อนกิ่วลม แก้แล้ง จ.ลำปาง

รมว.เกษตรฯ สั่งด่วนให้กรมชลประทานบรรเทาภัยแล้งในจังหวัดลำปาง ประสานผู้ว่าฯ ออกประกาศห้ามสูบน้ำตลอดริมตลิ่งแม่น้ำวัง

เรื่องนี้มีคำถาม : ชาวบ้าน อ.สทิงพระ จ.สงขลา เดือดร้อนจากภัยแล้ง

ชาวบ้าน อ.สทิงพระ จ.สงขลา เดือดร้อนจากภัยแล้ง ต้องปล่อยให้สวนแตงโมแห้งตาย เรียกร้องกรมชลประทานเร่งขุดคลองอาทิตย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

ส่งน้ำช่วยสวนลำไยและพืชสวนในเขต จ. ลำพูน-เชียงใหม่

เขื่อนแม่กวงฯ ปรับรอบเวรการส่งน้ำช่วยชาวสวนลำไยในจังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ ปัจจุบันเหลือน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น วอนทุกภาคส่วนใช้น้าตามแผนที่กรมชลประทานวางไว้เพื่อให้น้ำมีเพียงพอตลอดฤดูแล้ง

เกษตรฯ สนับสนุนภารกิจดับไฟป่า

รมว. เกษตรฯ สั่งกรมชลประทานสนับสนุนน้ำและรถบรรทุกน้ำร่วมปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าในพื้นที่ต่างๆ ลดการลุกลามของไฟป่าซึ่งทำให้เกิดหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 ทำลายสุขภาพประชาชน

เกษตรฯ เร่งเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำแก้แล้ง-ท่วม

รมว. เกษตรฯ สั่งกรมชลประทานเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำทั่วประเทศ แก้ปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ดำเนินโครงการทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำแห่งชาติ

ก. เกษตรฯ ห่วงภัยแล้งจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

เชียงใหม่ 1 ก.พ.-รมว. เกษตรฯ ตรวจสถานการณ์ลำน้ำปิงตอนบนซึ่งมีปริมาณน้ำท่าน้อยเป็นอันดับ 2 จากสถิติ 100 ปี กำชับกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำตามแผนอย่างเคร่งครัด ใช้น้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อป้องกันภัยแล้งจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังตรวจสภาพลำน้ำปิงที่ประตูระบายน้ำแม่น้ำปิงตอนบนและฝายพญาคำ-ฝายท่าศาลา-ฝายหนองผึ้ง ตำบลวังตาล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกล่าวว่า ห่วงใยสถานการณ์น้ำในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ซึ่งใช้น้ำจากลำน้ำปิง เนื่องจากกรมชลประทานรายงานว่า ในปี 2562 มีปริมาณฝนสะสม 911 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติที่มี 1,165 มิลลิเมตร ที่ร้อยละ 21.80 การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงที่ตรวจวัดที่สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สถานี P.1) มีปริมาณน้ำรายปีสะสม 519 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติที่ 1,639 ล้านลูกบาศก์เมตรถึงร้อยละ 68 จากสถิติตั้งแต่ปี 2464 ถึงปัจจุบันปีนี้มีปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุดเป็นลำดับที่ 2 รองจากปี 2559 […]

กรมชลฯ เตรียมแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้งและหมอกควัน จ.เชียงใหม่

อธิบดีกรมชลประทานระบุ เตรียมแหล่งน้ำสำหรับบรรเทาผลกระทบภัยแล้งและลดฝุ่นละออง PM 2.5 พร้อมส่งเครื่องจักร-เครื่องมือ

1 30 31 32 33 34 49
...