กรมชลฯ ตั้งศูนย์แก้ไขอุทกภัยลุ่มน้ำท่าจีน

กรมชลประทาน จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำท่าจีน ทำหน้าที่บัญชาการและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ แก้ไขและบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำท่าจีน

คาดระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีก 20-40 ซม. ช่วง 20-30 ต.ค. นี้

อธิบดีกรมชลประทานสั่งโครงการชลประทานลุ่มเจ้าพระยา-ป่าสักเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง จำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาและป่าสักชลสิทธิ์ โดยกอนช. คาดว่า ในวันที่ 22 ต.ค. น้ำเหนือที่ไหลผ่านจ. นครสวรรค์จะเพิ่มสูงสุดและส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงประมาณ 20-40 ซม. ช่วง 20-30 ต.ค. นี้

สั่งด่วนตั้งศูนย์แก้ไขอุทกภัยลุ่มน้ำท่าจีน

กรุงเทพฯ 20 ต.ค. – อธิบดีกรมชลประทานสั่งตั้งศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำท่าจีน (ส่วนหน้า) เพื่อแก้ไขและบรรเทาภาวะน้ำท่วม รวมถึงบูรณาการกับทุกหน่วยงานช่วยเหลือประชาชน ยืนยันแม้เขื่อนกระเสียวเต็มความจุ แต่ยังมั่นคงแข็งแรงดี  

กรมชลฯ สั่งเฝ้าระวังเขื่อนน้ำมากทั่วประเทศ

อธิบดีกรมชลประทานสั่งโครงการชลประทานทั่วประเทศเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำมากเกินกว่า 80% ย้ำบริหารจัดการโดยลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำควบคู่กับตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารชลประทานสม่ำเสมอ

คาดน้ำท่วมชี-มูลคลี่คลายใน 31 ต.ค.

กรุงเทพฯ 12 ต.ค. – กรมชลประทานคาด น้ำแม่น้ำชีที่จะไหลมาสมทบกับแม่น้ำมูล จะหลากถึงจ. อุบลราชธานีวันที่ 23 ต.ค. ซึ่งจะทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่ง จึงกำชับศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล (ส่วนหน้า) วางแผนบริหารจัดการอย่างเต็มศักยภาพ โดยมั่นใจว่า ระดับน้ำจะกลับมาต่ำกว่าตลิ่งอีกประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากน้ำขึ้นสูงสุด

ยกบานเขื่อนราษีไศลเร่งระบายน้ำเหนือจากโคราช

กรุงเทพฯ 12 ต.ค. – อธิบดีกรมชลประทานสั่งศูนย์บริหารฯ ลุ่มน้ำชี-มูล (ส่วนหน้า) พร้อมรับน้ำเหนืออย่างเต็มศักยภาพ ล่าสุดยกบานระบายเขื่อนราษีไศลทุกบานพ้นน้ำทุกบานเพื่อเร่งระบายน้ำเหนือที่ระบายจากจ. นคราชสีมาผ่านแม่น้ำมูล ลดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่รอยต่อจังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ

กรมชลฯ เผยรับน้ำเหนือเข้าทุ่งลุ่มเจ้าพระยาแล้วเกือบ 70%

กรุงเทพฯ 6 ต.ค. – อธิบดีกรมชลประทานระบุ ผันน้ำเหนือเข้าทุ่งลุ่มเจ้าพระยา 10 ทุ่งแล้วเกือบ 70% เป็นการตัดยอดน้ำเพื่อลดผลกระทบของประชาชนจากภาวะน้ำท่วม โดยหากเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ จะสามารถนำน้ำไปเก็บกักได้เต็มศักยภาพตามแผนที่วางไว้

ระวังสถานการณ์​น้ำกทม.​ นนทบุรี​ และ​ปทุมธานี​ช่วงน้ำทะเล​หนุนสูง​

กรุงเทพ​ฯ​ 5 ต.ค. – อธิบดี​กรมชลประทานสั่ง เฝ้าระวังพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ​ นนทบุรี​และ​ปทุมธานีช่วงวันที่ 7 – 10 ตุลาคม ซึ่ง​ระดับน้ำอาจสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 30 – 50 เชนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

พร้อมรับน้ำเหนือถึงอุบลฯ ในอีก 2 สัปดาห์

อธิบดีกรมชลประทานระบุ ศูนย์ป้องกันและแก้ไขสถานการณ์น้ำชี-มูลเริ่มปฏิบัติงานทันที ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อวางแนวทางมาตรการจัดจราจรน้ำ รับน้ำเหนือที่จะมาถึงในอีก 2 สัปดาห์

กรมชลฯ เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนและน้ำท่วมต่อเนื่อง

กรุงเทพฯ 4 ต.ค. – อธิบดีกรมชลประทานระบุ ยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนทุกพื้นที่เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดฤดูฝน ตลอดจนประสานทุกหน่วยงานเฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำชีที่คาดการณ์ว่า เพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ในช่วงวันที่ 4 – 15 ต.ค.

จัดจราจรน้ำชี-มูล พร้อมเร่งผลักดันลงโขง

อธิบดีกรมชลประทาน สั่งการให้โครงการชลประทานอุบลราชธานีจัดจราจรการไหลจของแม่น้ำชีและมูล ไม่ให้ปริมาณน้ำสูงสุดไหลมาถึงจ. อุบลราชธานีในห้วงเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบน้ำล้นตลิ่ง พร้อมผลักดันแม่น้ำมูลลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด เพื่อให้สามารถรองรับน้ำที่ระบายจากจังหวัดต้นน้ำ

กรมชลฯ ใช้ทุกระบบเร่งระบายน้ำเจ้าพระยาด้านท้าย

อธิบดีกรมชลประทานระบุ น้ำเหนือที่ไหลลงมาจ. นครสวรรค์ลดลงแล้ว แต่น้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง จ. อุทัยธานีปริมาณมากไหลมาสมทบแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำเจ้าพระยาจังหวัดท้ายเขื่อนยังสูง จึงใช้ทุกมาตรการระบายน้ำออกทะเล

1 26 27 28 29 30 49
...