3 ระยะการตายจากการฉีดวัคซีนโควิด จริงหรือ ?

แม้ว่าจะมีงานวิจัยจากหลายองค์กรทั่วโลกที่ยืนยันว่าวัคซีนโควิด-19 นั้น ปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ ประชาชนบางกลุ่มยังคงไม่มั่นใจในความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเอง ปัจจุบันจึงมีข่าวลือมากมายที่อ้างถึงอันตรายของการฉีดวัคซีน รวมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก การตรวจสอบข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันการเข้าใจแบบผิด ๆ และทำให้ประชาชนกลัวการฉีดวัคซีนตามมา


คำกล่าวอ้าง

มีข้อความที่ระบุถึง ระยะการตาย 3 ระยะ จากการฉีดวัคซีนโควิด โดยมีใจความหลักดังนี้

  • ระยะที่ 1 (0-30 วัน) จะทำให้เกิดลิ่มเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ฯลฯ
  • ระยะที่ 2 (1-12 เดือน) จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง แพ้ภูมิตัวเอง หัวใจล้มเหลว ฯลฯ
  • ระยะที่ 2 (1-10 ปี) จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เกิดภาวะมีบุตรยาก ฯลฯ


บทสรุปหลังตรวจสอบ

❌ ข้อมูลไม่เป็นความจริง อย่าแชร์ ❌

  • วันที่ตรวจสอบ: 1 กุมภาพันธ์ 2565
  • ตรวจสอบโดย: ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท
  • คลิปอ้างอิง: https://youtu.be/yRoKDtUhczs

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เกี่ยวกับคำกล่าวอ้างข้างต้น  และพบว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยมีคำอธิบายเพื่อหักล้างคำกล่าวอ้างดังนี้

คำอธิบายข้อเท็จจริง

วัคซีนไม่อาจทำให้เสียชีวิตในระยาวแบบที่กล่าวอ้างได้

จากข้อความที่กล่าวอ้าง การตายหลังจากฉีดวัคซีนโควิดจะแบ่งเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ 1 เดือน 1 ปี ไปจนถึง 10 ปี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วัคซีนทุกชนิดที่นำมาใช้ในปัจจุบันยังไม่มีหลักการทางวิชาการใดที่ชี้ว่าจะทำให้เกิดการเสียชีวิตในระยะยาวขนาดนั้นได้เลย และหากเราได้ไปศึกษาเบื้องหลังทางวิชาการต่าง ๆ ก็จะเห็นว่าโอกาสที่จะเกิดเช่นนั้นเป็นไปได้ยากมาก


โรคที่กล่าวอ้างไม่ได้สัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนใด ๆ

ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า วัคซีนไม่ได้นำไปสู่การแท้งบุตร การก่อมะเร็ง การเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือระบบสืบพันธ์บกพร่อง รวมถึงไม่ได้กระทบกลไกการซ่อมแซม DNA ดังที่กล่าวอ้าง ปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือหลักฐานทางวิชาการใด ๆ ที่ระบุว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 จะส่งผลให้เกิดภาวะข้างต้น

ถึงแม้ว่าวัคซีนอาจจะไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำเหลืองโตชั่วคราว แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตรายถึงขนาดก่อเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะเรื่องของการขัดขวางกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอของร่างกาย เนื่องจากวัคซีน mRNA ไม่ได้เข้าไปไกลถึงนิวเคลียสหรือระบบดีเอ็นเอของเซลล์ของร่างกายมนุษย์ ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้ว ยังคงเป็นไปไม่ได้ที่วัคซีน mRNA จะไปกระทบกลไกการซ่อมแซม DNA ของเรา

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาที่อ้างถึงการพบเซลล์ยักษ์ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่จะส่งผลให้คนมากกว่า 80% เสียชีวิตในอีก 5 ปีหลังฉีดวัคซีน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแจ้งว่า ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าวัคซีน mRNA จะทำให้เกิดภาวะนี้ได้ โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า เซลล์ยักษ์ หรือ ไจแอ้นท์เซลล์ (Giant cell) นั้น จะพบได้ในคนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งวัคซีนจะไม่สามารถก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เป็นเซลล์ยักษ์นี้ได้

ระยะการตายของวัคซีนโควิดไม่มีจริง แต่ภาวะแพ้สามารถเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วหลายล้านโดสทั่วโลก และจริงอยู่ว่ามีผู้คนจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์อยู่บ้าง เช่น ภาวะแพ้รุนแรง (anaphylaxis) แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังคงยืนยันว่าวัคซีนเหล่านี้ค่อนข้างปลอดภัย และการฉีดก็ยังเกิดผลดีกว่าไม่ฉีดอย่างแน่นอน เมื่อเทียบกับการที่เราต้องไปเผชิญกับโรคด้วยตนเองโดยที่ไม่มีการป้องกันใด ๆ เลย 

มี 3 ภาวะรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนโควิด-19

ภาวะรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันที่ควรจับตามอง

  • การเกิดอาการแพ้รุนแรงที่รักษาไม่ทัน

ซึ่งภาษาทางการแพทย์เรียกภาวะแพ้นี้ว่า “อนาฟัยแล็กซิส” (anaphylaxis) โดยภาวะนี้สามารถเกิดได้กับวัคซีนและยาทุกชนิด และมักจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาทีหลังจากได้รับวัคซีน เพราะฉะนั้นผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อไม่ให้เกิดการเสียชีวิต นั่นเป็นสาเหตุที่เราต้องเฝ้ารอดูอาการ 30 นาที หลังฉีดวัคซีนนั่นเอง

ทั้งนี้ การที่มีภาวะแพ้แบบนี้เกิดขึ้นได้ก็ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนอันตรายและไม่ควรฉีด เพราะแต่ละคนมีการแพ้รุนแรงที่ต่างกัน เปรียบเสมือนกับคนที่แพ้กุ้ง ที่ทานเข้าไปแล้วอาจจะถึงขั้นแน่นหน้าอกและช็อก ในขณะที่คนที่ไม่แพ้กุ้งก็จะสามารถทานได้อย่างเอร็ดอร่อย เป็นต้น

  • การเกิดภาวะลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นแบบพิเศษ

ภาวะนี้จะเกิดจำเพาะเจาะจงกับวัคซีนตระกูลอะดีโนไวรัสเวกเตอร์เท่านั้น ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ในประเทศไทยก็คือแอสตร้าเซนเนก้า แต่ก็ยังถือว่าพบได้น้อยมาก มีอัตราเพียง 1 ใน 3 ล้านโดส เท่านั้น

  • การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ

ภาวะนี้มีโอกาสพบได้ 1 ในหมื่น หรือ 1 ในแสนราย และเป็นภาวะที่ควรเฝ้าระวัง โดยมักเกิดภายใน 7 วันหลังฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เป็นมักไม่มีอาการรุนแรง และส่วนใหญ่จะหายได้โดยไม่ต้องการการรักษาแบบจำเพาะ นอกจากนี้ ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นกับวัคซีนตระกูล mRNA และพบในวัคซีนโมเดอร์นามากกว่าไฟเซอร์ โดยมักพบในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ในระหว่างฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เพราะฉะนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าผู้ชายที่อายุไม่มากควรงดการออกกำลังกายหนัก และพักผ่อนให้มากขึ้นหลังฉีดวัคซีน mRNA เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่เสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหากมีภาวะนี้เกิดขึ้น ภาวะนี้ก็ไม่ได้พบบ่อยมากนะคะ 1 ในหมื่น หรือ 1 ในแสนราย

สรุปแล้ว การฉีดวัคซีนโควิดมากไปก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และการฉีดน้อยไปก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อโรคได้ เพราะฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าวิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย: ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ให้ความรู้โดย: ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เรียบเรียงบทความโดย: ชณิดา ภิรมณ์ยินดี


ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า