ชัวร์ก่อนแชร์ : ต้องระวังสารสีฟ้าบนขั้วมะนาว จริงหรือ ?

11 กุมภาพันธ์ 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์, จิราพัชร สุวรรณพันธ์, กลาง ณัฐนที

ตามที่มีการแชร์เตือนบนโซเชียลว่า ให้ระวังสารสีฟ้าที่ติดอยู่ที่ขั้วมะนาว นั่นคือสารเคมีอันตราย ต้องล้างออกก่อนการประกอบอาหาร นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า “เป็นจริง”

บทสรุป : ชัวร์ แชร์ได้


  • ร่องรอยสารสีฟ้าที่ขั้วมะนาว มีโอกาสเป็นสารเคมีคอปเปอร์ไฮดร๊อกไซด์ (copper hydroxide) ซึ่งใช้ในการป้องกันโรคพืชในมะนาว
  • สารคอปเปอร์ไฮดร๊อกไซด์ มีข้อมูลบ่งชี้ว่าเป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อดวงตา

สืบหาต้นตอ
ชุดข้อมูลดังกล่าวมีการแชร์ผ่านทาง Facebook มาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เผยแพร่ข้อมูลลงในกลุ่ม “เรื่องเล่า ชาวอยุธยา” ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มมากกว่า 2 แสนคน และโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีผู้กดถูกใจมากกว่า 2 พันคน และกดแชร์ข้อมูลมากกว่า 630 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีผู้ส่งเรื่องดังกล่าวเข้ามาสอบถามผ่านทาง LINE ของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ โดยเป็นภาพที่เผยแพร่ผ่านทาง Facebook ที่ถูกส่งต่อกันในช่องทาง LINE

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง
ตามที่มีการแชร์บนสังคมออนไลน์เป็นภาพผลมะนาวซึ่งมีร่องรอยสีฟ้าอยู่บริเวณขั้วผล พร้อมข้อความว่า “ฝากเตือนเพื่อน ๆ ครับ จะใช้มะนาวประกอบอาหาร ต้องเช็กดูก่อนนะครับ เห็นสารสีฟ้าที่ติดอยู่ที่ขั้วมะนาวไหมครับ นั่นคือสารที่ฉีดป้องกันโรคแคงเกอร์โรคของมะนาว เป็นสารเคมีอันตราย ต้องล้างก่อนทำการประกอบอาหารนะครับ ฝากเตือนด้วยครับ เพื่อน ๆ” นั้น

ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบกับ อาจารย์รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการยืนยันว่า ข้อมูลที่แชร์ดังกล่าวเป็นความจริง สารเคมีดังกล่าว เป็นสารในกลุ่มทองแดง (Cu)

ด้าน รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เป็นเรื่องจริง สารสีฟ้าดังกล่าวที่ติดอยู่ที่ขั้วมะนาวคือ สารคอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์(Copper hydroxide) เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดเชื้อราอนินทรีย์ ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย สารดังกล่าวสามารถทำให้ผิวหนัง ดวงตา และระบบหายใจเกิดอาการระคายเคืองได้ จะเกิดการเป็นพิษเฉียบพลันเมื่อได้รับสารเคมีทางปากในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัว (ของหนู) ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคหากพบสารเคมีบริเวณขั้วผลมะนาว ควรล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง

สำหรับการใช้สาร คอปเปอร์ไฮดร๊อกไซด์ (copper hydroxide)  เว็บไซต์ ChemTrack.org ของ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุว่า สารคอปเปอร์ไฮดร๊อกไซด์มีข้อบ่งชี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อดวงตา นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าว ยังแนะนำวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัย คือ อย่าหายใจเอาฝุ่นเข้าไป ระวังอย่าให้เข้าตา โดนผิวหนัง หรือเสื้อผ้า และหลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • หากสูดดมเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ 
  • หากถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสารและไปพบแพทย์
  • หากมีการกลืนสารเข้าไปให้ใช้น้ำบ้วนปาก ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่และไปพบแพทย์ทันที
  • ในกรณีที่เข้าตาให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้างและไปพบแพทย์

สำหรับโรคแคงเกอร์นั้น เป็นโรคพืชในมะนาว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระบุว่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของมะนาวทั้งใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะเป็นแผลกลมแล้วจะขยายฟูนูนคล้ายฟองน้ำเริ่มเป็นวงซ้อนกัน มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม จากนั้นจะแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้านเริ่มแรกจะมีแผลฟูนูนสีเหลือง จากนั้นแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด


ขณะที่ กองส่งเสริมการอารักขาพืชและการจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า โรคแคงเกอร์ในมะนาว มักพบในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันและอากาศชื้น โดยมักจะพบในมะนาวทุกสายพันธุ์ ทั้งนี้หากพบการระบาดควรเก็บใบ กิ่ง และผล ไปเผาทำลาย ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคนี้ได้

อ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http://www.agi.nu.ac.th/postharvest/downloads/upload_file/281118140249_Lemon.pdf
กรมส่งเสริมการเกษตร http://www.samutprakan.doae.go.th/html/document/announcenews/010762_2.pdf
เพจเฟซบุ๊ค อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/posts/1085153375301048
เฟซบุ๊คส่วนตัว รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ https://www.facebook.com/photo/?fbid=2088366731293950&set=a.341092282688079
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/sgt/sgt20427-59-2.html
โพสต์ในกลุ่ม “เรื่องเล่า ชาวอยุธยา” https://www.facebook.com/groups/cityayutthaya/permalink/2921909628089736/

🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ยันรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเยาวชน พลังสำคัญของชาติ

นายกฯ มอบโอวาทเด็กและเยาวชนดีเด่น นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ขอให้ทุกคนภาคภูมิใจ มีสติ และรู้คุณค่าในตัวเอง มั่นใจเป็นพลังสำคัญให้กับประเทศชาติ ยืนยันรัฐบาลพร้อมสนับสนุนด้านการศึกษา และการประกอบอาชีพ

ซิงซิง

ผลมติพบ “ซิงซิง” ตกเป็นผู้เสียหายค้ามนุษย์-ปลอดภัยดี พร้อมกลับบ้าน

“ซิงซิง” ตกเป็นผู้เสียหายค้ามนุษย์ หลังผลมติคัดแยก-คัดกรองออกแล้ว ล่าสุดเจ้าหน้าที่ส่งตัวเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองแล้ว ให้ พม.ดูแลต่อ ขณะที่ทีมกฎหมายของดาราจีน เผยเจ้าตัวปลอดภัยดี พร้อมกลับบ้าน

เลือกตั้ง อบจ.

กกต.เปิดตัว “หมูเด้ง” เชิญชวนประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ.

กกต.จัดกิจกรรม kick off เปิดตัว “หมูเด้ง” เชิญชวนประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. ภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์ประเทศไทย พร้อมใจไปเลือกตั้ง” ด้าน “อิทธพร” ให้ความมั่นใจพร้อมจัดการเลือกตั้งอย่างสุจริต