ชัวร์ก่อนแชร์: RNA ดัดแปลงในวัคซีนโควิดกดภูมิ-กระตุ้นมะเร็ง จริงหรือ?

24 พฤษภาคม 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทางเว็บไซต์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างงานวิจัยที่พบว่าการดัดแปลง RNA ในวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA มีส่วนกดภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ และกระตุ้นการเกิดมะเร็งอีกด้วย


บทสรุป :

  1. งานวิจัยพบว่า RNA ไม่ดัดแปลงยับยั้งมะเร็งในหนูทดลองดีกว่า RNA ดัดแปลง แต่ไม่ได้บอกว่า RNA ดัดแปลงกระตุ้นมะเร็ง
  2. เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับยาหลอก พบว่าการเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่แตกต่างจากหนูที่ได้รับ RNA ดัดแปลง
  3. RNA ดัดแปลงคือนวัตกรรมที่ช่วยให้วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายได้สำเร็จ
  4. การคิดค้นวัคซีน mRNA ที่ใช้ RNA ดัดแปลง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นได้รับรางวัลโนเบล

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

งานวิจัยที่ถูกกล่าวอ้าง เป็นผลงานของรูบิโอ-คาซิยาส และคณะ ตีพิมพ์ทางวารสาร International Journal of Biological Macromolecules เมื่อเดือนเมษายน 2024


อย่างไรก็ดี งานวิจัยดังกล่าวไม่ใช่บทความวิจัยต้นฉบับ แต่เป็นบทความปริทัศน์ซึ่งเป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการทบทวนเอกสารวิชาการที่มีการทดลองในอดีต ไม่ใช่บทความที่เกิดจากการทดลองขึ้นมาใหม่

โดยเนื้อหาที่รูบิโอ-คาซิยาสและคณะอ้างอิงมากที่สุด นำมาจากงานวิจัยของ จุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ ตีพิมพ์ทางวารสาร Frontiers in Immunology เมื่อปี 2022 โดยได้ ดรูว์ ไวส์แมน ศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เป็นหนึ่งในที่ปรึกษางานวิจัย ซึ่ง ดร.ดรูว์ ไวส์แมน คือหนึ่งในสองนักวิทยาศาสตร์ที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปี 2023 จากการร่วมพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA

งานวิจัยของ จุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ พบว่าวัคซีน mRNA ที่ไม่มีการดัดแปลง RNA กระตุ้นการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ดีกว่า วัคซีน mRNA ที่ดัดแปลง RNA

อย่างไรก็ดี งานวิจัยของจุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ ไม่ได้บอกว่าการดัดแปลง RNA ในวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะกระตุ้นให้ผู้รับวัคซีนเสี่ยงเป็นมะเร็งมากขึ้นตามที่กล่าวอ้าง

ความจำเป็นของการดัดแปลง RNA ในวัคซีน mRNA

ตามปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดในร่างกายมนุษย์จะกำจัด RNA แปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายในทันที นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยี mRNA เพื่อการป้องกันและรักษาโรค

จนกระทั่งช่วงกลางทศวรรษ 2000’s กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมถึง ดรูว์ ไวส์แมน ได้ค้นพบว่า การดัดแปลงนิวคลีโอไซด์ของ RNA เช่น Pseudouridine จะช่วยระงับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ช่วยให้ mRNA สามารถเข้าสู่เซลล์เพื่อผลิตโปรตีนสำหรับใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ นำไปสู่การคิดค้น N1-methyl Pseudouridine ซึ่งเป็น RNA ดัดแปลงที่ใช้ในวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ในปัจจุบัน

การวิจัย RNA ดัดแปลงกับวัคซีนป้องกันโรคมะเร็ง

งานวิจัยของจุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ RNA ดัดแปลงและ RNA ไม่ดัดแปลง สำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคมะเร็ง

จากการทดลองกับหนูที่ได้รับเชื้อมะเร็งผิวหนัง พบว่าวัคซีน mRNA ที่ดัดแปลง RNA และวัคซีน mRNA ไม่ดัดแปลง RNA ต่างกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนของมะเร็งทั้งคู่

แต่พบว่าวัคซีน mRNA ที่ไม่ดัดแปลง RNA เท่านั้น ที่ลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

อย่างไรก็ดี ไม่มีเนื้อหาส่วนไหนในงานวิจัยของจุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ ที่บอกว่าการดัดแปลง RNA ในวัคซีน mRNA จะกดภูมิคุ้มกันและกระตุ้นการเกิดมะเร็ง

ตีความงานวิจัยผิดพลาด

ศาสตราจารย์ ดร.ธนาภัทร ปาลกะ หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ร่วมงานวิจัย ยืนยันต่อทาง Factcheck.org ว่า งานวิจัยของคณะไม่ได้ยืนยันหรือชี้นำว่า การดัดแปลง RNA กระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง และเชื่อว่าผู้เขียนบทความปริทัศน์อาจจะจงใจหรืออาจจะตีความผลวิจัยอย่างไม่ถูกต้อง และพยายามบิดเบือนบทสรุปเพื่อสนับสนุนแนวคิดของพวกเขาเอง

ดร.เจมส์ เอ. ฮอกซี ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และรองผู้อำนวยการศูนย์ Penn Institute of RNA Innovation ซึ่ง ดร.ดรูว์ ไวส์แมน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ กล่าวว่างานวิจัยของจุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ มีความสำคัญต่อการพัฒนาวัคซีน mRNA สำหรับกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันหรือยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง แต่การอ้างว่าวัคซีน mRNA ที่ใช้ป้องกันโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ถือเป็นข้ออ้างที่ห่างไกลความเป็นจริงอย่างมาก

ดร.เจมส์ เอ. ฮอกซี นำงานวิจัยของจุฑามาศ สิทธิ์พลางกูร และคณะ มาอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้อัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็งในหนูทดลองที่ได้รับวัคซีนที่ดัดแปลง RNA จะสูงกว่าหนูที่ได้รับวัคซีนที่ไม่ดัดแปลง RNA

แต่เมื่อเทียบกับหนูทดลองที่ได้น้ำเกลือเป็นยาหลอกแทนวัคซีนแล้ว อัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็งและอัตราการเสียชีวิตของหนูที่ได้รับยาหลอกกับหนูที่ได้รับวัคซีนที่ดัดแปลง RNA อยู่ในอัตราส่วนที่เท่ากัน

แสดงให้เห็นว่าวัคซีน mRNA ที่ดัดแปลง RNA ไม่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง ต่างจากวัคซีน mRNA ไม่ดัดแปลง RNA ที่มีผลต่อการยับยั้งเซลล์มะเร็งที่ดีกว่า

ดร.เจมส์ เอ. ฮอกซี ยังย้ำว่าวัคซีน mRNA ที่ดัดแปลง RNA ไม่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดประสิทธิภาพลง แค่ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบางส่วนหยุดทำงานชั่วคราว เพื่อเปิดทางให้การสร้างโปรตีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันสัมฤทธิผล

สอดคล้องกับความเห็นของ จอร์แดน แอล. ไมเออร์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCI) ผู้ศึกษาบทบาทของ N1-methylpseudouridine ซึ่งเป็น RNA ดัดแปลงในวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA

จอร์แดน แอล. ไมเออร์ เปรียบเทียบว่า RNA ดัดแปลงจะทำหน้าที่เหมือนกับสายลับที่ปลอมตัวเข้าสู่เซลล์ ด้วยการตบตาการเฝ้าสังเกตของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่เหมือนหน่วยรักษาความปลอดภัย แม้ระบบภูมิคุ้มกันจะปล่อยให้ RNA ดัดแปลงเข้าสู่เซลล์ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันจะหยุดทำงานตลอดไปหรือปล่อยให้ RNA แปลกปลอมอื่น ๆ เข้าเซลล์ในร่างกายได้ในอนาคต

ไม่พบหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA กระตุ้นมะเร็ง

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCI) และสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS) ไม่พบหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ก่อให้เกิดมะเร็ง ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งอาการแย่ลง หรือทำให้โรคมะเร็งกลับมากำเริบแต่อย่างใด

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.factcheck.org/2024/05/still-no-evidence-covid-19-vaccination-increases-cancer-risk-despite-posts/
https://healthfeedback.org/claimreview/modified-rna-covid19-vaccines-arent-linked-to-cancer-development/
https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=5564&context=chulaetd
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36311701/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย