ชัวร์ก่อนแชร์: “เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง” สร้างมลพิษมากกว่าการเลี้ยงสัตว์ จริงหรือ?

16 ตุลาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

  1. ข้ออ้างนำมาจากผลวิจัยที่ประเมินว่าอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เท่าเดิมเป็นเวลา 1,000 ปี
  2. ผู้เชี่ยวชาญมองว่าในอีก 1,000 ปีข้างหน้า การพัฒนาด้านเทคโนโลยี มาตรการสิ่งแวดล้อม และการเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง จะทำให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงลดการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ข้อมูลที่ถูกแชร์ :


มีการเผยแพร่ผลวิจัยที่ตั้งคำถามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงหรือ Lab-Grown Meat หลังพบว่า อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าการทำปศุสัตว์อย่างมาก ดังนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงกลับเป็นการซ้ำเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมให้รุนแรงยิ่งกว่าเดิม

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่าภายในปี 2050 นี้ โลกจะมีประชากรมากถึง 9 พันล้านคน จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตอาหารมากกว่าในปัจจุบันถึง 70% สวนทางกับพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่มีอย่างจำกัด


แม้แนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศพัฒนาแล้วจะลดลง แต่ในประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรจำนวนมากเช่น รัสเซีย อินเดีย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน การบริโภคเนื้อสัตว์กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของประชากรชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อมากขึ้น และนิยมการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อ ไข่ นม และเนยต่าง ๆ

ปัญหาที่ตามมาคือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการทำปศุสัตว์มีส่วนเพิ่มมลพิษในธรรมชาติ ในสหรัฐอเมริกาพบว่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 4% มาจากการทำปศุสัตว์นั่นเอง

การมาถึงของเทคโนโลยีเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง หรือการผลิตเนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการคราวละมาก ๆ ได้รับการจับตาว่าจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการบริโภคเนื้อสัตว์ในอนาคต

อย่างไรก็ดี งานวิจัยที่เผยแพร่ผ่านทางวารสารวิทยาศาสตร์ Frontiers ในหมวด Sustainable Food Systems เมื่อปี 2019 พบว่า ในระยะสั้น อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการทำปศุสัตว์ แต่ในระยะยาว อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากกว่า จากปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงกว่าการทำปศุสัตว์นั่นเอง

ปริมาณมีเทนในชั้นบรรยากาศ

มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์

การทำฟาร์มคือสาเหตุของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และ มีเทน

มีเทนถือเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยผลิตมาจากระบบทางเดินอาหารของสัตว์สัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว กระบือ แกะ แพะ กวาง อูฐ ยีราฟ เป็นต้น

ในทางกลับกัน ก๊าซเรือนกระจกที่ผลิตจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงมีเพียงคาร์บอนไดออกไซด์ จากพลังงานถ่านหินที่ให้ความร้อนระหว่างการเพาะเลี้ยงเซลล์เท่านั้น

อย่างไรก็ดี แม้การทำปศุสัตว์จะปลดปล่อยมีเทนซึ่งส่งผลต่อสภาวะเรือนกระจกมากกว่า แต่มีเทนคงอยู่ในชั้นบรรยากาศในเวลาที่สั้นกว่าหรือเพียง 12 ปี ต่างจากคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศนานนับพันปี

ผู้วิจัยจึงลงความเห็นว่า อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในอัตราที่สูงกว่าการทำปศุสัตว์ สุดท้ายแล้วจะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าในระยะยาว

ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

ข้อจำกัดในการวิจัย

ผลวิจัยดังกล่าวมาจากสมมติฐานของทีมวิจัยที่เปรียบเทียบการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงและการทำปศุสัตว์ในช่วงเวลา 1 พันปี โดยอนุมานว่าอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะมีอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์คงที่ในช่วงสหัสวรรษต่อจากนี้

นำมาซึ่งคำถามว่า มีโอกาสแค่ไหนที่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าเดิมจนถึงพันปีข้างหน้า

มีหลายปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในวงการวิทยาศาสตร์ นโยบายของภาครัฐที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงทางเลือกของผู้บริโภคเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่พร้อมจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่จำหน่ายในประเทศสิงคโปร์

ข้อเปรียบเทียบการทำปศุสัตว์และอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง

1.ที่ดิน

การทำปศุสัตว์ใช้ที่ดินมากกว่าอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง นอกจากพื้นที่เลี้ยงสัตว์แล้ว 50% ของที่ดินเพื่อการเกษตรทั่วโลก ถูกใช้สำหรับปลูกพืชสำหรับอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจึงใช้ที่ดินในการผลิตเนื้อสัตว์น้อยกว่าการทำปศุสัตว์ถึง 90%

2.น้ำ

ประเมินว่า เนื้อวัว 1 กิโลกรัม ใช้น้ำในการผลิตถึง 550-700 ลิตร ส่วนใหญ่ใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงใช้น้ำในการผลิตเนื้อสัตว์น้อยกว่าการทำปศุสัตว์ 82%-98%

3.การขนส่ง

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงที่อยู่ในตัวเมือง ช่วยลดระยะทางการขนส่งเนื้อสัตว์จากฟาร์มสู่ผู้บริโภค ทำให้การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งลดลงอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.vox.com/future-perfect/2019/2/22/18235189/lab-grown-meat-cultured-environment-climate-change
https://www.wired.com/story/the-confounding-climate-science-of-lab-grown-meat/
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fnut.2020.00007/full
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fsufs.2019.00005/full

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เผยไม่มีคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุไฟป่าแอลเอ

นายกฯ เผย ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากเหตุไฟป่าที่แอลเอ มีเพียงร้านอาหารไทยที่ได้รับความเสียหาย สั่ง กงสุลเปิดศูนย์ช่วยเหลือคนไทย

“เฉิน” ตัวการสำคัญฉกเงินคนจีนในไทย บงการอยู่ต่างประเทศ

คดีคนจีนหลอกฉกเงินคนจีน รวมมูลค่า 13 ล้านบาท ตำรวจตามไปพบรถคันก่อเหตุ และยึดเงินคืนมาได้ แต่ “อาเฉิน” ตัวการสำคัญ หนีออกนอกประเทศไปแล้ว

ทำเนียบฯ เตรียมสถานที่ต้อนรับเด็กและเยาวชน ร่วมงานวันเด็กแห่งชาติ 2568

ทำเนียบรัฐบาล จัดเต็ม เตรียมสถานที่ต้อนรับเด็กและเยาวชน ร่วมงานวันเด็กแห่งชาติ2568 เปิดหน้าทำงาน-นั่งเก้าอี้ นายกรัฐมนตรี สวมบทบาทโฆษกรัฐบาล “นิวส์จิ๋ว” อ่านข่าวภาคภาษาไทย และอังกฤษ พบขบวนมาสคอต “หมูเด้ง” และผองเพื่อน