ชัวร์ก่อนแชร์: แผนจงใจระเบิดตึกแฝด World Trade Center จริงหรือ?

11 กันยายน 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


บทสรุป :

  1. เจ้าหน้าที่รื้อถอนตึก World Trade Center ไม่พบ “เทอร์ไมต์” ส่วนประกอบสำหรับการผลิตระเบิดในซากตึก
  2. ตึก World Trade Center ถูกออกแบบให้ทนต่อการชนจากเครื่องบิน แต่ไม่ทนต่อความร้อนจากเปลวเพลิงหลังถูกเครื่องบินพุ่งชน
  3. อุณหภูมิจากน้ำมันก๊าด (Jet Fuel) ของเครื่องบินไม่สูงพอที่จะหลอมละลายเหล็กกล้า แต่ทำให้โครงสร้างอาคารอ่อนแอลง จนตึกถล่มในที่สุด
  4. เสียงที่ฟังคล้ายระเบิดก่อนตึกถล่ม คือเสียงการถล่มของคานและเสาจากภายในตัวอาคาร
  5. การรื้อถอนด้วยระเบิดมักจะทำด้วยการฝังระเบิดบริเวณด้านล่างของอาคาร แต่ตึก World Trade Center เริ่มถล่มจากจุดที่เครื่องบินพุ่งชนด้านบนของอาคาร

ข้อมูลที่ถูกแชร์ :


มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าการถล่มของตึก World Trade Center ทั้งสองหลังในเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 นอกจากเป็นเพราะถูกเครื่องบินพุ่งชนแล้ว ยังเกิดจากการจงใจจุดระเบิดภายในอาคารหรือการรื้อถอนด้วยระเบิด (Controlled Demolition) เนื่องจากมีการพบเทอร์ไมต์ ส่วนประกอบสำหรับการผลิตระเบิดอยู่ในฝุ่นที่พบจากซากตึก ตัวตึกยังออกแบบให้ทนต่อการชนจากเครื่องบินตั้งแต่แรก และเป็นไปไม่ได้ที่ความร้อนจากเพลิงไหม้ในอาคารจะทำให้ตึกถล่มลงได้ รวมถึงหลักฐานการได้ยินเสียงระเบิดก่อนตึกถล่มและการกระเด็นของซากตึกออกมาจากชั้นที่้อยู่ต่ำกว่าบริเวณที่ถูกเครื่องบินพุ่งชน ซึ่งน่าจะเป็นผลจากแรงระเบิดภายในอาคารนั่นเอง

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

Thermite


เทอร์ไมต์ (Thermite) คือผงอะลูมิเนียมผสมกับไอออนออกไซด์ ใช้สำหรับสร้างความร้อนและเปลวไฟ เช่น ในการเชื่อมโลหะและการทำลูกระเบิดเพลิง มีความร้อนสูงกว่า 2,000 องศาเซลเซียสและสามารถทำให้เหล็กละลายได้

แม้มีการอ้างว่าพบส่วนประกอบของเทอร์ไมต์ในซากตึก แต่ เบรนต์ แบลนเชิร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านการรื้อถอนด้วยระเบิดยืนยันว่า ตลอด 8 เดือนของการขนย้ายซากตึก World Trade Center เจ้าหน้าที่กลับไม่พบซากที่ปนเปื้อนเทอร์ไมต์ตามที่กล่าวอ้าง เป็นไปได้ว่าซากที่อ้างว่าตรวจพบเทอร์ไมต์ อาจจะเกิดจากการปนเปื้อนเทอร์ไมต์ระหว่างการขนย้ายก็เป็นได้

เทอร์ไมต์

เดฟ โทมัส จากนิตยสาร Skeptical Inquirer โต้แย้งว่า การพบอะลูมิเนียมและไอออนออกไซด์ในฝุ่นที่พบจากซากตึก ไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของเทอร์ไมต์ เพราะชิ้นส่วนต่าง ๆ ของตึกต่างมีอะลูมิเนียมและไอออนออกไซด์เป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เชื่อว่า เทอร์ไมต์ที่พบในฝุ่นจากซากตึกอาจมาจากสีรองพื้น (Primer) ที่ใช้ก่อนการทาสีตัวอาคารก็เป็นได้

เสียงคล้ายระเบิด

ก่อนการถล่มของตึก World Trade Center ที่พยานไม่น้อยเล่าว่าได้ยินเสียงคล้ายระเบิดดังมาจากตัวอาคาร แต่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าน่าจะมาจากการถล่มของคานและเสาภายในอาคาร ส่งผลให้ซากตึกจำนวนมากกระเด็นออกนอกหน้าต่างที่อยู่ชั้นล่าง จนดูเหมือนมีการจุดระเบิดในชั้นดังกล่าว ส่วนการบันทึกเสียงจากเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวก็ไม่พบหลักฐานว่ามีการระเบิดในอาคาร World Trade Center เช่นกัน

ถล่มจากด้านบน

ปกติแล้วการรื้อถอนด้วยระเบิด (Controlled Demolition) มักจะมีการฝังระเบิดเอาไว้บริเวณชั้นล่างของอาคาร มากกว่าการจุดระเบิดที่ชั้นบน ภาพการถล่มของตึก World Trade Center ยังยืนยันชัดเจนว่าเป็นการถล่มที่เริ่มจากชั้นบนของอาคาร

นอกจากนี้ การวางแผนรื้อถอนด้วยระเบิดกับอาคารขนาดใหญ่อย่าง World Trade Center จำเป็นต้องใช้เวลาเตรียมการหลายสัปดาห์ ซึ่งยากที่จะไม่เป็นที่สังเกตของผู้คนจำนวนมากที่ทำงานอยู่ในอาคาร

ทนต่อการชน แต่ไม่ทนไฟ

เมื่อครั้งที่ตึก World Trade Center สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1973 เลสลี โรเบิร์ตสัน วิศวกรโครงสร้างได้ออกแบบ World Trade Center ให้ทนต่อการชนจากเครื่องบิน โดยอ้างอิงจากขนาดของ Boeing 707 เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนั้น

แม้ Boeing 767 ซึ่งพุ่งชนตึก World Trade Center เมื่อปี 2001 จะมีขนาดเล็กกว่า Boeing 707 แต่สิ่งที่อยู่นอกเหนือการคำนวณของ เลสลี โรเบิร์ตสัน คือความร้อนจากเปลวเพลิงจากน้ำมันก๊าด (Kerosene หรือ Jet Fuel) ปริมาณ 10,000 แกลลอน

ผลงานออกแบบของ เลสลี โรเบิร์ตสัน ส่งผลให้ตึก World Trade Center ทั้งสองทรงตัวได้นานนับชั่วโมงหลังถูกพุ่งชน ช่วยให้ผู้รอดชีวิตนับพันมีเวลาอพยพออกจากตัวตึก แต่ความร้อนจากเปลวเพลิงที่สูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ทำให้โครงสร้างอาคารเสียหายรุนแรงและถล่มลงมาในที่สุด

แบบจำลองการพุ่งชนตึก World Trade Center โดยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู

โลหะสูญเสียความแข็งแกร่งจากความร้อน

มีข้อโต้แย้งว่าไฟจากน้ำมันก๊าดไม่มีทางหลอมละลายโครงสร้างตึก World Trade Center ที่ทำจากเหล็กกล้า

อย่างไรก็ดี น้ำมันก๊าด (Kerosene หรือ Jet Fuel) ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องบิน Boeing 767 มีอุณหภูมิการเผาไหม้ทางทฤษฎีอยู่ที่ 2,093 องศาเซลเซียส สูงกว่าจุดหลอมละลายของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ (Structural Steel) ที่ 1,539 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ดี สำนักงาน National Institute of Standards and Technology หรือ NIST ที่สอบสวนการถล่มของตึก World Trade Center พบว่า อุณหภูมิของเปลวไฟที่ไหม้ตัวอาคารอยู่ในระดับ 1,000 องศาเซลเซียสเพียงแค่ 15-20 นาทีเท่านั้น ส่วนช่วงเวลาที่เหลืออุณหภูมิจะอยู่ต่ำกว่า 500 องศาเซลเซียส

แต่กระนั้น ความร้อนของเปลวเพลิงก็มากพอจะทำให้ความแข็งแกร่งของเหล็กโครงสร้างอ่อนแอลง เมื่อรวมกับผลกระทบจากการถูกชนจากเครื่องบิน ส่งผลให้ตึก World Trade Center ทั้งสองแห่งถล่มลงมาในที่สุด

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2022/sep/12/facebook-posts/911-conspiracy-theories-misconstrue-how-world-trad/
https://www.bbc.com/news/magazine-14665953
https://en.wikipedia.org/wiki/World_Trade_Center_controlled_demolition_conspiracy_theories
https://www.facebook.com/TheDarjChron/photos/a.318139064990548/743084192496031/?type=3&locale=ar_AR
Purdue University Creates Animation of September 11, 2001 Attack
https://www.youtube.com/watch?v=NOKJ4ZXgK4Q

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมเชียงใหม่

นายกฯ ห่วงน้ำท่วมเชียงใหม่ สั่งเร่งช่วยเหลือ เฝ้าระวัง 24 ชม.

“นายกฯ แพทองธาร” ห่วงน้ำท่วมเชียงใหม่ สั่งเร่งช่วยเหลือประชาชนและสัตว์โดยด่วน เฝ้าระวังสถานการณ์ 24 ชม. พร้อมฟื้นฟู

หญ้าอาหาร​สัตว์​พระราชทาน

ระดม​ขน​ส่ง​ “หญ้าอาหาร​สัตว์​พระราชทาน” ช่วยช้างแม่แตง

พระนคร​ศรี​อยุธยา​ 5 ต.ค. – รมว.​เกษตร​ฯ​ สั่งอธิบดี​กรม​ปศุสัตว์ ​เร่งนำส่ง​ “หญ้า​อาหารสัตว์​พระราชทาน” ช่วย​เหลือ​ช้าง​ของ​ศูนย์​บริบาล​ช้าง​ อำเภอ​แม่แตง​ จังหวัด​เชียงใหม่​ ที่ประสบภัย​น้ำท่วม​ ต้องอพยพสัตว์​หนีน้ำ อธิบดี​กรม​ปศุสัตว์​ระบุส่งถึงจุดพักพิงสัตว์​ชั่วคราว​แล้ววานนี้​ ระดมขนส่งต่อเนื่อง​ทั้งหญ้าสดและหญ้า​แห้ง​ เตรียม​จัดทีมสัตวแพทย์​สนับสนุน​การ​ดูแล​สุขภาพ​และ​รักษา​สัตว์​ต่าง​ๆ​ ของ​ศูนย์​บริบาล​ช้าง​ที่​มีอยู่เป็น​จำนวนมาก นายสัตวแพทย์สมชวน​ รัตนมังคลานนท์​ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า​ ได้เร่งขนส่ง​ “หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน” ไปช่วยเหลือ​ช้างกว่า​ 100 ตัวของ ศูนย์บริบาลช้าง อำเภอแม่แตง​ จังหวัดเชียงใหม่ที่ประสบภัยน้ำท่วม​ ตามข้อสั่งการของศ.ดร.​ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์บริบาลช้างแห่งนี้ มีช้างกว่า 100 เชือก รวมถึงสัตว์อีกหลายชนิดเช่น​ ควาย​ แพะ​ แกะ​ สุนัข​ แมว​ เป็น​ต้น หลังเกิดเหตุ​น้ำท่วมฉับพลันและระดับน้ำสูง​ ได้​สั่งการ​ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปางร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียง สำนักงานปศุสัตว์สัตว์อำเภอแม่แตง นำหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 2, 000 กิโลกรัม​หรือ​ 2 ตันไปส่งมอบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ช้าง ทั้งนี้​ กำชับ​ให้​สำนักพัฒนาอาหารจัดส่ง​หญ้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม​ โดยวันนี้​ […]

ปรับเส้นทางรถไฟสายเหนือ

รฟท.ปรับสถานีต้นทางสายเหนือเป็นลำปาง ผลกระทบจากน้ำท่วม

การรถไฟฯ แจ้งปรับเปลี่ยนสถานีต้นทาง-ปลายทาง ขบวนรถสายเหนือ 12 ขบวนเป็นการชั่วคราว หลังเกิดน้ำท่วมเชียงใหม่อีกระลอก