🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ?
📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅
👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการเตือนความเสี่ยงหลายอย่างจากการติดจอ เช่น โมโหร้าย สมาธิสั้น ไปจนถึงเจ้าอารมณ์ พัฒนาการช้านั้น มีความจริงในบางส่วน เรื่องพฤติกรรม เช่น ซน สมาธิสั้น การควบคุมตัวเองไม่ได้ โมโห หงุดหงิด มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นร่วมด้วย
การใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อการเรียนได้ เด็กใช้สื่อหน้าจอไม่สามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ และทำงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่สำเร็จ
นอกจากนี้ ส่งผลด้านร่างกายด้วย ข้อมูลการศึกษาช่วงล็อกดาวน์พบว่ามีผลต่อการใช้สื่อหน้าจอมาก เรื่องภาวะสายตาสั้น ส่วนคนที่สายตาสั้นอยู่แล้วแนวโน้มสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น
โรคทางกายอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน มีข้อมูลมานานแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทำให้เด็กขาดโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงปัญหาการนอน ถ้าใช้สื่อหน้าจอที่ไม่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับปัญหาการนอนมากขึ้น นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจ
👉 ปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะห้ามเด็กดูจอ ดังนั้นจึงควรนำจอมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ถ้าเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่อยากให้รีบใช้สื่อหน้าจอต่าง ๆ
ตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ถ้าจะใช้สื่อหน้าจอ จำเป็นต้องเป็นสื่อหน้าจอที่เหมาะสมตามวัย
ถ้าเป็นสื่อบันเทิงต่าง ๆ ก็ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และพ่อแม่ควรดูสื่อหน้าจอกับเด็กด้วย
ทั้งนี้ พฤติกรรมของผู้ใหญ่สำคัญมาก พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการใช้สื่อหน้าจอของเด็ก เพราะมีหลายครั้งที่เด็กใช้สื่อหน้าจอมากเลียนแบบผู้ใหญ่
อีกประเด็นที่พบบ่อย คือเด็กไม่มีอะไรทำและรู้สึกเบื่อ จึงใช้สื่อหน้าจอมากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ต้องกลับมาทบทวนว่ากิจวัตรประจำวันที่จำเป็นสำหรับเด็กตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงหลับมีอะไรบ้าง เวลาที่เหลือหลังหักจากกิจวัตรประจำวันไปแล้ว อาจจะเป็นเวลาของสื่อหน้าจอได้
👉 การสร้างกติการ่วมกับเด็ก ทางออกของพ่อแม่
พ่อแม่บางคนได้ยินมาว่าสื่อหน้าจอส่งผลเชิงลบกับเด็ก เมื่อเด็กเข้าอินเทอร์เน็ตหรือใช้สื่อหน้าจอ พ่อแม่อาจจะดุเด็กหรือตำหนิเด็กทันที แต่วิธีเหล่านี้จะได้ผลในช่วงแรกเท่านั้น เมื่อไหร่ที่เด็กโตขึ้นจะไม่ชอบวิธีการเหล่านี้
ดังนั้น พ่อแม่และลูกต้องมีส่วนร่วมวางแผนตัดสินใจ ไม่ได้หมายความว่าต้องเชื่อหรือตามลูกไปทั้งหมด แต่ขณะเดียวกันต้องคุยด้วยเหตุผลและประนีประนอม จะมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
👉 เด็กบางคนไม่ได้แค่ติดจอ แต่ “ติดเกม” ด้วย
สำหรับบ้านที่ลูกเริ่ม “ติดเกม” หรือใช้เกมมากขึ้น บางครั้งพ่อแม่ต้องเข้าไปเล่นกับลูกด้วย เพื่อทำความเข้าใจโลกของลูกมากขึ้น คือพยายามทำให้เป็นทีมเดียวกันกับลูกให้ได้ การเข้าไปด้วยความสัมพันธ์เชิงบวกและสื่อสารมีเหตุผล จะทำให้ลูกเปิดใจมากขึ้น พร้อมรับฟังมากกว่าการบังคับขู่เข็ญ
👉 การแจ้งเตือน ผลเสียจากการเป็นติดจอเป็นอย่างไรบ้าง
มีโอกาสเป็นจริงได้ ถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้มากเกินไป ไม่มีการกำหนดกฎกติกาต่าง ๆ เด็กแต่ละคนอาจจะมีความเหมาะสมไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าสามารถรับผิดชอบหน้าที่ในชีวิตประจำวันสำเร็จลุล่วงมากน้อยแค่ไหน
ปฏิบัติเหมาะสมตามข้อเท็จจริง อย่างเหมาะสม ช่วยให้เกิดสิ่งที่พึงประสงค์ได้ยิ่งขึ้น
ดูเพิ่มเติมจากรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ?
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter