🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “งดจอ! ก่อน 2 ขวบ” พร้อมแสดงภาพเปรียบเทียบสมองเด็กที่อ่านหนังสือ ใยประสาทเรียงเป็นระเบียบ เด็กที่ดูจอ ใยประสาทกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ
📌 บทสรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅
👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
👉 ช่วงปฐมวัย (ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ) สมองของเด็กมีความสำคัญมาก พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น มีการอ่านหนังสือนิทาน การเล่น การร้องเพลง จะเป็นการช่วยให้เซลล์ประสาทและโครงสร้างสมองมีการจัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม เป็นรากฐานการเรียนรู้ขั้นต่อ ๆ ไป
👉 ถ้าการจัดเรียงตัวของใยประสาท “เป็นระเบียบ” และเด็กได้เรียนรู้ในชั้นที่สูงขึ้น ก็สามารถได้รับข้อมูลต่าง ๆ และเชื่อมโยงส่งผ่านสัญญาณประสาทและประมวลผลออกมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า
👉 การจัดเรียงตัวของใยประสาท “ไม่เป็นระเบียบ” ขณะเรียนรู้อะไรที่ผ่านเข้ามา เด็กไม่สามารถเชื่อมโยงได้ อาจจะต้องคิดวิเคราะห์อยู่นานว่าคำนี้คืออะไร ยกตัวอย่างเช่น คำศัพท์บางคำที่เด็กยังไม่เคยได้ยินเลย เนื่องจากใยประสาทในสมองไม่เป็นระเบียบ
👉 คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง
1. พ่อแม่ควรตระหนักว่าวิธีการเลี้ยงลูก มีผลต่อสมองของลูกจริง
2. กลับมาดูที่ลูก ว่าตอนนี้ลูกอยู่ตรงจุดไหน คุณหมอเด็กช่วยบอกได้ว่าพัฒนาการหรือพฤติกรรมของลูก รวมถึงอารมณ์เหมาะสมตามวัยหรือเปล่า
👉 ทุกอย่างไม่มีคำว่าสาย หลายครั้งที่ลูก 2-3 ขวบดูจอมาก อาจจะมีปัญหาด้านพัฒนาการผิดปกติ แต่ว่ายังสามารถค่อย ๆ กลับคืนหรือแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่พ่อแม่ตระหนักและเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ด้วยการปิดจอและลงมือทำกิจกรรมกับลูก เพิ่มการปฏิสัมพันธ์เชิงบวก จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปตามปกติ
สิ่งสำคัญ พ่อแม่กับเด็ก ผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูเด็ก มีความสุข สนุกกับสิ่งที่ทำ เช่น เวลาอ่านหนังสือกับเด็กไม่มีความเครียดกดดัน
เด็กบางคน สมมุติว่าพัฒนาการช้ามาก บางครั้งพ่อแม่เข้าไปเล่นปูไต่กับเด็ก เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นตบมือ ชวนร้องเพลง ทำท่าประกอบ เด็กก็รู้สึกสนุกไปด้วย อยากจะเล่นด้วย เด็กจะพูดโต้ตอบกับพ่อแม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิสัมพันธ์เชิงบวก
👉 การงดจอก่อน 2 ขวบ พ่อแม่อ่านหนังสือกับเด็กมีผลต่อการจัดเรียงตัวของใยประสาทเป็นระเบียบแน่นอน และการใช้จออาจจะทำให้การเรียงตัวของใยประสาทไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สม่ำเสมอ
ดังนั้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สามารถแชร์ต่อได้ และพ่อแม่ควรจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับเด็ก
ดูเพิ่มเติมจากรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนงดจอ ก่อน 2 ขวบ จริงหรือ ?
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter