สธ.คาดยอดติดเชื้อโควิดจะยังสูงไปอีก 2-6 สัปดาห์

สธ. 28 ก.พ.- สธ.คาดติดเชื้อโอไมครอนจะยังคงสูงไปอีก 2-6 สัปดาห์ จะค่อยลดลง ราวกลาง มี.ค. พร้อมแจงปรับเกณฑ์ใช้ OPD เริ่มใช้ 1 มี.ค. ให้เหมาะกับสถานการณ์ ไม่ใช่เงินหมด แจงยาฟาวิพิราเวียร์มีเหลือ สั่งวัตถุดิบพร้อมตอกเม็ด แม้มีสงครามก็ไม่กระทบ


นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์โอไมครอนของไทย ขณะนี้อยู่ในภาวะขาขึ้น โดยในรอบ 7 วันที่ผ่านมา พบอัตราการติดเชื้อ 4 คน ต่อ 1 ล้านประชากร และสถานการณ์การติดเชื้อจะค่อย ๆ ทรงตัว และลดลงราวกลางเดือน มี.ค. ทั้งนี้หากวิเคราะห์ในส่วนของผู้เสียชีวิตวันนี้ (28 ก.พ.) 42 คน พบว่า 95% เป็นกลุ่มอายุ 608 ทั้งเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว มีภาวะอ้วน มะเร็ง และป่วยไต และหากเปรียบเทียบกับการติดเชื้อโอไมครอนกับเดลตา จะพบว่าเดลตายังพบคนที่ติดเชื้อและเสียชีวิตไม่ใช่กลุ่ม 608 ถึง 30% อย่างไรก็ตาม การควบคุมโรค ต้องเน้นในกลุ่มคลัสเตอร์ต่าง ๆ ที่มีการรวมตัวกัน และฉากทัศน์ โอไมครอนในกรณีที่พบผู้ป่วยติดเชื้อมากขึ้น แน่นอนว่าแนวโน้มผู้ป่วยปอดอักเสบอาจสะสมสูงถึง 1,000 คน แต่น้อยกว่าเดลตาที่สะสมถึง 6,000-7,000 คน ส่วนการใส่ท่อช่วยหายใจ โอไมครอนอาจสะสมถึง 500 คน แต่ในเดลตา สะสม 1,300 คน และอัตราการเสียชีวิตต่อวัน 50 คน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ส่วนสถานการณ์ยาฟาวิพิราเวียร์ ยืนยันว่ามีเพียงพอ ได้มีการสำรองวัตถุดิบแบบผงมาไว้แล้ว แม้สถานการณ์โลกอาจเกิดปัญหาการสู้รบก็จะไม่กระทบต่อขาดแคลนยา โดยขณะนี้มียาสำรวจไว้ รวม 16,904,718 เม็ด แบ่งเป็นที่ อภ. 65,200 เม็ด, เขตสุขภาพที่ 1-12 รวม 13,343,882 เม็ด และเขตที่ 13 จำนวน 3,495,636 เม็ด


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์การระบาดโอไมครอน ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีการติดเชื้อประมาณ 1-2 เดือน ส่วนไทยก็คาดว่าจะมีการติดเชื้อไปอีก 1-2 เดือน หรือประมาณ 4-8 สัปดาห์ โดยคาดว่าอีกประมาณ 2-6 สัปดาห์ สถานการณ์การติดเชื้อจะค่อย ๆ เริ่มทรงตัวและลดลงได้ หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง มาตรการยังเข้มและฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนเรื่องสายพันธุ์โอไมครอน BA.2 นั้น ข้อมูลที่ผ่านมาไม่รุนแรงเท่าเดลตา

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 1 มี.ค.ได้เพิ่มการรักษาผู้ป่วยโควิดเป็นผู้ป่วยนอก หรือ OPD ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจ รองรับผู้ป่วยไม่มีอาการ อาการน้อย ไม่มีความเสี่ยง เป็นมาตรการเสริมจาก HI/CI ลดภาะ รพ.ความแตกต่างผู้ป่วยนอกกับ HI คือ ผู้ป่วยนอกจะมีแพทย์ติดตามอาการหลังตรวจคัดกรองภายใน 48 ชม. แต่หากมีอาการเปลี่ยนแปลงสามารถติดต่อกลับได้ทุกเวลา ไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน เช่น ปรอทวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วและไม่มีอาหารให้ หลังดำเนินการจะมีการประเมินระบบเป็นระยะ ส่วนจำนวนเตียง รพ.ขณะนี้ยังเพียงพอ แต่หากมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง รพ.เครือข่ายให้เตรียมพร้อมลดเตียงผู้ป่วย Non-Covid มารองรับผู้ป่วยโควิด 15-20% กรณีข้อกังวลว่าการรักษาในระบบผู้ป่วยนอก จะสามารถเคลมประกันได้หรือไม่ ได้พูดคุยกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่ง คปภ.ต้องไปดำเนินการต่อ แต่หลัก ๆ ต้องดูว่าประกันของผู้ป่วยครอบคลุมกรณีเป็นผู้ป่วยนอกหรือไม่ หากไม่ครอบคลุมก็ให้เข้าสู่ระบบ HI เพราะ HI มีการประกาศเป็นทางการว่าเป็นผู้ป่วยใน สามารถประเมินเป็นราย ๆ ได้

นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กล่าวว่าจากการพิจารณาจัดทำแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับล่าสุด คือฉบับที่ 20 เปลี่ยนตามสถานการณ์โรค ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และเป็นเหมือนกันทั่วโลก และไม่ใช่เพราะกินหมด ซึ่งจะมีแนวทางสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อแบบผู้ป่วยนอก หรือ OPD ทั้งนี้รายละเอียดการให้ยา ดังนี้ 1.ผู้ป่วยไม่มีอาการพบกว่า 90% อยากให้มีการรักษาที่บ้าน หรือแบบผู้ป่วยนอก อาจจะมีอาการคันคอ จะไม่มีการให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ เนื่องจากส่วนมากหายเองได้ และไม่ต้องเสี่ยงจากผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาสีฟ้า เสี่ยงดื้อยา และ ไม่แนะนำใช้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะตั้งครรภ์อ่อนๆ เพราะพบว่ามีผลต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้อาจจะพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจรให้ตามดุลพินิจแพทย์ แต่ไม่ให้ในเด็ก คนท้อง คนป่วยโรคตับ


2.กรณีมีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่มีโรคร่วม แพทย์เป็นคนพิจารณาว่าจะให้ฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หากให้ต้องหยุดกินฟ้าทะลายโจร อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบเชื้อมีอาการเกิน 5 วันแล้วการให้ยาต้านอาจจะไม่มีประโยชน์แล้ว 3.กรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุ 65 ปีขึ้น มีโรคร่วม แพทย์พิจารณาแอดมิทใน รพ. เพราะเสี่ยงที่โรคจะพัฒนารุนแรงขึ้น ส่วนยาที่ใช้จะมีหลายตัว ส่วนกลุ่มที่ 4 ซึ่งอาการรุนแรงนั้นอยู่ใน รพ.อยู่แล้ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม โดยตลอดการรักษาแบบ OPD ยังคงอยู่ที่บ้านกักตัว 7 วันเป็นอย่างน้อย และมีการตรวจ ATK ในวันที่ 5-6 หากไม่เจอก็สามารถใช้ชีวิตตามปกติ แต่ก็งดการรวมตัวกันจำนวนมาก.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร