ปลัด สธ. ยังไม่เห็นหนังสือนายกฯ เรื่อง ATK

สำนักข่าวไทย 20 ส.ค.-ปลัด สธ. เผยยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งนายกฯ เรื่อง ATK ขณะที่ อย. แจงมาตรฐาน WHO ไม่ได้มีไว้เพื่อการซื้อขายสินค้า แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อATK สำหรับบุคลากรการแพทย์ไปใช้เองในประเทศทุรกันดานยากจน ย้ำการขึ้นทะเบียนยา เครื่องมือแพทย์ เป็นมาตรฐานของแต่ละประเทศกำหนด

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงข้อคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เรื่อง ATK ว่า เรื่องนี้เพียงแต่ได้ทราบผ่านการรายงานผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือข้อสั่งการอย่างเป็นทางการลงมา ซึ่งหากมีหนังสือลงมาแล้ว ตนในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (ศปก.สธ.) ก็จะมีการหารือผู้เกี่ยวข้องต่อไป


นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ขณะนี้อธิบายเรื่องมาตรฐาน ATK รับรองมาตรฐานองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ว่า การรับรองของ WHO ไม่ใช่เป็นการรับรองเพื่อการขายสินค้า แต่เป็นการรับรองเพื่อนำยา หรือเครื่องมือแพทย์ เหล่านี้ไปใช้เอง ส่วนใหญ่สินค้าที่ผ่านการรับรองนี้เพื่อให้เกิดการบริจาค และนำไปใช้ในประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในแถบแอฟริกา ที่ไม่มีแลปรับรอง จึงต้องการมาตรฐานที่ไวกว่าเท่านั้น และเป็นการรับรอง ATK ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ใช่ ATK ในกลุ่มประชาชนทั่วไป ส่วนเรื่องการรับรองสินค้า และยา รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั่วไปนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน หรือกติกา เช่น ประเทศสหรัฐ ก็ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ขององค์การอาหารและยา (US FDA )ไม่ได้ยึดของชาติอื่น การซื้อสินค้าก็ดูเกณฑ์ของประเทศตัวเองเป็นหลัก เช่น เดียวกับมาตรฐาน CE ของยุโรป สินค้าของยุโรปบางอย่างก็ไม่ได้รับรองโดย WHO อีกทั้งการขึ้นทะเบียนสินค้าและยาในต่างประเทศ ส่วนใหญ่คือผู้ที่ขึ้นทะเบียนต้องมีจุดประสงค์ที่จะไปขายในประเทศนั้นๆ ถึงนำสินค้าไปขึ้นไปทะเบียน หากไม่ต้องการนำไปขาย ก็ไม่ต้องนำไปขึ้นทะเบียน

นพ.สุรโชค กล่าวว่า สำหรับวิธีการตรวจ ATK ต้องยอมรับว่ามีความแม่นยำน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธี RT-PCR เหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองคนติดเชื้อในกลุ่มคนสงสัยติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำๆ หลายครั้ง โดยการกำหนดค่าความไว ความจำเพาะของชุดตรวจ ก็เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยสุด แต่ไม่ได้หมายความว่า ชุดตรวจจะแม่นยำแบบตรวจครั้งเดียวเจอ เพราะการตรวจหาเชื้อจะพบได้ในกลุ่มคนที่มีปริมาณเชื้อจำนวนมาก ความแม่นยำที่เป็นข้อห่วงใยในการใช้ ATK คือ การตรวจเชื้อแล้วแสดงผลลบ แต่จริงๆ ติดเชื้อ (มีเชื้อในร่างกายน้อย) ไม่แสดงอาการ ดังนั้นการตรวจจึงต้องอาศัยควบคู่กับการปฏิบัติตัว เรื่องของการกักตัว 14 วัน และ หมั่นตรวจตามรอบเวลาที่กำหนด ความเข้าใจส่วนนี้ต้องทำให้ถูกต้อง.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คลอดลูกแฝดตกตึก

หญิงวัย 31 เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น รพ.ดัง เสียชีวิต

สลด! หญิงวัย 31 ปี เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น โรงพยาบาลดัง เสียชีวิต ด้านโรงพยาบาลแถลงแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมทบทวนมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก

ทหารควง M16 ยิงเพื่อนตำรวจดับคาบ้านพัก

ทหารพรานควง M16 บุกยิงเพื่อนตำรวจเสียชีวิตภายในบ้านพัก ก่อนขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านผู้ตาย เข้ามอบตัวกับตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี เบื้องต้นคนก่อเหตุให้การวกวน เนื่องจากอยู่ในอาการหลอน

ลูกน้องปืนโหดรัวยิงหัวหน้างานดับคา สนง.ปฏิรูปที่ดินฯ

ลูกน้องชักปืนกระหน่ำยิงหัวหน้างานดับกลางห้องทำงาน สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.น่าน ก่อนลั่นไกยิงตัวเอง ปมเหตุขัดแย้งเรื่องงาน

จนท.ปะทะเดือด! เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ

ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง นำกำลังปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา เกิดการปะทะ เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ ยึดอาวุธสงคราม 3 กระบอก

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบนอุ่นขึ้น 1-2 องศาฯ ค่าฝุ่นมีแนวโน้มเพิ่ม

กรมอุตุฯ เผยมวลอากาศเย็นมีกำลังอ่อน ส่งผลให้ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาฯ ขณะที่ค่าฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่ม

กกต.ขอบคุณ ปชช.ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ.

เลขาธิการ กกต. แถลงสถานการณ์หลังปิดหีบบัตรเลือกตั้ง อบจ.ทั่วประเทศ ขอบคุณประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ พร้อมชี้แจงกรณีบัตรเลือกตั้งหายที่จังหวัดบึงกาฬ

นายกฯ วิดีโอคอลให้กำลังใจ 5 คนไทยที่อิสราเอล

นายกรัฐมนตรี วิดีโอคอลให้กำลังใจ 5 คนไทยที่อิสราเอล ดีใจทุกคนสุขภาพแข็งแรงดี อยากให้ตรวจเช็กให้เรียบร้อยก่อนกลับไทย ยืนยันรัฐบาลดูแลสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่