ก.แรงงาน ร่วมช่วยพาแรงงานไทยจากอุซเบกิสถานกลับบ้าน

ก.แรงงาน 13 ส.ค.-รมว.แรงงาน ห่วงใยแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากอุซเบกิสถาน ขอบคุณทุกหน่วยงานช่วยพากลับบ้านปลอดภัย ทุกคนต่างดีใจที่ได้กลับมายังบ้านเกิดอีกครั้งหลังจากรอคอยมานาน ก่อนเข้ารับการกักตัว ณ สถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ เป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าระวังระยะการฟักตัวของโควิด-19


รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน แจ้งว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 เวลา 02.45 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศอุซเบกิสถาน เนื่องจากประสบปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยสายการบินอุซเบกิสถานแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ HY 3609 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

สำหรับแรงงานไทยในอุซเบกิสถานกลุ่มนี้ได้โพสต์คลิปขอความช่วยเหลือให้รัฐบาลช่วยพากลับประเทศไทย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ซึ่งได้เดินทางไปทำงานกับนายจ้างชื่อENTER ENGINEERING PTE.LTD. สัญญาจ้าง 1ปี โดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานเวิร์ล พาวเวอร์ เซอร์วิส จำกัด จำนวน 78 ราย และบริษัทจัดหางานบางกอก วินนิ่ง กรุ๊พ จำกัด จำนวน 17 ราย ส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.62 คนหางานทั้งหมดไปทำงานอย่างถูกต้อง และทำงานทำงานครบสัญญาจ้าง 1 ปีแล้ว แต่นายจ้างยังไม่สามารถจัดส่งคนหางานกลับได้ เนื่องจากรัฐบาลของอุซเบกิสถานออกกฎห้ามคนในประเทศออกนอกราชอาณาจักรถึงวันที่ 31 ก.ค.63 และห้ามสายการบินพาณิชย์บินเข้าประเทศ เนื่องจากปัญหาโควิด -19


นางเธียรรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงฯได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 (ศบค.) กระทรวงการต่างประเทศ และบริษัทจัดหางาน เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันในการช่วยเหลือพาแรงงานไทยกลับประเทศ ซึ่งจากการตรวจสอบสถานะความเป็นสมาชิกกองทุนคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศของแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศอุซเบกิสถาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก คนงานที่ทำงานครบสัญญาจ้างแล้ว 70 คน จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนฯ ในกรณีสมาชิกฯ ประสบปัญหาในต่างประเทศรอการส่งกลับประเทศไทย ให้จ่ายเป็นค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นแก่สมาชิกกองทุนระหว่างที่อยู่ในต่างประเทศ โดยให้จ่ายตามที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 30,000 บาท

และกลุ่มที่ 2 คนงานที่ทำงานยังไม่ครบสัญญาจ้าง จำนวน 24คน จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนฯ ในกรณีสมาชิกฯ ประสบปัญหาต้องเดินทางกลับประเทศไทยก่อนสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุนฯ เนื่องจากเกิดโรคระบาด ซึ่งทางการของประเทศนั้นๆ ประกาศกำหนดแล้วให้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนรายละ 15,000 บาท


“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ห่วงใยแรงงานไทยทุกคนที่ได้เดินทางกลับจากอุซเบกิสถาน ทุกคนดีใจที่ได้กลับมายังบ้านเกิดอีกครั้งหลังจากรอคอยมานาน ขั้นตอนจากนี้ เจ้าหน้าที่จะให้ทุกคนไปกักตัวตามสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าระวังระยะการฟักตัวของโควิด-19 ส่วนผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ จะได้รับการช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จึงแจ้งเตือนให้แรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศสมัครเป็นสมาชิกกองทุน เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่า และช่วยบรรเทาความเดือดร้อน หากต้องประสบปัญหาที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน”นางเธียรรัตน์ กล่าวในท้ายสุด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย

ผบช.สตม. ลั่น ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย เพิกถอนใบอนุญาต ผลักดันออกนอกประเทศทันที

ตรวจสอบ The Park เขาหลัก งบก่อสร้าง 140 ล้าน คุ้มค่าหรือไม่?

สำนักข่าวไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างโครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา หรือ The Park เขาหลัก ริมหาดบางเนียง หลังมีข้อมูลว่าเป็นโครงการที่ก่อสร้างด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพรกร้าง

ลูกสาวสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ดับคากระท่อม

ลูกสาวเปิดปากสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ปี เสียชีวิตในกระท่อม ข้างลานรับซื้อข้าวเปลือก ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

ข่าวแนะนำ

ตัดไฟเมียนมา

ตัดแขนขาเมียนมา ราคาน้ำมันพุ่ง-จำกัดการซื้อ

เข้าสู่วันที่ 3 สำหรับการตัดไฟฟ้า สัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่งแม่สอดของไทยไปเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำมันในฝั่งเมียวดี