ส.เด็ก เปิดรับบริจาคนมแม่ เข้าสู่ธนาคารนมแม่เพื่อเด็กป่วย

กรมการแพทย์ 10 พ.ย. – สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดรับบริจาคนมแม่เข้าสู่ธนาคารนมแม่เพื่อเด็กป่วย และเป็นสื่อกลางที่มีความสำคัญในการจัดสรรนมแม่ที่ได้รับบริจาคมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีความปลอดภัยสูงสุด เพราะนมแม่ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารที่มีประโยชน์สำหรับลูก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดป่วย ยิ่งต้องได้รับนมแม่


นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ใน 1 ปี มีทารกคลอดก่อนกำหนดประมาณ 15 ล้านคน หรือมีทารกเกิดก่อนกำหนดมากกว่า 1 รายต่อการคลอด 10 ราย และทุก ๆ ปี จะมีทารกที่เสียชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนด ประมาณ 1 ล้านคน ทารกแรกเกิดป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่ไม่ได้รับนมแม่ เนื่องจากมารดามีน้ำนมไม่เพียงพอหรือมารดามีภาวะแทรกซ้อน เจ็บป่วยรุนแรงไม่สามารถให้นมบุตรได้ รวมทั้งทารกต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ภาวะแยกจากระหว่างมารดากับทารกป่วย หากทารกแรกเกิดป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดได้รับนมแม่ จะมีประโยชน์ต่อการกระตุ้นฮอร์โมนในลำไส้ น้ำหนักขึ้นเร็ว ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล ลดโอกาสเกิดการติดเชื้อในลำไส้ กระแสเลือด และลำไส้เน่า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ผู้ป่วยได้รับนมแม่ แต่การที่จะได้รับนมแม่จากการรับบริจาคนั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนการรับนมแม่ที่ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ ควรปรึกษาแพทย์หรืองานธนาคารนมแม่ก่อนบริจาคทุกครั้ง

นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารนมแม่ สถาาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นสื่อกลางที่มีความสำคัญในการจัดสรรนมแม่ที่ได้รับบริจาคมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีความปลอดภัยสูงสุด โดยขั้นตอนการทำงานของธนาคารนม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีดังนี้ 1.คัดกรองผู้บริจาค 2.ควบคุมช่วงเวลาและอุณหภูมิในการส่งน้ำนม 3.จัดเก็บน้ำนมในอุณหภูมิที่คงที่ 4.พาสเจอร์ไรซ์น้ำนมตามมาตรฐาน 5.จ่ายน้ำนมพาสเจอไรซ์ให้แก่ทารกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทารกกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับนมแม่บริจาคจากธนาคารนมแม่คือ ทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ทารกที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้ ทารกป่วยที่มารดามีข้อห้ามในการให้นมบุตร คุณสมบัติของมารดาที่สามารถบริจาคนมแม่มีดังนี้ สุขภาพแข็งแรง ไม่รับประทานยาหรือฉีดยาที่เป็นข้อห้ามในการให้นมบุตร มีน้ำนมมาก มีผลเลือดปกติ น้ำนมที่จะบริจาคเป็นน้ำนมที่บีบเก็บในช่วงที่บุตรคนล่าสุดอายุไม่เกิน 4 เดือน และไม่หมดอายุการจัดเก็บ ยินดีเจาะเลือด ตอบแบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยง นอกจากนั้น มารดาที่มีน้ำนมมากเกินความต้องการไม่ควรแบ่งนมแม่กันเองเนื่องจาก เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบชนิดบี และไวรัสอื่น ๆ ผ่านทางน้ำนม เสี่ยงต่อการรับยาหรือสารเสพติดที่ส่งผ่านทางน้ำนม เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคในระหว่างขั้นตอนการปั๊มนม และการจัดเก็บนม ทั้งนี้ นมแม่จากธนาคารนมแม่ใช้เพื่อเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านชั่วคราว ระหว่างรอนมแม่เท่านั้น “เพราะนมแม่ตัวเองดีที่สุด” หากมารดาท่านใดมีคุณสมบัติข้างต้นและประสงค์ที่จะบริจาคนมแม่สามารถติดต่อมายังธนาคารนมแม่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ หรือโทร 066-121-7747. -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก