กทม.แถลงขออภัยพยาบาลทำงานเกินเวลา เร่งบรรจุเพิ่ม-ปรับปรุงระบบ

กรุงเทพฯ 2 มิ.ย. – ผู้บริหาร กทม. แถลงขออภัยพยาบาลเหตุทำงานเกินเวลา เตรียมเร่งบรรจุพยาบาลใหม่ พร้อมปรับปรุงระบบเตือนทำงานเกินเวลา โดยนำเทคโนโลยีมาใช้


(2 มิ.ย.66) รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชี้แจงปัญหาการขาดแคลนบุคลากร จากกรณีทางสื่อออนไลน์ได้กล่าวถึงบุคลากรทางการแพทย์พยาบาลของโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครทำงานเกินเวลา กรุงเทพมหานครจึงได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นจากระบบ Traffy Fondue พบว่ามีผู้ร้องเรียนเข้ามาจริง

รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวว่า การให้พยาบาลทำงานเกินกว่าชั่วโมงที่ควรจะต้องทำ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะจริงๆ แล้วทางสำนักการแพทย์มีมาตรฐานการทำงานที่เข้มงวด โดยปกติพยาบาลจะอยู่กะได้ติดต่อกันแค่เพียง 2 กะเท่านั้น คือไม่เกิน 16 ชั่วโมง ซึ่งทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กำชับเรื่องนี้ไว้ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าพยาบาลทำงานนานจนเกินไปอาจจะเป็นไปได้ที่จะกระทบต่อความเหนื่อย กระทบต่อสมาธิ หรืออาจจะกระทบต่อการรักษาพยาบาลประชาชน ทั้งในแง่ของสมรรถนะ ความสามารถ หรืออารมณ์ จึงได้สั่งการให้หาข้อเท็จจริงและทำการแก้ไข โดยไม่ให้มีการทำงานเกินกว่าชั่วโมงมาตรฐานอีก


จากระบบ Traffy Fondue ทำให้พอจะทราบตำแหน่งโดยสังเขปของปัญหาว่าน่าจะอยู่ในโซนตะวันออก ซึ่งสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุได้บางส่วนว่า ประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานครในโซนดังกล่าวมีจำนวนมากจริงๆ เมื่อนำรายชื่อพยาบาลที่เข้ากะครั้งละ 8 ชั่วโมง มาตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ามีมูลแห่งความจริง ยอมรับว่าอาจจะเป็นระบบของเราที่ไม่มีการเตือนว่าพยาบาลทำงานเกินกว่าชั่วโมงที่เรากำหนดไว้แล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวมีในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล คือ สามารถสแกนใบหน้าบันทึกข้อมูลการเข้าเวร ในส่วนของโรงพยาบาลกลางก็จะมีระบบการตรวจสอบข้อมูลนี้จากฐานข้อมูลเวรกลางของโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กรุงเทพมหานครต้องไปจัดการทำการแก้ไขให้ระบบแบบนี้เกิดขึ้นในทุกโรงพยาบาล

อีกมุมหนึ่งปัญหาอาจจะเป็นที่การบริหารจัดการของเราในบางช่วงเวลา เช่น กรณีที่การบริหารจัดการเวรพยาบาลมีอยู่แล้วในจำนวนที่ค่อนข้างพอดี แล้วเกิดเหตุพยาบาลมีการติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นโดยพร้อมกัน จำเป็นต้องให้พยาบาลหยุด 3-5 คน ในเวลาเดียวกัน ก็อาจจะทำให้คนที่เหลืออยู่ต้องทำงานยาวนานเกินไป ในเรื่องนี้กรุงเทพมหานครมีการจ้างพยาบาลห้วงเวลาเสริมอยู่ทุกโรงพยาบาล และเรื่องอัตรากำลังที่ตึงตัว เราก็พยายามจะเรียกบรรจุเพิ่มเติมอยู่ในทุกโรงพยาบาล ซึ่งจะทยอยเข้าในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม กรุงเทพมหานครไม่ปฏิเสธเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น โดยจะมีการปรับระบบบริหารจัดการบุคลากรใหม่ทั้งหมดในทุกโรงพยาบาล เพื่อให้เห็นหน้าตักทรัพยากรของทั้งโรงพยาบาลและสามารถบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้น ต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เมื่อพยาบาลเข้าเวรให้มีระบบนับจำนวนชั่วโมง หากครบ 16 ชั่วโมง จะต้องมีการเตือน ซึ่งการปรับระบบนี้จะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำอีก และเพื่อไม่ให้บุคลากรของเราต้องทำงานหนักเกินไป เพราะอาจจะกระทบไปถึงภาคประชาชนที่มารับบริการ เราต้องบริหารจัดการจำนวนพยาบาลให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงัก ต้องคุยกับบุคลากรถึงขั้นตอนการทำงาน การอยู่เวร ส่วนสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยบังคับ หรือการบังคับให้อยู่ต่อ ไม่ควรเกิดขึ้น

สำหรับตำแหน่งว่างพยาบาลวิชาชีพและตำแหน่งอื่นๆ อยู่ในระหว่างดำเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตจากพยาบาลเกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทร์ 138 ราย อยู่ระหว่างรอประกาศผลสอบเพื่ออนุญาตใบวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งเราน่าจะสามารถดึงบุคลากรบางส่วนจากตรงนี้ไปได้ ในขณะเดียวกันของสังกัดสำนักการแพทย์โดยตรง ซึ่งได้ดำเนินการสัมภาษณ์แล้วจะบรรจุแต่งตั้งภายใน 1 สิงหาคมนี้ จะเร่งประสานว่าสามารถที่จะบรรจุแต่งตั้งเร็วกว่านั้นได้หรือไม่ อีกทั้งยังต้องดูเรื่องแผนการเกลี่ยอัตรากำลัง เนื่องจากครั้งหนึ่งมีการเปิดโรงพยาบาลใหม่ จึงมีการเกลี่ยอัตรากำลังไป และหลังจากการเกลี่ยอัตรากำลังครั้งนั้นยังไม่ได้ทบทวนในจำนวนที่เพียงพอและรวดเร็ว นอกจากนี้ แม้ว่าเราจะถูกควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น แต่โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการความยืดหยุ่นของเงินทุนของตัวเองในการจ้างพยาบาลห้วงเวลาเสริมได้ ฉะนั้นต้องยอมรับว่าเราบริหารจัดการได้ไม่รอบคอบพอ


“ต้องขออภัยน้องพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำให้เกิดความเครียด หลังจากนี้จะมีการเร่งจัดการเรื่องอัตรากำลัง โดยประสานไปยังสำนักงาน ก.ก. ในการเรียกบรรจุสำหรับบุคคลที่สอบแข่งขันได้ และขึ้นบัญชีไว้ให้เร็วขึ้น หากสามารถทำได้” รองผู้ว่าฯ ทวิดา กล่าวทิ้งท้าย

ในส่วนของผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นที่น่าเห็นใจ เนื่องจากระบบงานของโรงพยาบาลมีภาระงานจำนวนมาก มีจำนวนพยาบาลของสำนักการแพทย์อยู่ที่ 2,300 คน อย่างไรก็ตาม สำนักการแพทย์ให้ความสำคัญกับเรื่องของมาตรฐานในการดูแลประชาชน และการทำงานต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสภาการพยาบาล ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลก็มีการประกันคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลด้วย ในวันนี้จึงได้มีการคุยกับผู้บริหารของแต่ละโรงพยาบาลว่าจะต้องให้ความสำคัญในการดูแลทุกข์สุขของน้องๆ พยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่บุคลากรอื่นๆ โดยดูว่าติดขัดตรงไหน และขอให้พี่ๆ ช่วยกันแก้ปัญหาอุปสรรคให้กับน้องๆ ด้วย ส่วนในเรื่องของระบบตามที่ท่านรองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้ให้คำแนะนำ เราคงต้องไปพัฒนาระบบให้มีการตรวจสอบติดตามอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก อีกมาตรการหนึ่งตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะสร้างความเข้มแข็งของโรงพยาบาล คือ สถานพยาบาลในระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่จะช่วยลดความแออัดของคนไข้จากโรงพยาบาลได้ ทั้งนี้ สำนักการแพทย์จะทำอย่างเต็มที่ เรายินดีที่จะดูแลประชาชนให้มีคุณภาพ

ด้านหัวหน้าพยาบาล รพ.กลาง กล่าวว่า รูปแบบของการบริหารอัตรากำลังของฝ่ายการพยาบาลทั้ง 11 โรงพยาบาลมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน โดยปกติรูปแบบที่จัดจะไม่เกิน 16 ชั่วโมง ใน 1 เวร แต่ถ้าเกินขึ้นมา เราจะเกลี่ยอัตรากำลัง เช่น ดึงอัตรากำลังบางตึกที่เพียงพอมาช่วยในสถานการณ์ที่คับขัน ยืนยันว่าฝ่ายพยาบาลทราบกฎระเบียบเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ฝ่ายการพยาบาล 11 โรงพยาบาลได้รับคำสั่งจากผู้บริหารให้กลับไปทบทวนแก้ไขเรื่องดังกล่าว โดยเน้นแก้ปัญหาที่ระบบมากกว่าการหาตัวผู้ร้องเรียน

หัวหน้าพยาบาล รพ.ลาดกระบังกรุงเทพมหานคร กล่าวเสริมว่า โรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง มีการดูแลกันทั้งในเรื่องการจัดเวรและความทุกข์สุขของพยาบาล รวมถึงมีการช่วยเหลือกันและกันระหว่างโรงพยาบาลด้วย ซึ่งเป็นการทำตามความสมัครใจ ไม่ได้มีการบังคับน้องๆ แต่อย่างใด

“ยืนยันว่าเรามีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยายามหาทางแก้ไข ทั้งในส่วนของอัตรากำลังของพยาบาลที่มีจำนวนน้อย โดยการจ้างพยาบาลห้วงเวลาเสริมและการเร่งบรรจุแต่งตั้ง รวมถึงการตรวจสอบจำนวนชั่วโมงการเข้าเวรให้เคร่งครัดขึ้น ขอให้มั่นใจว่ากรุงเทพมหานครจะทำให้ดีที่สุด เพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด” โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าว. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร