กรมอนามัยแนะขั้นตอนทำน้ำสะอาดใช้ช่วงน้ำท่วม

กรุงเทพฯ 13 ต.ค. – กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ 6 ขั้นตอนทำน้ำสะอาดไว้ใช้ในบ้านช่วงน้ำท่วม พร้อมเตือนนำขวดพลาสติกมาใช้ซ้ำ ควรเลือกที่ไม่มีรอยขีดข่วน ไม่มีคราบสกปรก และทำความสะอาดอย่างถูกวิธี


นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด น้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนเป็นระยะเวลาหลายวัน ส่งผลให้ระบบประปาหรือน้ำบ่อตื้นไม่สามารถใช้งานได้ เพื่อให้ครัวเรือนมีน้ำสะอาดไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นำมาซักเสื้อผ้า ล้างสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมไปถึงนำมาใช้อาบชำระล้างสิ่งสกปรกจากร่างกาย จึงขอแนะนำวิธีทำน้ำสะอาดอย่างง่ายๆ ไว้ใช้ในบ้าน ตามขั้นตอน คือ

1) ตักน้ำในบริเวณที่น้ำไม่เน่าเสียหรือมีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่น้ำไหลไกลจากห้องน้ำห้องส้วม มาใส่ถังที่มีลักษณะทรงกระบอก เช่น ถังพลาสติก 50-100 ลิตร 2) ตักเอาเศษสิ่งของที่ปนมากับน้ำออกให้หมด เช่น ใบไม้ เศษไม้ เศษวัชพืช 3) ใช้มือจับก้อนสารส้มจุ่มลงไปในน้ำลึกประมาณ 2 ใน 3 ของความลึกน้ำในถัง และ 4) ใช้มือที่จับสารส้มกวนน้ำเป็นแนววงกลมให้สารส้มละลาย โดยช่วงแรกให้กวนเร็วจนสังเกตเห็นตะกอนที่เกิดขึ้นมีปริมาณมาก แล้วจึงค่อยลดความเร็วในการกวนลง จนตะกอนมีขนาดใหญ่ ให้หยุดกวน ตั้งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง จนตะกอนตกสู่ก้นถัง 5) ค่อยๆ ตักน้ำใสส่วนบน หรือใช้วิธีกาลักน้ำ ถ่ายเทน้ำใสส่วนบนใส่ภาชนะที่สะอาด และวัดปริมาตรน้ำที่ได้ และ 6) หยดคลอรีนน้ำ 2 เปอร์เซ็นต์ หรือหยดทิพย์ที่กรมอนามัยจัดทำขึ้น ในปริมาณ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที โดยให้คลอรีนละลายในน้ำและฆ่าเชื้อโรคอย่างทั่วถึง ก่อนนำน้ำมาใช้


“ทั้งนี้ น้ำที่ผ่านขั้นตอนการทำความสะอาดยังไม่เหมาะที่จะนำมาดื่ม หรือปรุงประกอบอาหาร แม้จะนำมาต้มผ่านความร้อนก็ตาม เนื่องจากอาจจะมีสารเคมีบางชนิดปนเปื้อนมากับน้ำท่วม และความร้อนไม่สามารถทำลายได้ จึงเหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดภายในครัวเรือนเท่านั้น เช่น ซักเสื้อผ้า ล้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือใช้อาบน้ำ สำหรับน้ำบริโภคควรใช้น้ำดื่มบรรจุขวดแทนจะปลอดภัยที่สุด แต่เนื่องจากในช่วงน้ำท่วม ผู้ประสบภัยอาจจะนำขวดพลาสติกมาใช้ซ้ำ ซึ่งบางครั้งไม่ได้ทำความสะอาดอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวดและฝาขวดที่เกิดจากการใช้ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และการขัดถูขวดน้ำ เพื่อทำความสะอาด อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วน หรือหากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อน อาจทำให้ขวดพลาสติกเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารเคมีจากขวดพลาสติกได้ ดังนั้น หากจำเป็นต้องนำขวดพลาสติกมาใช้ซ้ำ ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึง และสังเกตลักษณะขวด หากพบรอยขีดข่วน คราบสกปรก ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำอีก” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง