นายกฯ เตรียมร่วมประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป

ทำเนียบรัฐบาล 24 พ.ย.-นายกฯ เตรียมประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 วันที่ 25-26 พ.ย.นี้ พร้อมกล่าวถ้อยแถลงเสนอวิสัยทัศน์


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการร่วมประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 13 (Asia-Europe Meeting: ASEM 13) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 25 – 26 พฤศจิกายนนี้ ณ  ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยการประชุม ASEM 13 ครั้งนี้ ภายใต้หัวข้อหลักคือ “Strengthening Multilateralism for Shared Growth” โดยมีกัมพูชาเป็นเจ้าภาพการประชุม

“นอกจากการเข้าร่วมในนามผู้นำประเทศไทยแล้ว ยังเข้าร่วมในนามผู้ประสานงานกลุ่มอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ.2564-2565 โดยนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ในนามประเทศไทย 2 ครั้ง และในนามผู้ประสานงานกลุ่มอาเซียน 2 ครั้ง ในส่วนของถ้อยแถลงในนามประเทศไทยในการประชุมเต็มคณะ (Plenary) ช่วงที่ 2 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กับการฟื้นตัวและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนั้น นายกรัฐมนตรีจะถอดบทเรียนจากประสบการณ์ ประมวลเป็นข้อแนะนำที่เป็นรูปธรรม เพื่อการก้าวข้ามวิกฤตไปสู่ยุค Next Normal พร้อมนำเสนอตัวอย่างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างเอเชียกับยุโรป และในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat Session) นายกรัฐมนตรีจะกล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทยนำเสนอความสำคัญของการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Next Normal” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว


นายธนกร กล่าวว่า ในส่วนของถ้อยแถลงในนามผู้ประสานงานกลุ่มอาเซียน นายกรัฐมนตรีจะกล่าวถ้อยแถลงในช่วงพิธีเปิดการประชุม โดยจะย้ำความสำคัญของกรอบความร่วมมือพหุภาคีในการรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ของโลกเพื่อสนับสนุนความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป และในช่วงของการแถลงข่าวร่วมนายกรัฐมนตรีจะยืนยันสนับสนุนความร่วมมือระดับพหุภาคีนิยมซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้ประเทศทั้งเล็กและใหญ่มีส่วนร่วมในการรับมือกับความท้าทายของโลก ตลอดจนนำเสนอความสำคัญของการประชุม ASEM  ทั้งนี้ ASEM เป็นเวทีการหารือและความร่วมมือระดับผู้นำระหว่างเอเชียกับยุโรปซึ่งมีเพียงกรอบเดียวจัดขึ้นปีเว้นปีสลับกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM (ASEM FMM) โดยความร่วมมือในกรอบ ASEM ครอบคลุม 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอื่นๆ โดยเน้นการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างสองภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้ง ASEM และเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง