“อนุทิน”ยันรัฐพร้อมเดินหน้าภูเก็ตโมเดล

เนียบรัฐบาล 8 ก.ย.- รมว.สธ.ขอผู้ประกอบการภูเก็ตสร้างความเข้าใจคนในพื้นที่ เหตุต้องผ่อนปรนให้รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ย้ำรัฐพร้อมหนุน แต่ต้องรอ ศบค.พิจารณาก่อนว่าจะทันเดือน ต.ค.นี้หรือไม่ ยัน รพ.ชายแดนเครื่องมือพร้อมรับโควิด


นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินโครงการภูเก็ตโมเดลว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบของภูเก็ตโมเดลได้ตามแผนที่วางไว้ในเดือนตุลาคมนี้หรือไม่ เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนคัดค้าน เพราะกังวลเรื่องการกลับมาแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการและประชาชนจังหวัดภูเก็ต เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผ่อนปรนเงื่อนไข เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น ยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมสนับสนุนและผลักดันอย่างเต็มที่ โดยกระทรวงสาธารณสุขยืนยันความพร้อมเต็มรูปแบบในการป้องกันการแพร่ระบาด แต่ผู้ประกอบการต้องหารือกับผู้ที่ออกมาคัดค้าน ซึ่งผู้ที่ยังเคลื่อนไหวเป็นชาวภูเก็ตหรือไม่


“รัฐบาลพร้อมสนับสนุนผ่อนคลายมาตรการให้ผู้ประกอบการและภาคส่วนต่าง ๆ สร้างรายได้ สร้างงานให้ประชาชน แต่ยังมีผู้ที่คัดค้านอยู่ ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันทำความเข้าใจ วันนี้รัฐบาลมีความพร้อมทั้งแพทย์พยาบาล สถานพยาบาลและเวชภัณฑ์ ถ้าเราจะกลัวโควิดจนไม่ทำอะไรเลยหรือต้องตั้งเป้าให้ผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ตลอดไป ถ้าเป็นช่วงที่เราไม่รู้จักโควิดเลย ยังพอเข้าใจได้ แต่นี่เราอยู่กับเครดิตมาแล้ว 9 เดือน บางอย่างก็จำเป็นต้องเดินหน้า อย่างไรก็ตาม ถ้าจะเดินหน้าโครงการภูเก็ตโมเดลจะต้องนำเข้าที่ประชุม ศบค.ก่อน จึงจะได้คำตอบว่าภูเก็ตโมเดลจะเริ่มได้ในเดือนตุลาคมหรือไม่” นายอนุทิน กล่าว

นายอนุทิน กล่าวถึงความพร้อมของโรงพยาบาลที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ว่า ทุกโรงพยาบาลบริเวณชายแดน ไทย-เมียนมา ที่เคยมีข่าวว่าขาดแคลนชุดพีพีอี เครื่องป้องกันและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการดูแลโรคโควิด ยืนยันว่าขณะนี้ทุกโรงพยาบาลมีความพร้อมโดยกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนอุปกรณ์ทุกอย่างเพียงพอ เนื่องจากไม่มีผู้ป่วยจากโรคโควิดที่เป็นการะบาดภายในประเทศเหลืออยู่แล้ว ทุกคนกลับบ้านหมดแล้วที่มีอยู่ 105 คน เป็นผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ดังนั้น อุปกรณ์ต่างๆ จึงเพียงพอสำหรับใช้รับมือสถานการณ์

“สำหรับความคืบหน้าเรื่องวัคซีน กระทรวงสาธารณสุขผลักดันให้ไทยเข้าร่วมโครงการ COVAC ซึ่งอยู่ในกำกับขององค์การอนามัยโรค เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่มี 15 ประเทศกำลังศึกษาพัฒนาวัคซีน และไทยจะได้ประโยชน์จากเงินที่ลงทุนไปเมื่อผลิตวัคซีน ซึ่งเตรียมนำเข้าหารือในที่ประชุม ศบค.และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามลำดับ” รัฐมนตรีว่าการกรุทรวงสาธารณสุข กล่าว ทั้งนี้ มีรายงานว่าการประชุม ศบค.ครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 28 กันยายนนี้.-สำนักข่าวไทย  



ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

เชียงรายพบสารหนูเกินมาตรฐานใน “น้ำกก” คาดจากเหมืองเมียนมา

สำนักงานสิ่งแวดล้อมฯ เชียงราย ได้รับร้องเรียนว่า “น้ำกก” มีสีขุ่น เมื่อนำไปตรวจพบสารหนูเกินค่ามาตรฐานหลายเท่า กระทบสุขภาพประชาชน คาดมาจากเหมืองแร่ทองคำในเมียนมา ผู้ว่าฯ เชียงราย เรียกประชุมด่วน

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม