“พิธา” ย้ำคุณสมบัติครบ ชอบธรรมนั่งนายกฯ

รัฐสภา 13 ก.ค.-“พิธา” แจงหลังถูกพาดพิง ย้ำคุณสมบัติครบ มีความชอบธรรมเป็นนายกฯ วอนอย่ามีศาลเตี้ยในสภาฯ  


นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขอใช้สิทธิ์พาดพิง โดยขอบคุณสมาชิกที่อภิปรายสอบถามหลายเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติ ในฐานะผู้ที่ถูกเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ที่ติติงบุคลิกและวุฒิภาวะของตน ซึ่งตนพยายามปรับปรุงและฟังมากกว่าพูด พัฒนาภาวะผู้นำของตน รวมถึงรักษาคำพูดเหมือนสโลแกนที่ว่า พูดแล้วทำเหมือนพรรคการเมืองที่นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี สังกัดอยู่ ดังนั้น สัญญาที่เคยให้ไว้กับประชาชนอย่างไรก็ต้องทำตามอย่างนั้น และตนพยายามพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำของตัวเอง แม้ไม่เห็นด้วยในสิ่งที่นายชาดาพูด แต่ก็ถือว่ามีเสรีในการพูด

“นี่คือหน้าที่ของสภาฯ ซึ่งนายชาดามีความคิดและประสบการณ์แบบหนึ่ง ขณะที่ผมก็มีความคิดและชุดประสบการณ์อีกแบบหนึ่ง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ใช้รัฐสภาในการแก้กฎหมายและข้อขัดแย้งตลอดตลอดมาของประเทศไทย แต่เวทีนี้เป็นเวทีเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เวทีแก้ไขกฎหมายใด ๆ จึงคิดว่าตรงนี้เป็นบรรยากาศที่ดี แต่สุดท้ายผู้นำประเทศต้องมีความอดทน อดกลั้น รับฟังข้อกล่าวหาที่จริงหรือไม่จริงก็แล้วแต่ นี่คือสิ่งที่ผมสัญญาผ่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ผู้นำของประเทศไทยควรจะมี” นายพิธา กล่าว


นายพิธา แสดงความเห็นด้วยกับนายชาดาว่าการแก้ไขมาตรา 112 ไม่ได้อยู่ใน MOU ที่ทำร่วมกันใน 8 พรรค เพราะ MOU คือความเข้าใจของพวกเราในการจัดตั้งรัฐบาล ในการเข้าสู่อำนาจ ในการบริหารประเทศ แต่การแก้ไขกฎหมายอยู่ที่สภา และเมื่อเรายื่นเสนอแก้กฎหมาย ก็ไม่มีใครผูกขาดชุดความคิดใดชุดความคิดหนึ่งคนที่อายุมากกว่าคิดแบบหนึ่ง คนรุ่นเดียวกับตนก็คิดแบบหนึ่ง คนที่อายุน้อยกว่าตนก็คิดอีกแบบหนึ่ง นี่คือหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรในการแก้ไขข้อขัดแย้ง และถ้าเราพูดกันอย่างมีวุฒิภาวะ ไม่มีคำหยาบคาย ใช้เหตุใช้ผลกัน นี่คือทางออกของประเทศ

“ผมขอยืนยันผ่านไปยังสมาชิกรัฐสภารัฐสภา 750 คน ที่มีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี ผมมีคุณสมบัติสมบูรณ์แบบทุกประการและชอบธรรม  แม้ว่าจะมีกระบวนการทางคดีเกิดขึ้น แต่ผมยังไม่รู้ว่าข้อกล่าวหาคืออะไร เห็นแต่มติผ่านสื่อมวลชน และยังไม่ทราบว่าสงสัยในประเด็นใด ขอให้ยึดหลักการสมมุติฐานไว้ว่า “บริสุทธิ์ไว้ก่อน” เพราะผมยังไม่มีโอกาสที่จะชี้แจงแม้แต่ครั้งเดียว และเข้าใจว่าบุคคลที่อยู่ในแวดวงกฎหมายและทนายน่าจะเข้าใจเรื่องนี้ดี จะมีศาลเตี้ยในรัฐสภานี้ไม่ได้ และเมื่อปี 2562 ก็มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้น ก็ไม่กระทบกับการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ใช่หรือ เพราะถ้าจำไม่ผิดท่านบอกว่าท่านบอกว่ารัฐบาลที่รวมเสียงข้างมาก ที่รวมแสงได้มากที่สุดก็จะออกมา 249 เสียงตามนั้น ไม่มีแตกแถว จึงไม่ต้องกังวล เพราะผมมีความรัดกุมในการยื่นบัญชัทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. และสอบถาม ตลอดเรื่องคุณสมบัติกับกกต.และป.ป.ช.ทุกครั้งตั้งแต่เป็นส.ส.ครั้งแรก ครั้งนี้ และครั้งต่อไป เพราะผมยอมรับการตรวจสอบ ยังดีกว่าบางคนที่ไม่อยู่ในกระบวนการตรวจสอบไม่ว่าจะป.ป.ช.หรือกกต.” นายพิธา กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง