เตือน 2 พรรคจะเอาทุกอย่างตามอำเภอใจไม่ได้

รัฐสภา 28 มิ.ย. – “ชวน” เตือน 2 พรรคยุติปม ปธ.สภาฯ ด้วยการศึกษา เข้าใจบทบาท อำนาจ หน้าที่ ถ้าเอาทุกอย่างตามอำเภอใจ ปัญหาไม่จบ ชี้ถ้าพลาดตำแหน่งประธานสภาฯ แล้วพลาดนายกฯ ด้วย ไม่เกี่ยวกัน


นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ผ่านทีวีรัฐสภาในรายการ 91 ปี ก้าวแห่งความมั่นคงรัฐสภาไทย เนื่องในวันสถาปนารัฐสภา วันที่ 28 มิถุนายน ว่าตำแหน่งประมุขของสภานิติบัญญัติมีความสำคัญ เพราะเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตย ซึ่งตำแหน่งประธานสภาฯ ส.ส. จะใช้ดุลยพินิจพิจารณา ที่ผ่านมาเคยมีกรณีที่ประธานสภาฯ ไม่ได้มาจากพรรคอันดับหนึ่ง เพราะเป็นข้อตกลงของพรรคร่วม บางครั้งผลเลือกตั้งออกมาพบว่าพรรคการเมืองมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน สามารถตกลงกันได้ว่าใครจะเป็นนายกฯ หรือประธานสภาฯ แต่ที่ผ่านมาพบว่าพรรคการเมืองที่ได้เสียงใกล้เคียงกัน จะไม่ร่วมเป็นรัฐบาล เพราะจะทะเลาะกันเหมือนปัจจุบัน แต่ถ้าใครได้เสียงข้างมากชัดเจน สามารถตกลงได้ว่าใครเป็นนายกฯ และประธานสภาฯ

เมื่อถามว่าการที่เสียงของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยใกล้เคียงกันเป็นเหตุให้ไม่ชัดเจนหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า ถือเป็นประสบการณ์ตั้งรัฐบาล ในฐานะที่ตนเคยเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านมาหลายสมัย ปกติการตกลงร่วมกันจะใช้ตำแหน่งนายกฯ เป็นสำคัญ เพราะจะง่ายต่อการแบ่งปันตำแหน่ง ซึ่งการตั้งรัฐบาลในปัจจุบันมองว่าง่ายกว่าในอดีต เพราะมีเพียง 8 พรรคการเมือง ขณะเดียวกันมีเพียง 2 พรรคเท่านั้นที่รวมเสียงได้เกินครึ่ง แต่ครั้งนี้ดูแล้วมีปัญหา เพราะมีประเด็นความต้องการประธานสภาฯ และตำแหน่งนายกฯ ซึ่งเขามีเหตุผลและเป็นปกติที่เป็นไปได้ แต่หากเอาทุกอย่างปัญหาไม่จบ


ส่วนที่พรรคก้าวไกลกังวลว่าหากไม่ได้ประธานสภาฯ จะผลักดันกฎหมายของตนเองไม่ได้ นายชวน กล่าวว่า ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะประธานสภาฯ ไม่สามารถทำตามอำเภอใจหรือทำสิ่งที่ขัดกับข้อบังคับการประชุมได้ ส่วนที่ระบุว่าหากไม่ได้ประธานสภาฯ จะไม่ได้ตำแหน่งนายกฯ ก็ไม่จริง เพราะการเลือกนายกฯ ต้องลงมติจากสมาชิก ซึ่งประธานสภาฯ ต้องดำเนินการตามมติของสภาฯ ไม่สามารถเปลี่ยนคนได้ ประธานสภาฯ จะเกี่ยง ถ่วง หรือเสนอชื่อคนอื่นไม่ได้ ดังนั้น

“ที่บอกว่าหากไม่ได้ตำแหน่งประธานสภาฯ ตำแหน่งนายกฯ จะมีปัญหานั้นไม่เกี่ยวกัน อีกทั้งการผลักดันกฎหมาย ประธานสภาฯ ไม่สามารถทำตามอำเภอใจว่าจะเอากฎหมายของใครขึ้นมาพิจารณาก่อนได้ ต้องเป็นไปตามลำดับการเสนอจากสมาชิก หากจะเปลี่ยนวาระต้องขอมติจากที่ประชุม ไม่ใช่อำนาจของประธานสภาฯ ฝ่ายที่ตั้งรัฐบาล ไม่ใช่เอาทุกอย่างเป็นของตนเอง ต้องต่อรอง เพราะนอกจากเรื่องนี้ยังมีการต่อรองอื่นๆ เช่น กระทรวง ตนมองว่าหากเขาสามารถพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด และเข้าใจภารกิจ บทบาทหน้าที่ การแบ่งอำนาจ จะทำให้เกิดความขัดแย้งน้อยลง แต่ที่มีความขัดแย้งมาก เพราะไม่เข้าใจหลายเรื่อง” นายชวน กล่าว

นายชวน กล่าวว่า พรรคที่ต้องการเสนอร่างกฎหมาย 100 ฉบับ เขาสามารถผลักดันได้ โดยใช้ช่องเป็นกฎหมายของรัฐบาล เพราะตามข้อบังคับกฎหมายของรัฐบาลจะบรรจุเป็นเรื่องด่วน โดยสมัยสภาฯ ที่ผ่านมา พบว่ารางกฎหมายที่รัฐบาลเสนอไม่มีค้าง แต่กฎหมายของฝ่ายค้านค้างจำนวนมาก ซึ่งเป็นปกติของการปกครอง หากเสนอร่างกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และงบประมาณ 


“ปัญหาของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ตนมองว่าหากเข้าใจบทบาทสภาฯ จะทำให้มีข้อยุติง่าย แต่หากไม่เข้าใจและมองว่าประธานสภาฯ บันดาลให้ใครเป็นนายกฯ ก็ได้ แบบนี้หารือกันยาก หากไม่แน่ใจว่าการตั้งนายกฯ จะผ่านหรือไม่ หากไม่ผ่านเขาไม่ได้ทั้งนายกฯ และประธานสภาฯ จนกลายเป็นความวิตก ตนมองว่าหาก 2 ฝ่ายหารือกันอย่างใกล้ชิด จะทำให้คุยกันได้ง่าย ดังนั้น ปัญหาของประธานสภาฯ ควรยุติด้วยการศึกษา เข้าใจในบทบาท อำนาจ หน้าที่ ทุกฝ่ายไม่สามารถเอาอะไรได้ตามมอำเภอใจทุกอย่าง ซึ่งที่ผ่านมาการตั้งประธานสภาฯ ไม่มีปัญหา แต่สมัยนี้มีปัญหา” นายชวน กล่าว

นายชวน กล่าวถึงสเปกบุคคลที่จะเป็นประธานสภาฯ ว่าไม่ว่าจะเป็นใครต้องเตรียมตัวศึกษากฎเกณฑ์ ข้อบังคับและระเบียบ คนที่ได้เป็นประธานสภาฯ ต้องลาออกจากตำแหน่งในพรรคการเมือง เพื่อไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคตัวเอง หากพรรคเลือกคนของตัวเองเข้ามาเพื่อให้เลือกปฏิบัติก็ไม่สามารถทำได้      

“พรรคที่เลือกตัวแทนเข้ามา ต้องเลือกคนที่เป็นหน้าตาให้พรรค เพราะเลือกคนที่จะมาเป็นหัวหน้าของ 500 คน ในสภาฯ ดังนั้น พฤติกรรม นิสัยใจคอ ต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายนิติบัญญัติ พรรคการเมืองต้องเลือกคนที่เข้ามาเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมถึงต้องคำนึงด้วยว่าจะทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปในทิศทางบวกหรือลบ” นายชวน กล่าว.-สำนักข่าวไทย   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง