fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: RNA ในวัคซีน mRNA เข้าสู่นิวเคลียสและจีโนมของมนุษย์ได้ จริงหรือ?

13 พฤษภาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด

บทสรุป:


  1. เป็นการบิดเบือนงานวิจัยโดยสื่อต่อต้านวัคซีน
  2. งานวิจัยไม่ได้ระบุว่ามี DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของวัคซีนเข้าไปอยู่ในนิวเคลียส
  3. เป็นการทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงของผู้ป่วยมะเร็ง ผลลัพธ์จึงไม่อาจเทียบกับผู้รับวัคซีนทั่วไปได้

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดย Epoch Times เว็บไซต์ที่มีประวัตินำเสนอเนื้อหาต่อต้านวัคซีนโควิด-19 อ้างว่า พบงานวิจัยที่ยืนยันว่า RNA ในวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA สามารถแทรกซึมเข้าสู่นิวเคลียสภายในเซลล์ของผู้รับวัคซีน นอกจากนี้ RNA จากวัคซีนยังถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็น DNA และรวมเข้ากับจีโนมของผู้รับวัคซีน เป็นประเด็นที่หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) และหน่ายงาน Fact Checker ทั่วโลกต่างปฎิเสธมานาน

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


งานวิจัยที่ Epoch Times กล่าวอ้าง เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Lund University ในประเทศสวีเดน ตีพิมพ์ทางวารสารงานวิจัย MDPI เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2022 โดย มาร์คัส อัลเดนและคณะ ได้นำวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท Pfizer-BioNTech ขนาด 0.5, 1 และ 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ไปทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงตับมนุษย์ที่ป่วยเป็นมะเร็ง (Huh7)

สิ่งที่ทีมวิจัยตรวจสอบคือ ปริมาณของ LINE1 (long interspersed nuclear elements 1) ซึ่งเป็นยีนที่สามารถเคลื่อนที่บนสายของจีโนม (jumping genes) และทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงการจัดลำดับจีโนมในร่างกาย โดยมนุษย์มียีน LINE1 อยู่ถึง 17%

การเปลี่ยนแปลงการจัดลำดับจีโนมโดย LINE1 เกิดขึ้นเมื่อมีการทำงานร่วมกับเอ็นไซม์ Reverse Transcriptase (RT) ซึ่งมีหน้าที่สังเคราะห์ DNA โดยใช้ RNA เป็นแม่แบบ ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Reverse Transcription

การสำรวจของทีมวิจัยพบว่า เซลล์เพาะเลี้ยงที่ทดลองกับวัคซีน mRNA มีปริมาณ LINE1 เพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบ DNA ที่เกิดจากการสังเคราะห์ RNA อีกด้วย ทีมวิจัยจึงสรุปว่า การที่วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง DNA ภายในเซลล์ Huh7 ทำให้เกิดความกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech อาจทำการเปลี่ยนแปลงจีโนมของผู้รับวัคซีน และส่งผลเสียต่อยีนของผู้รับวัคซีนในอนาคต แม้จะไม่อาจรู้ได้ว่า DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA จะเข้าไปอยู่ในจีโนมได้หรือไม่

อย่างไรก็ดี การที่ Epoch Times อ้างว่าผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า RNA จากวัคซีน mRNA เข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ได้ เป็นการบิดเบือนผลการทดลอง เพราะผลวิจัยไม่ได้พบว่า DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA สามารถเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ตามที่กล่าวอ้าง

รีส แพร์รี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิวัฒนาการไวรัส มหาวิทยาลัย University of Queensland แสดงผลการทดสอบจากงานวิจัยด้วยวิธี Immunofluorescence พบว่าปริมาณยีน LINE1 ที่เพิ่มขึ้น จะพบแต่ในส่วนไซโตพลาสซึมของเซลล์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่อหุ้มนิวเคลียสของเซลล์ แต่ไม่พบการมีอยู่ของ LINE1 ในนิวเคลียสของเซลล์แม้แต่น้อย

เดวิด กอร์สกี ศัลยแพทย์และนักวิจัยโรคมะเร็ง มหาวิทยาลัย Wayne State University ให้ความเห็นว่า งานวิจัยของมาร์คัส อัลเดนและคณะเป็นการวิจัยกับปรากฏการณ์จำลอง (Artificial) เนื่องจากเซลล์ที่ใช้ในการวิจัยเป็นเซลล์เพาะเลี้ยงให้ห้องปฏิบัติการ และเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งมีปริมาณของ LINE1 มากกว่าเซลล์ปกติของมนุษย์ จึงไม่อาจเปรียบเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเซลล์ของมนุษย์ที่มีสุขภาพแข็งแรงได้

นอกจากนี้ปริมาณวัคซีน mRNA ของ Pfizer-BioNTech ที่ใช้ในการทดลองยังมากกว่าปริมาณที่้ฉีดให้กับคนทั่วไป โดยปริมาณสูงสุดที่ทีมวิจัยใช้คือ 2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และใช้กับเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีจำนวน 2 แสนเซลล์ ส่วนวัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech 1 โดส จะมีปริมาณ mRNA อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อผู้รับวัคซีน 1 คน

งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Lund University เป็นการต่อยอดงานวิจัยของลิกัว จางและคณะจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่สร้างข้อโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว โดยเผยแพร่ทางวารสารงานวิจัย PNAS เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2021

ทีมวิจัยได้นำเซลล์ไตตัวอ่อนมนุษย์ซึ่งถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมาเพิ่มปริมาณยีน LINE1 ก่อนจะทำให้เซลล์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลปรากฏว่า DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของไวรัส ถูกพบในจีโนมของเซลล์ และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของไวรัส จะเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื้อของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เช่นกัน

อย่างไรก็ดี จากการทดลองซ้ำโดยนักวิทยาศาสตร์หลายสำนัก ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจีโนมตามที่ทีมวิจัยกล่าวอ้าง และสรุปว่าการวิจัยของลิกัว จางและคณะ เป็นงานวิจัยกับปรากฏการณ์จำลอง (Artificial) ไม่สามารถอ้างอิงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับวัคซีนจริงๆ โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำการตรวจสอบสรุปว่า โอกาสที่ DNA ที่ถูกสังเคราะห์จาก RNA ของไวรัส จะเข้าไปอยู่ในจีโนมของผู้ติดเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้นได้ยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/study-lund-university-didnt-show-covid-19-mrna-vaccines-change-dna-epoch-times/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

ญาติคาใจ ตำรวจทำเกินกว่าเหตุ

เหตุการณ์ตำรวจ สภ.จอหอ จังหวัดนครราชสีมา ขับรถกระบะไล่ล่า เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์คนร้ายคดีลักทรัพย์ จนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ญาติคาใจการทำหน้าที่ของตำรวจว่า น่าจะทำเกินกว่าเหตุ ไม่เป็นไปตามยุทธวิธี ล่าสุด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา สั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว

คลี่ปมฆ่าโหดหนุ่มไทใหญ่ ทิ้งศพเชียงใหม่

ขมวดปมเข้ามาเรื่อยๆ สำหรับคดีฆ่าโหดใช้ค้อนปอนด์ทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ลากขึ้นรถนำศพไปทิ้งที่ อ.แม่ริม เชียงใหม่ ล่าสุดเจ้าหน้าที่แกะรอยกล้องวงจรปิด พบรถที่กลุ่มคนร้ายใช้ขนศพ จ่อออกหมายจับอย่างน้อย 3 คน คาดปมสังหารจากเรื่องทะเลาะวิวาท

ไฟไหม้โกดังพระราม 2 เหตุร้อนจัด สารเคมีติดไฟเอง

กระทรวงอุตสาหกรรม เผยสาเหตุไฟไหม้โกดังย่านพระราม 2 มาจากอากาศร้อนจัด ทำให้สารไทโอยูเรียไดออกไซด์ติดไฟเอง เตือนสถานประกอบการให้แยกสารเคมีที่ติดไฟเองได้หรือสามารถทำปฏิกิริยาออกจากกัน หวั่นเกิดเหตุซ้ำ เพราะอากาศยังคงร้อนจัดต่อเนื่อง

ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย ปรับลดดอกเบี้ย MRR

นายกฯ ขอบคุณสมาคมธนาคารไทย หั่นดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และ SME