ชัวร์ก่อนแชร์: Molnupiravir ยาต้านไวรัสรักษาโควิด 19 หายภายใน 5 วัน จริงหรือ?

2 มิถุนายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ

ประเภทข่าวปลอม: ไม่มีหลักฐานยืนยัน


บทสรุป:

1.ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 พบว่า Molnupiravir ได้ผลดีกับผู้รับเชื้อโควิด 19 ไม่เกิน 5 วัน แต่ไม่มีผลทางการรักษากับผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล
2.ประสิทธิภาพของยายังต้องรอผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ต่อไป


ข้อมูลที่ถูกแชร์:

เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับ Molnupiravir ยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองโดย Merck บริษัทผู้ผลิตยาในประเทศสหรัฐอเมริกา

หนึ่งในข้อความอวดอ้างสรรพคุณของ Molnupiravir คือข้อความจาก Facebook ซึ่งส่งต่อกันในไต้หวันช่วงต้นเดือนเมษายน โดยข้อความระบุว่าบริษัทผู้ผลิตยาจากอเมริกา ได้ผลิตยาต้านไวรัสโควิด 19 ชนิดน้ำในชื่อ Molnupiravir ผู้ป่วยสามารถกินยาอยู่กับบ้านและเชื้อจะหมดไปจากร่างกายภายใน 5 วัน ตัวยาผ่านการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทดลองในมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 100% การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ใกล้จะเสร็จสิ้นและได้ผลที่น่าพอใจ คาดว่าจะวางจำหน่ายในท้องตลาดในอีก 4 ถึง 5 เดือนข้างหน้า และต่อไปโควิด 19 จะรักษาได้เองที่บ้านไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดา


FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:

ข้ออ้างเกี่ยวกับ Molnupiravir ที่ถูกแชร์เหล่านี้มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหลายประการ แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้

1.Molnupiravir เป็นยาต้านไวรัสโควิด 19 ชนิดน้ำ – ไม่เป็นความจริง

บริษัท Merck ระบุว่า Molnupiravir เป็นยาต้านไวรัสโควิด 19 ชนิดเม็ด ไม่ใช่ยาต้านไวรัสชนิดน้ำอย่างที่กล่าวอ้าง

2.การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของ Molnupiravir ใกล้จะเสร็จสิ้นและได้ผลที่น่าพอใจ – ไม่เป็นความจริง

เมื่อวันที่ 15 เมษายน Merck ได้เผยแพร่ความคืบหน้าการทดลองยาต้านไวรัสโควิด 19 Molnupiravir ทางเว็บไซต์ โดยบริษัทเตรียมทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 กับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ยังไม่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้นการทดลองยังไม่ใกล้ที่จะได้ผลสรุปตามที่กล่าวอ้าง

3.การทดลอง Molnupiravir ในมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 100% – ไม่เป็นความจริง

ในการทดลองยา Molnupiravir มีการแบ่งผู้ทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม MOVe-OUT ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 ระยะแรกซึ่งยังไม่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และกลุ่ม MOVe-IN ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล

ผลการทดลองพบว่าการใช้ยา Molnupiravir ได้ผลดีกับกลุ่ม MOVe-OUT และจะทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 กับกลุ่มนี้ต่อไป แต่จะไม่ทำการทดลองต่อกับกลุ่ม MOVe-IN หรือกลุ่มผู้ป่วยมีอาการของโรคมาเป็นเวลานานและรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เพราะการทดลองพบว่าการใช้ยา Molnupiravir ไม่มีผลในรักษากับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เป็นการยืนยันว่า Molnupiravir ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ทุกรายอย่างที่กล่าวอ้าง

4.ผู้ป่วยโควิด 19 สามารถกินยา Molnupiravir อยู่กับบ้านและเชื้อจะหมดไปจากร่างกายภายใน 5 วัน – ไม่มีหลักฐานยืนยัน

รอย เบนส์ หัวหน้าศูนย์วิจัยของ Merck อธิบายกับเว็บไซต์ STAT ว่า ผลการทดลองพบว่า Molnupiravir ได้ผลดีที่สุดกับผู้ที่รับเชื้อโควิด 19 ไม่เกิน 5 วัน ซึ่งการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ทีมวิจัยจะลดระยะเวลาของการติดเชื้อในกลุ่มตัวอย่างจาก 7 วันเหลือ 5 วัน โดยจะให้กลุ่มตัวอย่างรับยาสูงสุดที่ 800 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ซึ่งผลการทดลองคาดว่าจะออกมาในช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคม

ขณะที่สรรพคุณของยายังอยู่ในการทดลอง การอ้างว่า Molnupiravir สามารถกำจัดเชื้อโควิด 19 ได้ภายใน 5 วันจึงเป็นข้ออ้างไม่มีหลักฐานยืนยัน

5.คาดว่า Molnupiravir จะวางจำหน่ายในท้องตลาดในอีก 4 ถึง 5 เดือนข้างหน้า – ไม่มีหลักฐานยืนยัน

ดร.ฉี๋ซิงปัง จากสถาบัน Academia Sinica และสถาบันสุขภาพแห่งไต้หวัน กล่าวว่า Molnupiravir เพิ่งจะเข้าสู่ทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 และต้องทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างอีกประมาณ 3,000 คน

Merck คาดว่า Molnupiravir จะใช้เวลาในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 อีกประมาณ 5 ถึง 6 เดือน และจะสามารถวางจำหน่ายในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 แต่การกล่าวอ้างว่า Molnupiravir จะวางจำหน่ายในอีก 4 ถึง 5 เดือนเป็นการคาดเดาที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน

6.Molnupiravir ทำให้โควิด 19 สามารถรักษาได้เองที่บ้านไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดา – ไม่มีหลักฐานยืนยัน

เฉินฉิวฉี ศาสตราจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย National Taiwan University อธิบายว่า แม้ Molnupiravir จะมีผลการทดลองที่ดี แต่ตัวยายังต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขก่อนจะได้รับการอนุมัติให้ใช้กับประชาชนทั่วไป

เฉินฉิวฉี ย้ำว่าสิ่งท้าทายผู้ผลิตวัคซีนและยาต้านไวรัสในวันนี้ คือไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ที่หายป่วยจากโควิด 19 สายพันธุ์เดิมมาแล้วยังสามารถกลับไปติดเชื้อได้อีก ประสิทธิภาพของยาและวัคซีนในการรับมือกับไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์จึงเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายตั้งคำถาม การอ้างว่า Molnupiravir จะสามารถรักษาโควิด 19 ทุกชนิดได้ จึงเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน

ข้อมูลอ้างอิง:

https://tfc-taiwan.org.tw/articles/5283
https://www.statnews.com/2021/04/15/merck-to-continue-tests-of-covid-pill-but-stop-trial-in-hospitalized-patients/
https://www.merck.com/news/merck-and-ridgeback-biotherapeutics-provide-update-on-progress-of-clinical-development-program-for-molnupiravir-an-investigational-oral-therapeutic-for-the-treatment-of-mild-to-moderate-covid-19/

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิขยับลงอีก 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาฯ ยอดดอยและยอดภูหนาวจัด มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง

ยิงพรานล่าหมูป่า

เพื่อนรับเป็นคนยิงนายพรานวัย 52 อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า

เพื่อนเปิดปากรับสารภาพเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงนายพรานวัย 52 ปี เสียชีวิตในสวนผลไม้ อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า ยืนยันไม่ได้มีปัญหาหรือมีเรื่องกันมาก่อน