“ธรรมนัส” เตรียมตรวจติดตามอุทกภัยภาคเหนือพรุ่งนี้

กรุงเทพฯ 22 ส.ค. – รมว.เกษตรฯ เตรียมเดินทางไปตรวจติดตามอุทกภัยภาคเหนือพรุ่งนี้ สั่งกรมชลประทานจัดจราจรน้ำลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน หวังลดผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนในตัวเมืองสุโขทัย ล่าสุดมีรายงานน้ำท่วม 9 จังหวัดแล้ว


ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันพรุ่งนี้จะเดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์น้ำในภาคเหนือ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสั่งการให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยจากที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำยม-น่าน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ส.ค.67 เวลา 10.00 น.) ที่สถานีวัดน้ำยม Y.20 อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 1,500 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเริ่มลดลง โดยปริมาณน้ำจะไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง ที่สถานีวัดน้ำ Y1C บ้านน้ำโค้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตรา 1,008 ลบ.ม./วินาที ล่าสุดระดับน้ำเริ่มล้นตลิ่งบางแห่ง

ส่วนสถานีวัดน้ำ Y14A อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งอยู่ตอนล่าง มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 640 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย กรมชลประทานได้เฝ้าระวังพร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านประตูระบายน้ำแม่น้ำยม (บ้านหาดสะพานจันทร์) ก่อนจะไหลผ่านตัวเมืองให้อยู่ในอัตรา 540 ลบ.ม./วินาที ด้วยการใช้รับน้ำส่วนหนึ่งผ่านประตูระบายน้ำหกบาท ลงสู่แม่น้ำน่านและแม่น้ำยมสายเก่า ก่อนจะผันไปเก็บไว้ที่พื้นที่หน่วงน้ำทุกบางระกำ ส่วนพื้นที่ด้านท้ายประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์ จะใช้คลองและระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง รับน้ำเข้าไปในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อควบคุมปริมาณไหลผ่านสถานี Y.4 อ.เมืองสุโขทัย ไม่ให้เกิน 460 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชนในตัวเมืองสุโขทัย


สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำน่าน ที่สถานีวัดน้ำ N.64 บ้านผาขวาง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ปริมาณน้ำเริ่มลดลง แต่ที่สถานีวัดน้ำ N.1 สำนักงานป่าไม้ฯ อำเภอเมืองน่าน และสถานีวัดน้ำ N.13A บ้านบุญนาค อำเภอเวียงสา ปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีปริมาณน้ำทางตอนบนไหลมาสมทบ ส่งผลให้มีน้ำล้นตลิ่งบริเวณ อำเภอเมืองน่าน และอำเภอเวียงสา กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2567) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 45,430 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 60% ของความจุรวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 30,907 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลักได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 12,420 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุรวมกัน ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 12,451 ล้าน ลบ.ม.

จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนภาคเหนือและประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 22 – 24 สิงหาคม 2567 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นในช่วงวันที่ 24 – 27 สิงหาคม 2567 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น จึงจะมีฝนตกเพิ่มจึงสั่งการให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยงอย่างใกล้ชิด


ล่าสุดกรมชลประทานรายงานว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย 9 จังหวัดได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน พิษณุโลก แพร่ อุดรธานี บึงกาฬ นครพนม และสุพรรณบุรี กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานจะติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง พร้อมนำข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณฝน และปริมาณน้ำท่าจากสถานีโทรมาตร มาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและสอดคล้องกับสถานการณ์ มีการจัดจราจรน้ำให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จัดเตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือได้แก่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องจักรสนับสนุนอื่น ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อให้พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ตลอดจนบูรณาการร่วมกับจังหวัด องค์กรปกครองท้องถิ่น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทานปฏิบัติตาม 10 มาตรการรองรับฤดูฝนปี 67 ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด. -512-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน