เร่งลบประวัติอาชญากร คืนชีวิตให้ผู้บริสุทธิ์

ท่าพระจันทร์ 27 มิ.ย.- “บิ๊กโจ๊ก” เร่งลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ประชาชนที่ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลยในคดีต่างๆ หลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือ ศาลพิพากษายกฟ้อง แต่บางส่วนยังมีประวัติค้างอยู่ในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้ถูกตัดโอกาสการทำงานและเริ่มต้นชีวิตใหม่


ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าว “การเปลี่ยนแปลงระบบทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์”

โดยผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. ปริญญา กล่าวว่า ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 เมื่อมีการกระทำผิดในคดีอาญาเกิดขึ้น เบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหา หรือ จำเลย ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา แต่กลับกันในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ก่อเหตุถูกแจ้งดำเนินคดี จะมีการพิมพ์ลายนิ้วมือจัดเก็บเพื่อลง ไว้ในฐานข้อมูลของกองทะเบียนประวัติอาชญากร เลย แต่ต่อมาเมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องหรือศาลพิพากษายกฟ้อง กลับไม่ได้นำรายชื่อของผู้ต้องหาหรือจำเลยออกจากทะเบียนประวัติอาชญากรโดยอัตโนมัติ แต่สถานีตำรวจเจ้าของคดีต้องรายงานผลคดีมายังกองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อคัดรายชื่อออก เป็นรายบุคคล ทำให้เกิดปัญหาล่าช้า เพราะในแต่ละปีมีคดีอาญาเกิดขึ้นประมาณ 800,000 คดี แต่มีการลบชื่อออกจากระบบได้เพียงปีละ 100,000 คดี เท่านั้น และจากข้อมูล ที่ผ่านมาทำให้มีข้อมูลของบุคคลที่ยังไม่ถูกลบ หรือ ถอด ออกจาก ทะเบียนประวัติอาชญากรประมาณ 13 ล้านคน ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงกระทบต่อสิทธิ์ ของประชาชน ผู้บริสุทธิ์ และ เสียโอกาสในการสมัครงาน เพราะยังมีรายชื่อติด ในระบบทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ หารือและแก้ไขระเบียบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ.2566 และมีการประกาศ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 และมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา


ทั้งนี้ระเบียบฉบับ นี้มีการแก้ไขปรับปรุงการจัดเก็บประวัติบุคคลออกเป็น 3 ระเบียบ เช่น เมื่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา แต่ยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล หรือ มีการฟ้องต่อศาล แต่คดียังไม่ถึงที่สุด จะมีการพิมพ์มือลงบันทึกในทะเบียนประวัติผู้ต้องหา ห้ามเปิดเผยเว้นแต่ใช้ในเพื่องานสืบสวนสอบสวน งานสมัครเข้ารับราชการงานสำนักพระราชวัง แต่เมื่อใดที่บุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด โดยศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือรอการลงโทษ หรือมีโทษปรับ หรือกักขัง รวมถึงกระทำผิดโดยประมาท กระทำผิดในลักษณะเป็นภัยต่อสังคม การพิมพ์มือ จะเปลี่ยน จากการลงทะเบียนประวัติผู้ต้องหามาเป็นลงทะเบียนประวัติ ผู้กระทำความผิดที่มิใช่อาชญากร แต่เมื่อบุคคลใด ถูกศาลพิพากษา ถึงที่สุดว่ากระทำความผิด โดยลงโทษจำคุกเกินกว่า 1 เดือนขึ้นไป โดยไม่รอการลงโทษ ยกเว้นการกระทำผิดโดยประมาท การลงทะเบียนประวัติ ผู้ต้องหาจะถูกเปลี่ยนมาเป็นทะเบียนประวัติอาชญากรทันที

ด้าน พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากระเบียบนี้มีผลบังคับใช้แล้ว 1 เดือน ตำรวจสามารถลบรายชื่อในทะเบียนประวัติอาชญากรได้แล้วกว่า 10 ล้านคน เหลือประมาณ 3.7 ล้านคน รายที่คดียังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการคืนสิทธิ์ให้กับประชาชนอย่างแท้จริง โดยประชาชนสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรของตัวเองได้ที่โรงพักทั่วประเทศ และหลังจากนี้หากศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง หรืออัยการสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว กองทะเบียนประวัติอาชญากรจะส่งเอกสารไปยังโรงพักทั่วประเทศ เพื่อให้สายตรวจนำเอกสารไปแจ้งให้ประชาชนถึงบ้าน ปัจจุบันได้แจ้งไปแล้วประมาณ 600,000 ราย นอกจากนี้ ตำรวจอยู่ระหว่างการจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อประวัติอาชญากรของตัวเองได้ด้วยตัวเองคาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังจะยังคงเก็บข้อมูลบางส่วนของกลุ่มที่มีการกระทำความผิดซ้ำ เป็นคดีที่เกี่ยวกับเพศ อาชญากรต่อเนื่อง หรือเกี่ยวกับความมั่นคง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจ แต่จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ยืนยันว่าไม่เป็นการกระทบสิทธิ์ของประชาชนอย่างแน่นอน


สำหรับประชาชน ที่ได้รับการลบประวัติอาชญากรตามระเบียบใหม่ ได้กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ สามารถสมัครงานได้ตามที่ตัวเองต้องการไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือเดินทางไปต่างประเทศ จึงถือว่าเป็นโครงการที่ดี และเชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยลดการก่ออาชญากรรมซ้ำซ้อนได้แน่นอน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด

ภาษีสหรัฐ

นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปแก้ปัญหาภาษีสหรัฐ 8 เม.ย.นี้

“จิรายุ” ระบุฝ่ายค้านบางพรรคน่าจะตกข่าว เพิ่งมาเสนอให้นายกฯ ตั้ง คกก.แก้ปัญหาภาษีสหรัฐฯ ทั้งที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ “ทรัมป์” ยังไม่ได้รับตำแหน่ง บอก 8 เม.ย.นี้ นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปทั้งหมด ที่ทำเนียบฯ

ตึกถล่ม

ปูพรมค้นหาทุกจุด ตึก สตง.ถล่ม

ปฏิบัติการปูพรมทุกจุด ค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม ได้กลิ่นค่อนข้างแรง พบลักษณะคล้ายน้ำเหลืองและคราบเลือดในโซน B แต่ก็ยังไม่สามารถทลายปูนและตัดเหล็กเข้าไปได้