ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐถามประวัติวัคซีนโควิดผู้บริจาคเลือด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ต้องการข้อมูลการฉีดวัคซีนของผู้บริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการรับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนเชื้อเป็นก่อนเวลาอันควร ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อเป็น

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : หินปูนในเยื่อบุตา

24 มีนาคม 2567 หินปูนใต้เปลือกตาคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มผิดปกติ จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes เพิ่มขึ้นเพิ่มยับยั้งไวรัสโควิด-19 แต่จะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

20 มีนาคม 2567 – โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยเสี่ยงคืออะไรต่อการเกิดโรคมีอะไรบ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร​์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CONTINUALHAIL ? — อาการที่ AI ก็เป็นได้ จนน่าขนลุก !

23 มีนาคม 2567 สิ่งนี้… เป็นความผิดปกติทางการรับรู้ จนทำให้เกิดความสับสน และสิ่งนี้… ส่งผลให้เกิดความเชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แก้ปวดหลัง

22 มีนาคม 2567 – แก้ปวดหลัง ด้วยวิธีไหนจะได้ผลที่สุด แล้วอาการปวดหลังแบบไหน เป็นสัญญาณอันตรายว่าควรต้องพบแพทย์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้เลือดเปลี่ยนสี จริงหรือ?

สีของเลือดขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง เลือดในหลอดเลือดแดงซึ่งมีออกซิเจนสูง เลือดจะเป็นสีแดงสด เลือดในหลอดเลือดดำซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เลือดจะเป็นสีแดงคล้ำ

ชัวร์ก่อนแชร์ : 12 ประโยชน์ของมะม่วง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความแนะนำ 12 ประโยชน์ของมะม่วง เช่น ช่วยควบคุมความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ รักษาสิว บำรุงผิว บำรุงสมอง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “มะม่วง 12 คุณประโยชน์” ที่แชร์กัน จริงบางส่วน ในมะม่วงมีวิตามินซีค่อนข้างสูง สารอาหารมีบ้าง แต่มีเล็กน้อย ส่วนการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา ไม่เป็นความจริง ข้อ 1. “ควบคุมความดันโลหิต” ได้ เพราะมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ? ไม่จริงเลย โพแทสเซียมมีไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ส่วนแมกนีเซียมมีน้อยมาก ข้อ 2. “มีวิตามินอี” เสริมสร้างฮอร์โมนเพศ ? ไม่จริง เพราะในมะม่วงมีวิตามินอี 0.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ข้อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เสาหลักแห่งการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จริงหรือ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับเสาหลักแห่งการป้องกันอัลไซเมอร์ ตั้งแต่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไปจนถึงให้อยู่ในสภาวะเครียดน้อยที่สุด 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เสาหลักแห่งการป้องกันอัลไซเมอร์ที่แชร์กันนี้ โดยภาพรวมก็ใช้ได้ เป็นแนวทางการป้องกันที่ทุกข้อมีหลักฐานอยู่ ข้อ 1 : ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ 50% ? โดยปกติแล้วแต่ละข้อมีน้ำหนักในการป้องกัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1 เท่ากว่าถึง 2 เท่า   ถ้าจะบอกว่าลดลงมา 50% แปลว่าต้องลดลงไป 2 เท่า ทุกข้อจริง ๆ ก็ไม่ถึงขนาดนั้น แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งขึ้นไปก็ช่วยได้ เป็นการสะสมประมาณสัปดาห์ละ 150 นาที ถ้าออกกำลังกาย 3 ครั้ง (ต่อสัปดาห์) ครั้งละประมาณ 45-50 นาที ถ้าออกกำลังกาย 5 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อันตรายใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปบอกว่า ห้ามใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันของทอด เพราะมีสารอันตรายต่าง ๆ จากกระดาษ เช่น สารไดออกซินจากคลอรีนที่ใช้ในการฟอกกระดาษ เรื่องนี้จริงหรือไม่  🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องนี้ต้องดูก่อนว่า “กระดาษทิชชู” (tissue paper) มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และกระดาษทิชชูก็มีหลายระดับ หลายเกรด “ทิชชู” นอกจากมีเส้นใยแล้วยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นเคมีใส่ลงไป เพื่อให้ฟังก์ชันการทำงานดีขึ้น เช่น อาจจะทำให้เส้นใยมีความแข็งแรงขึ้นก็ได้ ขณะเดียวกันอาจมีสารปนเปื้อน (เช่น มาจากเส้นใยที่รีไซเคิล) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย ดังนั้น ควรทำความรู้จัก “กระดาษทิชชู”แต่ละชนิดก่อน ว่าเป็นเกรดไหน และอนุญาตให้สัมผัสอาหาร (Food Grade) ได้หรือไม่ กระบวนการผลิตกระดาษทิชชู มีการใช้โซดาไฟ หรือคลอรีน เป็นสารฟอกขาว จริงไหม ? การฟอกคือการกำจัดลิกนิน (Lignin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เส้นใยเกาะติดกันออกไป ทำให้กระดาษมีความขาวมากขึ้น สารประกอบกลุ่มคลอรีน เข้าใจว่ามีการหาสารกลุ่มอื่นทดแทน เพื่อลดโอกาสเกิดสารปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ขึ้นอยู่กับเกรดกระดาษด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สรรพคุณของใบมะม่วง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 สรรพคุณของใบมะม่วง มีตั้งแต่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดไปจนถึงช่วยรักษาโรคบิด 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ภกญ.ศวิตา จิวจินดา ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สรรพคุณของใบมะม่วง 10 อย่างที่แชร์กัน เป็นแนวทางของ “อายุรเวท” ซึ่งเป็นศาสตร์แพทย์แผนโบราณของอินเดีย บางฤทธิ์มีการศึกษาที่รับรองผลของการใช้ในแบบอายุรเวท แต่บางฤทธิ์ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการศึกษารองรับ ใบมะม่วง : ควบคุมโรคเบาหวานได้ จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดของใบมะม่วงสามารถยับยั้งเอนไซม์ในลำไส้เล็ก จะช่วยชะลอการดูดซึมของกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้น สามารถชะลอการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในด้านความปลอดภัย ใบมะม่วงสด (ยอดอ่อน) กินเป็นอาหารอยู่แล้ว จากการศึกษาความเป็นพิษในหนูทดลอง พบว่าสารสกัดของใบมะม่วงมีความปลอดภัย สามารถกินได้ ถ้าไม่กินมากเกินไปก็ไม่มีอัตรายต่อร่างกาย ไม่ควรนำใบมะม่วงมาเป็นการรักษาหลักของโรคเบาหวาน ? หากต้องการใช้ใบมะม่วงรักษาโรคเบาหวาน ควรเป็นการรักษาร่วม และปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้วย ส่วนตัวคิดว่าควรจะรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน และอย่าได้คาดหวังกับชาใบมะม่วงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่ทุกคนพึงปฏิบัติก็คือการปรับพฤติกรรมสุขภาพ (เรื่องอาหาร วิธีการกิน และการออกกำลังกาย) ใบมะม่วง : สลายนิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไตได้ ? เรื่องนี้ยังไม่มีการวิจัย จึงไม่แนะนำให้ทำตาม ใบมะม่วง : ช่วยเรื่องระบบทางเดินหายใจ ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หม้อทอดไร้น้ำมัน ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปข่าวเตือนว่า หม้อทอดไร้น้ำมัน หรือ Air Fryer ที่หลายคนนิยมใช้ ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็งได้ โดยอ้างอิงคำเตือนจากฮ่องกง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล หม้อทอดไร้น้ำมันทำให้อาหารเกิดสารก่อมะเร็ง… “จริง” เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารด้วย ที่สำคัญก็คือ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการปรุงอาหาร ถ้าอุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นเกิน 120 องศาเซลเซียสมาก ๆ หรือว่าใช้ระยะเวลายาวนานเกินไป สารก่อมะเร็งก็จะเกิดขึ้นได้สูงตามมา จากข่าวที่รายงานในฮ่องกง เป็นผลการทดลองหม้อทอดไร้น้ำมันกับมันฝรั่ง ได้ผลพบว่าเกิดสารอะคริลาไมด์ปริมาณสูง ? มันฝรั่งเป็นพืชกลุ่มแป้ง จะมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “แอสพาราจีน” (asparagine : Asn) อยู่สูง ประกอบกับปริมาณน้ำตาลในมันฝรั่งสูง เมื่อความร้อนที่ใช้ประกอบอาหารสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส สามารถทำให้เกิดสารก่อมะเร็งกลุ่มที่เรียกว่าอะคริลาไมด์ (acrylamide) ได้ “อะคริลาไมด์” เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี ที่เรียกว่าปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) หรือปฏิกิริยาสีน้ำตาล ยิ่งน้ำตาลไหม้เกรียมมาก สารอะคริลาไมด์ก็จะมีอยู่มากเช่นกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่า […]

1 41 42 43 44 45 277
...