ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณแร็กพวงมาลัยเสีย จริงหรือ ?

19 มีนาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์อาการที่บอกว่า แร็กพวงมาลัยของรถยนต์เสีย เช่น พวงมาลัยหนักขึ้น และ มีน้ำมันรั่วซึม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ 00:49 อาการที่ 1 : วิ่งทางขรุขระ ช่วงล่างมีเสียงดัง 01:21 อาการที่ 2 : หักเลี้ยวสุดแล้วมีเสียงดัง 02:36 อาการที่ 3 : มีน้ำมันรั่วซึม 03:38 อาการที่ 4 : พวงมาลัยหนัก สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดอาหารห้ามกินคู่กัน จริงหรือ ?

20 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดคู่อาหารอันตราย ทั้งห้ามกินเต้าหู้คู่น้ำผึ้ง เพราะจะทำให้หูหนวก และการกินปูตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วย อาจทำให้ถึงตายได้ ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เภสัชกรหญิง พัณณิตา บุญเคลิ้ม กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: CDC ยอมรับผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดตันจะเพิ่มขึ้นเพราะวัคซีนโควิด จริงหรือ?

ปัจจัยทำให้ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของประชากรสูงวัยและผู้ป่วยโรคอ้วน ไม่เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 นอกจากนี้การติดเชื้อโควิด-19 ยังเพิ่มความเสี่ยงการเป็นลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง มีน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปสาธิตและเตือนให้ระวังน้ำตาลปริมาณมากในนมจืด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.สุวภัทร กิตติบัญชากุล อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้จริง ในนมจืดก็มีน้ำตาล แต่เป็นน้ำตาลแล็กโทสที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ได้เป็นน้ำตาลที่มาจากการเติม สำหรับคนที่ดื่มนมอยู่แล้ว อย่ากลัวหรือสับสนจนไม่กล้าดื่มนม เพราะจริง ๆ แล้ว นมยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ร่างกายต้องการ และก็มีประโยชน์มาก ๆ น้ำตาลในอาหาร มีอย่างน้อย 2 แบบ ? น้ำตาลที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น น้ำตาลแล็กโทส (lactose) ในนม หรือว่าน้ำตาลฟรักโทส (fructose) ในผลไม้ หรือน้ำตาลมอลโทส (maltose) ในมอลต์ กับอีกประเภทหนึ่งก็คือน้ำตาลที่ถูกเติมลงไป นมจืดไม่ค่อยหวาน แม้มีน้ำตาล ? ในนมมีน้ำตาลอยู่แล้ว แต่ที่ไม่รู้สึกว่าหวาน เพราะน้ำตาลแล็กโทสมีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 3 เท่า แต่เมื่อดูฉลากโภชนาการแล้วตกใจว่า จริง ๆ แล้วมีน้ำตาลในนมด้วย น้ำตาลแล็กโทสในนมสามารถย่อยได้ ไม่รบกวนกับระดับน้ำตาลในเลือดมากนักเมื่อเทียบกับน้ำตาลกลูโคส (glucose) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผงชูรส กับบัญชีดำ 8 อาหารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ แชร์คำเตือนว่า ผงชูรสเป็นอันดับหนึ่งในการก่อมะเร็ง และเป็น 1 ใน 8 ของอาหารในบัญชีดำอาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เรื่องนี้จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ศูนย์กุมารชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาหารบัญชีดำที่แชร์เหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุของมะเร็งแต่อย่างใดเลย บัญชีดำก็คิดขึ้นเอง ส่งต่อไปเรื่อย ๆ ดูมันเท่ดีมากกว่า แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารแล้ว เราไม่สามารถที่จะกินสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเดียวกันในปริมาณมากจนเกิดมะเร็งได้ บัญชีดำ : ผงชูรส ? ผงชูรสไม่ใช่สารพิษ เป็นสารธรรมชาติ “โมโนโซเดียม” กับ “กลูตาเมต” “กลูตาเมต” (glutamate) เป็นส่วนพื้นฐานของโปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืช “โซเดียม” (sodium)  เป็นโซเดียมชนิดเดียวกับเกลือแกง แน่นอนถ้ากินอาหารกลุ่มนี้มากเกินไป เช่น กินเกลือมากเกินไปก็มีพิษได้ กินทุกวันก็ไม่มีปัญหา มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ว่าผงชูรสเกี่ยวกับมะเร็งหรือไม่ ทั้งในสัตว์ทดลองและในคนที่กินผงชูรสต่อเนื่อง ก็ไม่พบว่าเป็นมะเร็งมากไปกว่าคนที่กินอาหารทั่ว ๆ ไปแต่อย่างใด ผงชูรสมีผลเสียต่อสุขภาพไหม ? ตอบว่า “มี”… […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด พบได้ในคนกลุ่มไหน 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “พาร์กินสัน” (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่าโดพามีน (dopamine) ลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลายเรื่องทางด้านการเคลื่อนไหว 4 อาการหลัก ได้แก่ (1) อาการสั่น (2) การเคลื่อนไหวช้า (3) เกร็ง (4) เดินลำบาก ปัจจุบันมีความรู้มากมายพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอย่าง โรคพาร์กินสันมีสาเหตุหลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมารวมกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เคยได้รับสารพิษปราบศัตรูพืช และอายุที่มากขึ้นก็มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันหรือไม่ ? ต้องบอกว่าความเสี่ยงของคนที่มีญาติสายตรงเป็นพาร์กินสันเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงทุกคนจะต้องเป็นเสมอไป ยีนในปัจจุบันมีหลายแบบมาก ความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เท่ากัน ที่สำคัญคือร่างกายคนเรามีความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง การมียีนไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีอาการเสมอไป เพราะมีปัจจัยร่วมต่าง ๆ อีกหลายอย่าง โรคพาร์กินสันจะเกิดได้ในคนอายุเท่าไหร่ ? ตามสถิติที่เก็บในประเทศไทยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิดเป็นอันตรายต่อผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

ผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้ เพราะอาการลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนหรือ VITT มีความแตกต่างจากลิ่มเลือดอุดตันทั่วไป ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไรขนตา

ไรขนตาคืออะไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และมีวิธีการป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ไรขนตา” ชื่อทางการแพทย์เรียกว่า Demodex folliculorum เป็นปรสิตขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่พบได้บริเวณขนตาของมนุษย์ กรณีดึงขนตาออกมา แล้วนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีโอกาสพบไรขนตาได้สูงเกิน 60-70 เปอร์เซ็นต์ เช่น ผู้สูงอายุ หรือคนที่ดูแลความสะอาดบริเวณขนตาหรือเปลือกตาไม่ดี ในผู้ใหญ่สามารถพบไรขนตาได้ที่บริเวณรูขนตา แต่โดยทั่วไปของคนเกิน 80-90 เปอร์เซ็นต์ มักจะไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีปริมาณไม่มากก็ไม่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอะไร สำหรับในคนที่มีไรขนตาจำนวนมาก อาจทำให้เกิดภาวะเปลือกตาอักเสบ หรือขนตาอักเสบได้ ทำให้เกิดความผิดปกติของดวงตา เช่น เคือง คันบริเวณขอบเปลือกตา รวมไปถึงอาจมีอาการแดงและขนตาร่วง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรังแคเกาะบริเวณขนตา ประกอบด้วยตัวไรเองหรือเซลล์เศษเนื้อเยื่อบริเวณเปลือกตาที่หลุดติดขนตาจากการทำลายของไรขนตาได้ “ไรขนตา” เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร “ไรขนตา” แม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดขนาดเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณดวงตา แต่ช่วงนี้คนที่มีปัญหาเรื่องไรขนตาเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มของจำนวนตัวไรมากผิดปกติบริเวณเปลือกตา ทำให้เปลือกตาอักเสบ ปัญหาไรขนตาเกิดจากหลายปัจจัย ที่สำคัญเป็นเรื่องการดูแลความสะอาดที่บริเวณขนตาหรือเปลือกตาไม่ดี รวมทั้งการใช้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปสัมผัส เช่น การต่อขนตา การติดขนตาปลอม ป้องกันไม่ให้เกิดไรขนตาได้อย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 ประโยชน์ของไข่ต้ม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิป 9 ประโยชน์ของไข่ต้ม เช่น ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงกระดูก เล็บ เส้นผม สายตา สมอง และ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประโยชน์ของไข่ต้ม 9 ข้อที่แชร์กันนี้ “จริง” “ไข่ต้ม” เป็นอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ ราคาถูก และหากินได้ง่ายด้วย ข้อ 1 : ไข่ต้มอุดมด้วยสารอาหารที่จำเป็น ? จริง… ไข่ต้มให้สารอาหารหลักคือ “โปรตีน” นั่นเอง แต่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ มีวิตามิน แร่ธาตุ รวมถึงในกลุ่มต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่ช่วยดูแลสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย ถ้ามีสุขภาพแข็งแรงดีโดยไม่มีโรคประจำตัวอะไร ก็สามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ถ้ามั่นใจว่าไม่ได้มีปัญหาเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ควรกินยาละลายลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันคือวัคซีนชนิด Viral Vector ไม่ใช่ชนิดวัคซีน mRNA หรือชนิดเชื้อตาย ไม่แนะนำให้กินยาละลายลิ่มเลือดด้วยตัวเอง เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณ อาการ และการรักษาภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

15 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร อาการเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อาการจอประสาทตาหลุดลอก โรคจอตาหลุดลอก คือ ภาวะที่มีการลอกตัวของจอตาออกจากผนังด้านในของลูกตา เกิดจาก มีการฉีกขาดของจอตาทำให้น้ำในน้ำวุ้นตาไหลผ่านรอยฉีกหรือรูรั่วที่จอประสาทตาเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างชั้นจอประสาทตา และผนังด้านหลังของตา นอกจากนี้ยังมีโรคจอประสาทตาลอกซึ่งเกิดจากโรคทางดวงตาอื่น ๆ เช่น การอักเสบอย่างรุนแรงหรือจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน  โรคจอประสาทตาเสื่อมประเภทนี้จะไม่มีรูรั่วที่จะประสาทตา การรักษาจึงต้องมุ่งไปที่สาเหตุของโรคเป็นสำคัญ วิธีสังเกตอาการ 1. เห็นเงาดำเป็นจุดหรือเห็นหยากไย่ที่เกิดขึ้นโดยทันที หรือหากเคยเห็นอยู่ก่อนแล้วจะเห็นเพิ่มมากขึ้น 2. มีฟ้าแล่บเกิดในลูกตา ทั้งขณะลืมตาหรือหลับตา 3. มีเงาคล้ายม่านดำมาบัง ทำให้สายตามัวและมืดลงในที่สุด เมื่อเกิดอาการดังกล่าว แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างละเอียดทันที เพื่อตรวจดูว่ามีรอยฉีกขาดหรือลอกหลุดของจอประสาทตาหรือไม่ เพราะหากมีแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเกิดโรคจอประสาทตาลอกหลุดขั้นรุนแรงจนตาบอดได้ สัมภาษณ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย :

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CANCEL CULTURE ? — วัฒนธรรมบนโซเชียล ที่ส่งผลชั่วข้ามคืน

16 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นวัฒนธรรมที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบัน จนกลายเป็นเรื่องปกติในโซเชียลมีเดีย และสิ่งนี้… ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

1 42 43 44 45 46 277
...