ท่าฯอู่ตะเภาจับมือเอไอเอส พัฒนาสมาร์ทแอร์ พอร์ตด้วย 5G

อู่ตะเภา 13 ส.ค. การท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะบมือเอไอเอส วางโครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสาร 5G – WiFi6 เล็งยกระดับสู่เป็นสมาร์ทแอร์พอร์ต  พลเรือโทกฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของ EEC ที่รัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการลงทุนในด้านต่างๆที่ครอบคลุมทุกมิติทั้งการให้บริการสนามบินเชิงพาณิชย์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมการบินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานครทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2561 การท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลสเน็ทเวอร์คจำกัด บริษัท ในเครือของเอไอเอสนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับการให้บริการและการบริหารอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้มีความทันสมัยอาทิการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับผู้โดยสารและระบบวิเคราะห์ภาพวิดีโอหรือ Video Analytics รวมทั้งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารต่างๆเพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการภายในท่าอากาศยานแห่งนี้กระทั่งนำมาสู่การขยายความร่วมมือในครั้งนี้ที่นำเอา 5G Digital Infrastructure เข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสนามบินเพื่ออำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้แก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานรวมถึงเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพการบริหารอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการฟื้นฟูประเทศจากสถานการณ์โควิด -19 ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารเชื่อมโยงและสนับสนุนการเดินทางการขนส่งทางอากาศเพื่อยกระดับสู่อาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่า ความร่วมมือมีระยะเวลา 3 ปี โดยเริ่มจากการศึกษาร่วมกันและทำการพัฒนานำเทคโนโลยีมาใช้จริงโดยจะพิจารณาจากความเหมาะสม เราเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์ปกติจะรองรับนักท่องเที่ยว นักลงทุน ที่เข้ามาในสนามบิน โดยหากมีการขยายเทอมินัลเพิ่มก็จะขยายความร่วมมือต่อไป โดยบริการดิจิทัลที่เอไอเอสนำเข้าไปเสริมศักยภาพให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาระยอง-พัทยาแล้วประกอบด้วย ระบบ Smart Video Analytics Solution เพื่อเสริมระบบบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารด้วยเทคโนโลยีระบบวิเคราะห์และประมวลผลภาพวิดีโออัจฉริยะซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากเครือข่ายกล้องวงจรปิดทั่วอาคารและโปรแกรมวิเคราะห์ประมวลผลภาพปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ใช้เป็นระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคลและสิ่งของ (Face and Object Recognition) ในพื้นที่อาคารสนามบินเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยเช่นกรณีบุคคลหรือวัตถุต้องสงสัย (Unattended Object Detection) แจ้งเตือนกรณีมีวัตถุถูกวางทิ้งไว้เป็นเวลานานผิดปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยและการบริหารจัดการท่าอากาศยานของกองทัพเรือไทย Play Store  แอปพลิเคชัน Thailand Smart Airport อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารด้วยข้อมูลด้านบินและสนามบินหลากหลายในแอปพลิเคชันเดียว อาทิสถานะตารางการบินการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับไฟล์ทเดินทางแผนที่บอกทางภายในสนามบินและรายละเอียดจุดบริการต่างๆในสนามบินด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality-AR โดยนักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ทาง App Store และ were marre  การทำ Thermal Scan ที่จะช่วยตรวจวัดอุณหภูมินักท่องเที่ยวและเชื่อมต่อสู่ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสนามบินราคม ICE in TriuCI / unla การนำหุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE (ROC) มาช่วยคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิดูแลสุขอนามัยนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสนามบินได้อย่างรวดเร็วมีความแม่นยำสูงลดการสัมผัสใกล้ชิดและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สร้างและสร้างความตื่นตัวเรื่องการความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยให้กับผู้โดยสารและผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน เครือข่าย 5G มีความรวดเร็วและมีความเสถียรสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้โดยสารและประชาชนภายในสนามบินตลอดจนรองรับโซลูชั่นการให้บริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาระยอง-พัทยาจ. ระยอง และบริการ Wif 6 มาตรฐาน WiFi ยุคใหม่ที่มีความเร็วสูงที่สุดพร้อมรองรับการใช้งานมือถือและดีไวซ์ได้จำนวนมากช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น-สำนักข่าวไทย.

กูเกิลจัดกิจกรรมเรียนออนไลน์ทุกที่ทั่วโลก

กรุงเทพฯ 13 ส.ค. กูเกิลจัดกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบออนไลน์ทั่วโลกมุ่งสร้างการเรียนรู้จากทุกที่  “The Anywhere School 2020” สนับสนุนและอัปเดตอนาคตด้านการศึกษาจากผู้นำทางความคิด นางแจ็คกี้ หวาง ผู้จัดการประจำประเทศไทย กูเกิลประเทศไทย กล่าวว่า การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจหลักของกูเกิล ตามแนวคิด  “Leave No Thai Behind” เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพนั้นยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นับเป็นอุปสรรคครั้งใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อระบบการศึกษาทั่วโลกจากที่เคยประสบมา   ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่การระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้นสูงสุด องค์การยูเนสโกได้ประมาณการว่าร้อยละ 90 ของนักเรียนทั่วโลกต้องการเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ทางไกลเป็นหลัก ในขณะเดียวกันทั้งครูและอาจารย์ก็ต้องเผชิญความท้าทายในการสอนทางไกล ในส่วนของผู้ปกครองและเด็กก็ต้องปรับตัวกับผลกระทบของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ในช่วงเวลาเพียงชั่วข้ามคืน และต้องหันมาใช้การเรียนการสอนทางไกลรวมทั้งต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน กูเกิลจัดกิจกรรมด้านการศึกษา “The Anywhere School 2020” ในรูปแบบออนไลน์พร้อมกันทั่วโลกขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพและอัปเดตอนาคตด้านการศึกษาจากผู้นำทางความคิดระดับโลก โดยแต่ละประเทศได้มาร่วมแชร์มุมมองเกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาอันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาแบบที่ไม่คาดคิดมาก่อน  ซึ่งงานนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาสามารถเข้ามาร่วมรับฟังได้แบบเรียลไทม์ฟรีเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ในวันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีการสรุปความคิดเห็น ความร่วมมือ และการส่งเสริมด้านการศึกษาจากผู้นำด้านความคิดจากประเทศไทยในประเด็นสำคัญดังนี้  นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการของสำนักงานคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่ากพฐ. ทำหน้าที่ดูแลนักเรียนในระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นโรงเรียนของรัฐบาล  เราให้ความสำคัญในการเรียน การสอน รวมถึงข้อมูลและเครื่องมืออื่นๆ ที่เป็นสื่อการเรียนการสอนของครูที่สามารถทำผ่านระบบออนไลน์  การเรียนของเด็กจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้นจากวันจันทร์ – วันศุกร์  นอกจากนั้นจะเห็นเด็กใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น เราจึงได้ร่วมมือกับ กูเกิลจัดทำโครงการ “Be Internet Awesome” เป็นสื่อที่ให้ความรู้กับเด็กเพื่อให้พวกเขาได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างมั่นใจ และจะช่วยป้องกันภัยออนไลน์ที่อาจจะแฝงมาจากสื่อและสิ่งอันไม่พึงปรารถนา และในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดภาคเรียนได้เราได้ทดลองเตรียมความพร้อมโดยการนำเครื่องมือจาก กูเกิลเข้ามาช่วยในการสื่อสารการเรียนการสอนในระบบออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งทาง กพฐ. ได้สื่อสารและกำชับถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและทุกโรงเรียนว่าต้องเรียนรู้เครื่องมือเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลสื่อให้เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง นายชาตรี ประดุจชนม์ ผู้อำนวยการจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า โรงเรียนของเรามีภารกิจจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีเป้าหมายและอุดมการณ์ที่ตั้งไว้สูง รวมถึงต้องดูแลในลักษณะขอโรงเรียนประจำ ที่มีการดูแลเด็กนักเรียนตลอด 24 ชั่วโมง ในการเรียนการสอนจึงมีความจำเป็นต้องแสวงหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อมาช่วยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เมื่อต้นปีที่แล้วทางโรงเรียนได้ร่วมมือกับกูเกิลประเทศไทย โดยการนำ G Suite for Education  เข้ามาใช้เรื่องการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ รวมทั้งนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อช่วยพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยครูของเราได้รับการเพิ่มพูนทักษะในการสร้างบทเรียนออนไลน์และนำไปสอนผ่าน Google Classroom  ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ที่มีประกาศปิดโรงเรียนนั้น เราได้ร่วมมือกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 โรงเรียน โดยตกลงกันว่าจะสร้างบทเรียนออนไลน์และสอนผ่าน G Suite for Education โดยทำบทเรียนทุกรายวิชาและใช้สอนทุกระดับชั้น อีกทั้งได้ประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองทุกคนด้วยดี ผมประทับใจกับเครื่องมือของ Google โดยเฉพาะGoogle Calendar ที่ใช้ในการนัดหมายประชุมกับครูผู้สอนและบุคลากรของโรงเรียน และสามารถแนบไฟล์เอกสารต่างๆทำให้ลดการใช้กระดาษในการประชุมแต่ละครั้งได้เป็นจำนวนมหาศาล และยังมี Google Meet ที่เราใช้ในการบรรยายสดที่เหล่าคุณครูเองก็ไม่ได้จินตนาการมาก่อนว่าการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีนี้จะเป็นธรรมชาติได้ขนาดนี้ และวันนี้ถึงแม้ว่าทางโรงเรียนได้มีการเปิดเรียนที่โรงเรียนตามปกติแล้ว เราก็ไม่ได้หยุดการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ยังใช้คู่ขนานไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพร้อมในการรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีก พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ประธานมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน กล่าวว่า ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัล มีการใช้ระบบออนไลน์ทั้งด้านการบริหารการเรียนรู้ และการศึกษา ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอนที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน ซึ่งระบบเรียนออนไลน์ช่วยเร่งให้เกิดความเร็วในการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีอายุเท่ากันทั้งหมด รวมทั้งมีช่อง Youtube ที่ทำคลิปสอนหนังสือ หรือโรงเรียนที่เปิดสอนออนไลน์ ครูสามารถส่งลิงก์ข้อมูลให้นักเรียนได้ศึกษาก่อนเข้าเรียนจริงได้อย่างสะดวกสบาย  ในปัจจุบัน เรายังต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน ดังนั้นกูเกิลได้ร่วมมือกับมูลนิธิฯ และกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการ “Be Internet Awesome” เพื่อให้เด็กอายุ 9-12 ปี และผู้ใหญ่ได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่มาจากอินเทอร์เน็ตที่มีทั้งดีและไม่ดี อันไหนคือข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จที่ต้องระมัดระวังตลอดเวลา โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัวของเราที่ต้องการเก็บเป็นความลับ เด็กๆ อาจจะไม่ทราบว่าสิ่งที่เห็นหรือเข้าใจในความถูกต้องหรือไม่ก็สามารถสอบถามผู้ใหญ่ได้ -สำนักข่าวไทย.

ทวิตเตอร์เพิ่มคุณสมบัติใหม่จำกัดคนตอบการสนทนา

กรุงเทพฯ 13 ส.ค. ทวิตเตอร์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ตั้งค่าจำกัดผู้ตอบทวีตบทสนทนา  ทวิตเตอร์ได้ทำการทดสอบการตั้งค่าบทสนทนารูปแบบใหม่เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมบทสนทนาที่สร้างขึ้น โดยผู้ใช้งานทวิตเตอร์สามารถใช้การตั้งค่ารูปแบบใหม่นี้เพื่อจำกัดการตอบทวีตบทสนทนา ป้องกันข้อความตอบกลับที่ไม่ต้องการ เพื่อจะได้ไม่รบกวนบทสนทนาที่มีความสำคัญ วิธีตั้งค่าคือ ก่อนการทวีตข้อความ ให้เลือกว่าใครสามารถตอบกลับทวีตของคุณได้บ้าง 1)   ทุกคน (ซึ่งตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าอัตโนมัติแบบมาตรฐาน) 2)   เฉพาะคนที่ติดตาม และ3)   เฉพาะคนที่เมนชั่น ทวีตที่มีการเลือกตั้งค่าแบบข้อ 2 และ ข้อ 3 จะติดป้ายเฉพาะและสำหรับคนที่ไม่สามารถตอบกลับได้จะเห็นสัญลักษณ์ตอบกลับเป็นสีเทา แต่ถึงแม้ไม่สามารถตอบกลับได้ ผู้ใช้งานทั่วไปยังสามารถอ่านทวีต รีทวีต โควททวีต แชร์ต่อ หรือกดไลค์ได้ทีมงานทวิตเตอร์ได้ทดสอบการตั้งค่านี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยผู้ที่เลือกใช้การตั้งค่าเหล่านี้มักจะใช้ในการสัมภาษณ์การอภิปราย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการประกาศต่างๆ  ซึ่งทีมงานได้เรียนรู้จากการใช้งาน รวมทั้งผลตอบรับที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและจากการทำแบบสำรวจ โดยการตั้งค่ารูปแบบใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นเวลาทวีตข้อความและสามารถเป็นผู้นำในการสนทนานั้นได้อย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ว่าจะจำกัดการตอบกลับ แต่ก็ยังอนุญาตให้คนอื่น สามารถเห็นมุมมองที่แตกต่างของคุณได้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากความคิดเห็นอื่นๆของผู้ใช้งานได้ ทีมงานทวิตเตอร์ยังคงอัปเดตการตั้งค่าต่างๆ อย่างต่อเนื่องจากฟีดแบ็กที่ได้รับจากผู้ใช้งาน และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าทวิตเตอร์กำลังวางแผนที่จะเพิ่มตัวเลือกอื่นๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถเชิญผู้ใช้งานคนอื่นๆ มาร่วมการสนทนาได้หลังจากทวีตข้อความไปแล้ว สามารถล้างการแจ้งเตือนได้เมื่อคุณได้รับเชิญให้เข้าร่วมการสนทนานั้นๆ  และเพิ่มวิธีที่จะทำให้เห็นการสนทนาได้ทั้งหมดอีกด้วย-สำนักข่าวไทย.

เขมทัตต์ฝากซีอีโอใหม่สานต่อพาองค์กรผ่านความเปลี่ยนแปลง

กรุงเทพฯ 11 ส.ค. เขมทัตต์ ฝากผู้บริหารใหม่ สานต่องาน ชี้ซีอีโอใหม่ต้องรอบรู้กฎหมาย การเงิน พร้อมย้ำเงินเยียวยาคืนคลื่น 2600 เมกกะเฮิรตซ์ เต้องข้าสู่ศาล วอนอย่าเอาหนังสือฉบับเดียวมาเป็นตัวตัดสิน นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ในโอกาสจะพ้นจากการดำรงตำแหน่งว่า ช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งเป็นช่วงหลังการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงและองค์กรกำลังเข้าสู่การขาดทุน อสมท ในเวลานั้นเป็นผู้ให้บริการทีวีดิจิทัล และผู้ให้บริการโครงข่ายการออกอากาศทีวีภาคพื้นดิน ขณะเดียวกันเกิดแพลตฟอร์มใหม่เกิดขึ้น เนื่องจากอสมท เป็นองค์กรสื่อที่มีสื่อทั้งวิทยุโทรทัศน์อยู่รวมกันจึงต้องมาจัดระบบกันใหม่ด้วยการเสนอปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อรองรับด้วยการปรับองค์กร อสมท ตระหนักว่าขณะนี้เม็ดเงินจากสัมปทานกำลังจะหมดไป ขณะที่การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อมีการแข่งขันสูงมากขึ้น ต่อมามีมีเดียเกิดใหม่ทั้งโซเชียลมีเดีย และการมาของสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์เริ่มเข้าสู่สื่อออนไลน์มากขึ้น อสมท พยายามปรับโครงสร้างองค์กรรองรับ โดยหาบุคลากรที่มีความสามารถเข้ามาดูแล อสมท เปิดโอกาสคนในและให้คนนอกเข้ามาบริหารงานเกิดเป็นสำนักธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มและสำนักบริหารดิจิทัลแพลตฟอร์ม ฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่พัฒนาเนื้อหาใหม่หาพันธมิตรเพิ่มในการทำสื่อดิจิทัล ฝ่ายหนึ่งนำเนื้อหาเดิมที่มีอยู่มาพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  “การบริหารที่ผ่านมาขับเคลื่อนได้ค่อนช้าเพราะองค์กรเราใหญ่ ติดขัดองคาพยพหลายอย่าง เงินทุนเราไม่เพียงพอที่จะทำงานได้อย่างคล่องตัว แต่อสมท ได้เตรียมตัวปรับตัวให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยกำลังจะเปิดตัวดิจิทัลแพลตฟอร์ใหม่ คิดว่ายังทำงานไม่ครบตามที่ตั้งใจ เวลาน้อยมาก ต้องแก้ปัญหาทั้งโครงสร้างภายใน การเปลี่ยนแปลงแนวคิด การหาพันธมิตร ช่วงที่เข้ามพันธมิตรที่เคยทำรายการให้เราหายไปหมด เอเจนซี่ก็ตามพันธมิตรเราไป ทำให้เราต้องควักเงินทำรายการ ทำคอนเทนท์ใหม่ […]

เอไอเอส ผนึกนาดาว ชูเทคโนโลยีเสมือนจริง รุกอุตสาหกรรมบันเทิง

กรุงเทพฯ 10 ส.ค. เอไอเอส ผนึก นาดาว บางกอก ผลิตคอนเทนท์ ขับเคลื่อน 5G  ด้วยวีอาร์ไลฟ์สตรีมมิ่ง นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า  ความร่วมมือที่เกิดขึ้นเป็นการต่อยอดศักยภาพและขยายประโยชน์ของ 5G เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtual Reality หรือ VR และคอนเทนต์ที่ถูกผลิตมาเพื่อรับชมในรูปแบบ VR โดยเฉพาะ เมื่อเปิดคอนเทนต์ผ่านแว่น AIS VR 4K บนเครือข่าย 5G จะได้รับประสบการณ์การรับชมคอนเทนต์บนโลกเสมือนจริงอย่างเต็มป ระสิทธิภาพ ให้ความคมชัด ทั้งสนุกกว่า สมจริงกว่า กับคอนเทนต์ได้มากกว่า นับเป็นการบุกเบิกและสร้างโอกาสการเติบโตไปอีกขั้นให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงไทย และเปิดมิติใหม่ของการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้กับประเทศ เอไอเอสเข้ามาในอุตสาหกรรมบันเทิงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยการผลิตคอนเทนต์ในลักษณะ Co-Creation ภายใต้ชื่อ AIS VR Originalsโดยร่วมมือกับพันธมิตรในวงการ ทั้งค่ายผลิตคอนเทนต์ชื่อดังพันธมิตรชั้นนำระดับโลก และContent Creator อิสระรุ่นใหม่ทุกคน เพื่อผลิต VR Content ร่วมกัน พร้อมมีแพลตฟอร์มรองรับการนำไปเผยแพร่ การจับมือ นาดาว บางกอกตะมีศิลปินมาร่วมทำรายการ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ และความบันเทิงเนื้อหารายการแบบใหม่ช่วยให้ผู้ชมเข้าถึงศิลปินที่ชื่นชอบได้ใกล้ชิดมากขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยจับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดมุมมองใหม่ด้านการท่องเที่ยวแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นำร่องชมความงามของประเทศไทยใน 5 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬพัทลุง ลำปาง ราชบุรี และตราด ในรูปแบบ VR 360 องศา เพื่อร่วมกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของไทยไปด้วยกัน และร่วมกับ Absolute You ในการสร้างประสบการณ์การออกกำลังกายที่บ้านในรูปแบบ VR 360 องศา นายปรัชธนา กล่าวอีกว่า ในอนาคตอันใกล้ เอไอเอสเตรียมที่จะขยายไปสู่เนื้อหาในรูป Music Performance เช่น การแสดงโชว์จากศิลปิน และด้านEducation เช่น ร่วมกับ สสวท. ทำคอนเทนต์ VR ในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษา, ร่วมกับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ในรูปแบบ VR โชว์เครื่องบินในแต่ละรุ่น เสมือนจริง และการเที่ยวชมพระราชวังพญาไทอย่างใกล้ชิดในรูปแบบ VR เพื่อเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ให้ผู้เรียนสามารถสนุกได้มากกว่าที่เคย” ความสนุกเหล่านี้ พร้อมให้คนไทยทุกคนได้สัมผัส ด้วยอุปกรณ์แว่น AIS VR 4K ให้ภาพคมชัดสูงระดับ 4K ด้วยมุมมองกว้าง 101 องศา และรองรับการแสดงผลแบบ 360 องศา ขับเคลื่อนความแรงด้วย CPU Snapdragon 835 มาพร้อมลำโพงเสียง 3 มิติ -สำนักข่าวไทย

รองนายกฯ วางกรอบงบ ประมาณกองทุนดีอี ขับ เคลื่อนดิจิทัล

กรุงเทพฯ 10 ส.ค.  รองนายกฯ ถกกองทุนดีอี วางกรอบการบริหารและกำหนดกรอบการขอทุนกองทุนดีอี ปี 64 ย้ำเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ  รองนายกฯ ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทับเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(กองทุนดีอี) กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ (10ส.ค.) ได้พิจารณาเพื่อปรับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ให้เป็นไปตามที่ได้มีการอนุมัติทุนอุดหนุนเพิ่มเติม และวางแผนการดำเนินงานของกองทุนในปีงบประมาณถัดไปให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง เกิดความชัดเจน และสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งด้านการเงิน การบริหารกองทุน การติดตามประเมินผล รวมถึงการกำหนดทิศทางของกองทุน ให้สามารถพัฒนาได้ทันต่อสถานการณ์   และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ประชุมได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในสัญญาของโครงการที่มีคำขอวงเงินเกินกว่า 10 ล้านบาท ตามมาตรา 26 (1) จำนวน 2 โครงการพร้อมทั้ง ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของกองทุนฯ จำนวน 9 ท่าน และได้เห็นชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ได้แก่ 1) เห็นชอบคู่มือการขอรับการจัดสรรเงินฯ เพื่อกองทุนฯ จะได้เผยแพร่คู่มือการจัดสรรเงินฯ ต่อไป  2) เห็นชอบ (ร่าง) ตัวชี้วัดสำหรับจัดทำบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2564 โดยมอบหมายเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้แทนกรรมการทุนหมุนเวียน ในการประชุมหารือ ที่ประชุมได้เห็นชอบการปรับปรุงประมาณการรายจ่ายกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เพิ่มเติม) เป็นเงิน1,815,503,520.77 บาท และยังได้ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปีและแผนปฏิบัติการระยะยาวของกองทุนประกอบด้วย 1) เห็นชอบรายการค่าใช้จ่ายและโครงการบริหารในการบริหารกองทุน ตามมาตรา 26 (5) และประมาณรายจ่ายกองทุนพัฒนาฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564  2) เห็นชอบร่าง กรอบนโยบายกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งประกอบด้วย 6 เรื่อง  คือ  1. Digital Manpower “การศึกษากับคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล” 2. Digital Health “นวัตกรรมดิจิทัลทางด้านสาธารณสุข” 3. Digital Agriculture “เกษตรเชิงรุกด้วยนวัตกรรมดิจิทัล” 4. Digital Technology “เทคโนโลยีดิจิทัลในโลกอนาคต” 5.Digital Government & Infrastructure “รัฐบาลดิจิทัล” 6.Digital Agenda “โครงการตามนโยบายเร่งด่วน” และ 3) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการระยะยาว (พ.ศ. 2564-2566)             และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ส่วนในการพิจารณาให้เงินโครงการที่ขอเงินรับการสนับสนุนจากกองทุนจะพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ต้องเกิดประโยชน์ภาพรวม    ของประเทศชาติและประชาชน นางวรรณพร  เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุม และประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ สดช. มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะให้งบประมาณเงินกองทุนนี้สนับสนุนกับผู้ขอรับทุน   เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดนวัตกรรมใหม่แล้วก็สอดคล้องตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ พลเอกประวิตร ได้ฝากเน้นย้ำเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนมีประสิทธิภาพ และเห็นผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ขอให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้ต่อเนื่องและการปรับปรุงประมาณการจ่ายของกองทุนเพิ่มเติม ขอให้เร่งดำเนินการจัดส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติต่อไป รวมถึงระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด-สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอส ถก มท-กรุงไทย เล็งทำแพลตฟอร์มกลางแก้ปัญหายืนยันตัวตน

กรุงเทพฯ 7 ส.ค. ดีอีเอส ถก มหาดไทย กรุงไทย ดันแพลตฟอร์มกลางยืนยันตัวตนแค่ถ่ายเซลฟี่ คาดออกให้บริการสิ้นปีนี้  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในการเปิดหลักสูตร ผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (GCIO) หลักสูตรสำหรับผู้บริหารเพื่อเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลว่า เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วตนได้ไปหารือกับกระทรวงมหาดไทย และธนาคารกรุงไทยเพื่อพัฒนา แพลตฟอร์มยืนยันตัวตนเพื่อระบบกลางในการยืนยันตัวตนบุคคลโดยประชาชนที่ต้องการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมสามารถเซลฟี่ใบหน้าตัวเองส่งเข้ามาในแพลตฟอร์ม จากนั้นจะส่งข้อมูลไปยืนยันตัวตนกับสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเมื่อยืนยันตัวตนแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่แพลตฟอร์มเพื่อให้หน่วยงานที่ต้องการนำไปทำธุรกรรมดำเนินการต่อ วิธีนี้จะทำให้การยืนยันตัวตนทำได้สะดวกขึ้น โดนกระทรวงมหาด ไทยไม่ต้องให้หน่วยงานอื่นเข้ามาในระบบ ขณะเดียวกันจะมีข้อมูลใบหน้าของประชาชนที่อัพเดทมากขึ้น ส่วนธนาคารหรือหน่วยงานที่จะทำธุรกรรมกับประชาชนจะได้ความคล่องตัวในการทำธุรกรรมที่รวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้สัปดาห์หน้าตนจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนกระบวนการทำงานของแพลตฟอร์มอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนที่จะลงมือพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อนำมาทดสอบก่อนใช้งานจริงภายในปีนี้  นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เรื่องที่สำคัญอีกประการคือบิ๊กดาต้าภาครัฐที่ต้องมีความพร้อมและมีความเชื่อมโยงให้ทุกหน่วยงานใช้บิ๊กดาต้าให้เป็นประโยชน์ในการให้บริการประชาชน การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2564 สำนักงบประมาณได้ตัดงบประมาณในการเช่าคลาวด์ของหน่วยราชการไปทั้งหมด เพื่อให้ทุกหน่วยงานมาใช้บริการคลาวด์ภาครัฐ ตัดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันและความกระจัดกระจายของข้อมูล และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้หน่วยราชการเชื่อมโยงข้อมูลอยู่ในพื้นที่เดียวกัน  -สำนักข่าวไทย

ดีอีเอสชี้บทบาทซีไอโอต้องเปลี่ยน เน้นรู้ครบปรับตัวเร็ว

กรุงเทพฯ 7 ส.ค. รมว.ดีอีเอส ย้ำซีไอโอต้องรู้ครบรอบด้านปรับตัวเร็ว พร้อมจัดหลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(GCIO) Transform องค์กรของรัฐสู่ Digital นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)  กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรผู้บริหารดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (GCIO) หลักสูตรเข้มข้นสำหรับผู้บริหารเพื่อ Transform องค์กรสู่ Digital  เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาบริการของภาครัฐ ว่า บทบาทของซีไอโอ หรือผู้บริหารด้านสารสนเทศเปลี่ยนไป ซีไอโอไม่ใช่ต้องรู้เฉพาะเรื่องของหลวงงานตัวเอง แต่ต้องรู้ทั้งระบบคือทั้งหน่วยงานตัวเองและระบบทั้งหมดของกระทรวง นอกจากนี้ต้องตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่สังคมเผชิญอยู่โดยเฉพาะปัญหาข่าวปลอม หรือเฟคนิวส์ที่เป็นปัญหาของประเทศถ้าไม่จัดการ กระทรวงดิจิทัลฯ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อตั้งศูนย์แก้ปัญหาและสร้างทีมงานขึ้นมาดูแล เมื่อปัญหาเฟคนิวส์เป็นปัญหาระดับประเทศซีไอโอต้องรอบรู้และเข้าใจปัญหาเพื่อช่วยกันแก้ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเปลี่ยนทุกวัน การเอาดิจิทัลมาใช้และมีซีไอโอ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ก่าวอีกว่า ซีไอโอเข้าใจกระบวนการทั้งหมด การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัลไม่ใช่แค่เปลี่ยนอุปกรณ์ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนกระบวนความคิด เข้าใจระบบ พร้อมเปลี่ยนแปลงและเข้าใจปัญหา และต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจและอยากเปลี่ยนแปลง เมื่อทุกคนในองค์กรพร้อมแล้วจึงค่อยทำการเปลี่ยนแปลง มีสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของคนไทยในปีนี้พบว่า ปัจจุบันคนไทยใช้สมาร์ทโฟนร้อยละ 187 ใช้โทรศัพท์มือถือทำงานร้อยละ 108 ดังนั้นแสดงว่าประชาชนที่คอยจะใช้บริการดิจิทัลมีความพร้อมเต็มที่ ดังนั้นหน่วยงานก็ต้องพร้อมจะให้บริการประชาชนในช่องทางที่ประชาชนพร้อมใช้งานด้วย นอกจากคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือมาก คนไทยยังใช้สื่อโซเชียลมีเดียมากที่สุดในโลก สถตินี้ยอกเราว่าประชาชนพร้อมใช้บริการทางดิจิทัล ถ้าหน่วยงานรัฐไม่พร้อมและยังมีข้อจำกัดจะให้บริการประชาชนไม่ได้ นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า หลักสูตรสำหรับซีไอโอ มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลให้กับผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงและผู้ช่วยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่องค์กรดิจิทัลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่วางเป้าหมายให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้แก้ไขปัญหาของประชาชนพร้อมกับส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มุ่งไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์พร้อมกัน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลข้อมูลขนาดใหญ่ และนวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของรัฐให้ทันสมัยรวดเร็ว ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพ          ดังนั้นบทบาทการปรับเปลี่ยนภาครัฐไปสู่รัฐบาลดิจิทัลจึงเป็นภารกิจความรับผิดชอบหลักของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ หรือ Government Chief Information Officer (GCIO) อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภาครัฐทุกคนที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย Platform เพราะการให้บริการภาครัฐต่อจากนี้จะเปลี่ยนไป ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ ประชาชนจะได้รับบริการจากภาครัฐที่สะดวก ใช้บัตรประชาชนใบเดียวดำเนินการแบบ One-Stop Service พร้อมนำข้อมูลเปิดของหน่วยงานภาครัฐไปต่อยอดพัฒนานวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม จึงอยากฝากให้นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมครั้งนี้ไปใช้ในการบริหารงานและการให้บริการประชาชนเพื่อประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลและขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน มุ่งมั่นที่จะพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน-สำนักข่าวไทย.

จุฬาฯโชว์ผลทดลอง ทดสอบ 5G

กรุงเทพฯ 6 ส.ค. จุฬาฯโชว์ ผลการทดสอบนำ 5G มาใช้งานจริง  นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และพล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธาน กสทช. เป็นประธานเปิดงาน 5G for REAL แสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ เทคโนโลยี 5G โดยร่วมกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)  โดยศูนย์ทดลอง/ทดสอบ 5G ที่ตั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้นักวิจัย ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมร่วมทำแพลตฟอร์มเปิด สำหรับทดสอบ/ทดลอง วิจัยเทคโนโลยี การใช้งานจริง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5 G จุฬาฯ ได้ขออนุญาตกสทช.ใช้คลื่นความถี่ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2562 ถึง 10 ธันวาคม 2567 เป็นเวลา 5 ปี ครอบคลุมพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการทดสอบการรบกวนกันหรือการร่วมใช้คลื่นความถี่ระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G โดยโครงการทดสอบแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ด้าน healthcare  2 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งข้อมูลภาพการตรวจโรคตาทางไกลผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อการผ่าตัด และโครงการพัฒนาการสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล ด้าน smart living และ connected society มี 8 โครงการ คือ โครงการการพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์บริการผ่านโครงข่าย5G โครงการจัดสร้างระบบเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพฝุ่นละอองติดตั้งบน smart pole และรถ pop bus รวมถึงการติดตั้งและทดสอบระบบ CCTV บนรถประจำทาง เพื่อเพิ่มความปลอด ภัยและประสิทธิภาพการใช้งานของผู้โดยสาร CU Pop Bus โครงการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในพื้นที่มหาวิทยาลัยบนเครือข่าย 5G โครงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์อัตโนมัติ และการเคลื่อนย้ายรถระหว่างจุดจอดโครงการติดตั้งและทดสอบระบบการใช้งานเสาไฟยุคหน้า บนเทคโนโลยี 5G โครงการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LoRa และ 5G โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ และโครงการวิเคราะห์และประมวลภาพ VDO แบบเวลาจริงด้วย cloud computing โครงการประเภทอื่นจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการ PolluSmartCell การวิจัยที่อาศัยปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในโครงข่ายการสื่อสารเพื่อประเมินการเกิด Temperature Inversion ในชั้นบรรยากาศและโครงการอบรมให้ความรู้ความชำนาญในการทดลอง/ทดสอบระบบเครือข่าย 5G และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ -สำนักข่าวไทย.

โควิด กระทบ เอไอเอส รายได้ลด ยันทุ่ม 3.5 หมื่นล้านบาททำ 5G ต่อ

กรุงเทพฯ 6 ส.ค. เอไอเอส เผยผลกระทบโควิด ทำไตรมาส 2 รายได้ลด แต่กำไรยังโต ย้ำทุ่มงบ 3.5 หมื่นล้านบาท ลงทุน 5G ต่อ นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่าผลประกอบการ ไตรมาส 2 กำไรสุทธิ อยู่ที่ 7,235 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เติบโตขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการควบคุมต้นทุนได้ดี โดยมีรายได้รวม ลดลงร้อยลั 4.1 อยู่ที่ 42,256 ล้านบาท จากสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ซึ่งกระทบต่อการใช้จ่ายผู้บริโภคในด้านการใช้มือถือ ในขณะที่ ธุรกิจเน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ มีความต้องการจากการล๊อกดาวน์ที่ต้องทำงานจากบ้าน ทำให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 112,200 ราย  “ภาพรวมของผลประกอบการไตรมาส 2 ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตรการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจโทรคมนาคมได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวและการปิดบริการชั่วคราว AIS Shop, Serenade Club และ AIS Telewiz ในพื้นที่ตามประกาศของภาครัฐ รวมถึง การสนับสนุนมาตรการของกสทช.เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ใช้บริการ ทั้งการมอบดาต้าและค่าโทรฟรีในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลต่อรายได้ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ในส่วนธุรกิจเน็ตบ้านได้รับผลเชิงบวกจากการที่ลูกค้าต้องทำงานหรือเรียนหนังสือจากบ้าน ทำให้มีความต้องการติดเน็ตบ้านสูงขึ้น การทำงานที่บ้านและเรียนที่บ้านส่งผลให้การใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15 เทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่เฉลี่ย 17 กิกะไบต์ต่อเดือน และสัดส่วนลูกค้าที่ใช้ 4G ยังเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 75 ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน เอไอเอสไฟเบอร์ ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีลูกค้าใหม่เพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการ จากความต้องการติดเน็ตบ้านในช่วงโควิด ส่งผลให้มีลูกค้ารวม 1.2 ล้านราย และมีรายได้จากธุรกิจเน็ตบ้าน 1,683 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนธุรกิจลูกค้าองค์กรก็ยังคงเติบโตจากความต้องการใช้บริการโซลูชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Data Center, Cloud และICT solution เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง” นายสมชัย กล่าว  นายสมชัย กล่าวอีกว่า ผลกระทบจากสถานการณ์บริษัทมุ่งเน้นที่จะบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อคงความแข็งแรงของกระแสเงินสดให้สามารถลงทุนในธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุน 5G เพื่อการเติบโตในระยะยาว เอไอเอสได้ขยายเครือข่าย 5G ครบ 77 จังหวัด และครอบคลุมเต็มพื้นที่ 100% นิคมอุตสาหกรรมใน EEC แล้ว ปักหมุดให้ประเทศ ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเครือข่าย 5G ให้บริการเต็มพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับ ไทยสู่ผู้นำเครือข่าย 5G ในระดับภูมิภาค พร้อมดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยเอไอเอสได้ประกาศวิสัยทัศน์“AIS 5G – Forging Thailand’s Recovery” นำ 5G ร่วมฟื้นฟูประเทศไทยในทุกมิติ ภายใต้การผนึกกำลังกับผู้นำอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม -สำนักข่าวไทย.

ปณท ครบ 137 ปี ตั้งเป้า บริการดิจิทัลเพิ่ม

กรุงเทพฯ 6 ส.ค. ไปรษณีย์ไทยตั้งเป้ามุ่งดิจิทัลเพิ่ม เปิดโซลูชั่นพัฒนาองค์กร รับ 137 ปี ส่งต่อส่งด้วยใจตอบโจทย์คนไทยและภาคธุรกิจ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยหน่วยงานการสื่อสารและการขนส่งของชาติอยู่คู่สังคมไทยมาถึง 137 ปีอยู่เคียงข้างคนไทยในทุกสถานการณ์เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการช่วยเดินหน้าเศรษฐกิจดิจิทัลมุ่งมั่นพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องสนองนโยบายภาครัฐตามภารกิจของไปรษณีย์ไทยภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสำหรับทิศทางและนโยบายการดำเนินงานในอนาคตของไปรษณีย์ไทยจะพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เคยเป็นฐานรายได้หลักคือกลุ่มธุรกิจไปรษณียภัณฑ์ดั้งเดิมประเภทจดหมายไปสู่รูปแบบดิจิทัลโดยจะพัฒนาระบบการจัดการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรให้กับภาครัฐภาคธุรกิจและภาคประชาชนมีความปลอดภัยเป็นมาตรฐานเดียวกันได้รับการยอมรับในเชิงกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตถือเป็นการปรับโฉมบริการดั้งเดิมให้เป็นบริการรูปแบบใหม่ที่จะรักษาฐานรายได้เดิมเอาไว้สร้างฐานรายได้ใหม่ไปพร้อมกันจากปัจจัยการขยายตัวธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลุ่มธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์นับว่าเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ไปรษณีย์ไทยยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งรูปแบบบริการและคุณภาพบริการทั้งการส่งในประเทศและระหว่างประเทศโดยนำเทคโนโลยีปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการการปรับปรุงรถยนต์ขนส่งให้เป็นรถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสิ่งของฝากส่งไม่ให้เสียหายระหว่างทางรองรับการจัดส่งผลผลิตทางการเกษตรที่มีปริมาณมากขึ้นในปัจจุบันซึ่งเป็นการสนองนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำพร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรผ่านไปรษณีย์และเว็บไซต์ thailandpostmart “ปีนี้เราจะมุ่งไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น จะมีโครงการของไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่นที่จะมาช่วยงานของบริษัทแม่ ไม่ว่าจะเป็นการส่งยาและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือบริการประชาชนมห้มากขึ้น เราคงมีการจ้างที่ปรึกษามาช่วยกันคิดว่าเราจะทำอะไรกับไอบ็อกซ์ที่จะไปอยู่ในชุมชน และการขับเคลื่อนบริษัทลูกไปร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยใช้ตุกเด่นที่เครือข่ายและกำลังคนไปให้บริการสร้างประโยชน์ให้สังคม” นายก่อกิจกล่าว  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท กล่าวอีกว่า ไปรษณีย์ไทยจะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มศักยภาพการให้บริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้นพัฒนา (Box ที่จะทำให้การรับฝากและนำจ่ายสิ่งของในปัจจุบันไปสู่ระบบการให้บริการอัตโนมัติร่วมกับธนาคารพาณิชย์ในการเป็นตัวแทนธนาคารให้บริการรับฝาก-ถอนเงินและในอนาคตจะมีการร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้บริการยืนยันตัวตน (KYC) แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการเปิดบัญชีเงินฝาก ณ เคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทั่วประเทศรวมทั้งใช้ความเชี่ยวชาญของ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่นจำกัด ซึ่งเป็น บริษัท ลูกของไปรษณีย์ไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการส่งสิ่งของขนาดใหญ่ (G2G / B2B) การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าการนำจ่ายถึงบ้านและการส่งคืนสินค้าให้ผู้ฝาก” ไปรษณีย์ไทยมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของคนไปรษณีย์ไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการบูรณาการทำงานสร้างบริการที่สามารถรองรับความต้องการผู้ใช้บริการทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและพร้อมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อเป็นผู้ให้บริการสื่อสารและขนส่งโลจิสติกส์ที่คนไทยจะไว้วางใจได้เสมอ ด้านนายรัฐพล ภักดีภูมิ ประธานกรรมการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่าคณะกรรมการไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญและได้มอบแนวนโยบายให้ไปรษณีย์ไทยรักษาฐานธุรกิจเดิมพร้อมรุกกลุ่มตลาดใหม่ (New S-Curve) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้เป็นดิจิทัลเหมาะสมกับวิถีชีวิตประชาชนผู้ใช้บริการรายย่อยผู้ประกอบการ e-Commerce ให้ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วรวมทั้งผู้ประกอบการสินค้าชุมชนและเกษตรกรให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางไปรษณีย์ไทยมากขึ้นพร้อมกับการเร่งยกระดับระบบปฏิบัติการไปรษณีย์ด้วยการนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในทุกกระบวนการทำงานให้มีมาตรฐานบริการได้อย่างรวดเร็วมีคุณภาพบริการที่ดียึดหลักธรรมาภิบาลขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปด้วยความมั่นคงและยังละยั่งยืน ในวาระครบรอบ 137 ปีไปรษณีย์ไทยเปิดตัวโครงการ “ ไปรษณีย์ reBOX “ร่วมกับ บริษัท เอสซีจีแพคเกจจิ้ง จำกัด(มหาชน) รวบรวมซองกระดาษและกล่องพัสดุที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นชุดโต๊ะเก้าอี้เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาส่งมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 ให้น้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีอุปกรณ์การเรียนที่เพียบพร้อมและเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นด้วยการลดปริมาณขยะให้น้อยลงปูทางไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบโดยผู้ที่สนใจสามารถรวบรวมซองกระดาษและกล่องพัสดุฯ มาส่งได้ที่ไปรษณีย์ไทยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรษณีย์จังหวัดและศูนย์ไปรษณีย์รวมทั้งสิ้น 141 แห่งตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม-31 ตุลาคมนี้-สำนักข่าวไทย.

ดีป้าแจกคูปองดิจิทัลหนุนเอสเอ็มอีใช้ไอทีปรับธุรกิจ

กรุงเทพฯ 5 ส.ค.  ดีป้าสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับผู้ประกอบเอสเอ็มอี ร้านค้า เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนบริหารจัดการองค์กร-เพิ่มยอดขาย-ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ดีป้าส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ร้านค้า หาบเร่ แผงลอย เกษตรกร รวมถึงวิสาหกิจชุมชนสามารถยกระดับการบริหารจัดการกระบวนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยให้คูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher) โดยร่วมมือกับ เครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการดิจิทัล (ดิจิทัลโพรไวเดอร์) ในโครงการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานฯ เพื่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเกิดความมั่นใจในการได้รับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับบริบทของตนเองโดยมาตรการดังกล่าวได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลแล้วกว่า3,000 ราย ทั้งนี้ล่าสุดที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน มีมติเห็นชอบโครงการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพิ่มจำนวน 2 โครงการจาก 2 หน่วยงานร่วมดำเนินงาน เพื่อตอบสนองภารกิจที่กล่าวมาเบื้องต้น ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ในพื้นที่ภาคตะวันออก จำนวน 240 คูปอง โดย หอการค้าจังหวัดจันทบุรี โดยดำเนินการต่อเนื่องในจังหวัดฉะเชิงทรา หลังได้รับการอนุมัติดำเนินงานในโครงการดังกล่าวแล้วในพื้นที่จังหวัดระยองจันทบุรี และตราด ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคการค้าและการบริการรวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ นายณัฐพล กล่าวอีกว่า โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล จำนวน 400 ราย โดย สมาคมโรงสีข้าวสุพรรณบุรี มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการเกษตร และเกษตรกรทั่วประเทศเกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างมีแบบแผน ทั้งนี้ดีป้าพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้ให้บริการดิจิทัลในโครงการ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการลูกค้า (CRM) ระบบบริหารจัดการร้าน (ERP) ระบบบัญชี การเงิน (ACC) ระบบบริหารจัดการบุคคล(HRM) ระบบขายหน้าร้าน (POS) ระบบจัดการการขายออนไลน์ (E-commerce) ระบบขนส่ง (Logistic) ระบบบริหารจัดการฟาร์ม (Smart Farming) และระบบบริหารจัดการการจอง (Booking Engine) รวมถึงแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว (Digital Tourism Platform) สำหรับวิสาหกิจชุมชน ซึ่ง ดีป้า มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามามีส่วนช่วยในการบริหารจัดการภายในองค์กร เพิ่มยอดขาย สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ และสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซให้กับผู้ใช้บริการในยุคประเทศไทย 4.0-สำนักข่าวไทย.

1 24 25 26 27 28 2,829
...