เอไอเอสจับมือกรมสนับสนุนบริการสุขภาพอัพเกรดแอปอสม.ออนไลน์ตรวจเชคสุขภาพจิตได้

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. เอไอเอสผนึกกำลังกรมสุขภาพจิตและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพอัปเกรดอาวุธอสม. นักรบเสื้อเทาเปิดฟีเจอร์ใหม่รายงานคัดกรองสุขภาพจิตบนแอป นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส และ กระทรวงสาธารณสุข มีความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลลเพื่อสนับสนุนการให้บริการกับประชาชนล่าสุด ได้ร่วมกับกรมสุขภาพจิต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พัฒนาคุณสมบัติใหม่ในแอปพลิเคชั่น อสม. ออนไลน์เพื่อให้อสม. ที่ดูแลสุขภาพประชาชนที่ใกล้ชิดที่สุลนำเครื่องมือดังกล่าวไปทำการคัดกรองประชาชนที่ตนเองดูแลทำให้อสมและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถทราบสถานะสุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่ได้แบบทันทีในขณะเดียวกันหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบลสาธารณสุขอำเภอและสาธารณสุขจังหวัดสามารถเข้าถึงข้อมูลการคัดกรองได้แบบเรียลไทม์ทำให้การดูแลและเฝ้าระวังเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นางพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า สัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติในปีนี้นั้นกรมสุขภาพจิตได้ใช้ธีมที่มีชื่อว่า Working Together สุขภาพจิตไทยก้าวไปพร้อมกันนั้นคือการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านสุขภาพจิตกับทุกภาคส่วนในสังคมหนึ่งในความร่วมมือที่สำคัญในวันนี้คือความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิตกรมสนับสนุนบริการสุนภาพและ เอไอเอส ในการกระจายองค์ความรู้ข้อมูลและข่าวสารด้านสุขภาพจิตต่างๆลงไปถึงประชาชนในพื้นที่ผ่านกลไกการทำงานของพี่น้องอสม. และสส. ทั่วประเทศเมื่อของถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ในประเทศไทยขณะนี้ถือว่ามีการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากซึ่งการทำงานได้เช่นนี้เกิดจากความร่วมมือของพี่น้องประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน ได้แก่ พี่น้องอสม. และอสส. ทั่วประเทศ แต่การดูแลเพียงสุขภาพกายอาจไม่เพียงพอเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 นั้นส่งผลกระทบต่อสังคมในรอบด้านซึ่งส่งผลกระทบต่อมายังสุขภาพจิตของคนไทยโดยรวมเพราะฉะนั้นการเฝ้าระวังและการรับมือในระดับพื้นที่จึงเป็นช่องทางที่สำคัญที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและการสูญเสียจากปัญหาด้านสุขภาพจิตที่จะเกิดขึ้นได้ “ทันตแพทย์อาคมประดิษฐสุวรรณรองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวว่า“ ในปัจจุบันบทบาทของอสม. และอสส. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) พฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนจะต้องได้รับการเสริมสร้างอาวุธทางปัญญาเพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ครอบครัวบุคคลใกล้ชิดและชุมชนเป็นเกราะป้องกันตนเองและมีส่วนช่วยลดการระบาดของโรคในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพการพัฒนาความรู้สาธารณสุขในมิติสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สามารถช่วยการดำเนินงานให้กับพี่น้องอสม. และอสส. ในการฟื้นฟูจิตใจของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ของประเทศในขณะนี้การลงนามความร่วมมือมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความรู้ข่าวสารด้านสุขภาพให้อสม. และอสส. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ในมิติสุขภาพจิตโดยดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน“ อสม. ออนไลน์” ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านสาธารณสุขรองรับความเป็นสังคมเมืองสังคมผู้สูงอายุความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้ประชาชนสุขภาพดีเจ้าหน้าที่มีความสุขระบบสุขภาพยั่งยืนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพยินดีส่งเสริมให้อสม. หรืออสส. ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพจิตและทำให้ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งในทุกมิติสุขภาพการเสริมสร้างศักยภาพในประเด็นสุขภาพจิตให้นักรบเสื้อเทาให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการนำพาประเทศก้าวผ่านวิกฤตและเกิดความเข้มแข็งของทุกภาคส่วน” ฟีเจอร์“ รายงานคัดกรองสุขภาพจิต “สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้เพียงทำการอัปเดตแอปพลิเคชันอสม. ออนไลน์เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดโดยอสม. ทุกเครือข่ายสามารถใช้งานแอปฯ ดังกล่าวได้ฟรีสำหรับอสม. ที่ใช้งานเครือข่ายเอไอเอสสามารถใช้ได้โดยฟรีค่าอินเทอร์เน็ต-สำนักข่าวไทย.

พลเอกประวิตรกำชับดีอีเอโปรโมทบรอดแบนด์สาธารณะภูเก็ต

ภูเก็ต 2  พ.ย. รองนายกฯ  แนะดีอีเอส โปรโมทโครงการบรอดแบนด์สาธารณะภูเก็ต ส่งเสริมแผนปั้นสมาร์ทซิตี้ พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปตรวจราชการ และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 3/2563 ที่จังหวัดภูเก็ต โดยในโอกาสนี้ได้มีการติดตามความคืบหน้าของโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ Smart City จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเชื่อมต่อโครงข่ายบรอดแบนด์สาธารณะดังกล่าวเฉลี่ยต่อวัน 22,983 คน โดยสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ สร้างธุรกิจ และเพิ่มรายได้ในชุมชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนผ่านบริการดิจิทัลต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับ ประชาชนทุกคน และการเข้าถึงบริการสุขภาพภาครัฐที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ  พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า โครงการนี้ยังมีบทบาทในการผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงช่วยสร้างบรรยากาศและเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนทำธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น พร้อมที่จะรองรับการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Internet of Things (IoT) และนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) “กระทรวงดิจิทัลฯ ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องการบริหารข้อมูล และนำข้อมูลประชาสัมพันธ์โครงการเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ โดยให้มีการดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับกิจกรรมของเมืองภูเก็ต” พล.อ.ประวิตรกล่าว นายภูเวียง ประคำมินทร์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินการให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi) สำหรับประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติ ณ พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ตจำนวนไม่น้อยกว่า 100 สถานที่และมีจุดให้บริการทั้งสิ้นกว่า 1,000 จุด ความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูล 100/25 Mbps ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง  “เรามองถึงการสร้างโครงข่ายประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมถึงพื้นที่เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดภูเก็ต และเพื่อให้มีช่องทางในการช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการสื่อสาร และเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสำหรับ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านข้อมูลข่าวสารของรัฐ และการท่องเที่ยวในพื้นที่ ผ่านทางอุปกรณ์ Digital Signage พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด” นายภูเวียงกล่าว นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ยังเตรียมขยายผลโครงการตามนโยบายของนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ  โดยจะสร้างความร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจังหวัดอื่นๆ เพื่อผลักดันโครงการให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และใช้โครงการนี้ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค สร้างงานสร้างอาชีพในท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีการจ้างงานสูง ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการตามเป้าหมายนี้ได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความพร้อม-สำนักข่าวไทย.

เอไอเอสชี้ไฮเทคมาถึงเวลาคนปรับตัว

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. เอไอเอสชี้ถึงเวลากฎเกณฑ์ด้านทรัพยการมนุษย์เปลี่ยน เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้น แนะคนปรับตัวเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เอไอเอส และกลุ่มอินทัช กล่าวในแบรนด์อินไซด์ ฟอรั่ม 2020 New Work Force ว่า โลกที่จะเปลี่ยนไปข้างหน้าไม่ใช่โลกที่จะกำหนดโดยผู้นำยุคปัจจุบันการเติบโตของคนในยุคใหม่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราคาดคิด ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล เอไอพูดกันมาตั้งแต่ 1956 แต่เวลานั้นยังไม่มีความพร้อม ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความพร้อม คนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ใหม่คือคนที่ ดิจิทัลทรานฟอร์มจะเป็นคำที่ล้าสมัย เพราะเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในชีวิตแล้ว กระแสดิจิทัลจะมาเร็วขึ้นและแรงขึ้น ทุกอย่างส่งผ่านกันด้วยดิจิทัล  “สิ่งที่ยากในช่วงเปลี่ยนผ่านคือการไม่ยอมเจ็บ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ คนที่ถูกฝึกให้รับกับความยากลำบากได้จะพร้อมกว่าการทำงานแบบใหม่ไม่ได้สุดที่ work from home วิถีชีวิตใหม่ที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ คือ การเปลี่ยนไปสู่วิถีใหม่จริงๆ work from enywhere กำลังเกิด กำลังสำคัญขององค์กรไม่ได้อยู่ในองค์กรเอง ผู้นำองค์กรยุคใหม่จึงต้องตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำเพราะสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงยังไม่จบและต้องไปอีกไกล ผู้บริหารยุคใหม่จะคิดอยู่กับกรอบเดิมไม่ได้ เพราะโลกเปลี่ยนไป ลูกค้าเปลี่ยนจากเจนเนอเรชั่นหนึ่งไปอีกเจนเนอเรชั่นหนึ่ง ผู้บริหารใช้ประสบการณ์ที่เคยใช้แก้ปัญหาด้วยบริบทเดิมมาแก้ปัญหาใหม่ไม่ได้ “ นางสาวกานติมา กล่าว นางสาวกานติมา กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีหลายอย่างทำงานได้ดีกว่าคน องค์กรต้องปรับตัวเอง องค์กรจะคงโครงสร้างองค์กรแบบเดิมไม่ได้ พนักงานเคารพผูบริหารที่ประสบการณ์และสิ่งที่จะให้กับพรักงานได้ ความเชื่อมั่นไม่ได้อยู่ที่ลำดับขั้นการบริหาร  แนวโน้มการทำงานที่น่าจะเกิดขึ้นคือการจับมือระหว่างบริษัทที่มีบริการคล้ายดันมาร่วมมือกันมาทำงานให้องค์กร การทำงานอิสระจะเป็นเรื่องธรรมดา  คนที่มีคุณค่าคือคนที่เรียกหาพัฒนาการตลอดเวลา คนจากนี้ไป สิ่งที่คนต้องการจากองค์กรคือการพัฒนา คนต้องการความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส เทคโนโลยีสามารถช่วยให้ความเสมอภาคและการเข้าถึงเกิดขึ้นได้ นายจ้างต้องทำความเข้าใจกลุ่มคนที่ทำงานใหม่ เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างออกไป การจ้างงานจะเกิดการแข่งขันที่เปลี่ยนไปสู่การจ้างงานข้ามองค์กร ถ้าเราอยากช่วยองค์กรด้วยการให้เป้าหมายความชัดเจนว่าองค์กรต้องการอะไร องค์กรต้องทำใด้พนักงานสามารถเข้าถึงการพัฒนาตัวเองได้ ผู้บริหารต้องทิ้งอัตตาของตัวเองและลงมาจากหิ้ง ต้องเข้าใจคนรุ่นใหม่เพราะคนรุ่นใหม่มีความอดทนไม่มากเขาต้องการการตอบแทนในระยะเวลาสั้นๆ  กฏเกณฑ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความยืดหยุ่นและเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง งานทรัพยากรมนุษย์ต้องเข้าใจการทำงานขององค์กรในอนาคตแล้วไปหาคนมาทำงาน สิ่งทึ่ดีที่สุดคือการเตรียมความพร้อมรับคว่มเปลี่ยนแปลงทักษะที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวัน เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นบทจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีและเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ต้องเตรียมตัวให้พร้อม -สำนักข่าวไทย.

เอสซีบีชี้ผู้นำไฮเทคปี2021ต้องมองไกลเข้าใจความเปลี่ยนแปลง

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. ชี้บทบาทผู้นำยุคใหม่ต้องมองไกล รับข้อผิดพลาด เปลี่ยนแปลงเร็ว เข้าใจเทคโนโลยี นายธนา เถาวรอัจฉริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในแบรนด์อินไซด์ ฟอรั่ม 2020 New Work Force ว่า บทบาทและคุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ในปี 2021 ว่า ผู้นำยุคใหม่ต้องทำให้คนเชื่อและเดินตามได้ การเป็นผู้นำจึงไม่ใช่เรื่องอารมณ์ไม่ใช่ศาสตร์ในยุคผันผวน ไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นอย่างไร มีความซับซ้อน มีความไม่ชัดเจน การแข่งขันในปัจจุบันเราคงตั้งเป้าจะอยู่ระดับกลางๆไม่ได้ การแข่งขันต้องเป็นเบอร์หนึ่งเท่านั้น มาตรฐานของโลกธุรกิจเปลี่ยนไป ประเทศไทยต้องฝึกฝนและพร้อมที่จะแข่งขันในระดับที่เรายังไปไม่ถึง ผู้นำตอนนี้ต้องทำ 5 ฟังก์ชั่น คือ แก้ไข มองเห็นความผิดพลาดและรู้ว่าต้องแก้ไขอย่างไร  มีความยืดหยุ่น มีความคิดสร้างสรรที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสามารถเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของธุรกิจได้ และเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่แนวทางใหม่ที่ยั่งยืนได้  นายธนา กล่าวอีกว่า องค์กรยุคใหม่อยากได้ผู้นำที่สร้างบรรยากาศให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมกันได้ เสียสละ ทำเพื่อส่วนรวม สร้างบรรยากาศให้เกิดการทีส่วนร่วมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ได้ หัวหน้าในวันนี้ต้องทำให้คนฮึกเหิมที่จะทำสิ่งใหม่ได้ ไม่ต้องรับผิดชอบที่จะทำผลงานตามเป้าแต่รับผิดชอบเพื่อให้คนทำงานตามเป้าหมายได้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนก่อนจะให้พนักงานหรือลูกค้าเปลี่ยนแปลง “ผู้นำคือนักเล่าเรื่องให้ทุกคนเห็นภาพใหญ่ เอาเรื่องราวของคนตัวเล็กมาเล่า เรื่องที่ดีๆต้องถูกแบ่งปัน ยุทธศาสตร์ที่จะทำต้องทำง่ายๆ พนักงานเข้าใจง่าย สิ่งทำต้องวัดออกมาได้ว่าทำได้ตามจุดประสงค์หรือไม่เมื่อวัดออกมาแล้วทำให้ทุกคนเห็นตรงกัน ในสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงต้องสร้างสะพานไม่ใช่สร้างกำแพง ผู้นำต้องทำผิดได้แต่ต้องกล้ายอมรับความจริงและแก้ไข ต้องเรียนรู้จากบทเรียน ต้องให้กำลังใจพนักงาน และระลึกเสมอว่าทุกคนในองค์กรเท่ากัน  ผู้นำต้องออกเดินไปให้ถึงทุกคนในองค์กร ฟังให้มาก เวลาคุนกันมองให้เห็นหน้าทุกคน และผู้นำจงพูดคนสุดท้ายผู้นำมีหน้าที่วัฒนาองคกร สร้างบรรยากาศและความน่าเชื่อถือ ผู้นำยุคใหม่ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นน้ำครึ่งแก้วยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ เป็นคนตัวเล็กๆ ที่เข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจคน เข้าไปในใจได้ทั้งลูกน้องและลูกค้า และต้องพร้อมเสียสละ ต้องกล้าหาญที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” -สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสย้ำบังคับใช้กฎหมายต้านข่าวปลอม

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. พุทธิพงษ์ ขอทุกภาคส่วนร่วมมือสร้างการรับรู้เท่าทันข่าวปลอม ยืนยัน บังคับใช้กฎหมายกับผู้ใช้โซเชียล ที่สร้างข่าวบิดเบือนส่งผลกระทบกับสังคม ย้ำใช้สื่อออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การสัมมนา “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 3”ที่จ.พังงาครั้งนี้ จัดภายใต้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม มีกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้ บุคลากรด้านสาธารณสุข ภาคสังคม สื่อมวลชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง วิธีเช็คแหล่งที่มา วิธีสังเกตหัวข้อพาดหัวข่าว และได้ทราบถึงการแจ้งเบาะแสให้กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม  สำหรับผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตั้งแต่วันจัดตั้งศูนย์ฯ ถึงช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา (1 พ.ย.62-28 ต.ค.63) จากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากที่มีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามา และระบบติดตามการสนทนาทางโซเชียล (Social listening) พบว่า มีจำนวนข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 25,835,350 ข้อความ ข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 19,466 ข้อความ โดยมีจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 6,826 เรื่อง ในจำนวนนี้ร้อยละ 56 เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ ตามมาด้วยหมวดนโยบายรัฐ 2,620 เรื่อง ร้อยละ38 ,  หมวดเศรษฐกิจ 251 เรื่องร้อยละ 4 และหมวดภัยพิบัติ 143 เรื่อง ร้อยละ 2 ทั้งนี้ กระทรวงฯ มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าการทำงานเชิงรุก เพื่อเร่งทำการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ผ่านกลไกการทำงานทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเข้าถึงประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น  “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จริงๆ แล้ว ผมเป็นคนแรกที่ได้คิดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เนื่องจากพบว่าในต่างประเทศมีการจัดตั้งแล้ว แต่ไทยยังไม่มี จึงเริ่มให้เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ ไม่สร้างความตื่นตระหนกหรือสร้างความเสียหายให้แก่สังคมในวงกว้าง  แต่ข่าวที่เกิดขึ้น กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่สามารถจะตอบข้อสงสัยได้ทั้งหมดว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม จำเป็นต้องประสานข้อมูลจากหน่วยงาน และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ให้ทันเวลาในการชี้แจงให้ประชาชนรู้เท่าทัน เพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชนให้ได้ทันท่วงที ภายใน 2 ชั่วโมง  นอกจากนี้ ยังมีช่องทางเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” ในการให้ประชาชนแจ้งข้อมูลข้อความที่ไม่เหมาะสมเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐานส่งศาลให้พิจารณาปิดกั้น หรือ ลบข้อมูลนั้น ภายใน 48 ชั่วโมง  จากนั้นหากแพลตฟอร์มไม่ดำเนินการปิดกั้น หรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ภายใน 15 วัน  กระทรวง และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการนำคำสั่งศาลยื่นฟ้องแพลตฟอร์มต่างประเทศ ที่ถือเป็นครั้งแรกของไทย ที่จริงจังในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด   ทั้งนี้ แม้ว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศใช้ระบบทำงานในประเทศไทย  ก็ต้องยอมรับ เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายของไทยด้วย” นายพุทธิพงษ์กล่าว ขณะที่ นายภุชพงค์  โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่าการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในภาคใต้ครั้งนี้ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่พบว่ามีทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือน จึงต้องให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนให้รู้เท่าทัน ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ช่วยสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างจังหวัดและประชาชนทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำให้การบูรณาการการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทำงานตามข้อเท็จจริง ไม่เลือกฝ่าย เลือกข้าง  ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ในการดำเนินงานเชิงรุกป้องกันข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและปัญหาข่าวปลอมอันจะทำให้ภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความมั่นคงและความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ-สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสตรวจความพร้อมระบบก่อนเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยว

กรุงเทพฯ 1 พ.ย. รัฐมนตรีดีอีเอสตรวจความพร้อมใช้ระบบติดตามนักท่องเที่ยวรับเปิดเมืองภูเก็ต  ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะภูเก็ตหนุนเปิดเมือง– ปลอดภัยจากโควิด “พุทธิพงษ์” นำคณะผู้บริหารดีอีเอส พร้อมหน่วยงานในสังกัด ติดตามผลงานการพัฒนาระบบจัดการท่าเรืออัจฉริยะจ.ภูเก็ต นำร่องตอบโจทย์การใช้งานเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยการคัดกรองและติดตามโรคระบาด เพิ่มความมั่นใจการผ่อนคลายมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ควบคู่การตรวจคัดกรอง ติดตาม และเฝ้าระวังโควิด-19 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังพร้อมด้วยลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต ในโอกาสเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 ระหว่างวันที่ 2-3 พ.ย. 63 ที่ จ.ภูเก็ต ว่า กระทรวงดิจิทัลฯ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) ได้ดำเนินการพัฒนาจัดการท่าเรือ ณ ท่าเทียบเรืออ่าวปอ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพื่อให้จังหวัดสามารถทราบข้อมูลและจำนวนผู้โดยสารในเรือแต่ละลำ เก็บภาพวิดีโอของผู้โดยสาร พร้อมการคัดกรองอุณหภูมิผู้โดยสารก่อนลงเรือ เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยการคัดกรองและติดตามโรคระบาด ระบบการจัดการท่าเรืออัจฉริยะในโครงการต้นแบบดังกล่าว  ประกอบไปด้วย ระบบลงทะเบียนผู้โดยสารทางทะเลกลางผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยให้ผู้ประกอบการทัวร์ หรือเจ้าของเรือ ลงทะเบียนรายชื่อผู้โดยสาร ลูกเรือ กัปตัน ชื่อเรือ พร้อมเส้นทางการเดินทางของเรือ ก่อนเรือออกในแต่ละวัน พร้อมระบบรายงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ระบบจัดการผู้โดยสารท่าเรืออัจฉริยะ คือ ประตูอัตโนมัติ จุดขึ้นลงเรือ พร้อม CCTV จับใบหน้าและวัดอุณหภูมิ และตู้พร้อมอุปกรณ์ (Kiosk) ลงทะเบียนผู้โดยสารหน้าท่าเรือ พร้อมกล้องจับใบหน้า เครื่องอ่านบัตรประชาชน และพาสปอร์ต ระบบ Wristbands ติดตามตัวบุคคลและร้องขอความช่วยเหลือเมื่อประสบภัย และเรือท่องเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการเพื่อเป็นต้นแบบท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) เป็นจุดOne Stop Service บูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อการพัฒนาการบริหารงานท่าเทียบเรือในอนาคต “แพลตฟอร์มนี้ได้รับการออกแบบในลักษณะ One Stop Service เช่น การเชื่อมต่อข้อมูลด้านประกันภัยแบบอัตโนมัติเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถนำสายรัดข้อมือไปยืนยันการเคลมประกันกับโรงพยาบาลได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องโทรติดต่อประกันภัย หรือนำเอกสารยืนยันตัวต่าง ๆ เข้าไปยื่นก่อนการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาได้เลย เป็นลดขั้นตอน ลดระยะเวลาไปอย่างมาก หรือจะเป็นการส่งรายชื่อนักท่องเที่ยวทุกคน ให้เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าก่อนการออกเดินทาง เพื่อเป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งแพลตฟอร์มรองรับการอัปโหลดข้อมูลจากบริษัทนำเที่ยว จากนั้นแพลตฟอร์มจะทำการส่งข้อมูลเหล่านั้น ให้กับเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า และสามารถประมวลผล และสรุปผลได้โดยทันที” นายพุทธิพงษ์กล่าว ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบข้อเสนอแนะว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการท่าเทียบเรือ จะทำให้ท่าเทียบเรือให้มีความปลอดภัยมากขึ้น แม้ว่าอาจจะทำให้เพิ่มขั้นตอนการดำเนินงาน และท่าเรือ/บริษัทนำเที่ยวมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือในการขยายผลไปยังท่าเรืออื่นหรือเกิดการย้ายท่าเรือของบริษัทนำเที่ยว ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงในกระบวนการในส่วนนี้ จึงควรมีการกำหนดมาตรการและการสนับสนุนการดำเนินงานให้เกิดเป็นรูปธรรม และขยายผลให้มีการดำเนินการทุกท่าเทียบเรือในจังหวัดภูเก็ตซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และสามารถสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวได้  “ผมจึงสั่งการให้ดีป้า ประสานงานกับกรมเจ้าท่าเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการ และการสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการขยายผลในทุก ๆ ท่าเทียบเรือในจังหวัดภูเก็ต ปิดช่องโหว่ที่พบข้างต้น เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย และความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯกล่าว สำหรับโครงการท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ต้นแบบท่าเทียบเรืออ่าวปอ จะมีส่วนสนับสนุนให้ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ มีความมั่นใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตเพิ่มขึ้น ภายหลังมีมาตรการผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าไทย ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูเก็ต ซึ่งพึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ส่วนความคืบหน้าของมาตรการเปิดประเทศขณะนี้ จะใช้แอปพลิเคชัน “ไทยแลนด์พลัส” และสายรัดข้อมือไว้ติดตามตัวนักท่องเที่ยว  เพื่อใช้ตรวจจับอุณหภูมิร่างกาย วัดคลื่นหัวใจ มีระบบแจ้งเตือนฉุกเฉิน และกรณีหากมีการถอดสายรัดข้อมือออกเจ้าหน้าที่สามารถทราบได้ทันที ซึ่งจะมีผลทางกฎหมายกับตัวนักท่องเที่ยวผู้ที่ถอดสายรัดข้อมือออกด้วย เบื้องต้นช่วงแรกได้เตรียมสายรัดข้อมือไว้จำนวน 10,000 ชิ้น ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวและพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม สายรัดข้อมือที่ทางท่าเทียบเรืออัจฉริยะใช้อยู่ ก็จะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลกันกับที่รัฐบาลจะนำมาใช้กับนักท่องเที่ยวในโอกาสเปิดประเทศครั้งนี้ด้วย เพื่อให้ข้อมูลเกิดความแม่นยำตรงกันทั้งหมด และให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมสถานการณ์ด้วย-สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสเตือนเตรียมฟันผู้นำเข้าข้อมูลจาบจ้วงทางโซเชียล

กรุงเทพฯ 31 ต.ค. พุทธิพงษ์เตือนผู้ใช้โซเชียล อย่าโพสต์ ละเมิดสิทธิ์หรือจาบจ้วง ถือเป็นความผิเตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์  สั่งเจ้าหน้าที่ติดตามเอาผิดผู้โพสต์คนแรกและผู้แชร์ส่งต่อข้อความ  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) กล่าวว่า จากที่ได้ติดตามการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน และกลุ่มต่างๆ ในช่วงนี้พบว่า ยังคงมีการโพสต์ภาพและเนื้อหาที่เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทาวคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพ์ฯ)  เป็นจำนวนมาก  จึงขอแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้โซเชียล มีเดียโปรดระมัดระวัง เรื่องการโพสต์ภาพและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ทั้งในลักษณะจาบจ้วง หรือ ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ไม่ว่าจะผ่านแพลตฟอร์มใดก็ตาม ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตามอย่างใกล้ชิดเมื่อพบผู้ที่กระทำความผิด เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายกับทุกคนที่กระทำผิดอย่างจริงจัง  ทั้งผู้ที่โพสต์คนแรก รวมถึงผู้ที่แชร์ ส่งต่อข้อความที่ผิดกฎหมายด้วยตามลำดับ ขอเตือนอีกครั้ง ด้วยความห่วงใยและปรารถนาดี ขอให้ผู้ใช้สื่อออนไลน์ใช้สิทธิและเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมาย และต้องเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นด้วย -สำนักข่าวไทย.

ศูนย์เฟคนิวส์รายงานสถิติพบข่าวปลอมด้านสุขภาพติดอันดับ 1 ลวงมากที่สุด

กรุงเทพฯ 31 ต.ค. ศูนย์ข่าวปลอมรายงานการดำเนินการพบข้อความปลอม 25 ล้านข้อความ หมวดสุขภาพโดนหลอกครองแชมป์3.8 พันเรื่อง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) ดำเนินการโดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รายงานภาพรวมผลการดำเนินงาน (1 พ.ย.62-28 ต.ค.63) จากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากที่มีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามา และระบบติดตามการสนทนาทางโซเชียล (Social listening) พบว่า มีจำนวนข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 25,835,350 ข้อความ ข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 19,466 ข้อความ มีจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 6,826 เรื่อง โดยร้อยละ 56 เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ 3,812 เรื่อง เรื่องเกี่ยวกับนโยบายรัฐร้อยละ 38 หรือจำนวน 2,620 เรื่อง เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 251 เรื่อง หรือร้อยละ4 และเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติ143 เรื่อง หรือร้อยละ 2 -สำนักข่าวไทย.

กูเกิลเผยผลศึกษาความท้าทายของชีวิตที่โดนผลกระทบจากโควิด-19

กรุงเทพฯ 29 ต.ค. Google เผยความท้าทายจากโควิด-19 ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ต้องเผชิญ เมื่อบริการที่จำเป็นต่างๆ ถูกนำไปไว้บนโลกออนไลน์ ความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตจึงเพิ่มขึ้น กูเกิลรายงานผลการศึกษาผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ในยุคโควิด-19 โดยศึกษาผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ (New Internet User) พบว่า การศึกษาล่าสุดของทีม Next Billion Users ขพบว่า กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ (New Internet User) ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากกว่ากลุ่มอื่น ความท้าทายที่เกิดจากการแพร่ระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ต้องเผชิญนั้นหนักหนายิ่งขึ้นไปอีก เมื่อบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น การพาณิชย์ การศึกษา บริการด้านสุขภาพ และบริการอื่นๆ ของภาครัฐ ถูกนำไปไว้บนโลกออนไลน์เพื่อรับมือกับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลานั้นลดลง ปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดความรู้และทักษะด้านดิจิทัล และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้กลายเป็นปัญหาที่หนักหนาขึ้น และอาจทำให้ผู้ที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่สามารถไล่ตามคนอื่นๆ ได้ทัน และเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ช้ากว่าคนอื่น  การศึกษาครั้งนี้ระบุถึงความจำเป็น 8 ประการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ ทั้งความจำเป็นที่มีอยู่ก่อนหน้าและความจำเป็นใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา โดยหนึ่งในนั้นคือความจำเป็นในการใช้อินเทอร์เน็ตให้คุ้มค่ามากขึ้น เมื่อเรื่องอาหาร การศึกษา และแม้แต่อาชีพการงานนั้นถูกย้ายจากโลกกายภาพไปสู่โลกดิจิทัล การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และการอยู่บนโลกออนไลน์ได้นานขึ้นก็ได้กลายเป็นความต้องการพื้นฐานของผู้คนในปัจจุบันไปแล้ว ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายสำหรับบริการอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น  นายซีซาร์ เซงกุปตา รองประธานฝ่าย Payments และ Next Billion Users Initiative ของกูเกิลกล่าวว่า โควิด-19 ถือเป็นความท้าทายสำหรับทุกคน แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษคือกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ แต่ในความท้าทายนี้ก็ยังมีโอกาสอยู่ หากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรภาคประชาสังคมร่วมมือกัน เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น และเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตขึ้น เราสามารถทำให้อินเทอร์เน็ตดีขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในยุคหลังโควิด-19 เพื่อให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้ใช้นับพันล้านคนในปัจจุบัน รวมทั้งผู้ใช้รายใหม่อีกนับพันล้านคนที่กำลังจะตามมา และผู้ใช้กลุ่มใหม่ในอนาคต-สำนักข่าวไทย.

เดลล์พัฒนาโน๊ตบุ๊กซีพียูเจน11

กรุงเทพฯ 29 ต.ค.เดลล์ ส่งโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู  Intel Core Gen 11 แพลตฟอร์ม Intel EVO จับกลุ่มนิวเจนนักธุรกิจต้องการโน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูง  นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร ตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชีย และสายธุรกิจคอนซูเมอร์ ภูมิภาคเอเชียใต้ เดลล์กล่าวว่า ปรัชญาในการพัฒนาเทคโนโลยีของเดลล์ คือ การถือว่าลูกค้าเป็นศูนย์กลาง  XPS คือซีรีส์ที่เน้นการออกแบบดีเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง โดยมีนักธุรกิจอายุน้อย มีสไตล์เป็นของตัวเอง นิยมความเป็น Minimalist ด้วยสินค้าที่มีการออกแบบให้บางเบา Dell XPS ใช้หน่วยประมวลผล Intel Core i Gen 11 ของ Intel EVO แพลตฟอร์ม บนมาตรฐานการใช้งานได้ต่อเนื่องเกิน 9 ชั่วโมง เมื่อเปิดเครื่องต้องพร้อมใช้งานภายใน 1 วินาที-สำนักข่าวไทย.

Googleเพิ่มคุณสมบัติการค้นหาสามมิติ

กรุงเทพฯ 30 ต.ค. Google เพิ่มการค้นหาแบบ 3 มิติ ในวันฮาโลวีน และเกมสนุกบน Doodle หลังจากที่ Google ได้นำเทคโนโลยี AR มาใช้บน Search ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสัตว์ สิ่งของ สถานที่ มากมายในรูปแบบ 3 มิติ และในเทศกาลฮาโลวีนนี้ Google ได้เพิ่มความพิเศษให้การค้นหาในรูปแบบ 3 มิติสนุกยิ่งขึ้น โดยสามารถค้นหาได้ถึง 62 ภาษา รวมถึงภาษาไทย เริ่มการค้นหาโดยเปิดเบราวเซอร์ Google Chrome บนสมาร์ทโฟน และค้นหาด้วยภาษาไทย คำว่า ฮาโลวีน, หมาหรือสุนัข, เยอรมันเชพเพิร์ด, แมว, โครงกระดูกคน หรือกระดูกคน และ ฟักทองฮาโลวีน หรือตะเกียงฟักทอง และกดค้นหา จะปรากฎผลการค้นหาขึ้นมา จากนั้นกด “ดูในแบบ 3 มิติ” หรือ View in 3D ก็จะได้พบกับผลการค้นหาของทั้ง6 คำ ในรูปแบบธีมฮาโลวีนที่คุณยังไม่เคยเห็นมาก่อน -สำนักข่าวไทย.

หัวเว่ยเชื่อโลกกำลังเผชิญกับ5เทรนด์ความเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อ

กรุงเทพฯ 29 ต.ค. หัวเว่ย ชี้การมาของ 5G ทำให้โลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อใหม่  นายเดวิด หวัง ผู้อำนวยการบริหารของหัวเว่ย กล่าวถึงแนวโน้มเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบสื่อสารไร้สายว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลง 5 ประการ การยกระดับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทุกครั้งล้วนสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมในระดับรากฐาน ปัจจุบันขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ ทั้งปัจเจกบุคคล ครัวเรือน และองค์กร ล้วนต้องการการเชื่อมต่อมากกว่าที่เคยเป็น และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น คลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ล้วนทำงานประสานกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งนำพาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไปสู่การเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลง 5 ประการได้แก่ การเชื่อมต่อจาก IoT กับ IoT อัจฉริยะ สู่ Intelligent Twins ที่เชื่อมต่อกัน ในอดีต เราต้องการเชื่อมต่อผู้คนกับบ้าน นำมาสู่การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) เมื่อเราต้องการสร้างชีวิตที่เชื่อมกับ AI อย่างไร้รอยต่อและยกระดับองค์กรสู่ความอัจฉริยะ เราจึงต้องเชื่อมต่อหลายๆ สิ่งเข้ากับเทคโนโลยีอัจฉริยะให้มากขึ้น นำมาสู่ IoTอัจฉริยะ (intelligent IoT) มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการเชื่อมต่อทั่วโลกจะมีถึง 1 ล้านล้าน ภายในปี ค.ศ. 2035 จะทำให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างครอบคลุมทุกหนแห่งและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีอัจฉริยะเกิดขึ้นได้จริง การเชื่อมต่อจากออฟฟิศสู่ออฟฟิศกับการผลิต โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงความต้องการที่ผู้คนมีต่อเครือข่ายบรอดแบนด์ในครัวเรือน ด้านการใช้งานขององค์กรนั้น เทคโนโลยีการเชื่อมต่อพัฒนาไปไกลกว่าแค่การใช้งานในออฟฟิศ โดยรองรับได้ทั้งออฟฟิศและการผลิต สิ่งที่องค์กรมุ่งเน้นในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลนั้น ได้เปลี่ยนจากออฟฟิศดิจิทัลสู่การผลิตดิจิทัล การทำธุรกรรมดิจิทัล และการบริหารจัดการแบบดิจิทัล การเชื่อมต่อจากการทุ่มเทให้ดีที่สุด สู่บริการเชิงกำหนดที่หลากหลาย อุตสาหกรรมต่างๆ มีความหลากหลายตามรูปแบบการให้บริการและความต้องการใช้งานด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ หากบริการที่แตกต่างคือสิ่งที่มีอยู่เป็นปกติในขณะนี้ ประสบการณ์การใช้งานในรูปแบบเชิงกำหนด (deterministic experience) ก็คือสิ่งที่จำเป็นต้องมีต่อจากนี้ ผู้ให้บริการเครือข่ายจึงจำเป็นต้องเปิดประตูให้กับตลาดอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ด้วยการมอบบริการเชิงกำหนดที่หลากหลาย การเขื่อมต่อจากเมกะไบต์สู่กิกะไบต์ผ่านตัวกลางใดก็ได้เทคโนโลยีการเข้าถึงการเชื่อมต่อแบบหลายช่องทาง(Multiple access) ที่มีอยู่ เช่น โทรศัพท์มือถือ, Wi-Fi, ใยแก้วนำแสง และความหลากหลายของรูปแบบการบริการหมายความว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นการเข้าถึงการเชื่อมต่อแบบหลายช่องทางจะยังคงมีอยู่ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า และด้วยความทุ่มเทร่วมกันของทั้งภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี 4G, 5G, Wi-Fi และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสงในปัจจุบันจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่ความเร็วระดับกิกะไบต์ได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ และการดำเนินงานและการบำรุงรักษาด้วยโดยใช้คน สู่ระบบอัตโนมัติขั้นสูง เทคโนโลยี 5G จะทำให้การดำเนินงานและการบำรุงรักษาเครือข่าย(O&M) ซับซ้อนกว่าเทคโนโลยี 4G กระบวนการ O&M ที่ใช้คนนั้นจะไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรับมือกับความซับซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ และจะเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบอัตโนมัติขั้นสูง (hyper-automation) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและ AI เพื่อทำให้การตัดสินใจในกระบวนการ O&M เรียบง่ายมากขึ้น มุ่งสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะด้วย AI ความเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ประการนี้กำลังสร้างความต้องการใหม่ ๆ ต่อเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ ซึ่งต้องได้รับการอัปเกรดขึ้นไปเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ความต้องการประการแรกคือเครือข่ายระดับกิกะไบต์ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ (ubiquitous gigabit) เพราะแบนด์วิดท์คือโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมต่อการเชื่อมต่อในระดับกิกะไบต์ที่ครอบคลุมทุกที่จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับวิดีโอความละเอียดสูงระดับ ultra-HD, แอปพลิเคชัน VR/AR เชิงอุตสาหกรรม, กล้อง AI และโดรน ความต้องการประการที่สองคือประสบการณ์การใช้งานเชิงกำหนดซึ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้งานในบ้าน เช่น การทำงานจากบ้านและการเรียนออนไลน์ รวมถึงการใช้งานในองค์กร เช่น การผลิตที่ปลอดภัยและวางใจได้ และความต้องการประการที่สามคือระบบอัตโนมัติขั้นสูงเนื่องจากการพัฒนาเครือข่ายในแง่ของขนาดและความซับซ้อน เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและ AI จะต้องได้รับการนำไปใช้เพื่อให้เกิดเป็นระบบอัตโนมัติขั้นสูงได้สำเร็จ-สำนักข่าวไทย.

1 10 11 12 13 14 2,829
...