กูเกิลเผยผลวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมูลค่า1.8หมื่นล้านเหรียญ

กรุงเทพฯ 10 พ.ย. กูเกิล รายงานผลการวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน เชื่อปี 2563 มูลค่าตลาดยังโตแตะ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แม้เจอโควิด-19 แต่อีคอมเมิร์ซ สื่อออนไลน์ยังโตต่อ นางแจ๊คกี้ หวาง ผู้อำนวยการ กูเกิล ประเทศไทย แถลงผลการวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มขึ้น 40 ล้านคนจากปี 2562 ทำให้ปัจจุบันทั่วทั้งภูมิภาคนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น 400 ล้านคน และจากรายงานฯ ได้สนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568 สำหรับประเทศไทยยังคงเกาะกระแสการเติบโตที่คาดว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะแตะที่ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 25 ในปี 2568 แม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปีนี้จะเต็มไปด้วยความท้าทาย ผลการวิจัยระบุว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยจะมีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 นับเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ได้มีการวิจัยติดตามการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน  7 ภาคส่วน […]

ไลน์แจงเซิร์ฟเวอร์ขัดข้องที่ญี่ปุ่นทำระบบล่ม

กรุงเทพฯ 9 พ.ย. ไลน์ ประเทศไทยแจงเหตุเซิร์ฟเวอร์ญี่ปุ่นขัดข้องทำให้ระบบล่มชั่วคราว บริษัทไลน์ ส่งคําชี้แจงกรณี ระบบ LINE หยุดชะงักชั่วคราว เมื่อประมาณเวลา 12.45 น. ที่ผ่านมา มีเหตุขัดข้องจากเซิร์ฟเวอร์ LINE ในประเทศญี่ปุ่นจึงทาให้เกิดการชะงกั ของระบบสื่อสารภายใต้แพลตฟอร์ม LINE เป็นเวลาประมาณ 15 นาที อย่างไรก็ตาม ขณะนีร้ ะบบได้รับการ แก้ไขเรียบร้อยแล้วผู้ใช้งานสามารถกลบั มาใช้งานLINEได้เป็นปกติเช่นเดิม LINE ประเทศไทย กราบขออภยั เป็นอย่างสงูในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้-สำนักข่าวไทย.

เปิดอินสตาแกรมชอปปิ้งในประเทศไทย

กรุงเทพฯ 9 พ.ย. – อินสตาแกรมเปิด Instagram Shopping ให้ใช้งานสำหรับธุรกิจและครีเอเตอร์ในไทย รับเทศกาลช้อปส่งท้ายปี นางชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Facebook ประเทศไทย กว่าวว่า  ปัจจุบันอินสตาแกรมมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือน หรือร้อยละ 90 ของผู้ใช้งานเหล่านี้กดติดตามบัญชีธุรกิจบน Instagram อย่างน้อย 1 บัญชี และมีผู้ใช้งานราว 130 ล้านคน ที่กดดูแท็กรายละเอียดสินค้าในทุกๆ เดือน Instagram จึงเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างสรรค์แรงบันดาลใจและช่วยให้ผู้คนสนุกกับประสบการณ์การชอปปิ้ง ข้อมูลจากการศึกษาหัวข้อ Mega Sales & Holiday 2020 ซึ่งจัดทำโดย Facebook IQ ระบุว่า นักช้อปช่วงเทศกาลสิ้นปีในประเทศไทยเลือกใช้แอปพลิเคชันในเครือ Facebook เป็นอันดับแรก เพื่อค้นหาไอเดียและแรงบันดาลใจสำหรับสินค้าแทบทุกประเภท อิทธิพลของอินสตาแกรมที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าช่วงสิ้นปียังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70 ในปี พ.ศ. 2560 เป็นร้อยละ 76    ในปี พ.ศ. 2562 โดยร้อยละ 51 ของนักช้อปค้นหาไอเดียเพื่อช่วยในการตัดสินใจผ่าน Instagram Stories ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 เทียบกับปี พ.ศ. 2561 ข้อมูลบนแพลตฟอร์มยังกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจกว่า 200 ล้านรายที่ดำเนินการบนแอปพลิเคชันต่างๆ ในเครือ Facebook ในแต่ละเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งกระตุ้นให้การซื้อขายบนช่องทางดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลการสำรวจพบว่าผู้คนร้อยละ 85 จากทั่วโลกต่างหันมาเลือกซื้อของออนไลน์ในทุกวันนี้  การเปิดตัว Instagram Shopping ในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์ชอปปิ้งแบบไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้า ผู้บริโภคและครีเอเตอร์ โดยการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่นี้รวมถึงการติดแท็กสินค้าโฆษณาที่มีแท็กสินค้า และแท็บ Instagram Shop ที่เป็นเสมือนแหล่งรวมการค้นหาและซื้อขายสินค้าไว้ในที่เดียว อินสตาแกรมได้แจ้งอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ในงานแถลงข่าวออนไลน์ผ่านทาง Facebook Live  “การซื้อขายถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญในด้านประสบการณ์ผู้ใช้งานบนแอปพลิเคชันต่างๆ ของ Facebook มาโดยตลอด ซึ่งรวมถึงอินสตาแกรมด้วย เราได้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ ในไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์ม เช่น  อินสตาแกรมเพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจอย่างประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันยังสามารถค้นหาและเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศไทย เราเปิดตัว Instagram Shopping ในประเทศไทย เพื่อส่งมอบประสบการณ์การซื้อขายที่ไร้รอยต่อให้กับธุรกิจร้านค้า ผู้บริโภค และเหล่าครีเอเตอร์ คุณสมบัติใหม่จะเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์และครีเอเตอร์ในไทย ซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าของเหล่านักช้อป ข้อมูลจากรายงาน Mega Sales & Holiday 2020 Insight ระบุว่า ร้อยละ 47 ของผู้ที่ร่วมตอบแบบสอบถามในไทยได้รับไอเดียการซื้อของช่วงสิ้นปีมาจากกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ ดังนั้น เพื่อสร้างประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์อย่างสร้างสรรค์บน Instagram ครีเอเตอร์สามารถเลือกตั้งค่า การติดแท็กสินค้า (Shopping Tags) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานรับทราบถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น ”หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เฟซบุ๊ก กล่าว.-สำนักข่าวไทย.

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน5Gรับการลงทุน

กรุงเทพฯ 9 พ.ย. ทีโอที ผนึก สกพอ.เดินหน้าให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรองรับระบบ 5G เสริมความเข้มแข็งการลงทุนใน EEC  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เพื่อรองรับ ระบบสื่อสารต่างๆ และเทคโนโลยี 5G ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)โดย นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดย นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคมและดิจิทัล เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี 5G ที่จะช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนผู้ประกอบการทั่วโลกให้สนใจเข้าร่วมลงทุนใน EEC โดย สกพอ. ร่วมกับ ทีโอที เตรียมความพร้อมให้บริการระบบ 5G เต็มรูปแบบแก่ภาคอุตสาหกรรมและร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนรายอื่นๆ ในลักษณะการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing)เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนระหว่างภาครัฐกับเอกชนใช้ทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่เป็นการผูกขาดทางธุรกิจ ภายใต้ความร่วมมือ สกพอ. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกการดำเนินงาน พร้อมจัดหาโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้อง กับ ทีโอที รวมทั้งส่งเสริมด้านสิทธิประโยชน์หน่วยงานรัฐและเอกชนที่ร่วมโครงการดังกล่าว โดยการดำเนินงานในระยะแรก ด้านพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ด้านพัฒนาชุมชนโครงการ เมืองอัจฉริยะบ้านฉาง ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยทีโอที มีเป้าหมายดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และในระยะต่อไปการทำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเพื่อรองรับระบบสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยี 5G จะดำเนินการคู่ขนานไปกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นในพื้นที่ EEC-สำนักข่าวไทย.

สวทช.เตือนผู้นำเข้าเพาเวอร์แบงก์เร่งนำสินค้าตรวจสอบก่อน1ธ.ค.

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. สวทช. แนะผู้ประกอบการเร่งนำเพาเวอร์แบงก์มาตรวจสอบมาตรฐานเพื่อยื่นขอเครื่องหมาย มอก. ภายใน1 ธันวาคมนี้ ก่อนมีความผิดอาญา นางเกศวรงค์  หงส์ลดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวถึงมาตรการที่ให้ผู้ประกอบการนำเข้าแบตเตอรี่สำรอง (เพาเวอร์แบงก์) ให้เร่งนำสินค้ามาตรวจสอบมาตรฐานที่ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ สวทช. เพื่อยื่นขอเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรม วันที่ 1 ธันวาคมนี้ ว่า สวทช.พร้อมสนับสนุนการตรวจสอบมาตรฐานของเพาเวอร์แบงก์ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัย โดย สวทช.มีศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงอยากจะแนะนำให้ผู้ประกอบการที่นำเข้าเพาเวอร์แบงก์ ให้รีบนำสินค้าไปทดสอบมาตรฐานที่ PTEC เนื่องจากมีเวลาอีก  ไม่มากนักก่อนที่จะถึงกำหนดการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ โดยผู้ประกอบสามารถนำผลิตภัณฑ์เพาเวอร์แบงก์ที่ผลิตและนำเข้ามาทดสอบมาตรฐาน และนำผลรายงานการทดสอบไปยื่นต่อ สมอ. เพื่อขอ มอก. สำหรับผลิตภัณฑ์ของตนเองต่อไป ด้านนายไกรสร อัญชลีวรพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สวทช. กล่าวถึงมาตรฐานการตรวจสอบเพาเวอร์แบงก์ของ PTEC ว่า PTEC เป็นศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ที่ทันสมัยสามารถตรวจสอบมาตรฐานได้ถึงระดับเซลล์ ระดับโมดูล และ ระดับแพ็ค ที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2217 หรือ IEC62133 และยังเป็นศูนย์ทดสอบแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่สนใจนำอุปกรณ์เข้ามาให้ทดสอบแบตเตอรี่ พร้อมรองรับมาตรการควบคุมได้ทันภายในวันที่ 1 ธันวาคมนี้อีกด้วย ขอแนะนำผู้บริโภคถึงวิธีการสังเกตความผิดปกติของแบตเตอรี่ โดยให้สังเกตจากรูปลักษณ์ภายนอก หากมีการบวมแตกหรือบิ่น ถือว่าไม่ปลอดภัย ควรนำไปตรวจสอบก่อนใช้งานต่อ และผู้บริโภคไม่ควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่มีราคาถูกเกินจริง ที่สำคัญให้ตรวจสอบว่าสินค้าได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคเอง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ประกาศให้มาตรฐานเพาเวอร์แบงก์ เป็นมาตรฐานบังคับ คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย มอก. 2879-2560 ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอ มอก.เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ส่งผลให้เพาเวอร์แบงก์ในท้องตลาดทุกยี่ห้อ ต้องมีเครื่องหมาย มอก. รับรองตามที่มาตรฐานกำหนด หากละเมิดผู้นำเข้าจะมีความผิดทางอาญา สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-7000 (ในวันและเวลาราชการ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป-สำนักข่าวไทย.

เฟซบุ๊กชี้5เทรนด์มาแรงนักช้อป

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. เฟซบุ๊ก ชี้ 5 เทรนด์มาแรงของนักช้อปไทย พร้อมนำเสนอมิติใหม่ของการช้อปปิ้งผ่านไลฟ์สด นางสาวชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจเฟซบุ๊ก ประเทศไทย กล่าวว่า เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพฤติกรรมและความคาดหวังต่อการช้อปปิ้งของผู้บริโภคในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุค ‘เน็กซ์ นอร์มอล’ แม้ว่าช่วงเทศกาลที่กำลังจะมาถึงจะสร้างโอกาสในการสร้างผลกำไรให้กับแบรนด์ต่างๆ แต่พวกเขาก็ยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึก Mega Sales & Holiday 2020 ของเฟซบุ๊กไอคิว ได้สรุปเทรนด์ที่กำลังมาแรง 5 ข้อที่แบรนด์ควรพิจารณาระหว่างการวางแผนกลยุทธ์สำหรับช่วงเทศกาลวันหยุด ดังนี้กลุ่ม Gen X และเบบี้บูมเมอร์มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของมือถือและอีคอมเมิร์ซในระดับโลก ผู้คนทุกช่วงอายุต่างใช้งานมือถือเพื่อเชื่อมต่อ รับข่าวสาร และช้อปปิ้งในช่วงโควิด-19 โดยร้อยละ 71 ของชาวไทยใช้ “เวลาเล่นมือถือมากขึ้น” และที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 65  ของ Gen X และเบบี้บูมเมอร์ใช้เวลาเล่นมือถือมากขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยร้อยละ 36 ช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ในปัจจุบัน การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งการเติบโตของมหกรรมลดราคาสินค้า สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคอย่างชัดเจน โดยผู้บริโภคจะมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้ามากขึ้น และเราคาดการณ์ว่าผู้ซื้อจำนวนมากรอวันมหกรรมลดราคา โดยนักช้อปที่ร่วมตอบแบบสำรวจระบุว่า มหกรรมลดราคา 12.12 และ 11.11 เป็นอีเวนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด การซื้อของขวัญให้ตัวเองและการช้อปปิ้งช่วงเทศกาลเป็นเทรนด์ที่ครองมหกรรมลดราคาในปีนี้ ผู้คนจำนวนมากเลื่อนช่วงเวลาช้อปปิ้งซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายมากขึ้น ผลการศึกษาของเราเผยว่าเกือบร้อยละ 82 ของนักช้อปในไทยมองหารางวัลให้ตัวเองในช่วงเทศกาลสิ้นปี ซึ่งเป็นที่มาของเทรนด์ที่กำลังมาแรง […]

สมาคมโทรคมนาคมเชื่อสหรัฐยังคุมความได้เปรียบทางเศรษฐกิจไม่ว่าใครเป็นประธานาธิบดี

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.เลขาฯสมาคมโทรคมนาคมชี้ ผลการเลือกตั้งสหรัฐกระทบอุตฯโทรคมนาคม เชื่อใครได้เก้าอี้ยังคงเข้มรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของอเมริกา นายสืบศักดิ์ สืบภักดี เลขาธิการ สมาคมโทรคมนาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยว่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะเป็นชัยชนะของใคร การเลือกตั้งที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก สะท้อนถึงการรับความสนใจจากหลายวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของผู้ท้าชิงทั้งสองพรรคที่ดูเหมือนจะอยู่กันคนละขั้ว ดังนั้นความน่าสนใจจึงถูกโฟกัสว่า หากทรัมป์หรือไบเดนขึ้นเป็นผู้นำจะส่งผลต่อการค้าขาย ธุรกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม น่าจะมีผลกระทบที่มาจากนโยบายของสหรัฐอเมริกาโดยประธานธิบดีโดนัล ทรัมป์ ที่ประกาศอย่างชัดเจนถึงการตั้งกำแพงการค้ากับยักษ์ใหญ่อย่างจีน หรือคู่แข่งสำคัญอย่างบริษัทหัวเหว่ย จนมีการออกมาตรการที่นำไปสู่แบนอุปกรณ์หรือการตัดบริการที่พัฒนาโดยบริษัทของอเมริกาGoogle Mobile Service หรือ GMS บนเครื่องมือถือหัวเว่ย มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่สหรัฐใช้ตอบโต้หรือใช้เพื่อตั้งกำแพง สกัดคู่แข่งทางการค้ารูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้คาดว่าจะมีผลต่อการกำหนดนโยบายการย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมของบริษัทสัญชาติอเมริกากลับแผ่นดินแม่ ทั้งหลายล้วนมาจากนโยบายของผู้นำสหรัฐ หากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีต่อไปคาดว่าแนวนโยบายคงเป็นไปตามที่มี หรืออาจจะเข้มข้นกว่าเดิมใน ขณะที่นายโจ ไบเดน พูดในนโยบายที่หาเสียงว่าค่อนข้างเดินหน้าใช้กรอบการค้าเสรีหรือการเจรจาทางการค้าผ่านเวทีต่างๆ เป็นหลักแต่ก็เชื่อว่าเรื่องการคงความได้เปรียบของอเมริกายังคงเป็นเป้าหมายเดียวกัน อาจจะเร็วไปที่เราจะยินดีจากผลการเลือกตั้งที่ออกมาเลยในทันทีทันใด เพราะท้ายที่สุดการบริหารนโยบายธุรกิจหรือการปกป้องอุตสาหกรรมหลักอย่างโทรคม ไอที หรือเรื่องความมั่นคงเครือข่ายซึ่งในยุคนี้โยงไปได้ถึงความมั่นคงของชาติ สำหรับประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาเชื่อว่าผู้นำเบอร์หนึ่ง -สำนักข่าวไทย.

ดีอีเอสชูบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ ขับเคลื่อน 5G

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ดีอีเอส เชื่อ แคท ผนึก ทีโอที นำบริษัทใหม่ขับเคลื่อน 5G  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวปาฐกถาในงานงาน“CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11) ว่า การระบาดของของโรคโควิด-19 โลกเปลี่ยนไปมาก และมีผลกระทบกับวิถีชีวิตและธุรกิจ จึงขอมาเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ภาครัฐจะทำ ในงานของ CAT คงต้องพูดถึงแนวโน้มของ CAT ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแบะ คงต้องพูดถึงการควบรวม บริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เพื่อลดความซ้ำซ้อนเพื่อดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ให้บริการแก่สังคม สนับสนุนงานนโยบายภาครัฐ และเพื่อคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ โดยเฉพาะการเอา 5G มาพัฒนาเพื่อให้บริการในอุตสาหกรรม ไม่เกินปีหน้าบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT)จะเกิดขึ้นเพื่อเอา 5G มายกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ทุกด้านให้ดีขึ้น 5G ที่จะเกิดขึ้นจะต้องสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของทุกคน งานนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะรับรูแล้วทางการนำ 5G มาใช้งาน เพื่อให้ธุรกิจได้เตรียมตัวและทราบว่าจะมีส่วนร่วมอย่างใดได้บ้าง รัฐบาลมีโอกาสใช้โอกาสและช่องทางในการวางโครงสร้างพื้นฐานของบริการเคเบิ้ลใต้น้ำ โดยรัฐบาลจะใช้โอกาสของที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ระหว่าจีนและญี่ปุ่น ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางข้อมูลและการเชื่อมต่อก่อนที่จะเขื่อมโยงไปที่สิงคโปร์ ด้วยโอกาสและเวลาประเทศไทยมีความเหมาะสมที่สุดที่ตะใช้โอกาสนี้ นอกจากนี้ในส่วนของกิจการดาวเทียม หลายประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาดาวเทียมวงโคตรต่ำ ดาวเทียมมีขนาดเล็กลงในระยะอันใกล้ด้วยการเตรียมการร่วมพัฒนาระบบดาวเทียม วงโคจรต่ำ Low Earth Orbit (LEO) ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ CAT จึงได้เตรียมบุคลากรและความพร้อมในการเสนอทางเลือกในการให้บริการดาวเทียมวงโคจรต่ำ รองรับความต้องการของทุกอุตสาหกรรม ส่วนการบริหารจัดการอุตสาหกรรมดาวเทียมด้วยเป็นช่วงเวลาที่สัมปทานดาวเทียมไทยคมจะหมดลง รัฐบาลคาดว่าการประมูลจะเกิดขึ้นภายในปลายปี 2564 หากทำได้ตามกำหนดภายใน 1-2 ปีเราจะได้เห็นการใช้งานจากดาวเทียมวงโคจรต่ำ  นายพุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการใช้งานฐานข้อมูลหรือ BigDataให้เป็นประโยชน์ รัฐบาลได้พัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) เพื่อทำหน้าที่ปกป้องข้อมูลของประชาชน รวมถึงการออกพ.ร.บ.การค้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คลาวด์กลางของภาครัฐ หรือ GDCC จะรวบรวมข้อมูลของรัฐทั้งหมดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อให้บริการ ตั้งแต่ปี 2564 ข้อมูลของรัฐจะมาอยู่ที่ GDCC ทั้งหมด ปัจจุบันมีการขอใช้งานแล้วกว่า 25,000 VM มากกว่าที่ประมาณการไว้ที่ 8,000 VM อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนการทำงานในช่วงโควิด-19 กระทรวงฯ จึงต้องเร่งดำเนินการด้านงบประมาณเพื่อเพิ่มความสามารถให้รองรับได้ทั้งหมด กระทรวงฯยังได้วางระบบในการสื่อสารระบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีของ CAT คือ LoRa IoT sensor ที่จะมีการนำเซ็นเซอร์กระจายออกไปในพื้นที่ห่างไกล เช่น ในป่า ระบบจะตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงและแจ้งเตือนกรณีเกิดไฟป่า รวมถึงการเอาไปใช้กับการติดตามสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมลภาวะของPM2.5  จากนี้ไปเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยจะใช้โอกาสที่มีอยู่เพื่อการเดินหน้าและใช้เวลาที่ดีนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งด้านสังคม การศึกษา และสาธารณสุข -สำนักข่าวไทย.

ดีป้าแนะธุรกิจปรับตัวรับเรียลไทม์บีเฮฟวิเออร์

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.ดีป้า ชูเทรนด์ใหม่ เรียลไทม์บีเฮฟวิเออร์ กระทบแน่ถ้าไม่เร่งปรับตัว ชี้ธุรกิจไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่เสี่ยงเศรษฐกิจเปราะบาง นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวในงาน “CAT Network Showcase 2020” (ครั้งที่ 11)ในหัวข้อ Now Normal ว่า เทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ คือ Realtime behavior เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากการที่คนเข้าโลกโซเชียลได้มากขึ้นและตลอดเวลา จึงทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปด้วยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน พบว่ากบุ่มตัวอย่าง 2 พันคน ใช้เวลาตอบสนองกับเนื้อหาในโซเขียลมีเดียครั้งละ 8 วินาที ดังนั้นเนื้อหา Realtime จึงเป็นที่อยู่ในความสนใจของคน พฤติกรรมนี้ทำให้คนอฝเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยมีความอดทนรอน้อยลงดั้งนั้นแพลตฟอร์มที่ทำให้คนเชื่อมถึงกันด้วยความรวดเร็วจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น ขณะที่แพลตฟอร์มของไทยในบริการต่างๆจะต้องมีการจัดการเวลาที่ดี เพื่อไม่ให้คนต้องรอนานนี่คือควาทเปลี่ยนแปลงที่มีต่อเวลาและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดมาจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เป็นการเปลี่ยนแปลตามแนวโน้มการบริโภคสื่อที่เปลี่ยนไปเรียกว่า NowNormal เป็นความเคยชิน สิ่งที่อยากได้และต้องการในชีวิตประจำวัน ความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนนี้มีผลต่ออุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะพฤติกรรมอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยความต้องการใช้บริการดิจิทัล ทั้งดิจิทัลคอนเทนท์ โดยมีความต้องการมากขึ้นร้อยละ 11 หรือมีมูลค่า30,000 ล้านบาท นอกจากนี้ความต้องการในการใช้บิ๊กดาต้าก็เพิ่มขึ้น รวมถึงมูลค่าของตลาดซอฟแวร์ที่ทำให้ธุรกิจเชื่อมกับลูกค้าก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่าพฤติกรรมที่ผู้บริโภคมีต่อสื่อดิจิทัลทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย กลายเป็น New Normal ที่เป็นมNow Normal แต่ยังมีอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและมีความเปลี่ยนแปลงที่เล็กลง อุปกรณ์ต้องมีความสามารถมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลให้แพลตฟอร์มมีขนาดเล็กลงเมื่อเรามีชีวิตในโลกเสมือนจริงมากกว่าโลกที่แท้จริง การทำธุรกิจได้เปลี่ยนจากการอยู่โดยโดดเดี่ยวเป็นการแสวงหาพันธมิตรทั้งเขิงสังคมและเศรษฐกิจ  Realtime behavior จะทำให้การทำธุรกิจต้องมีเครือข่าย เทคโนโลยีทำให้คนเชื่อมกันง่ายจึงมีความร่วมมือทางธุรกิจเกิดขึ้น ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงจะเป็นระบบเศรษฐกิจทีเปราะบาง ธุรกิจที่ใช้บล็อกเชนจ์ ไอโอทีดาต้า และเอไอจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลได้ ความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจถ้าเราไม่เตรียมการรับมือจะเกิดผลกระทบกับทั้งธุรกิจและประชาชน เช่น เราอาจจะได้เห็นเกษตรกรเชื่อมโยงกับลูกค้าโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลางระบบรีเทลและตัวกลางจะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ตรงกลางจึงน่าเป็นห่วง แพลตฟอร์มที่เข้ามารองรับเทรนด์ใหม่มีทั้งแพลตฟอร์มของไทยและต่างประเทศ หากเราปรับตัวไม่ทันเราจะไม่สามารถสร้างจุดแข็งให้เศรษฐกิจไทยอยู่รอดได้ ความอยู่รอดของธุกิจในยุค Realtime behavior ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล มีระบบและเทคโนโลยีในการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การตัดสินใจที่ชาญฉลาด และเข้าใจความต้องการของลูกค้า -สำนักข่าวไทย.

รมว.ดีอีเอสวอนเลือกบริโภคสื่อที่เชื่อถือได้

กรุงเทพฯ 6 พ.ย. รมว.ดีอีเอส วอนคนไทยบริโภคสื่อที่เชื่อถือได้ แนะอย่าเขื่อสื่อโซเชียลที่ตรวจสอบไม่ได้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงการบริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียว่า การบริโภคสื่อเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ในการเลือกรับสื่อควรเลือกรับสื่อที่อ้างอิงได้การทำสื่อโซเชียลเป็นสิ่วที่ทำได้ง่าย เข้าถึงง่าย แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าถูกต้องหรือไม่ ตนไม่ติดใจการทำหน้าที่ของสื่อกระแสหลักหรือสื่อต่างประเทศ เพราะมีบรรณาธิการ และรู้ว่าผู้สื่อข่าวคนนั้นคือใคร สื่อโซเชียลไม่สามารถยืนยันได้ถึงความถูกต้อง ไม่สามารถเชื่อได้ว่าเป็นใครจึงขอให้ผู้รับสื่อเข้าใจและพิจารณาเลือกรับสื่อที่เชื่อถือได้ ที่ผ่านมาตนและกระทรวงไม่เคยใช้อำนาจหน้าที่ในการปิดกั้นสื่อ มีแต่การจัดการกับเว็บไซต์หรือสื่อที่มีการละเมิดหรือทำผิดกฎหมาย ตนไม่เหนื่อยที่จะแม้จะมีปัญหามากแต่เป็นการทำหน้าที่ กระทรวงดีอีเอสควรเป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่พัฒนาให้เกิดสิ่งดีๆในประเทศ แต่เมื่อมีภาระหน้าที่เกิดขึ้นก็ต้องทำงาน-สำนักข่าวไทย.

ผู้เชี่ยวชาญอุตฯโทรคมนาคมชี้ถ้า“ไบเดน”มาเทควอร์ยังอยู่

กรุงเทพฯ 6 พ.ย.  ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมชี้ ไบเดน มา เทควอร์ จะยังคงอยู่ เชื่อท่าทีต่อจีนอาจผ่อนปรนลง  นายเจษฎา ศิวรักษ์  ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม  เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นต่อโฉมหน้าของอุตสาหกรรมไฮเทคของประเทศมหาอำนาจ อิทธิพลที่จะส่งผลต่อประเทศไทยหากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นชัยชนะของพรรคเดโมแครตและส่งผลให้นายโจ ไบเดน มีความเป็นไปได้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ว่า เชื่อว่า Tech war หรือการแข่งขันทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมหาอำนาจอาจจะยังคงมีอยู่ แต่การมาของไบเดนน่าจะมีความประนีประนอมกับประเทศจีนมากขึ้น เพราะบริษัทไฮเทคของสหรัฐจำนวนมากอยากขายของให้จีนอยู่ รวมถึงความต้องการมีส่วนแบ่งตลาดที่ยังมีความสำคัญ เช่น Apple ก็ยังต้องการให้มีส่วนแบ่งตลาดในจีนรวมทั้งบริษัทที่ขายชิพ เช่น อินเทล และเอเอ็มดี  ในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยเฉพาะกับเทคโนโลยี 5G น่าจะมีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปมากขึ้น แต่ในอาเซียนจะมีบางประเทศได้ประโยชน์ ไบเดนคงพยายามสนับสนุน ประเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมทั้งออสเตรเลีย ขณะที่อาจมีการสกัดกั้นหัวเว่ยผ่านประเทศที่มีการเลือกพัฒนา 5G core ด้วยเทคโนโลยีจากจีน ในส่วนประเทศไทยขึ้นอยู่กับสหรัฐว่าจะตีความให้ไทยเป็นประเทศภายใต้การครอบงำของจีน หรือไม่ ถ้าถูกมองเช่นนั้นเราอาจไม่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของอเมริกา ก่อนหน้านี้เคยประเด็นที่เกิดขึ้นกับเวียดนามที่มีการห้ามใช้าเทคโนโลยีหลัก หรือ5G core จากจีน และบางประเทศมีการแสดงท่าทีชัดเจนเช่น ออสเตรเลีย อินเดียที่มีนโยบายกีดกัน 5G จากหัวเว่ย ท่าทีที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาลไทยคือการวางตัวเป็นกลางจะเหมาะสมที่สุด เราเปิดรับเทคโนโลยีจากทุกด้าน เพราะรัฐบาลเชื่อในการแข่งขัน การเปิดให้มีการแข่งข้ไม่มีการกีดกัน จะทำให้เกิดนวัตกรรม และการสร้างสรรค์ หากมีการออกนโยบายกีดกัน จะทำให้การสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมหายไป ดังนั้นนโยบายเป็นกลางและสนับสนุนการแข่งขัน จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ดีรัฐบาลควรมต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการปกป้องเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Safeguard Agreement)  การปกป้องเทคโนโลยีของประเทศต้นทาง จะได้รับการคุ้มครองไม่ให้รั่วไหลไปยังประเทศปลายทางที่ทางต้นทางไม่ต้องการได้-สำนักข่าวไทย.

เอไอเอสเผยไตรมาส3 ยังกำไร เตรียมงบ 3.5 หมื่นล้านบาทพัฒนา5Gต่อ

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. เอไอเอส เผยไตรมาส 3 รายได้รวม 41,715 ล้านบาท เตรียมทุ่ม 3.5 หมื่นล้านบาท ลงทุนขยายเครือข่าย 5G  นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่าการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจไทยในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา เอไอเอสเห็นทิศทางในการปรับตัวสู้กับภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าในหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในทุกระดับ คือการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับเอไอเอส มองว่า เทคโนโลยี 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่สำคัญต่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจและเป็นฟันเฟืองที่จำเป็นต่อการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน ในไตรมาส 3 เอไอเอส มีรายได้รวม 41,715 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส มีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์มือถือสูงที่สุดในตลาดที่ 40.9 ล้านเลขหมาย เป็นลูกค้าระบบรายเดือน จำนวน 9.7 ล้านราย เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ จำนวน 235,000 ราย และมีลูกค้าระบบเติมเงินอยู่ที่ 31.2 ล้านราย ลดลง313,000 ราย โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์ COVID-19ที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจต่อเนื่องมายังไตรมาส 3 ส่วนการใช้งานดาต้าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.2 กิกะไบต์ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.3 และสัดส่วนลูกค้าที่ใช้ 4G ยังเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 76ของฐานลูกค้าทั้งหมด ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ด้วยจำนวนลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 53,000 ราย ส่งผลให้มีลูกค้ารวม 1.26 ล้านราย และมีรายได้จากธุรกิจเน็ตบ้าน 1,785 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยคาดว่าจะมีลูกค้ารวมไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ ด้านธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรเติบโตสูงต่อเนื่องจากความต้องการใช้บริการCloud, Data Center และ IT Solutionที่เพิ่มขึ้นด้วยความต้องการปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และเดินหน้าสร้างโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรด้วยขีดความสามารถโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยลบทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคธุรกิจไทยในภาพรวม ทั้งกำลังซื้อที่อ่อนตัว และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ทั้งนี้ บริษัทยังคงมุ่งเน้นการบริหารต้นทุนและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรสำหรับการเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้เอไอเอส มีกำไรสุทธิ 6,764 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยหากไม่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ผลกำไรสุทธิทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ เอไอเอสยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีการกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เพียงพอต่อการลงทุนขยายโครงข่าย ทั้งบริการ 5G และ 4G รวมทั้งค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ ซึ่งบริษัทยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม โดยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานใน 9 เดือนแรกรวม 65,000 ล้านบาท และคงงบลงทุนทั้งปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 35,000 ล้านบาท การลงทุนเครือข่าย โดยเฉพาะ 5G ในปีนี้ เอไอเอส เชื่อว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย ที่จะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติได้ ขณะที่การใช้บริการในระดับแพร่หลายอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากการนำไปใช้งานจริง นอกจากคุณภาพของเครือข่ายแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีก 2 อย่าง คือการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการใช้งานในราคาที่เหมาะสม รวมทั้ง การสร้างแอปพลิเคชันเฉพาะด้านที่จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มผู้ใช้งานที่ชัดเจน -สำนักข่าวไทย.

1 8 9 10 11 12 2,829
...