โมเดอร์นาจะตั้งโรงงานผลิตวัคซีนในออสเตรเลีย
โมเดอร์นา อิงค์ บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ จะผลิตวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ในออสเตรเลียเป็นจำนวนหลายล้านโดสต่อปี
โมเดอร์นา อิงค์ บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ จะผลิตวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ในออสเตรเลียเป็นจำนวนหลายล้านโดสต่อปี
วอชิงตัน 14 ธ.ค.- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐหรือซีดีซี (CDC) แนะนำชาวอเมริกันหลีกเลี่ยงการเดินทางไปอิตาลี กรีนแลนด์ และมอริเชียส เพราะมีความเสี่ยงสูงมากเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ขณะนี้มีสถานที่ที่เป็นจุดหมายทั่วโลกทั้งหมด 84 แห่งที่ถูกซีดีซีกำหนดให้อยู่ในระดับ 4 คือเสี่ยงสูงมาก ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ครอบคลุมประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมด ด้านกระทรวงต่างประเทศสหรัฐเพิ่มชื่ออิตาลีซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวอเมริกัน และมอริเชียสซึ่งเป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียนอกชายฝั่งแอฟริกาไว้ที่ระดับ 4 คือ ไม่ควรเดินทางไปเมื่อวันจันทร์ตามเวลาสหรัฐ กระทรวงสาธารณสุขอิตาลีแจ้งในวันเดียวกันว่า มีผู้เสียชีวิต 98 คนจากโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นจาก 66 คนเมื่อวันก่อน และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 12,712 คน ลดลงจาก 19,215 คนเมื่อวันก่อน อิตาลีมีผู้เสียชีวิตสะสม 134,929 คนนับตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน มากเป็นอันดับ 2 ของยุโรปรองจากอังกฤษ และเป็นอันดับ 9 ของโลก และมียอดติดเชื้อสะสมราว 5 ล้าน 2 แสน 4 หมื่นคน สหรัฐประกาศระเบียบใหม่มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม […]
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เผยขณะนี้มีวัคซีนจำนวนมากพร้อมฉีดกระตุ้นเข็ม 3 เพราะเชื้อโอไมครอนกระจายไปในหลายพื้นที่ การกระตุ้นเข็ม 3 จะช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตได้
อังกฤษแจ้งว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนกำลังแพร่เร็วเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงลอนดอนติดเชื้อสายพันธุ์นี้ถึงร้อยละ 40 ประชาชนที่รับวัคซีนครบโดสแล้วจึงควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
จาการ์ตา 13 ธ.ค. – อินโดนีเซียจะเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดให้เด็กอายุ 6-11 ปีตั้งแต่วันอังคารเป็นต้นไป และจะกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรก ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่มเด็กเล็ก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียเผยว่า อินโดนีเซียได้อนุมัติใช้วัคซีนของซิโนแวคในเด็กอายุ 6-11 ปีเมื่อเดือนพฤศจิกายน และตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้เด็กกลุ่มดังกล่าว 26.5 ล้านคน เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่า ขณะนี้วัคซีนของซิโนแวคเป็นวัคซีนขนานเดียวที่อินโดนีเซียอนุมัติใช้ในกลุ่มเด็ก และทางการจะจำกัดการใช้วัคซีนดังกล่าวเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุ 6-11 ปีตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป แนวทางนี้จะช่วยเร่งการฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชนทุกคนในอินโดนีเซียเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นวงกว้าง และจะเริ่มฉีดวัคซีนโควิดให้เด็กที่อยู่ในกรุงจาการ์ตาและพื้นที่โดยรอบก่อน ข้อมูลของทางการอินโดนีเซียระบุว่า อินโดนีเซียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 4.2 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีเด็กอายุ 0-18 ปีที่ติดเชื้อโควิดร้อยละ 13 และมีผู้เสียชีวิตกว่า 143,000 คน อินโดนีเซียเผชิญกับการระบาดของโรคโควิดอย่างรุนแรงจนทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงถึงวันละ 40,000 คนในเดือนกรกฎาคม แต่ยอดผู้ป่วยติดเชื้อได้ลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 400 คนในเดือนพฤศจิกายน ขณะนี้ อินโดนีเซียฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดครบสองโดสให้ประชาชนร้อยละ 38 จากประชากรทั้งหมด 270 ล้านคน ก่อนหน้านี้ จีนได้อนุมัติใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิดในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ขณะที่กัมพูชาได้อนุมัติใช้วัคซีนโควิดในเด็กอายุ 6-12 […]
สธ. 13 ธ.ค.- กรมควบคุมโรค ยังไม่รีบพิจารณาให้โควิด เป็นโรคประจำถิ่น แม้สถานการณ์ส่อนิ่ง เพราะยังต้องรอต่างประเทศ เคาะพร้อมกันด้วย นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการพิจารณาให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ว่า การจะพิจารณานั้น ต้องดูว่าอัตราการติดเชื้อจะยอมรับที่ระดับไหน ซึ่งจะประเมินหลายเรื่อง ทั้งศักยภาพการรับมือ การดูแลรักษาผู้ป่วย และหลายๆปัจจัยรวมกัน ขณะนี้ยังไม่มีใครฟันธงว่า ต้องขีดเส้นที่เท่าไหร่ แต่ในเชิงการควบคุมโรคจะมีระดับที่อ้างอิงไว้ว่า เลเวลระดับนี้เราควบคุมได้ เช่น อย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะขีดเส้นไว้ที่ หากอัตราการติดเชื้อไม่เกิน 5-10 ต่อแสนประชากร ถือว่าเราคอนโทรลได้ ระบบสาธารณสุขรองรับได้ เตียงไม่ล้น นพ.วิชาญ กล่าวว่า สายพันธุ์เปลี่ยนแปลงตลอดอยู่แล้ว แต่การพิจารณาให้เป็นโรคประจำถิ่นต้องดูหลายๆประเทศ ดูสถานการณ์โลกด้วย ก็ต้องดูไปเป็นขั้นตอนก่อน อย่างตอนนี้คือการควบคุมสถานการณ์ แต่หากจะให้เป็นโรคประจำถิ่นตัวเลขก็จะลดลงไปอีก แต่ทั้งหมดอยู่ที่การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ส่วนทั่วโลกมีการพิจารณาให้เป็นโรคประจำถิ่นเหมือนกัน ทั้งในองค์การอนามัย และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ แต่ยัง ไม่มีการสรุป ส่วนความกังวลการระบาดขึ้นในช่วงปีใหม่ นพ.วิชาญ กล่าวว่า จริงๆ […]
โซล 13 ธ.ค. – เกาหลีใต้เตรียมเปิดโครงการนำร่องใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ระบบจดจำใบหน้า และกล้องวงจรปิดกว่าหมื่นตัว เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แม้ว่าจะมีผู้ทักท้วงเกี่ยวกับข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านความเป็นส่วนตัว เจ้าหน้าที่ของเมืองพูชอน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองอินชอนและกรุงโซลและมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับที่สองรองจากกรุงโซล เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า โครงการนำร่องดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคมปีหน้า และได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้ ทั้งยังระบุว่า ระบบดังกล่าวจะช่วยลดความตึงเครียดและภาระงานหนักหน่วงของเจ้าหน้าที่ติดตามผู้ป่วยติดเชื้อในเมืองพูซอนที่มีประชากรกว่า 800,000 คน เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแม่นยำ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างเอกสารความยาว 110 หน้าที่ทางการเมืองพูชอนยื่นต่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศว่า โครงการนี้จะใช้ขั้นตอนการทำงานของปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อวิเคราะห์ภาพที่รวบรวมมาจากกล้องวงจรปิด 10,820 ตัว และติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด รวมถึงการตรวจสอบว่าพวกเขาสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถติดตามคนได้สูงสุดถึง 10 คนภายในเวลา 5-10 นาที ซึ่งช่วยร่นเวลาอย่างมากจากเดิมที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาราว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเพื่อติดตามคน 1 คน แม้โครงการดังกล่าวจะได้รับเสียงสนับสนุนเป็นวงกว้างจากระบบติดตามและค้นหาบุคคลได้อย่างรวดเร็ว แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและ ส.ส. ของเกาหลีใต้จำนวนหนึ่งแสดงความวิตกกังวลว่า รัฐบาลเกาหลีใต้อาจนำข้อมูลที่เก็บไว้ไปใช้นอกเหนือวัตถุประสงค์ในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของเมืองพูชอนแย้งว่า โครงการดังกล่าวไม่มีปัญหาข้อวิตกกังวลด้านความเป็นส่วนตัว เนื่องจากระบบจะเบลอภาพใบหน้าของบุคคลที่ไม่ใช่เป้าหมาย ส่วนสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ หรือเคดีซีเอ ระบุว่า […]
อธิบดีกรมวิทย์แจงพบผู้สงสัยติดเชื้อโอไมครอน 11 คน คอนเฟิร์มแล้ว 8 คน เหลือรอตรวจยืนยันอีก 3 คน ทั้งหมดเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ อยู่ในระบบ T&G, Sandbox, ASQ คาด 3 วันรู้ผล พร้อมยืนยันยังไม่มีไวรัสลูกผสมหรือไฮบริดเกิดในไทย
กรุงเทพฯ 13 ธ.ค.-สมาคมโรงพยาบาลเอกชนออกแนวทางการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นโมเดอร์นา หลังได้รับแอสตราฯ 2 เข็ม แนะนำให้ได้รับในระยะเวลา 3 เดือนหลังเข็ม 2 จากเดิมที่แนะนำใน 6 เดือนหลังเข็ม 2 สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ออกแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา โดยสมาคมโรงพยาบาลเอกชน (เพิ่มเติม) ว่า ตามที่ทางสมาคมโรงพยาบาลเอกชนได้สรุปแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19โมเดอร์นา โดยอ้างอิงจากการประชุมเกี่ยวกับแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นาซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 3 พ.ย.64 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน และองค์การเภสัชกรรมมาร่วมปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา เพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ ในเครือสมาคมโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศนำไปเลือกใช้ตามความเหมาะสมสำหรับกลุ่มต่างๆ ล่าสุดตามข้อมูลที่อ้างอิงจาก UK COV-BOOST Study และ Expert Opinion สำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิด viral vector (Astra Zeneca) มาครบ 2 เข็มแล้วนั้น การได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 (เข็มกระตุ้น) ด้วยวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา แนะนำให้ได้รับในระยะเวลา 3 […]
เจนีวา 13 ธ.ค. – องค์การอนามัยโลกเผยเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา และทำให้วัคซีนป้องกันโรคโควิดมีประสิทธิภาพลดลง แต่เชื้อดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้ เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้แพร่ระบาดไปยัง 63 ประเทศทั่วโลกนับถึงวันที่ 9 ธันวาคม และพบการระบาดอย่างรวดเร็วในแอฟริกาใต้ ซึ่งพบการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาในระดับต่ำ และอังกฤษ ซึ่งพบการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาในระดับสูง ทั้งยังระบุว่า ยังขาดข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอัตราแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเป็นเพราะการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่น้อยลง การแพร่เชื้อที่รวดเร็วขึ้น หรือทั้งสองปัจจัยรวมกัน องค์การอนามัยโลกรายงานอ้างข้อมูลเบื้องต้นที่ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้วัคซีนป้องกันโรคโควิดมีประสิทธิภาพลดลงในด้านการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดยังชี้ว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจเข้ามาแพร่ระบาดแทนที่เชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาในชุมชนหลายแห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้เกิดอาการป่วยเล็กน้อย หรือไม่มีอาการป่วย แต่องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อดังกล่าว ขณะนี้ หลายประเทศที่มีปริมาณวัคซีนโควิดเพียงพอ เช่น อังกฤษและฝรั่งเศส ต่างสนับสนุนให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดเข็มที่สามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน.-สำนักข่าวไทย
พริทอเรีย 13 ธ.ค. – ประธานาธิบดีซีริล รามาโฟซา ของแอฟริกาใต้ มีผลตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นบวกเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น และมีอาการป่วยเล็กน้อย ทำเนียบประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ระบุในแถลงการณ์ว่า ประธานาธิบดีรามาโฟซา ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดครบสองโดส เริ่มรู้สึกไม่สบายหลังเดินทางกลับมาจากพิธีรำลึกถึงอดีตประธานาธิบดีเฟรเดอริก วิลเลิม เดอ แกลร์ก ซึ่งเป็นประธานาธิบดีผิวขาวคนสุดท้ายของแอฟริกาใต้ ที่เมืองเคปทาวน์ในวันเดียวกัน แต่ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี และได้รับการดูแลโดยคณะแพทย์แล้ว ขณะนี้ ประธานาธิบดีรามาโฟซาจะกักตัวอยู่ในเมืองเคปทาวน์ต่อไป และได้มอบหมายหน้าที่บริหารประเทศให้แก่รองประธานาธิบดีเดวิด มาบูซา ไปจนถึงสัปดาห์หน้า ทำเนียบประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ยังระบุว่า ในการเดินทางเยือน 4 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ ประธานาธิบดีรามาโฟซาและคณะผู้แทนจากแอฟริกาใต้ทั้งหมดได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดในทุกประเทศ โดยที่ผู้นำแอฟริกาใต้และคณะผู้แทนเพิ่งเดินทางกลับมาจากเซเนกัลเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และทั้งหมดมีผลตรวจหาเชื้อโควิดเป็นลบ แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุถึงคำพูดของประธานาธิบดีรามาโฟซาว่า การติดเชื้อโควิดของเขาเปรียบเสมือนคำเตือนให้ประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด และระมัดระวังตัวเองต่อการระบาด เนื่องจากวัคซีนโควิดยังคงมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันอาการป่วยรุนแรงและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขณะนี้ แอฟริกาใต้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 3.1 ล้านคน และผู้เสียชีวิตกว่า 90,000 คน. -สำนักข่าวไทย
จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ในเกาหลีใต้รายวันลดลงต่ำกว่า 7,000 ราย เป็นวันที่ 2 ติดต่อกันในวันนี้ แต่ตัวเลขผู้ป่วยหนักกลับมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของสถานพยาบาลในการรองรับผู้ป่วย ในขณะที่ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอไมครอนยังคงระบาด