“วราวุธ” เร่งผลักดันนโยบายเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

กรุงเทพฯ 13 ส.ค. – รมว. ทส. ยืนยันห้ามนำเข้าเศษพลาสติก พร้อมผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์เศษพลาสติกในประเทศทั้งหมด ภายในระยะเวลา 5 ปี


นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์กล่าวว่า เร่งดำเนินการตามมนโยบายส่งเสริมการใช้เศษพลาสติกในประเทศให้มากที่สุด โดยมติเดิมที่มีการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกภายในปี 2563 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษพลาสติกชนิด PET แต่ในการประชุมเมื่อมกราคม 2564 ได้พิจารณาครอบคลุมเศษพลาสติกทุกชนิด ซึ่งพบว่า มีเศษพลาสติกบางชนิดที่ไม่เพียงพอในประเทศ จึงเป็นที่มาในการกำหนดให้นำเข้าเศษพลาสติก แต่ให้นำเข้าเพียง 50% ของกำลังการผลิต หรือไม่เกิน 250,000 ตัน ในปี 2564 และจะลดลงปีละ 20% โดยในปี 2565 นำเข้าไม่เกิน 200,00 ตัน ปี 2566 ไม่เกิน 150,00 ตัน ปี 2567 ไม่เกิน 100,000 ตันปี 2568 ไม่เกิน 50,000 ตัน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก โดยให้มีการใช้เศษพลาสติกในประเทศ 100 %

ที่ผ่านมา ปัญหาขยะพลาสติกนับได้ว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งต่อระบบนิเวศและความรู้สึกของประชาชน อย่างเช่นกรณีของ “น้องมาเรียม” ที่เคยเกิดขึ้น ดังนั้น จึงมีเหตุผลความจำเป็นทั้งในด้านข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศที่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ และข้อมูลปริมาณขยะพลาสติกที่เข้าสู่บ่อฝังกลบ (Landfill) ที่จะต้องผลักดันไปสู่การพัฒนากฎหมายเพื่อเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงพลาสติกแบบบางที่มีขนาดน้อยกว่า 36 ไมครอน หลอดพลาสติก และแก้วพลาสติกแบบบาง รวมถึงจะต้องเพิ่มการสร้างความรับผิดชอบจากผู้ผลิต และการสร้างวินัยให้กับผู้บริโภคควบคู่กันไปด้วย


ทั้งนี้ คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการนำเข้า เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นถังขยะโลกในการรองรับเศษซากขยะจากประเทศอื่น โดยกระทรวงพาณิชย์จะนำไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการออกประกาศอนุญาตผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าทุกราย สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าเศษพลาสติกประมาณ 70,000 ตัน ในระยะเวลาอันใกล้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเดียวกัน

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (อคพ.) กล่าวว่า การพิจารณาผ่อนปรนการนำเข้าเศษพลาสติก ได้คำนึงถึงความสมดุลของทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ที่ต้องการนำเข้าและไม่ต้องการให้นำเข้าเศษพลาสติก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ภาครัฐจะเร่งส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะเพื่อให้ได้พลาสติกที่มีคุณภาพ ไม่ปนเปื้อน และสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบได้เลย รวมทั้ง จัดเวทีพบปะระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นคู่ขนานไปกับการลดการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

สำหรับประเทศไทยได้กำหนด Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 โดยกำหนดเป้าหมายที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1) การลด เลิกใช้พลาสติกเป้าหมาย ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีการเลิกใช้ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผสมสารอ๊อกโซ่ (Oxo) และ ไมโครบีดส์ ภายในปี 2562 และกำหนดให้มีการเลิกใช้ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบางน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบบางน้อยกว่า 100 ไมครอน และหลอดพลาสติก ภายในปี 2565 และ 2) การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570


นอกจากนี้ ในส่วนของการกำหนดการนำเข้าเศษพลาสติกพบว่าปัจจุบัน ประเทศไทยมีการนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2564 (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564) รวมปริมาณ 71,182 ตัน กรมควบคุมมลพิษจึงได้เตรียมการเสนอมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมที่จะมีขึ้นครั้งต่อไป โดยกำหนดการนำเข้าเศษพลาสติกในปี 2564 ในปริมาณ 250,000 ตันต่อปี หรือประมาณ 50% ของกำลังการผลิตทั้งหมดของโรงงาน จากปีฐาน 2563 ร่วมกับการใช้เศษพลาสติกภายในประเทศในปริมาณ 250,000 ตันต่อปี และกำหนดให้มีการลดปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติกปีละ 20% หรือประมาณ 50,000 ตัน และห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 100% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 โดยสนับสนุนการใช้เศษพลาสติกภายในประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบในโรงงาน 100% ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยระบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

ทั่วไทยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลด 2 – 5 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยทั่วไทยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิลด 2 – 5 องศาเซลเซียส “ยอดดอย-ยอดภู” หนาวจัด ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง

จับนายอำเภอเหนือคลอง เรียกรับเงินผู้รับเหมา แลกจบงาน

ตำรวจแถลงผลปฏิบัติการ “ไม่จ่าย ไม่จบ” จับนายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ปกครอง เรียกรับเงินใต้โต๊ะบริษัทรับเหมา 50,000 บาท แลกจบงาน

นายกฯ เผยไม่มีคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุไฟป่าแอลเอ

นายกฯ เผย ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากเหตุไฟป่าที่แอลเอ มีเพียงร้านอาหารไทยที่ได้รับความเสียหาย สั่ง กงสุลเปิดศูนย์ช่วยเหลือคนไทย